ขอตอบว่า ก็ใช่ครับ แต่ไม่ใช่แค่รู้เรื่องศาสนา แต่ควรต้องรู้ถึงความรู้สึกและประสบการณ์ทางศาสนา รวมทั้งผลกระทบต่อเนื่องทั้งระดับส่วนบุคคลและสังคมด้วย
คลิกเพื่อขยายภาพ |
และแน่นอนต้องรู้ที่มา พัฒนาการ สถานการณ์ ผลกระทบ จนถึงแนวโน้มอนาคตด้วย
ที่สำคัญมากที่ต้องไม่เข้าใจผิดคือ นักศาสนวิทยาไม่ใช่ศึกษาแต่เรื่องของการนับถือศาสนาเท่านั้น แต่ศึกษารวมถึงการไม่นับถือศาสนา การทิ้งศาสนา การเปลี่ยนศาสนา หรือการปรับศาสนา ฯลฯ เหล่านี้ในทุกรูปแบบทุกมิติด้วย
นอกจากนี้ ในอีกด้านหนึ่ง ศาสนวิทยาต้องเป็นนักปรัชญาสาขา "นักจริยศาสตร์" (ethicist) ไปในเวลาเดียวกันอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะศาสนาเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจริยศาสตร์โดยตรง ซึ่งการเป็นนักจริยศาสตร์ทำให้ต้องพิจารณาเรื่องว่าอะไร "ถูกผิดดีชั่วควรไม่ควร" หรืออะไรถูกผิดดีชั่ว"มากกว่ากัน" ทั้งจากฐานคิดเชิงศาสนา ปรัชญา และอื่นๆ
ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น