กฎหมายศาสนาอิสลามมีแหล่งกำเนิดในนครเมกกะ (Mecca) เมื่อประมาณ 1,300 ปีเศษล่วงมาแล้วเป็นกฎหมายที่สอนให้ชาวมุสลิมมีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว คือ พระอัลเลาะฮ์ทรงเป็นผู้สร้างโลกมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งปวง โดยมีพระนบีมูฮัมมัดเป็นศาสดาเผยแพร่ศาสนาอิสลาม
กฎหมายอิสลามเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงหน้าที่ของชาวมุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า สังคมและครอบครัว เช่น กฎหมายครอบครัว กฎหมายมรดก กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความ แต่ส่วนที่เป็นกฎหมายอิสลามที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ กฎหมายครอบครัวและมรดก ส่วนกฎหมายอื่นๆ ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากกฎหมายของประเทศในซีกโลกตะวันตก
กฎหมายอิสลามเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงหน้าที่ของชาวมุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า สังคมและครอบครัว เช่น กฎหมายครอบครัว กฎหมายมรดก กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความ แต่ส่วนที่เป็นกฎหมายอิสลามที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ กฎหมายครอบครัวและมรดก ส่วนกฎหมายอื่นๆ ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากกฎหมายของประเทศในซีกโลกตะวันตก
ปัจจุบันกฎหมายศาสนาอิสลามมีอิทธิพลแพร่หลายไปเกือบทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินแดนตะวันออกกลาง เช่นประเทศอียิปต์ ซาอุดิอารเบีย ซีเรีย อิหร่าน อิรัค ฯลฯ เป็นต้น แม้ในประเทศไทยกฎหมายศาสนาอิสลามก็ยังใช้บังคับอยู่ในดินแดน 4 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คือ จังหวัดสตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในจังหวัดดังกล่าวนี้กฎหมายเปิดช่องให้ศาลหยิบยกกฎหมายศาสนาอิสลามในเรื่องครอบครัวและมรดกมาใช้บังคับในบางกรณี
กฎหมายอิสลามเป็นกฎหมายที่มีอิทธิพลแพร่ขยายไปเกือบทั่วโลกแม้กระทั่งในประเทศไทย อันที่จริงกฎหมายอิสลามไม่มีลักษณะเป็นกฎหมายเหมือนกับกฎหมายของชาติตะวันตก เพราะกฎหมายอิสลามเป็นระบบกฎหมายที่กำหนดถึงหน้าที่ของประชาชนที่มีต่อพระอัลเลาะห์ต่อบ้านเมือง ในส่วนที่เกี่ยวกับตนเอง ก็ได้วางบทบัญญัติทางความประพฤติในจริยธรรม กฎหมาย ศาสนา รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับการสมรส การหย่า การรับมรดก รวมทั้งทางด้านกฎหมายอาญา
กฎหมายอิสลามเป็นกฎหมายที่มีอิทธิพลแพร่ขยายไปเกือบทั่วโลกแม้กระทั่งในประเทศไทย อันที่จริงกฎหมายอิสลามไม่มีลักษณะเป็นกฎหมายเหมือนกับกฎหมายของชาติตะวันตก เพราะกฎหมายอิสลามเป็นระบบกฎหมายที่กำหนดถึงหน้าที่ของประชาชนที่มีต่อพระอัลเลาะห์ต่อบ้านเมือง ในส่วนที่เกี่ยวกับตนเอง ก็ได้วางบทบัญญัติทางความประพฤติในจริยธรรม กฎหมาย ศาสนา รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับการสมรส การหย่า การรับมรดก รวมทั้งทางด้านกฎหมายอาญา
กฎหมายอิสลามเริ่มต้นจากการที่ศาสดามะหะหมัด ได้จัดระเบียบศาสนาใหม่ โดยรวมเผ่าต่างๆในอาหรับที่มีความเชื่อในศาสนาแตกต่างกัน ให้มีความเชื่อในศาสนาเดียวกัน โดยศาสดา มะหะหมัด วางกลักการใหม่ให้ถือว่าชาวอาหรับมีพระเจ้าองค์เดียว คือ พระอัลเลาะห์ ทำให้ชาวอาหรับสามารถรวมกันได้ในทางจิตใจและเกิดความรู้สึกเป็นชาติเดียวกัน รวมทั้งทำการเผยแพร่ศาสนาไปในดินแดนส่วนอื่นๆจนกลายเป็นจักรวรรดิที่มีอาณาเขตกว้างขวาง
การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายอิสลามจะศึกษาถึงที่มาของกฎหมายอิสลาม อิทธิพลของกฎหมายอิสลามในประเทศอื่นและการจัดทำประมวลกฎหมายอิสลาม ดังนี้
กฎหมายอิสลามมีที่มาอยู่ 5 แหล่ง คือ
1. คัมภีร์อัลกุรอาน : ถือเป็นที่มาของกฎหมายอิสลามอันแรกและสำคัญที่สุด คัมภีร์ดังกล่าวยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นประมวลกฎหมายอิสลาม เพราะบัญญัติต่างๆและลักษณะทางกฎหมายในคัมภีร์นั้นยังไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอ อย่างไรก็ตามผู้พิพากษาก็ได้นำเอาคัมภีร์ไปใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี นอกจากนั้นยังตีความคัมภีร์นี้โดยบรรดานักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญในคัมภีร์ ซึ่งการตีความดังกล่าวนี้มีประโยชน์ต่อผู้พิพากษาในการนำมาอ้างอิงด้วย
2. ซุนนะห์ หรือ หะดีษ : เป็นภาษาอาหรับแปลว่า “หนทาง” มีความหมายตามหลักวิชาว่า “เป็นวจนะหรือการปฏิบัติ ตลอดจนการยอมรับโดยพฤตินัยของท่านศาสดา” ซุนนะห์มีคำเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หะดิษ” (หะดิษถูกบันทึกไว้ในตำราหลายเล่มด้วยกัน แต่ที่รู้จักกันแพร่หลายในวงวิชาการนั้นมีอยู่ 6 เล่ม คือ 1.อัลคุคอรี 2.มุสลิม 3. อิบนุมาญะห์ 4. อะบูดาวุด 5. ติรมิซีย์ 6.นะซ่าอี) ซุนนะห์เป็นที่มาของกฎหมายอิสลามอีกทางหนึ่ง เพราะนอกจากเป็นบทอธิบายความหมายของบทบัญญัติในคัมภีร์อัลกุรอานแล้วยังได้บัญญัติเพิ่มเติมในปัญหาต่างๆที่มิได้อยู่ในคัมภีร์อัลกุรอานด้วย
3. อิจมาอฺ : เป็นที่มาของกฎหมายอิสลามประการที่ 3 ได้แก่หลักกฎหมายที่บรรดานักปราชญ์ทางศาสนาได้มีความเห็นร่วมกันเป็นเอกฉันท์ให้นำมาใช้แก้ปัญหาในกรณีที่ไม่อาจนำเอาบทบัญญัติในคัมภีร์โกหร่านหรืออัลกุรอานและซุนนะห์ มาใช้บังคับได้และหลักกฎหมายเหล่านั้นได้รวมกันเรียกว่า “อิจมาอฺ”
4 อัลอุ้รฟุ : เป็นที่มาของหลักกฎหมายอิสลามประการที่ 4 ได้แก่จารีตประเพณี แต่จารีตประเพณีที่เป็นกฎหมายอิสลามจะยอมรับได้จะต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งคัมภีร์โกหร่านหรืออัลกุรอาน ซุนนะห์ หรือ อิจมาอฺ
5. กิย้าส : เป็นที่มาของหลักกฎหมายอิสลามประการที่ 5ได้แก่วิธีการนำกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาเทียบเคียงใช้บังคับในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติไว้โดยตรงและถูกจัดเข้าเป็นที่มาของกฎหมายอิสลามด้วย
ข้อสังเกต ในปัจจุบันนี้กล่าวได้ว่า คัมภีร์โกหร่านหรืออัลกุรอาน และซุนนะห์ เป็นเพียงที่มาในประวัติศาสตร์ของกฎหมายอิสลามและผู้พิพากษาจะนำมาใช้เฉพาะการค้นหาวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของกฎหมายในเรื่องนั้นๆเท่านั้น ส่วนบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่นำมาใช้อย่างแท้จริงในทางปฏิบัติได้แก่ อิจมาอฺ ซึ่งมีลักษณะที่ทันสมัยและสามารถนำมาใช้กับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันได้มากกว่า
1. คัมภีร์อัลกุรอาน : ถือเป็นที่มาของกฎหมายอิสลามอันแรกและสำคัญที่สุด คัมภีร์ดังกล่าวยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นประมวลกฎหมายอิสลาม เพราะบัญญัติต่างๆและลักษณะทางกฎหมายในคัมภีร์นั้นยังไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอ อย่างไรก็ตามผู้พิพากษาก็ได้นำเอาคัมภีร์ไปใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี นอกจากนั้นยังตีความคัมภีร์นี้โดยบรรดานักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญในคัมภีร์ ซึ่งการตีความดังกล่าวนี้มีประโยชน์ต่อผู้พิพากษาในการนำมาอ้างอิงด้วย
2. ซุนนะห์ หรือ หะดีษ : เป็นภาษาอาหรับแปลว่า “หนทาง” มีความหมายตามหลักวิชาว่า “เป็นวจนะหรือการปฏิบัติ ตลอดจนการยอมรับโดยพฤตินัยของท่านศาสดา” ซุนนะห์มีคำเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หะดิษ” (หะดิษถูกบันทึกไว้ในตำราหลายเล่มด้วยกัน แต่ที่รู้จักกันแพร่หลายในวงวิชาการนั้นมีอยู่ 6 เล่ม คือ 1.อัลคุคอรี 2.มุสลิม 3. อิบนุมาญะห์ 4. อะบูดาวุด 5. ติรมิซีย์ 6.นะซ่าอี) ซุนนะห์เป็นที่มาของกฎหมายอิสลามอีกทางหนึ่ง เพราะนอกจากเป็นบทอธิบายความหมายของบทบัญญัติในคัมภีร์อัลกุรอานแล้วยังได้บัญญัติเพิ่มเติมในปัญหาต่างๆที่มิได้อยู่ในคัมภีร์อัลกุรอานด้วย
3. อิจมาอฺ : เป็นที่มาของกฎหมายอิสลามประการที่ 3 ได้แก่หลักกฎหมายที่บรรดานักปราชญ์ทางศาสนาได้มีความเห็นร่วมกันเป็นเอกฉันท์ให้นำมาใช้แก้ปัญหาในกรณีที่ไม่อาจนำเอาบทบัญญัติในคัมภีร์โกหร่านหรืออัลกุรอานและซุนนะห์ มาใช้บังคับได้และหลักกฎหมายเหล่านั้นได้รวมกันเรียกว่า “อิจมาอฺ”
4 อัลอุ้รฟุ : เป็นที่มาของหลักกฎหมายอิสลามประการที่ 4 ได้แก่จารีตประเพณี แต่จารีตประเพณีที่เป็นกฎหมายอิสลามจะยอมรับได้จะต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งคัมภีร์โกหร่านหรืออัลกุรอาน ซุนนะห์ หรือ อิจมาอฺ
5. กิย้าส : เป็นที่มาของหลักกฎหมายอิสลามประการที่ 5ได้แก่วิธีการนำกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาเทียบเคียงใช้บังคับในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติไว้โดยตรงและถูกจัดเข้าเป็นที่มาของกฎหมายอิสลามด้วย
ข้อสังเกต ในปัจจุบันนี้กล่าวได้ว่า คัมภีร์โกหร่านหรืออัลกุรอาน และซุนนะห์ เป็นเพียงที่มาในประวัติศาสตร์ของกฎหมายอิสลามและผู้พิพากษาจะนำมาใช้เฉพาะการค้นหาวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของกฎหมายในเรื่องนั้นๆเท่านั้น ส่วนบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่นำมาใช้อย่างแท้จริงในทางปฏิบัติได้แก่ อิจมาอฺ ซึ่งมีลักษณะที่ทันสมัยและสามารถนำมาใช้กับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันได้มากกว่า
อิทธิพลของกฎหมายอิสลาม
กฎหมายอิสลามนับว่าเป็นกฎหมายที่มีอิทธิพลต่อโลกสมัยใหม่มาก ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้นับถือศาสนาอิสลามในโลกมากกว่า 1,300 ล้านคน กว่า 200 ประเทศ รองจากศาสนาคริสต์ ต่างก็ยึดหลักปฏิบัติต่อกันตามหลักกฎหมายอิสลามทั้งสิ้น นอกจากนี้บรรดาประเทศต่างๆหลายประเทศยังได้ประกาศตนโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือโดยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ยอมรับหลักศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติซึ่งเท่ากับประกาศยอมรับปฏิบัติตามกฎหมายอิสลามด้วย เช่น ประเทศโมร็อกโค ตูนิเซีย ซีเรียอิหร่าน ปากีสถาน เป็นต้น โดยประเทศเหล่านี้ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งอียิปต์ ปีค.ศ. 1949 ประมวลกฎหมายแพ่งซีเรีย ค.ศ. 1949 และประมวลกฎหมายแพ่งของอิรัก ปี ค.ศ. 1951 ต่างบัญญัติให้ผู้พิพากษานำเอาหลักกฎหมายอิสลามมาใช้ในกรณีที่กฎหมายมีช่องโหว่ ส่วนรัฐธรรมนูญของประเทศอิหร่านและกฎหมายของอินโดนีเซีย ก็ได้บัญญัติถึงวิธีการที่จะช่วยให้องค์การต่างๆได้ปฏิบัติสอดคล้องกับกลักกฎหมายอิสลาม
การจัดทำประมวลกฎหมายอิสลาม
แม้บรรดาประเทศอิสลามต่างๆจะได้ยอมรับนับถือกฎหมายอิสลามก็จริง แต่การนำกฎหมายมาใช้ รวมทั้งการออก “กฎ” หรือ “ระเบียบ” “ข้อบังคับ” ตางๆ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมแตกต่างกันออกไป จริงอยู่แม่ว่าระยะแรกยังไม่สู้จะมีกฎ มีระเบียบ หรือข้องบังคับต่างๆมากนัก เพราะยังไม่มีปัญหาเกิดขึ้น และบรรดาพนักงานเจ้าหน้าที่ต่างยังไม่กล้าที่จะเพิ่มเติมหรือแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ในที่สุดเมื่อความจำเป็นเกิดขึ้นเนื่องจากภายในระยะเวลาที่ผ่านมา โลกมีความเจริญขึ้น และปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นไม่สามารถจะนำกฎหมายเก่ามาบังคับใช้ได้โดยตรง จึงมีความพยายามที่จะหาวิธีการแก้ไขโดยการปรับปรุงกฎหมายเก่า กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและจารีตประเพณีเข้าด้วยกัน โดยการจัดทำเป็นประมวลกฎหมายตามแบบอย่างประเทศตะวันตก
แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการจัดทำประมวลกฎหมายนี้ได้ทำขึ้นเป็นภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาเก่าและภาษาที่ใช้อยู่บางประเทศก็เปลี่ยนแปลงไปบ้างในปัจจุบัน ทำให้เกิดความผิดพลาดหรือสับสนขึ้นได้เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะมีการยินยอมให้จัดทำประมวลกฎหมายหรือรวบรวมกฎหมายขึ้นแต่ก็ยังนิยมที่จะรักษาบทบัญญัติที่สำคัญของกฎหมายเก่าไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติในเรื่องสถานะของบุคคล ได้แก่กฎหมายลักษณะบุคคล ครอบครัว และมรดก
จากเหตุผลดังกล่าวแล้ว ทำให้การจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสถานะบุคคลเป็นเพียงผลงานของเอกชนเท่านั้น ยังไม่เป็นที่รับรองของรัฐ เช่นประมวลกฎหมายที่จัดทำขึ้นในอียิปต์ โดย Mohammed Kadry Pacha หรือในแอลจีเรียโดย Morand เป็นต้น แม้กระทั่งประมวลกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของประเทศตุรกี ซึ่งได้จัดทำขึ้นในปี ค.ศ. 1870-1877 เอง ก็ต้องงดเว้นที่จะไม่จัดทำบทบัญญัติในเรื่องบุคคล ครอบครัว และมรดก เพราะไม่ต้องการให้กระทบกระเทือนต่อบทบัญญัติเดิมแห่งกฎหมายอิสลาม และความเชื่อมั่นของประชาชน ในประเทศซาอุดิอาระเบีย กษัตริย์อิบซาอุด ได้ประกาศเจตนาที่จะให้มีการจัดทำประมวลกฎหมายอิสลามตามแนวคำสอนของ Ibn Taimiya ขึ้นในปี ค.ศ. 1927 แต่มีผู้คัดค้านมาก โครงการนี้จึงต้องล้มเลิกไป
อย่างไรก็ตาม ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แนวความคิดทางด้านอนุรักษ์นิยมได้เสื่อมลง และเริ่มมีการจัดทำประมวลกฎหมายอิสลามขึ้น โดยการจัดทำในยุคนี้ได้รวมกฎหมายลักษณะครอบครัวและมรดกเข้าด้วย ดังจะเห็นได้จากประมวลกฎหมายแพ่งของอิหร่านที่ประกาศใช้เป็นกฎหมายระหว่าง ค.ศ. 1927-1935
หลังจากนั้นเป็นต้นมา บรรดาประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศได้ถือเป็นแบบอย่างโดยจัดทำประมวลกฎหมายในเรื่องสถานะของบุคคลขึ้น ดังเช่นประมวลกฎหมายของตูนิเซีย โมร็อกโก และอิรัก รวมทั้งบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของสหสาธารรณรัฐอิสลามโมริตาเนีย มาตรา 44 ก็ได้กำหนดให้มีการจัดทำประมวลกฎหมายว่าด้วยสถานะของบุคคลไว้เช่นเดียวกัน
ในประเทศอียิปต์ แม้ว่าจะไม่ได้จัดทำขึ้นเป็นประมวลกฎหมาย แต่ก็ได้มีการบัญญัติกฎหมายในเรื่องมรดกขึ้น ในประเทศแอลจีเรีย ได้มีการปฏิรูปกฎหมายเรื่องการปกครอง และสาบสูญขึ้น ในประเทศปากีสถาน ได้มีการปฏิรูปกฎหมายลักษณะครอบครัว และมรดกอย่างกว้างขวางในปี ค.ศ. 1961 ในประเทศอิหร่าน ตั้งแต่ ค.ศ. 1967 เป็นต้นมา การหย่าก็ดี หรือการมีภริยาหลายคนก็ดี ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ประมวลกฎหมายในประเทศอิสลามทุกประเทศในระยะหลัง โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ได้รับแบบอย่างไปจากกฎหมายประเทศตะวันตกมาก ยกเว้นเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับบุคคล ครอบครัวและมรดก ซึ่งยังคงรักษาบทบัญญัติของกฎหมายเดิมไว้เป็นส่วนใหญ่
นอกจากกฎหมายแพ่งแล้ว กฎหมายอื่น ๆ เช่นกฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายปกครอง และกฎหมายแรงงานของประเทศอิสลามต่างก็ยอมรับหรือเลียนแบบอย่างของกฎหมายชาติตะวันตกทั้งสิ้น แต่ถึงแม้จะมีการเลียนแบบกฎหมายชาติตะวันตกมาเหมือนกันก็จริง แต่กฎหมายอิสลามในประเทศต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้ก็มีความแตกต่างกันอยู่มาก ทั้งนี้เพราะการยอมรับกฎหมายชาติตะวันตกคนละระบบมาใช้ประการหนึ่ง และจารีตประเพณีของประเทศอิสลามแต่ละประเทศแตกต่างกันอีกประการหนึ่ง
ความแตกต่างดังกล่าวนี้อาจทำให้แบ่งกลุ่มประเทศที่ยึดถือกฎหมายอิสลามเป็นหลักมาแต่ต้น ออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
กลุ่มแรก ได้แก่กลุ่มประเทศที่ประชาชนในประเทศส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามแต่ในภายหลังระบอบการปกครองประเทศได้เปลี่ยนเป็นรูปสังคมนิยม ได้แก่ประเทศแอลเบเนีย สาธารณรัฐสังคมนิยมในเอเชียกลาง (รวมอย่ในสหภาพโซเวียตรุสเซีย) กลุ่มนี้ได้จัดตั้งสังคมตามแบบใหม่ขึ้น และยึดถือหลักการของมาร์กซ์และเลนิน ซึ่งมีความแตกต่างกับหลักกฎหมายอิสลามมาก ดังนั้นกฎหมายอิสลามจึงถูกยกเลิกไปโดยได้มีการนำกฎหมายกลุ่มสังคมนิยมใช้แทนที่ ส่วนกฎหมายอิสลามจะมีการนำมาใช้บ้าง ก็เป็นไปในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ และในลักษณะซ่อนเร้น ระหว่างประชาชนที่ยังยึดมั่นอยู่กับหลักกฎหมายและปรัชญาดั้งเดิมเท่านั้น
กลุ่มที่สอง ได้แก่กลุ่มประเทศที่แม้ว่าจะได้รับอิทธิพลกฎหมายสมัยใหม่จากประเทศตะวันตกบ้าง แต่ก็ยังคงรักษาหลักกฎหมายเดิมไว้ได้ ประเทศเหล่านี้ได้แก่ประเทศในแหลมอาระเบีย ได้แก่ซาอุดิอาระเบีย South Arabia อัฟกานิสถาน โซมาเลีย เป็นต้น
กลุ่มที่สาม ได้แก่กลุ่มประเทศที่แม้ว่ายังคงรักษาหลักกฎหมายอิสลามไว้ได้ แต่ก็เป็นเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับสถานะส่วนบุคคลเท่านั้น ส่วนกฎหมายในด้านอื่นๆได้ยอมรับเอาหลักกฎหมายสมัยใหม่ของชาติตะวันตกมาใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างกัน ตามแนวทางของสังคมยุคใหม่
แต่กฎหมายในกลุ่มที่สามนี้ยังอาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มย่อยคือ กลุ่มที่ยอมรับแบบอย่างของกฎหมาย Common law ของอังกฤษ ได้แก่ปากีสถาน มาเลเซีย ไนจีเรีย ซูดาน หรือกลุ่มที่ยอมรับแบบอย่างกฎหมายของฝรั่งเศส ได้แก่ประเทศแอฟริกาที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาประจำชาติ กลุ่มประเทศอาหรับ (ยกเว้นซูดาน และอิหร่าน) รวมทั้งอินโดนีเซียซึ่งเคยป็นเมืองขึ้นของเนเธอร์แลนด์มาก่อน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิทธิกร (Associate Professor Sittikorn)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น