วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ที่มาของ "ระบบวรรณะ" ของอินเดีย

ระบบวรรณะ (Varna) ในคําสอนของศาสนาฮินดูประการหนึ่งกลาวอางเอาไววา การที่มนุษยจะประสบผลสําเร็จใน การประกอบกิจการใด ๆ อันรวมไปถึงการบรรลุโมกษะนั้น มนุษยพึงปฏิบัติใหเปนไปอยางเหมาะสม ตาม"วรรณะ" ดังนั้นชาวฮินดูจึงเครงครัดตอ "ธรรมะ" ของวรรณะของตน ซึ่ง "ธรรมะ" นี้ผูกพัน อยูกับ "อาศรม" หรือ "วัย" ของบุคคลนั้น ๆ ดังรวมเรียกวา "วรรณาศรมธรรม" ซึ่งมีความหมายวา  หนาที่ของคนในแตละวัยของแตละวรรณะ

จากความหมายนี้เองทําใหเรามองเห็นวา ระบบวรรณะ นั้นจะตองผูกพันเกี่ยวของกับชาวฮินดูไปตั้งแตเกิดจนตาย


วรรณะ หมายความวาอะไร? 

จากคําบรรยายของนายตรีโลกนาถ ปาวา ที่ปรากฏในหนังสือ อารยธรรมอินเดีย ของคณะ อักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร : พ.ศ. 2515 ไดอธิบายเอาไววา

 "ในศัพทานุกรมของภาษาสันสกฤต คําวา "วรรณะ" แปลวา สี อักษร ชาติกําเนิด ลักษณะ คุณสมบัติรูป ประเภท ฯลฯ แตในที่นี้ควรจะหมายความวา ลักษณะหรือคุณสมบัติมากกวาอยางอื่น เพราะเปนการตีความหมายของพระเวท ยกตัวอยางเชน วรรณะพราหมณหมายถึง ผูมีลักษณะเปน พราหมณหรือผูที่มีคุณสมบัติเปนพราหมณเปนตน ในคัมภีรพระเวทสอนไววา มนุษยชาตินั้น หากจะ แบงประเภทออกไปแลวยอมสามารถแบงออกไดเปน 4 ประเภทหรือ 4 วรรณะใหญ ๆ ดวยกันคือ วรรณะพราหมณยอมมีลักษณะเปนพราหมณผูใดที่มีลักษณะกษัตริยผูนั้นก็เปนวรรณะกษัตริย ผูใด มีลักษณะแพศย ผูนั้นเปนวรรณะแพศย หากผูใดมีลักษณะศูทร ผูนั้นก็เปนวรรณะศูทร"

คําวาวรรณะยังมีการใหความหมายไวอีกวา หมายถึง สี ซึ่งหมายถึงสีผิว โดยขยายความวา ประชาชนในอินเดียมีเชื้อชาติ เผาพันธุที่มีสีผิวกายแตกตางกัน โดยเชื่อวาคนที่มีสถานะทางสังคมสูง (วรรณะสูง) สวนใหญจะมีผิวกายขาว ในขณะที่คนที่มสถานะทางสังคมต่ํา (วรรณะต่ํา) เปนผูมีผิวกายดํา นอกจากนี้ยังอาจหมายถึงสีของเครื่องแตงกายโดยอางวา ธรรมเนียมดั้งเดิมระบุไววา พราหมณแตงขาว กษัตริยแตงแดง แพศยแตงสีเหลือง ศูทรแตงสีดํา (วราคม ทีสุกะ, ไมระบุปที่ พิมพ, หนา 49)

การใหความหมาย การตีความ การใชคําศัพทภาษาตางประเทศ สําหรับคําวา วรรณะ ยังคง สามารถโตเถียงกันไดดงนั ั้นในที่นี้จึงเพียงแตจะอธิบายวา วรรณะ หมายถึง ชนชั้นทางสังคมในระบบ สังคมของฮินดู ซึ่งมี 4 กลุมหรือ 4 วรรณะ มีสถานะทางสังคมไมเทาเทียมกัน อยางไรก็ตามในแตละ วรรณะก็ยังมีการแบงยอยออกเปนกลุมทางสังคมเล็ก ๆ ซึ่งในที่นี้จะใชคําวา ชาติ (อานวา ชา-ติ) Jati ดังจะอธิบายรายละเอียดตอไปขางหนา


บอเกิดของระบบวรรณะ ความคิดเกี่ยวกับการแบงประชาชนออกเปนชนชั้นตาง ๆ กระทั่งพัฒนามาเปนระบบวรรณะที่ มีกฎเกณฑขอหาม ขอกําหนดที่ซับซอนนั้นคงตองใชเวลานับพันป ดังนั้นจึงเปนการยากหรืออาจจะ เปนไปไมไดเลยที่จะสืบยอนใหเห็นกําเนิดที่แทจริงและถูกตองของระบบนี้ หลักฐานสําคัญ ๆ ที่ใชใน การศึกษาเรื่องระบบวรรณะนี้เองก็กลาวถึงตนตอหรือกําเนิดของระบบวรรณะไวนอยมาก

ในคัมภีรฤคเวท ซึ่งถือวาเปนคัมภีรทางศาสนาที่เกาแก  ที่สุด ระบุเรื่องราวของวรรณะไววา วรรณะทั้ง 4 เกิดจากพระพรหม โดยพระพรหมสรางวรรณะตาง ๆ จากอวัยวะสวนตาง ๆ ของ พระองคเอง อันไดแก พราหมณสรางจากพระโอษฐ กษัตริยสรางจากพระหัตถ แพศยสรางจาก กระเพาะ และศูทรสรางจากพระบาท (อยางไรก็ตามผูรูบางทานกลาววา พระพรหมสรางวรรณะตาง ๆ จากศีรษะ แขน ขา และเทา ตามลําดับ) และหลังจากนั้นก็มีการอธิบายความเพื่อกําหนดหนาที่ อาชีพของคนในแตละวรรณะ อยางเชน พราหมณเปนนักบวช ครู กษัตริยเปนผูปกครอง แพทย เปนพอคา ชาวนา ชาวไร ศูทร เปนผูรับใชคนในวรรณะอื่น ๆ การจําแนกหนาที่เชนนี้ยังปรากฏในคัมภีรทางศาสนาเลมอื่น ๆ เชน คัมภีรมนูธรรมศาสตรคัมภีรปุราณะ มหากาพยรามายณะ และมหา กาพยภารตะ (วราคม ทีสุกะ : หนา 50)

แนวคิดหรือทฤษฎีการกําเนิดระบบวรรณะขางตนสะทอนใหเห็นความผูกพันของระบบสังคม กับพระเจา ดังนั้นจึงมีความเชื่อกันวา ระบบวรรณะ เปน "ธรรมะ" หนึ่งที่พระเจาทรงสรางขึ้น ซึ่ง จะตองคงอยูตลอดไปเปลี่ยนแปลงไมไดสมาชิกของสังคมตองทําตาม "ธรรมะ" ที่พระเจาเปนผูกําหนด ขึ้น และยังตองรักษาระบบไวดวย

นอกเหนือจากทฤษฎีกําเนิดวรรณะวามาจากพระเจาแลว ยังมีแนวคิดหรือทฤษฎีอีกบางประการที่กลาวถึง เชน ทฤษฎีที่อางวา พราหมณเปนผูตั้งระบบ สรางกฎเกณฑของวรรณะเพื่อธํารงรักษาสถานะทางสังคมของตนใหสูงสงกวาชนชั้นอื่น เนื่องดวยสถานะทางสังคมของตนนั้นถูกทาทาย โดยชนกลุมอื่น ๆอันเนื่องมาจากพัฒนาการทางปรัชญา ศาสนา ในยุคอุปนิษัท แนวคิดอีกแนวคิดหนึ่งเปนแนวคิดเกี่ยวกับความเหนือกวาทางเชื้อชาติ โดยอางวาชาวอารยัน ที่อพยพเขาสูอนุทวีปถือวาตนนั้นมีความเจริญกวาคนพื้นเมืองอินเดีย จึงคิดแบงแยกมิใหเกิดการผสม ปนเปทางเชื้อชาติโดยสรางระบบนี้ขึ้นมา แนวคิดทายสุดเปนแนวคิดเกี่ยวกับกําเนิดของระบบวรรณะวาเกิดขึ้นเน่องจากมีอาชีพหรือ หนาที่ตางกัน (ไมเกี่ยวกับศาสนา)

 อยางไรก็ตาม เราไดพบคําอธิบายบอเกิดของวรรณะที่นําเอาแนวคิดทั้งหมดที่กลาวขางตน ผสมผสานกัน ซึ่งอธิบายโดยอาศัยลําดับเวลาตามประวัติศาสตร และพัฒนาการของชนเผาอารยัน ตั้งแตแรกเขามาในอนุทวีปอินเดียจนกระทั่งระบบวรรณะไดพัฒนาเปนรูปเปนรางขึ้นโดยสมบูรณ

Romila Thapar ไดอธิบายการกําเนิดของระบบวรรณะไวในหนังสือ A History of India : Volume I ซึ่งพอสรุปไดวา เมื่อชาวอารยันแรกเขามาในอนุทวีปอินเดีย ชนเผาอารยันมีการแบงชนชั้น ทางสังคม (Social Class) ออกเปน 3 ชนชั้น คือ นักรบ หรือชนชั้นปกครอง พระนักบวชและประชาชนธรรมดา เปนการแบงชนชั้นอยางหลวม ๆ สํานึกเกี่ยวกับชนชั้นอาชีพยังไมรุนแรง   การประกอบอาชีพมิไดเปนไปโดยการสืบสายโลหิต กฎเกณฑเกี่ยวกับการแตงงานในกลุมสังคมเดียวกันยังไมมี และก็ไมมีขอหามการเสพยอาหารรวมกับผูอื่น  การแบงประชาชนออกเปน 3 ชนชั้นนั้นก็เพียงเพื่อความสะดวกในการจัดระเบียบองคกรทางสังคมและเศรษฐกิจเทานั้น

พัฒนาการขั้นแรกของวรรณะ(Caste) เกิดขึ้นเมื่อชาวอารยันปฏิบัติตอชนพื้นเมืองของอนุทวีป ที่เรียกวา ทาสา (Dasas) ในลักษณะเหยียดหยามดวยเปนผูแพในสงครามระหวางคน 2 กลุมนี้ และ อาจดวยเพราะความกลัวที่อารยันนั้นตองอยูทามกลางคนพื้นเมืองที่เปนประชากรสวนใหญ จึงไดสรางกฎเกณฑของการอยูรวมกัน เพื่อมิใหเกิดการผสมกลมกลืนกันระหวางประชาชน 2 เชื้อชาติโดยที่ความแตกตางของชน 2 กลุมนี้ก็เห็นไดชัดอยูแลววามีสีผิวแตกตางกัน  อารยันมีผิวขาว คนพื้นเมือง อินเดียมีผิวดํา ดังนั้น คําวา วรรณะ ซึ่งในความหมายหนึ่งหมายถึง สีผิว จึงเกิดขึ้น   การใชสีผิวเปนตัวกําหนดความแตกตางของประชาชนนี้นาจะมีการตอกย้ํามากในระยะเวลาที่อารยันเขามาในอนุทวีปใหม ๆ ซึ่งตอมาไดฝงรากลึกในวัฒนธรรมของอารยันในแถบอินเดียตอนเหนือ

อยางไรก็ตามในระยะแรกนี้การแบงแยกเชนนี้เปนเพียงการแบงแยกระหวางชาวอารยันกับประชาชนที่ไมใชอารยัน   โดยเชื่อวา อารยันเปนทวิชะ (Dvija) หรือวรรณะที่มีการเกิด 2 ครั้ง (Twice-born castes) ครั้งแรก เกิดโดยธรรมชาติ   เกิดครั้งที่ 2 คือการรับเขาสูวรรณะ  มาถึงพัฒนาการขั้นนี้จึงปรากฏชนชั้นทางสังคม 4 ชนชั้น   ซึ่ง 3 ชนชั้นแรกเปนอารยันเปน ทวิชะ (ตอมาความเปนทวิชะจะจํากัดเฉพาะพราหมณเทานั้น) ไดแก

1. กษัตริยะ Kshatriyas คือนักรบและชนชั้นปกครอง

2. พราหมณะ Brahmans คือนักบวช

3. ไวศยะหรือแพศยะ Vaishyas คือเกษตรกร

4. ศูทร Shudras คือ ทาสา และผูมีสายเลือดผสมปนเป ระหวางทาสากับอารยัน

อยางไรก็ตาม ไมไดหมายความวาสังคมอินเดียตอนนั้นจะแบงออกเปน 4 กลุมอยางจริงจัง   3 กลุมแรกเปนเพียงกรอบโครงกวาง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยการกําหนดของนักบวช  ใน 3 กลุมแรกประกอบอาชีพตาง ๆ กันไปยัง ไมมีการกําหนดตายตัว   การแบงนี้ก็ดวยเหตุผลคือปองกันการผสมปนเปกับกลุมที่ไมใชอารยัน สวน กลุมที่ 4 นั้นก็คือกลุมทางเชื้อชาติและอาชีพ (อันตอยต่ําคือเปนแรงงาน) 

พัฒนาการของระบบวรรณะนั้นพัฒนาไปโดยสอดคลองกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และ การปกครองของชาวอารยัน กลาวคือ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของอารยันจากอาชีพเรรอน เลี้ยงสัตวไปเปนสังคมเกษตรกรรมที่มีการตั้งถิ่นฐานที่แนนอน   การเปลี่ยนแปลงเชนนี้กอใหเกิดความชํานาญพิเศษในอาชีพการงาน หรือเกิดแรงงานที่มีความชํานาญเฉพาะดาน (Specialization of Labor) สังคมเกษตรกรรมกอใหเกิดเกษตรกรก็คือ ศูทร ซึ่งเดิมเปนผูใชแรงงาน คนเหลานี้ประกอบอาชีพเพาะปลูก ซึ่งอาจจะบนที่ดินของเจาของที่ดินที่เปนอารยันก็คือ ไวศยะ ซึ่งเดิมเปนเกษตรกร    ชุมชนเกษตรกรรมก็นําไปสูการคาทั้งนี้ก็เนื่องจากความตองการสินคาของประชาชนในแตละทองถิ่น นั้นตางกัน ดังนั้นชุมชนทางการคาจึงเกิดขึ้น และก็จะนําไปสูการผลิตซึ่งกอใหเกิดชุมชนชางฝมือขึ้น เชนกัน การเกิดกลุมทางเศรษฐกิจที่มีความชํานาญเฉพาะดาน ทําใหสังคมของอินเดียกาวไปสูการจัดระเบียบสังคมที่เขมงวดยิ่งขึ้น

ทามกลางพัฒนาการทางเศรษฐกิจ การปกครองของชาวอารยันก็พัฒนารูปแบบจากชนเผา เขาสูระบบอารณาจักรเผา ซึ่งทําใหชนชั้นปกครอง และนักรบมีบทบาทเดนชัดมากขึ้นในฐานะผูปกปองคุมครองชีวิตและทรัพยสินของสมาชิกในสังคม   รวมทั้งการขยายอาณาเขต   บทบาทเหลานี้ทําใหกษัตริยและนักรบดูเหมือนวาจะมีบทบาทสําคัญที่สุดในสังคม   รองลงไปก็คือนักบวชและตามมา   ดวยพอคาและเจาของที่ดิน  อันดับสุดทายก็คือเกษตรกร (กษัตริยะ พราหมณะ ไวศยะ และศูทร ตามลําดับ)

พัฒนาการทางสังคมเชนนี้ทําใหนักบวชตระหนักวาผูที่จะมีอํานาจสูงสุดในสังคม ก็คือผูที่มีสถานะทางสังคมสูงสุด ดังนั้นนักบวชจึงอางอํานาจในการมอบสภาวะความเปนเทพใหกับกษัตริย ซึ่งสภาวะความเปนเทพนั้นมีความจําเปนอยางยิ่งตอสถานะของกษัตริยในชวงเวลานั้น นอกจากนี้ นักบวชยังอางถึงกําเนิดของชนชั้นตางๆวาผูกพันกับพระเจา ดังที่ไดกลาวมาแลวขางตน 3 ขอใหเขาใจวากระบวนการเชนนี้ตองใชเวลานานมากนับรอยๆ ป

ดังนั้นการแบงชนชั้น (วรรณะ) จึงพัฒนาจนถึงขั้นที่ยอมรับทั่วไปในหมูชาวฮินดูวา พราหมณ กษัตริย ไวศยะ ศูทร มีสถานะทางสังคม สูง-ต่ํา ลดหลั่นกันมาตามลําดับ แมวาในหวงเวลานี้คน พื้นเมืองของอนุทวีปหรือกลุมทาสา จะเลื่อนสถานะจากผูใชแรงงานรับใชชนอารยันเปนเกษตรกร หรืออยูในวรรณะศูทร แตประชาชนในชนชั้นนี้ก็ยังคงถูกกีดกันจากสถานะทวิชะ และก็ยังคงถูกกีดกันไมใหเขารวมในระบบความเชื่อของพระเวท   การกีดกันนี้เองทําใหชนชั้นศูทรหันไปนับถือพระเจา และระบบความเชื่อของตนเอง


การแบงประชาชนใหมีสถานะทางสังคม สูง-ต่ํา ไมเทากันในลักษณะเชนนี้ทําใหในสมัยตอ ๆ มา (นับรอยๆ ป) สังคมอินเดียสามารถดูดกลืนกลุมคนเชื้อชาติตาง ๆ ที่เขาไปในอนุทวีปอินเดียใหเขาไปในระบบสังคมของอินเดีย โดยจัดใหเปนกลุมยอย หรือที่เรียกกันวา อนุวรรณะ (Sub-caste) ซึ่งมีความสูงต่ําของสถานะทางสังคมแตกตางกันไป โดยขึ้นอยูกับอาชีพ หรือ แหลงที่มาทางสังคม (Social origin) แลวแตกรณี (Thapar, Romila. 1966 p.39-40)

เปนที่ยอมรับกันวาระบบวรรณะของอินเดีย เปนการจัดระเบียบทางสังคมที่ยอมรับวามนุษย นั้นมีสถานะทางสังคมสูง-ต่ํา ไมเทากัน และในขณะเดียวกันสมาชิกของชนชั้น (วรรณะ) ตาง ๆ ก็ยังมีการกําหนดความสูง-ต่ําของสถานะทางสังคมใหสูงต่ําแยกยอยลงไปอีก

และที่สําคัญในสังคมอินเดีย ยังมีกลุมประชาชนที่มิไดอยูใน "ระบบ" คนเหลานี้เปนกลุมประชาชนที่ไดรับการดูถูกเหยียดหยามหรือ ถูกกีดกันไมใหเขาไปมีสวนรวมในกิจกรรมทางสังคม ทางศาสนาของชุมชน ไมสามารถจะสนทนา หรือมีปฏิสัมพันธทางสังคมกับคนใน "ระบบ" ได จะทําไดก็เพียงพยายามอยู่ใหหางไกลจากคนในระบบ และมีปฏิสัมพันธกับคนในสถานะเดียวกันเทานั้น

ประเด็นตอจากนี้ไปจะพยายามอธิบาย คนในระบบและนอกระบบ  โดยจะขอกลาวถึง "คนนอกระบบ" กอน เนื่องจากมีเนื้อหาที่สั้นกวา ส่วน "คนในระบบ" นั้นจะขอกลาวในลําดับตอไป

"คนนอกระบบ"

ประชาชนที่จัดวาอยูนอกระบบสังคมกลุมที่ใหญที่สุดของสังคมอินเดียคือพวก จัณฑาล (Untouchables) การมีจัณฑาลในสังคมอินเดียนั้นในทรรศนะของนักวิชาการบางคนถือวาเปนสิ่งชั่วรายของสังคมอินเดียที่มีการดูถูกเหยียดหยามมนุษยดวยกัน แตอยางไรก็ตามพึงเขาใจดวยวา ปรากฏการณเชนนี้ก็คือความพยายามในการจัดระเบียบของสังคม ใหสังคมดําเนินตอไปไดอยางปกติ และสันติเพื่อบรรลุถึงเปาหมายสูงสุดของสังคม คือเพื่อธํารงรักษา "ธรรมะ" ที่พระเจาสรางและให สมาชิกของสังคม (แมจะไมทุกคน) บรรลุโมกษะอันเปนเปาหมายสูงสุดของชีวิต

มีผูใหความเห็นเกี่ยวกับกําเนิดของจัณฑาลเอาไววาเกิดจากการแตงงานขามวรรณะ  โดยที่ หญิงมีสถานะทางสังคม (วรรณะ) สูงกวาชาย คือหญิงอยูในวรรณะพราหมณชายอยูในวรรณะศูทร บุตรที่เกิดมาจะเปนจัณฑาล เปนผูที่คนในวรรณะสูง ๆ ไมควรถูกตองสัมผัส หรือแมแตมองก็จะทําใหนัยนตาสกปรก ตองชําระลางใหหมดมลทิน

ความเห็นเกี่ยวกับกําเนิดของจัณฑาลดังกลาวดูเหมือนจะเปนความเห็นที่เปนที่ยอมรับกันอยางกวางขวาง  แตอยางไรก็ตามในที่นี้ใครตั้งขอสังเกตวา การแตงงานขามวรรณะโดยที่หญิงมีวรรณะสูงกวาชายนั้นถือวาเปนการทําผิดกฎของวรรณะอยางรุนแรง เพราะโดยปกติแลวชาย-หญิง จะตองแตงงานภายในพวก หรือกลุมทางสังคมเดียวกัน (Endogamy)  การละเมิดกฎของวรรณะนี้ก็ถือวาเปนความผิดที่รายแรง สามี-ภรรยา ก็ทําผิดตั้งแตยังไมมีบุตร เหตุใดบุตรเทานั้นที่เปนจัณฑาล  พอ-แม ก็นาจะเปนจัณฑาลดวย ดังนั้นจัณฑาลนาจะเกิดขึ้นจากการที่สมาชิกของสังคมทําผิดกฎของวรรณะ คลาย ๆ กับทําผิดกฎศาสนา (Canon Law) ของยุโรปยุคกลางที่ถูกขับออกจากศาสนา (Ex-communication) ในกรณีของสังคมอินเดียก็เชนกัน การทําผิดกฎของวรรณะก็ตองถูกลงโทษ  รุนแรงมากนอยขึ้นอยูกับกรณี หากรุนแรงมาก อยางเชนการแตงงานขามวรรณะก็คงถูกขับออกไป

นอกจากนี้พฤติกรรมทางสังคมหรือวัฒนธรรมบางอยางอาจทําใหถูกมองไดวาเปนคนนอกระบบวรรณะ เชนการบริโภคเนื้อสัตว   สังคมฮินดูเปนสังคมมังสวิรัติ การบริโภคเนื้อสัตวจะไดรับการดูถูกเหยียดหยามวาสกปรก มีมลทิน ไมมีใครคบคาสมาคมดวย  จัณฑาลเปนคนนอกระบบสังคมที่ไมมีทางจะกลับเขาไปสูระบบวรรณะไดอีกเลย

อยางไรก็ ตามในสังคมอินเดียมีกลุมคนที่อยูนอกระบบชั่วคราว หรืออยูนอกระบบอันเนื่องมาจากเหตุการณบางอยางที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนผูนั้น อยางเชน เด็กตั้งแตแรกเกิดจนกระทั่งถึงพิธีรับเขาวรรณะ ตัด จุก มอบสายคลองไหล เมื่ออายุประมาณ 12-13 ปถือกันวาเด็กยังออนดวยวัยวุฒิและวุฒิภาวะ รวมถึงยังดอยความรู ไมสามารถแยกแยะ ผิด ถูกไดดี เขาจึงถือกันวา เด็กอยูนอกระบบชั่วคราวคง จะเพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษเด็กหากทําผิดกฎของวรรณะบางประการโดยไมรูตัว  หากเมื่อเขาสูวรรณะแลวก็ตองปฏิบัติตามกฎอยางเครงครัด

คนอีกกลุมหนึ่งที่จัดไดวาอยูนอกระบบปกติก็คือ หญิงหมายในสังคมอินเดีย หญิงหมายดูจะเปนกลุมคนที่ดอยโอกาส มิสามารถที่จะรวมกิจกรรมทางสังคมกับคนในระบบไดเหมือนในสมัยที่สามียังมีชีวิตอยู จะตองรวมกลุมกันทํากิจกรรมไมวาเปน กิจกรรมทางศาสนา ทางสังคม ในกลุมของตนเองเทานั้น กลุมคนนอกระบบ 2 ประเภทหลังนี้ แมวา จะมีขอกําหนด ขอหามในการรวมกิจกรรมทางสังคมทางศาสนา แตก็มิไดรับการดูถูกเหยียดหยามจากสังคมเหมือนจัณฑาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น