หากถามว่าศาสนามีกี่ประเภท ต้องบอกว่า มันจัดประเภทได้หลายแบบ แต่ละแบบก็จะแยกเป็นหลายประเภท แต่แบบที่นิยมจัดกันเพราะมีนัยสำคัญมี 4 แบบหลักคือ 1. แบ่งตามถิ่นกำเนิด 2. แบ่งตามลำดับวิวัฒนาการของศาสนา 3. แบ่งตามความซับซ้อนของการจัดการ 4. แบ่งตามลักษณะผู้นับถือ ลองดูรายละเอียดกัน
ก.การแบ่งประเภทศาสนาตามถิ่นกำเนิด
1. กลุ่มอารยัน (ลุ่มน้ำสินธุ อินเดีย) คือ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชน พุทธ สิกข์
2. กลุ่มมองโกล (จีน) คือ ศาสนาเต๋า ศาสนาขงจื้อ และศาสนาชินโต
3. กลุ่มเซเมติก (ตะวันออกกลาง) คือ ศาสนายิว คริสต์ อิสลาม โซโรฮัสเตอร์
ข.การแบ่งประเภทศาสนาตามลำดับวิวัฒนาการ หรือลำดับการเกิดของศาสนา
1. Animatism/ Nature Worship การนับถือวิญญาณแห่งธรรมชาติ
2. Animism การนับถือวิญญาณผีสางเทวดา
3. Ancestor Worship การนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ
4. Poly-theism การนับถือเทพเจ้าหลายองค์
5. Heno-theism การนับถือเทพเจ้าองค์หนึ่งของแต่ละกลุ่มชน
6. Monotheism การนับถือเทพเจ้าองค์เดียว
7. Atheism การไม่นับถือสิ่งเหนือธรรมชาติใดใด
ค.การแบ่งประเภทตามความซับซ้อนของการจัดการ
1. ศาสนาธรรมชาติ (Natural Religion) เป็นการแสดงออกของศาสนาดั้งเดิมและเป็นขั้นแรกที่มนุษย์แสดงออกซึ่งความสำนึกเกี่ยวกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ ซึ่งก็คือศาสนาที่นับถือธรรมชาติมีความรู้สึกสำนึกว่าในธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ป่าไม้ เป็นต้น มีวิญญาณสิงอยู่จึงแสดงความเคารพนับถือด้วยการเซ่นสรวง สังเวย เป็นต้น การที่มนุษย์ได้เห็นปรากฎการณ์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติได้เอาความรู้สึกสามัญของมนุษย์เข้าจับจนทำให้เกิดความเชื่อว่าทุกอย่างต้องมีผู้สร้างในธรรมชาตินั้นมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เหนือธรรมชาติคอยควบคุมอยู่ซึ่ง
2. ศาสนาองค์กร (Organized Religion หรือ Institutional Religion) ศาสนาประเภทนี้เป็นศาสนาที่มีวิวัฒนาการมาโดยลำดับเป็นศาสนาที่มีการจัดรูปแบบ มีการควบคุมให้เป็นระบบจนถึงกับก่อตั้งเป็นสถาบันขึ้น บางครั้งเรียกว่าศาสนาทางสังคม (Associative Religion) อันมีการจัดระบบความเชื่อสนองสังคม ซึ่งในการจัดนั้นได้คำนึงถึงความเหมาะสมแก่สภาวะสังคมแต่ละสังคมเป็นหลักโดยก่อเป็นรูปสถาบันทางศาสนาขึ้นอันเป็นเหตุให้สาสนาประเภทนี้มีระบบยิ่งขึ้นและมีความมั่นคงถาวรในสังคมสืบมามีระบบและรูปแบบของตัวเอง เช่น ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู และพุทธศาสนา เป็นต้น
ง.การแบ่งประเภทศาสนาตามลักษณะผู้นับถือ
แบ่งได้ 3 ประเภท
1. ศาสนาเผ่า (Tribal Religion) คือศาสนาของชนเผ่าใดเผ่าหนึ่งเป็นความเชื่อของกลุ่มชนในเผ่า เช่น ศาสนาโบราณของเผ่าต่าง ๆ ซึ่งอาจพัฒนาเป็นศาสนาชาติ เช่น ศาสนาฮินดู เชน ยูดาย ชินโต และศาสนาขงจื้อเป็นต้น เพราะมีการนับถือเฉพาะในชาติใดชาติหนึ่ง เช่น ศาสนาฮินดูมีนับถือกันในเฉพาะประเทศอินเดีย ศาสนาโซโรฮัสเตอร์นับถือเฉพาะชนเผ่าเปอร์เซีย ศาสนายูดายนับถือกันในเฉพาะในหมู่ชาวอิสราเอล ศาสนาชินโตนับถือกันเฉพาะญี่ปุ่น และศาสนาขงจื้อนับถือกันเฉพาะในหมู่ชาวจีน
2. ศาสนาโลกหรือศาสนาสากล (World Religion) คือศาสนาที่มีผู้นับถือกระจายอยู่ทั่วโลกไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ณ ที่ใดที่หนึ่ง เช่น พุทธศาสนา ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เรียกอีกอย่างว่าศาสนาสากล
3. ศาสนากลุ่มสังคม (Segmental Religion) คือศาสนาที่เกิดจากศาสนาหรืาอนิกายย่อยของศาสนาสากลซึ่งเกิดจากสาเหตุความกดดันทางสังคม เช่น การเหยียดสีผิว สิทธิทางกฎหมาย ความไม่เท่าเทียมกัน เป็นต้น กลุ่มบุคคลที่เสียเปรียบทางสังคมมีความประสงค์ที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้และธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของตน จึงฟื้นฟูลัทธิทางศาสนาและระบบทางสังคมให้เป็นของตัวเองขึ้นมาใหม่จะรวบรวมผู้คนที่เห็นด้วยทำการเผยแพร่ศาสนาและวัฒนธรรมของตนในต่างแดน เช่น กลุ่มชาวพุทธในอินโดนีเซีย กลุ่มมุสลิมดำในอเมริกา กลุ่มโซโรฮัสเตอร์ในอินเดีย กลุ่มฮินดูในอาฟริกาใต้ เป็นต้น โดยอาศัยศาสนาเป็นพลังชี้นำ
ยังแบ่งแบบอื่นๆ ได้อีก แต่ตรงนี้เป็นพื้นฐานก่อนครับ
ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์
1. ศาสนาเผ่า (Tribal Religion) คือศาสนาของชนเผ่าใดเผ่าหนึ่งเป็นความเชื่อของกลุ่มชนในเผ่า เช่น ศาสนาโบราณของเผ่าต่าง ๆ ซึ่งอาจพัฒนาเป็นศาสนาชาติ เช่น ศาสนาฮินดู เชน ยูดาย ชินโต และศาสนาขงจื้อเป็นต้น เพราะมีการนับถือเฉพาะในชาติใดชาติหนึ่ง เช่น ศาสนาฮินดูมีนับถือกันในเฉพาะประเทศอินเดีย ศาสนาโซโรฮัสเตอร์นับถือเฉพาะชนเผ่าเปอร์เซีย ศาสนายูดายนับถือกันในเฉพาะในหมู่ชาวอิสราเอล ศาสนาชินโตนับถือกันเฉพาะญี่ปุ่น และศาสนาขงจื้อนับถือกันเฉพาะในหมู่ชาวจีน
2. ศาสนาโลกหรือศาสนาสากล (World Religion) คือศาสนาที่มีผู้นับถือกระจายอยู่ทั่วโลกไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ณ ที่ใดที่หนึ่ง เช่น พุทธศาสนา ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เรียกอีกอย่างว่าศาสนาสากล
3. ศาสนากลุ่มสังคม (Segmental Religion) คือศาสนาที่เกิดจากศาสนาหรืาอนิกายย่อยของศาสนาสากลซึ่งเกิดจากสาเหตุความกดดันทางสังคม เช่น การเหยียดสีผิว สิทธิทางกฎหมาย ความไม่เท่าเทียมกัน เป็นต้น กลุ่มบุคคลที่เสียเปรียบทางสังคมมีความประสงค์ที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้และธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของตน จึงฟื้นฟูลัทธิทางศาสนาและระบบทางสังคมให้เป็นของตัวเองขึ้นมาใหม่จะรวบรวมผู้คนที่เห็นด้วยทำการเผยแพร่ศาสนาและวัฒนธรรมของตนในต่างแดน เช่น กลุ่มชาวพุทธในอินโดนีเซีย กลุ่มมุสลิมดำในอเมริกา กลุ่มโซโรฮัสเตอร์ในอินเดีย กลุ่มฮินดูในอาฟริกาใต้ เป็นต้น โดยอาศัยศาสนาเป็นพลังชี้นำ
ยังแบ่งแบบอื่นๆ ได้อีก แต่ตรงนี้เป็นพื้นฐานก่อนครับ
ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น