วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561

3 คำถามต้องระวังในทางศาสนวิทยา

3 คำถามต้องระวังในทางศาสนวิทยา
เวลาให้สัมภาษณ์สื่อ มีหลายครั้งที่ผู้เขียนหนักใจเหมือนกันที่ต้องตอบคำถาม 3 ลักษณะที่สื่อถาม...

1. "ศาสนา/ความเชื่ออันนี้ผิดใช่ไหม?"
2. "นี่ไม่ใช่ศาสนาพุทธแท้ (คริสต์แท้/อิสลามแท้/ฯลฯแท้) ใช่ไหม?"
3. "ศาสนา/ความเชื่อแบบนี้หลอกลวงใช่ไหม?"

มาดูกันทีละข้อ

ตอบข้อ 1. "ศาสนา/ความเชื่ออันนี้ผิดใช่ไหม?"

ศาสนาและความเชื่อเป็นเรื่องที่พิสูจน์ว่าถูกหรือผิดได้ยาก  (เคยอธิบายเรื่องนี้แล้ว) มีบางเรื่องที่อาจพอพิสูจน์ได้ แต่ส่วนใหญ่พิสูจน์ไม่ได้  พูดได้ว่าเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้มีมากกว่าที่พิสูจน์ได้  ถึงกระนั้นก็เป็นสิทธิของเขาที่จะเชื่ออย่างนั้นอยู่ดี 

ตอบข้อ 2. "นี่ไม่ใช่ศาสนาพุทธแท้ (คริสต์แท้/อิสลามแท้/ฯลฯแท้) ใช่ไหม?"

ความเป็นศาสนาใดแท้ไม่แท้เป็นเรื่องที่ชี้วัดได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็จะมีประเด็นที่สามารถเห็นต่างกันหรือแม้แต่เป็นข้อถกเถียงได้อีกมากมาย  จนกระทั่งการบอกว่าอันไหน "ไม่แท้" บอกได้ง่ายกว่าบอกว่าอันไหน "แท้"  เพราะเหตุว่าของแท้เหมือนแบบดั้งเดิมแบบสมัยศาสดาหา(แทบ)ไม่มีแล้ว เหลือแต่ของไม่แท้ด้วยกันทุกอัน  ต่างกันที่ไม่แท้มากหรือน้อยแค่ไหน  และถึงแม้บอกว่าเขาไม่แท้ เขาก็มีสิทธิเชื่อในแบบของเขาอยู่ดี
ที่จริงคำถามที่ 1 กับ 2 อาจถูกต้องกว่าถ้าต่อด้วยคำถามที่ว่าศาสนาและความเชื่อดังกล่าวเป็นอันตรายแค่ไหน และมีข้อควรระวังอะไร  แต่การตอบคำถามที่ 3 จะเป็นอีกแบบ

ตอบข้อ 3. ศาสนา/ความเชื่อแบบนี้หลอกลวงใช่ไหม? 

ผู้เขียนขอตอบคำถามนี้โดยต้องขอร้องผู้อ่านก่อนว่าโปรดอ่านดี ๆ เพื่อจะไม่เข้าใจผู้เขียนผิด  ขอตอบแบบนี้ว่า "การหลอกลวงในทางศาสนาและความเชื่อ" มันไม่เหมือนการหลอกลวงทั่วไป  ส่วนใหญ่สิ่งที่คนเรียกว่าการหลอกลวงในทางศาสนาและความเชื่อ มันเป็นเรื่องที่ตัวผู้สั่งสอนหรือผู้จูงใจก็เชื่ออย่างนั้นจริง ๆ ด้วย และเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ  ฉะนั้นถ้าจะว่าเป็นการหลอก มันก็เป็นการหลอกตัวเองก่อนแล้วก็เลยไปหลอกคนอื่นต่อโดยไม่ตั้งใจ 
อันนี้ต้องบอกว่าไม่เกี่ยวกับกรณีที่มีบางคนที่ตั้งใจหลอกผู้อื่นจริงๆ  หรือหลอกโดยเจตนา พวกนั้นก็(อาจ)มีบ้างแน่นอน แต่ก็ต้องแยกเป็นคนละพวก 
การหลอกคนอื่นโดยเจตนา กับการหลอกคนอื่นโดยตัวเองก็เชื่ออย่างนั้นจริง ๆ นั้นไม่เหมือนกัน  หรือพูดได้ว่า แบบแรกคนหนึ่งเอาอีกคนเป็นเหยื่อ  ส่วนอันที่สองทั้งคู่ต่างตกเป็นเหยื่อของระบบศาสนาและความเชื่อนั้น ๆ  ซึ่งถ้าจะเอาผิด มันจะเป็นความผิดคนละข้อหากัน อย่างน้อยก็คือเรื่องผิดโดยเจตนากับไม่เจตนา  
บางคนอาจบอกว่า "ถ้าไม่อยากถูกถือว่าหลอกลวงก็อย่าเรียกเงินสิ"  ก็ตอบได้ว่า นั่นก็เป็นแนวคิดที่ดีมากและมีเหตุผลส่วนหนึ่ง  แต่มันก็อาจใช้ไม่ได้ผลจริงกับทุกกรณี เพราะทุกศาสนาและความเชื่อต่างก็มีรูปแบบการขอให้ช่วยอุดหนุนศาสนาในรูปแบบและเหตุผลต่างๆ เช่นกัน สุดแล้วแต่จะเรียกชื่อว่าอะไร เช่น ทำบุญ  ถวายปัจจัย  ค่าบูชา ค่าครู  เงินพลี ถวายทรัพย์ ซะกาด ฯลฯ 
ลองดูตัวอย่าง แม้แต่การซื้อขายพระเครื่องหรือวัตถุมงคลราคาสูง ๆ ก็ยังใช้คำว่าบูชาแล้วจะได้ลาภ ส่วนแท้ไม่แท้ จริงไม่จริง ก็ไม่มีใครว่าอะไรได้ ไม่เคยมีใครฟ้องว่าบูชาไปแล้วไม่เห็นขลัง   เป็นการสมยอมเชิงศรัทธากันโดยแท้

ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์

เมื่อความเชื่อ ความศรัทธา ถูกสั่นคลอนในโลกภาพยนตร์

เมื่อความเชื่อ ความศรัทธา ถูกสั่นคลอนในโลกภาพยนตร์

     The  Man From Earth คือภาพยนตร์ที่เรากำลังจะพูดถึง ซึ่งความแยบคายในการถ่ายทอดเรื่องราวของภาพยนตร์จากปี 2009 เรื่องนี้ เป็นที่พูดถึงมากทีเดียวสำหรับคอหนังนอกกระแส โดยเรื่องนี้ใช้การถ่ายทำเพียงแค่ในห้องนั่งเล่น และมีออกมาที่หน้าบ้านในบางครั้ง รวมแล้วมีแค่ 2 ที่เท่านั้น

     เรื่องราวของ The Man From Earth เริ่มจากจอห์น โอลด์แมน ชายผู้หนึ่งกำลังจะขนของย้ายถิ่นอาศัย หลังจากที่เขาอยู่ในที่แห่งนี้มานานราว 10 ปี ซึ่งก็มีเพื่อน ๆ 6-7 คน เข้ามาเยี่ยมเยียนที่บ้านเพื่อจะกล่าวคำลา แน่นอนว่าเมื่อมีคนเข้ามารวมกันแบบนี้ ก็ต้องมีเรื่องให้สนทนากัน แม้ว่าแต่ละคนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์แขนงต่าง ๆ อย่างเช่นนักวิทยาศาสตร์ นักจิตวิทยา ผู้เชี่ยวชาญในศาสนา แต่บทสนทนาที่เปิดขึ้นมาจากปากของจอห์นว่า เขามีชีวิตอยู่มานานกว่า 10,000 ปีแล้ว ทำให้ทุกคนรู้สึกฉงนขึ้นมาในทันที ทำไมจอห์นเลือกที่จะพูดเรื่องนี้

     ในช่วงแรกดูเหมือนจะเป็นการพูดคุยสัพเพเหระ ไม่มีใครจริงจังกับประเด็นนี้นัก ไม่มีใครเล่น <a href=“https://scr888.gclub-casino.com/">918kiss</a> ทุกคนผลัดกันวนถามคำถามแก่จอห์น ซึ่งจอห์นเองก็ตอบไปเรื่อย ๆ ในแบบที่ไม่มีใครสามารถหักล้างคำตอบนั้นได้เลย เขาเล่าตั้งแต่สมัยที่ยังคงเป็นมนุษย์ถ้ำอยู่ในดินแดนที่เชื่อว่าเป็นทวีปยุโรปในปัจจุบัน เร่ร่อนหลบภัยหนาวไปทางตะวันออกเรื่อย ๆ ผลัดเปลี่ยนถิ่นฐานอยู่ตลอดทุกทศวรรษ จนกระทั่งล่วงเข้ามายังดินแดนในแถบทวีปเอเชีย ผ่านตะวันออกกลาง และเข้ามาถึงอินเดีย ซึ่งที่นั่น จอห์นเล่าว่าเขาได้พบกับพระพุทธเจ้า

     ผู้เป็นศาสดาแห่งศาสนาพุทธได้สอนหลายสิ่งให้แก่จอห์น ซึ่งตัวเขาได้นำเอาหลักคำสอนเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต เขาร่วมเดินทางไปกับพระพุทธเจ้าอยู่พักหนึ่ง โดยที่พระองค์ท่านมิได้พูดถึงความพิเศษที่จอห์นมีอยู่ หลังจากนั้นจอห์นก็ได้จากลาแดนชมพูทวีป แล้วเดินทางย้อนกลับไปทางตะวันตก เขาเล่าว่าได้เผยแพร่ถึงคำสอนจากพระพุทธเจ้าที่ตัวเขาเองเลือกหยิบบางข้อมาใช้ และบางข้อก็ได้ประยุกต์แล้ว เขาเผยแพร่คำสอนผู้คนมาตลอดทาง โดยที่เขาค่อย ๆ ย้ายถิ่นที่อยู่ไปอย่างช้า ๆ จนกระทั่งเขาได้เดินทางกลับมายังแผ่นดินยุโรปอีกครั้ง และดูเหมือนว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มที่ไม่พอใจ ส่งผลให้เขาถูกตรึงกางเขน

     ถึงตอนนี้หลายคนคงพอจะฉุกคิดขึ้นมาแล้วว่าจอห์นเป็นใคร ใช่คนที่คิดไว้หรือเปล่า เพื่อน ๆ ของจอห์นที่นั่งล้อมวงฟังกันก็ตระหนักถึงเรื่องนี้เช่นกัน มีการถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น อย่างรอยแผลการตอกตะปูตรึงกางเขน แต่จอห์นตอบว่าเป็นแค่เชือกมัด แต่มีการนำไปแต่งเติมในภายหลังให้ดูขลังขึ้น มีการถามถึงการเทศนาบนภูเขาลูกหนึ่ง ซึ่งจอห์นก็ตอบไปตามตรง

     และเมื่อเล่าถึงตอนนี้มันไม่มีอะไรปกติแล้ว เพราะถ้าความจริงคือพระเจ้าเป็นปุถุชนธรรมดา ไม่ใช่ผู้วิเศษ หลาย ๆ สิ่งถูกเติมแต่งให้เหนือจริง เมื่อเป็นเช่นนั้น ความเชื่อ ความศรัทธาที่ตัวเรามีต่อองค์ศาสดาและคำสอนในศาสนา ยังคงเป็นเช่นเดิมอยู่หรือเปล่า นี่คือสิ่งที่ The Man From Earth ทำให้เรารู้สึกถึงความชอบกลในเรื่องราว และทำให้ความเชื่อของเราที่เคยมีสั่นคลอน

อย่างน้อยก็หลายวันทีเดียวหลังจากที่ผ่านจุดสิ้นสุดของภาพยนตร์

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561

เป็นคนดีโดยไม่มีศาสนาได้หรือ?


เป็นความเชื่อมาตลอดประวัติศาสตร์ว่า ศาสนาทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี หรือศาสนาคือสิ่งที่สอนให้คนเป็นคนดี ซึ่งนำไปสู่การสรุปไปเลยว่า คนที่มีศาสนาคือคนดี

และตรงกันข้าม...คนที่ไม่มีศาสนาคือหรือคนไม่รู้จักความดี และไม่ทำความดี

แล้วในที่สุดก็กลายเป็น...คนไม่มีศาสนาคือคนไม่ดี

จริงหรือที่ว่า คนไม่มีศาสนาเป็นคนไม่รู้จักความดี และทำความดีไม่ได้
ผู้เขียนขอตอบคำถามนี้ว่า

วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2561

กรุงศรีอยุธยา ในทางศาสนวิทยา

กรุงศรีอยุธยา ถูกตั้งบนเกาะที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำ ชื่อ "อโยธยา" ซึ่งชื่อเต็มคือ "อโยธยาศรีรามเทพนคร" หมายถึงพระนครแห่งชัยชนะของพระราม ความหมายนี้สืบเนื่องจากทวารดีที่เป็นเมืองต้นวงศ์พระนารายณ์ ผู้ทรงอวตารเป็นพระรามมาปราบยุคเข็ญตามคัมภีร์รามายณะของชมพูทวีป (อินเดีย) ชื่อของนครอโยธยาอันนี้บ่งชี้ถึงอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในภูมิภาคอย่างมาก มีการเชื่อว่า นครแห่งนี้มีความเกี่ยวข้องกับมหากาพย์รามเกียรติ์ ซึ่งดัดแปลงมาจากมหากาพย์รามายณะของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 

Related image