การผสานความเชื่อมักจะใช้ในการเขียนวรรณกรรม, คีตกรรม, ศิลปะแสดงลักษณ์ และการแสดงออกทางวัฒนธรรม (เปรียบเทียบกับคตินิยมสรรผสาน) นอกจากนั้นการผสานความเชื่อก็ยังปรากฏในงานสถาปัตยกรรมหรือทางด้านการเมืองที่เรียกว่า “การเมืองเชิงผสาน” (Syncretic Politics) แต่ความหมายหลังจะมีความหมายแตกต่างออกไปบ้าง
การผสานความเชื่อป็นคำที่นิยมใช้ในความคิดที่เกี่ยวกับศาสนาเมื่อกล่าวถึงการผสานความเชื่อของปรัชญาศาสนาต่าง ๆ ขึ้นเป็นปรัชญาใหม่ หรือ ผสานเข้าเป็นธรรมเนียมศาสนาของความเชื่อจากธรรมเนียมที่เดิมแล้วไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด การประสานนี้อาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการ และสิ่งหลังอาจจะเกิดขึ้นในบริเวณที่มีประเพณีของศาสนาหลายศาสนาอยู่ด้วยกันและต่างก็มีบทบาทสำคัญในสังคม หรือในกรณีที่วัฒนธรรมถูกพิชิตและผู้พิชิตนำความเชื่อของศาสนาที่ต่างออกไปเข้ามาในสังคม แต่ไม่สามารถที่จะกำจัดความเชื่อหรือประเพณีการปฏิบัติดั้งเดิมของบริเวณที่พิชิตได้
การผสานความเชื่อทางศาสนา มีหลายระดับ
หากแก่นสารของศาสนายังอยู่ครบ ไม่ถูกปรับเปลี่ยน เพียงแต่ปรับรูปแบบให้เข้ากับศาสนาของท้องถิ่นได้ง่ายขึ้น ก็จะเรียกว่า "การข้ามวัฒนธรรมศาสนา" หรือ Transculturation หรือ Transculturalization หรือ Cross-culturation ซึ่งผลที่ได้คือ "ศาสนาที่ปรับข้ามวัฒนธรรม" หรือ Cross-cultural religion
แต่หากผสมจนแก่นสารของศาสนาเปลี่ยนไปด้วย อย่างนี้เข้าขั้นเป็นการ "ผสมศาสนา" (Religion Mix) ซึ่งผลก็คือจะได้ "ศาสนาผสม" หรือ Mixed religion
ตัวอย่างการผสานความเชื่อทางศาสนาในแถบเอเชียอาคเนีย์
ความเชื่อทางศาสนาของประชาชนในแถบเอเชียอาคเนย์แต่ดั้งเดิมนั้น เป็นความเชื่อใน "ศาสนาปฐมบรรพ์" (Primitive Religion) ที่มีลักษณะแบบ "วิญญาณนิยม" (Animism) ผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งดินแดนที่เป็นที่ตั้งของประเทศไทยปัจจุบัน แต่เดิมนั้นเชื่อเรื่องผีสางเทวดา เช่น ผีบ้านผีเรือน รุกขเทวดา นางไม้ ซึ่งสืบทอดมาถึงปัจจุบันในรูปของความเชื่อเรื่อง "แม่นาคพระโขนง" และ "ปู่เจ้าสมิงพราย" เป็นต้น
ต่อมาศาสนาพราหมณ์ซึ่งเป็นศาสนาเก่าแก่ของอินเดีย (ประมาณว่าเป็นศาสนาที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 5,000 ปี) ได้แพร่หลายมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และค่อยๆ มีบทบาทและอิทธิพลทั้งต่อความเชื่อและความรู้สึกนึกคิดของประชาชนในแถบนี้ เช่น ความเชื่อในทฤษฎี "การกลับชาติมาเกิดใหม่" (Reincarnation Theory) ทั้งต่อการเมืองการปกครองของรัฐ เช่นที่ปรากฏในความเชื่อและพิธีกรรมของ "อาณาจักรขอม" (Khmer Kingdom) และต่อศิลปวัฒนธรรมของเอเชียอาคเนย์ ดังเช่นที่ปรากฏที่ "นครวัด" และ "นครธม" เป็นต้น
การผสานความเชื่อป็นคำที่นิยมใช้ในความคิดที่เกี่ยวกับศาสนาเมื่อกล่าวถึงการผสานความเชื่อของปรัชญาศาสนาต่าง ๆ ขึ้นเป็นปรัชญาใหม่ หรือ ผสานเข้าเป็นธรรมเนียมศาสนาของความเชื่อจากธรรมเนียมที่เดิมแล้วไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด การประสานนี้อาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการ และสิ่งหลังอาจจะเกิดขึ้นในบริเวณที่มีประเพณีของศาสนาหลายศาสนาอยู่ด้วยกันและต่างก็มีบทบาทสำคัญในสังคม หรือในกรณีที่วัฒนธรรมถูกพิชิตและผู้พิชิตนำความเชื่อของศาสนาที่ต่างออกไปเข้ามาในสังคม แต่ไม่สามารถที่จะกำจัดความเชื่อหรือประเพณีการปฏิบัติดั้งเดิมของบริเวณที่พิชิตได้
การผสานความเชื่อทางศาสนา มีหลายระดับ
หากแก่นสารของศาสนายังอยู่ครบ ไม่ถูกปรับเปลี่ยน เพียงแต่ปรับรูปแบบให้เข้ากับศาสนาของท้องถิ่นได้ง่ายขึ้น ก็จะเรียกว่า "การข้ามวัฒนธรรมศาสนา" หรือ Transculturation หรือ Transculturalization หรือ Cross-culturation ซึ่งผลที่ได้คือ "ศาสนาที่ปรับข้ามวัฒนธรรม" หรือ Cross-cultural religion
แต่หากผสมจนแก่นสารของศาสนาเปลี่ยนไปด้วย อย่างนี้เข้าขั้นเป็นการ "ผสมศาสนา" (Religion Mix) ซึ่งผลก็คือจะได้ "ศาสนาผสม" หรือ Mixed religion
ตัวอย่างการผสานความเชื่อทางศาสนาในแถบเอเชียอาคเนีย์
ความเชื่อทางศาสนาของประชาชนในแถบเอเชียอาคเนย์แต่ดั้งเดิมนั้น เป็นความเชื่อใน "ศาสนาปฐมบรรพ์" (Primitive Religion) ที่มีลักษณะแบบ "วิญญาณนิยม" (Animism) ผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งดินแดนที่เป็นที่ตั้งของประเทศไทยปัจจุบัน แต่เดิมนั้นเชื่อเรื่องผีสางเทวดา เช่น ผีบ้านผีเรือน รุกขเทวดา นางไม้ ซึ่งสืบทอดมาถึงปัจจุบันในรูปของความเชื่อเรื่อง "แม่นาคพระโขนง" และ "ปู่เจ้าสมิงพราย" เป็นต้น
ต่อมาศาสนาพราหมณ์ซึ่งเป็นศาสนาเก่าแก่ของอินเดีย (ประมาณว่าเป็นศาสนาที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 5,000 ปี) ได้แพร่หลายมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และค่อยๆ มีบทบาทและอิทธิพลทั้งต่อความเชื่อและความรู้สึกนึกคิดของประชาชนในแถบนี้ เช่น ความเชื่อในทฤษฎี "การกลับชาติมาเกิดใหม่" (Reincarnation Theory) ทั้งต่อการเมืองการปกครองของรัฐ เช่นที่ปรากฏในความเชื่อและพิธีกรรมของ "อาณาจักรขอม" (Khmer Kingdom) และต่อศิลปวัฒนธรรมของเอเชียอาคเนย์ ดังเช่นที่ปรากฏที่ "นครวัด" และ "นครธม" เป็นต้น
เมื่อพุทธศาสนาเกิดขึ้นในอินเดียกว่า 2,500 ปีมาแล้วนั้น พุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาแบบ "อเทวนิยม" (Atheism) ที่ไม่เชื่อเรื่องอำนาจดลบันดาลและการมีอยู่ของพระเจ้า ต้องต่อสู้ทางความคิดกับศาสนาพราหมณ์ซึ่งเป็นศาสนาแบบ "พหุเทวนิยม" (Polytheism) ที่เชื่อการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์ ในยุคพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงประสบความสำเร็จในการประกาศแนวความคิดใหม่ทางศาสนา โดยทรงจัดตั้งคณะสงฆ์ขึ้นเพื่อให้สืบทอดคำสอนของพระองค์ ต่อมาพระจักรพรรดิอโศกมหาราชได้ทรงเผยแผ่พุทธศาสนาไปอย่างกว้างไกลทั่วทั้งชมพูทวีป และยังได้ส่งพระธรรมทูตเผยแผ่พุทธศาสนาลงมาที่เกาะลังกา และดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย ทำให้ประชาชนในเอเชียอาคเนย์รับนับถือพุทธศาสนาเข้าไว้อีกศาสนาหนี่ง
ศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีลักษณะเป็นการผสมผสานลัทธิความเชื่อทางศาสนา ซึ่งประกอบด้วยศาสนาปฐมบรรพ์(หรือศาสนาผี) ศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนา โดยภาพรวมแล้วศาสนาพราหมณ์มีชัยชนะเหนือศาสนาปฐมบรรพ์ของคนท้องถิ่น และพุทธศาสนาก็มีชัยชนะเหนือทั้งศาสนาพราหมณ์และศาสนาปฐมบรรพ์ แต่ทั้งสามศาสนาก็ยังคงมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดและความเชื่อของผู้คนในเอเชียอาคเนย์เป็นอย่างมาก
ต่อมาศาสนาอิสลามจากตะวันออกกลางได้รุกคืบสู่อินเดีย และสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินแดนที่เป็นหมู่เกาะ อันได้แก่ อินโดนีเซีย บอร์เนียว และแหลมมลายู การเข้ามาของอิสลามส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อวิถีชีวิตของผู้คนในแถบนี้ ทั้งนี้เพราะศาสนาอิสลามเป็นศาสนาแบบ "เอกเทวนิยม" (Monotheism) ซึ่งเชื่อพระเจ้าองค์เดียว และไม่ประนีประนอมความเชื่อกับศาสนาอื่น ทำให้ผสมกลมกลืนกับศาสนาทั้งสามที่มีอยู่เดิมได้ยาก อย่างไรก็ตามอิสลามในเอเชียอาคเนย์ก็มีลักษณะยืดหยุ่นกว่าในตะวันออกกลาง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอิทธิพลวัฒนธรรมท้องถิ่นของเอเชียอาคเนย์เอง ที่เป็นแบบ "วัฒนธรรมอ่อน" (soft culture) ทำให้มุสลิมอยู่ร่วมกับศาสนิกในศาสนาอื่นได้อย่างค่อนข้างสันติ
เมื่อชาวตะวันตกนำศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่เกาะฟิลิปปินส์นั้น ศาสนาคริสต์แม้จะเป็นศาสนาแบบ "เอกเทวนิยม" ซี่งเข้ากับศาสนาอื่นได้ยากก็ตาม แต่ด้วยลักษณะของวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ ทำให้ศาสนาคริสต์ผสมผสานเข้ากับศาสนาปฐมบรรพ์ในฟิลิปปินส์ ทำให้ศาสนาคริสต์ในฟิลิปปินส์มีลักษณะเฉพาะของตนเอง และเมื่อสำนักวาติกันมีนโยบายให้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ รูปแบบภายนอกของศาสนาคริสต์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป เช่น โบสถ์คริสต์ในประเทศไทยเริ่มมีลักษณะเหมือนกับวัดพุทธศาสนา และบาดหลวงสามารถ "ทอดกฐิน" "ทอดผ้าป่า" รวมทั้งออก "บิณฑบาต" รับอาหารจากชาวบ้านได้ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น ภาพนี้เป็นตัวอย่างการนับถือศาสนาแบบ Syncretism คือหลอมรวมทุกอย่างโดยไม่เกี่ยงว่าจะขัดแย้งกันหรือไม่ ซึ่งเลยไปไกลกว่า Contextualization ที่เป็นเพียงการปรับรูปแบบหรือเนื้อหาบางอย่างเพียงเพื่อให้ข้ามวัฒนธรรมได้ง่ายขึ้น
การผสานความเชื่อทางศาสนาในสังคมไทย
ในสังคมไทยดั้งเดิม การนับถือผีเป็นระบบความเชื่อสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและวิถีของผู้คนในสังคมอย่างสูง ดังสะท้อนให้เห็นในวัฒนธรรมประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ จนกระทั่งราวพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๗ เมื่ออารยธรรมอินเดียแพร่เข้ามาในบริเวณที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน ความเชื่อทางศาสนาจากอินเดีย ทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ ก็เข้ามาและเริ่มเป็นที่ยอมรับนับถือของคนไทยควบคู่กันมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๘ หลังจากนั้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา คนไทยก็หันมานับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก แต่ยังคงมีคติความเชื่อศาสนาพราหมณ์และการนับถือผีร่วมอยู่ด้วย ก่อให้เกิดการผสมผสานแนวคิดทางศาสนาและความเชื่อเหล่านี้เข้าด้วยกัน
ตัวอย่างหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ (ราวปี พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๑) คือการถือกำเนิดของจตุคามรามเทพ โดยรวมเอาผีหรือเทวดาท้องถิ่น พระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน และเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์เข้าด้วยกัน และได้สร้างเป็นวัตถุมงคลที่นิยมศรัทธากันมากจนกลายเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมในช่วงนั้น
หรืออย่างเช่น การผสานความเชื่อทางศาสนาของศาสนาพุทธนิกายฌิงงนแห่งหุบเขาโคยะ ซึ่งมีศูนย์กลางนิกาย ณ วัดโคงโกบุจิ จังหวัดวากายามา ถือเป็นพระพุทธศาสนาแบบจารีตอันมีประวัติความเป็นมากว่า 1,200 ปี คือมีกำเนิดมาตั้งแต่สมัยเฮอัน (ค.ศ.794-1192) ซึ่งมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมโดยการนำศาสนาพุทธผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมของญี่ปุ่น คือศาสนาชินโต ความเชื่อที่ได้จากลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาพุทธศาสนาแบบไทยและพม่า การผสมผสานทางวัฒนธรรมที่หลากหลายของนิกายฌิงงน แห่งหุบเขาโคยะจึงสามารถดึงดูดศาสนิกให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมและพิธีกรรมต่างๆ ภายในนิกายได้อย่างต่อเนื่อง
กรณีตัวอย่างของการนับถือพระพิฆคเณศวร์ในประเทศไทย
ขอยกอีกกรณีการผสานความเชื่อทางศาสนาอีกตัวอย่างหนึ่งในประเทศไทย เป็นเรื่องของการบูชาพระพิฆคเณศวร์ จากการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ชื่อเรื่องว่า "พระคเณศกับการผสมผสานวัฒนธรรมทางศาสนา: พุทธ พราหมณ์ และผี ในระบบนิเวศวัฒนธรรมไทย" โดย กฤษฎา พิณศรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
พระพิฆคเณศวร์ หรือพระคเณศ เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่ได้รับความนิยมอย่างมากและมากขึ้นเรื่อยๆในหมู่คนไทยพุทธ มีการสร้างรูปเคารพจำนวนมากขึ้นเพื่อสักการบูชา ทั้งโดยหน่วยงานราชการ เอกชน และองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย
เดิมนั้น พระคเณศเป็นหนึ่งในเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่มีชื่อเสียงและนิยมมากที่สุด เนื่องจากได้รับการยกย่องเป็นเทพแห่งอุปสรรค ผู้สามารถบันดาลอุปสรรคให้เกิดแก่เทพ มนุษย์ มารร้ายต่างๆ ขณะเดียวกันก็สามารถขจัดอุปสรรคทั้งปวงได้ ทั้งยังประทานความสำเร็จให้แก่บุคคลผู้กระทำพลีกรรมบูชาจนเป็นที่พอพระทัย ไม่ว่าในกิจการใดก็ตาม ชาวฮินดูเมื่อจะประกอบพิธีทางศาสนาหรือศึกษาเล่าเรียนศิลปะวิทยา จะต้องบูชาพระคเณศเพื่อขอให้พ้นจากความขัดข้อง และเพื่อขอความสำเร็จผลในกิจการนั้นๆ เสียก่อนเสมอ
อย่างไรก็ดี คติความเชื่อและค่านิยมในการนับถือบูชาพระคเณศก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๐ – ๑๓ คติความเชื่อที่ว่าพระคเณศคือ “วิฆนราช” หรือเทพผู้สร้างอุปสรรค ก็เปลี่ยนมาเป็น “สิทธิธาดา” คือเทพผู้ประทานความสำเร็จให้ผู้ทำพลีกรรมบูชาจนเป็นที่พอพระทัย
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้พระคเณศได้รับยกย่องเป็นเทพเจ้าผู้รอบรู้ในศาสตร์ต่างๆ มากมาย เช่น เทพแห่งศิลปวิทยา เทพแห่งความฉลาดรอบรู้ เทพแห่งอักษรศาสตร์และการประพันธ์ เทพประจำหมู่บ้าน ประจำเรือน เทพแห่งการเก็บเกี่ยว ประทานความอุดมสมบูรณ์ เทพผู้คุ้มครองป้องกันขจัดขัดขวางสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง จนมีผู้กล่าวว่าพระคเณศทรงเป็นเทพสากล
เมื่อศาสนาฮินดูแพร่เข้ามาในบริเวณอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระคเณศก็ได้กลายเป็นที่รู้จักและยอมรับนับถือของผู้คนในท้องถิ่น และมีพัฒนาการทางคติความเชื่อและการนับถือบูชาที่เป็นแบบฉบับของตนเอง โดยเฉพาะการผสมผสานวัฒนธรรมทางศาสนาระหว่างพุทธ พราหมณ์ และผี
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่จังหวัดสุรินทร์พบว่า ผู้คนในจังหวัดสุรินทร์จำนวนไม่มากนักที่นับถือพระคเณศในฐานะเทพแห่งอุปสรรค และผู้นับถือส่วนใหญ่มักเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระคเณศค่อนข้างดี เช่น ผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ หรือผู้ที่รับราชการอยู่ในกรมศิลปากร
ส่วนการนับถือพระคเณศในทางศิลปวิทยานั้นถือเป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย โดยมีต้นกำเนิดมาจากราชสำนักที่กรุงเทพมหานคร และแพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งจังหวัดสุรินทร์ ความเชื่อดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการที่ทรงเปลี่ยนสถานะจากเทพแห่งอุปสรรคกลายมาเป็นเทพผู้บันดาลความสำเร็จให้ผู้ที่นับถือบูชา ด้วยถือกันว่าพระองค์ทรงเฉลียวฉลาดและมีสติปัญญารอบรู้ในสรรพวิทยาทั้งปวง การนับถือบูชาจึงเปลี่ยนไปเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา
โดยเฉพาะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงวางแนวทางความสำคัญของพระคเณศในฐานะเทพแห่งศิลปวิทยาเอาไว้ (ชูศรี เปรมสระน้อย. สัมภาษณ์ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๕) คติความเชื่อที่ว่าพระคเณศเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาจึงเป็นความเชื่อกระแสหลักกระแสหนึ่งที่แพร่หลายในสังคมไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องทางด้านศิลปะการแสดงและการช่าง
กลุ่มผู้นับถือเหล่านี้มักมีพิธีกรรม “ไหว้ครู” เพื่อบูชาพระคเณศในฐานะครูของศิลปิน ผู้ประกอบวิชาชีพทางศิลปะ หรือผู้ศึกษาเล่าเรียนทางศิลปะและการช่างเป็นประจำทุกปี (นิคม ลนขุนทด. สัมภาษณ์ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๔)
การนับถือบูชาพระคเณศในสถานะเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ผู้อำนวยโชคลาภและความเจริญรุ่งเรืองนี้ อาจมีที่มาแรกเริ่มจากการที่ทรงประทับร่วมอยู่กับเทพนพเคราะห์ ตามที่ปรากฏหลักฐานเป็นภาพจำหลักประดับศาสนสถานในอินเดียและกัมพูชา
ชาวอินเดียให้ความสำคัญต่อความเชื่อทางดาราศาสตร์และเทพพระเคราะห์ ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับเหล่าเทพหรือหมู่ดาวที่มีอิทธิพลในการกำหนดเคราะห์หรือชะตากรรมของมนุษย์ และไทยได้รับคตินี้สืบทอดมา โดยเชื่อว่าดาวพระเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลหรือดาวประจำวันทั้ง ๗ ในหนึ่งสัปดาห์มีความศักดิ์สิทธิ์ จึงยกย่องเป็นเทพเจ้าและบูชาเพื่อให้เกิดโชคดีและสันติสุข
ส่วนรูปพระคเณศที่ประทับอยู่ด้วยนั้น คงมีที่มาจากคติที่ว่าพระองค์ทรงเป็นปฐมปูชนียเทพซึ่งจะต้องได้รับการบูชาก่อนเทพองค์อื่นๆ เพื่อช่วยขจัดอุปสรรคต่างๆ จึงย่อมต้องได้รับการสรรเสริญบูชาด้วย
และเนื่องจากความมั่งคั่งร่ำรวย ความเจริญรุ่งเรือง เป็นสิ่งพึงปรารถนาของผู้คนทุกชาติทุกภาษามาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย พระคเณศซึ่งเชื่อกันว่ามีคุณสมบัติที่สามารถประทานความสำเร็จในเรื่องดังกล่าวจึงถือเป็นเทพเจ้าที่ควรค่าแก่การสักการบูชา
กลุ่มบุคคลที่ให้การนับถือบูชาพระคเณศในฐานะเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ผู้อำนวยโชคลาภและความเจริญรุ่งเรือง ส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มคนเชื้อสายจีน และประกอบธุรกิจหลากหลายสาขา
ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์
ศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีลักษณะเป็นการผสมผสานลัทธิความเชื่อทางศาสนา ซึ่งประกอบด้วยศาสนาปฐมบรรพ์(หรือศาสนาผี) ศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนา โดยภาพรวมแล้วศาสนาพราหมณ์มีชัยชนะเหนือศาสนาปฐมบรรพ์ของคนท้องถิ่น และพุทธศาสนาก็มีชัยชนะเหนือทั้งศาสนาพราหมณ์และศาสนาปฐมบรรพ์ แต่ทั้งสามศาสนาก็ยังคงมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดและความเชื่อของผู้คนในเอเชียอาคเนย์เป็นอย่างมาก
ต่อมาศาสนาอิสลามจากตะวันออกกลางได้รุกคืบสู่อินเดีย และสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินแดนที่เป็นหมู่เกาะ อันได้แก่ อินโดนีเซีย บอร์เนียว และแหลมมลายู การเข้ามาของอิสลามส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อวิถีชีวิตของผู้คนในแถบนี้ ทั้งนี้เพราะศาสนาอิสลามเป็นศาสนาแบบ "เอกเทวนิยม" (Monotheism) ซึ่งเชื่อพระเจ้าองค์เดียว และไม่ประนีประนอมความเชื่อกับศาสนาอื่น ทำให้ผสมกลมกลืนกับศาสนาทั้งสามที่มีอยู่เดิมได้ยาก อย่างไรก็ตามอิสลามในเอเชียอาคเนย์ก็มีลักษณะยืดหยุ่นกว่าในตะวันออกกลาง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอิทธิพลวัฒนธรรมท้องถิ่นของเอเชียอาคเนย์เอง ที่เป็นแบบ "วัฒนธรรมอ่อน" (soft culture) ทำให้มุสลิมอยู่ร่วมกับศาสนิกในศาสนาอื่นได้อย่างค่อนข้างสันติ
เมื่อชาวตะวันตกนำศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่เกาะฟิลิปปินส์นั้น ศาสนาคริสต์แม้จะเป็นศาสนาแบบ "เอกเทวนิยม" ซี่งเข้ากับศาสนาอื่นได้ยากก็ตาม แต่ด้วยลักษณะของวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ ทำให้ศาสนาคริสต์ผสมผสานเข้ากับศาสนาปฐมบรรพ์ในฟิลิปปินส์ ทำให้ศาสนาคริสต์ในฟิลิปปินส์มีลักษณะเฉพาะของตนเอง และเมื่อสำนักวาติกันมีนโยบายให้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ รูปแบบภายนอกของศาสนาคริสต์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป เช่น โบสถ์คริสต์ในประเทศไทยเริ่มมีลักษณะเหมือนกับวัดพุทธศาสนา และบาดหลวงสามารถ "ทอดกฐิน" "ทอดผ้าป่า" รวมทั้งออก "บิณฑบาต" รับอาหารจากชาวบ้านได้ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น ภาพนี้เป็นตัวอย่างการนับถือศาสนาแบบ Syncretism คือหลอมรวมทุกอย่างโดยไม่เกี่ยงว่าจะขัดแย้งกันหรือไม่ ซึ่งเลยไปไกลกว่า Contextualization ที่เป็นเพียงการปรับรูปแบบหรือเนื้อหาบางอย่างเพียงเพื่อให้ข้ามวัฒนธรรมได้ง่ายขึ้น
โต๊ะบูชาทางศาสนาที่มีภาพเด่นคือพระแม่มารีกับพระกุมารเยซูตามความเชื่อของศาสนาคริสต์คาทอลิก และรายล้อมด้วยพระพุทธเจ้า เจ้าแม่กวนอิม และเทพ ของพุทธศาสนานิกายมหายานแบบจีน |
การผสานความเชื่อทางศาสนาในสังคมไทย
ในสังคมไทยดั้งเดิม การนับถือผีเป็นระบบความเชื่อสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและวิถีของผู้คนในสังคมอย่างสูง ดังสะท้อนให้เห็นในวัฒนธรรมประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ จนกระทั่งราวพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๗ เมื่ออารยธรรมอินเดียแพร่เข้ามาในบริเวณที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน ความเชื่อทางศาสนาจากอินเดีย ทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ ก็เข้ามาและเริ่มเป็นที่ยอมรับนับถือของคนไทยควบคู่กันมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๘ หลังจากนั้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา คนไทยก็หันมานับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก แต่ยังคงมีคติความเชื่อศาสนาพราหมณ์และการนับถือผีร่วมอยู่ด้วย ก่อให้เกิดการผสมผสานแนวคิดทางศาสนาและความเชื่อเหล่านี้เข้าด้วยกัน
ตัวอย่างหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ (ราวปี พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๑) คือการถือกำเนิดของจตุคามรามเทพ โดยรวมเอาผีหรือเทวดาท้องถิ่น พระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน และเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์เข้าด้วยกัน และได้สร้างเป็นวัตถุมงคลที่นิยมศรัทธากันมากจนกลายเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมในช่วงนั้น
หรืออย่างเช่น การผสานความเชื่อทางศาสนาของศาสนาพุทธนิกายฌิงงนแห่งหุบเขาโคยะ ซึ่งมีศูนย์กลางนิกาย ณ วัดโคงโกบุจิ จังหวัดวากายามา ถือเป็นพระพุทธศาสนาแบบจารีตอันมีประวัติความเป็นมากว่า 1,200 ปี คือมีกำเนิดมาตั้งแต่สมัยเฮอัน (ค.ศ.794-1192) ซึ่งมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมโดยการนำศาสนาพุทธผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมของญี่ปุ่น คือศาสนาชินโต ความเชื่อที่ได้จากลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาพุทธศาสนาแบบไทยและพม่า การผสมผสานทางวัฒนธรรมที่หลากหลายของนิกายฌิงงน แห่งหุบเขาโคยะจึงสามารถดึงดูดศาสนิกให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมและพิธีกรรมต่างๆ ภายในนิกายได้อย่างต่อเนื่อง
กรณีตัวอย่างของการนับถือพระพิฆคเณศวร์ในประเทศไทย
ขอยกอีกกรณีการผสานความเชื่อทางศาสนาอีกตัวอย่างหนึ่งในประเทศไทย เป็นเรื่องของการบูชาพระพิฆคเณศวร์ จากการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ชื่อเรื่องว่า "พระคเณศกับการผสมผสานวัฒนธรรมทางศาสนา: พุทธ พราหมณ์ และผี ในระบบนิเวศวัฒนธรรมไทย" โดย กฤษฎา พิณศรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
พระพิฆคเณศวร์ หรือพระคเณศ เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่ได้รับความนิยมอย่างมากและมากขึ้นเรื่อยๆในหมู่คนไทยพุทธ มีการสร้างรูปเคารพจำนวนมากขึ้นเพื่อสักการบูชา ทั้งโดยหน่วยงานราชการ เอกชน และองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย
เดิมนั้น พระคเณศเป็นหนึ่งในเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่มีชื่อเสียงและนิยมมากที่สุด เนื่องจากได้รับการยกย่องเป็นเทพแห่งอุปสรรค ผู้สามารถบันดาลอุปสรรคให้เกิดแก่เทพ มนุษย์ มารร้ายต่างๆ ขณะเดียวกันก็สามารถขจัดอุปสรรคทั้งปวงได้ ทั้งยังประทานความสำเร็จให้แก่บุคคลผู้กระทำพลีกรรมบูชาจนเป็นที่พอพระทัย ไม่ว่าในกิจการใดก็ตาม ชาวฮินดูเมื่อจะประกอบพิธีทางศาสนาหรือศึกษาเล่าเรียนศิลปะวิทยา จะต้องบูชาพระคเณศเพื่อขอให้พ้นจากความขัดข้อง และเพื่อขอความสำเร็จผลในกิจการนั้นๆ เสียก่อนเสมอ
อย่างไรก็ดี คติความเชื่อและค่านิยมในการนับถือบูชาพระคเณศก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๐ – ๑๓ คติความเชื่อที่ว่าพระคเณศคือ “วิฆนราช” หรือเทพผู้สร้างอุปสรรค ก็เปลี่ยนมาเป็น “สิทธิธาดา” คือเทพผู้ประทานความสำเร็จให้ผู้ทำพลีกรรมบูชาจนเป็นที่พอพระทัย
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้พระคเณศได้รับยกย่องเป็นเทพเจ้าผู้รอบรู้ในศาสตร์ต่างๆ มากมาย เช่น เทพแห่งศิลปวิทยา เทพแห่งความฉลาดรอบรู้ เทพแห่งอักษรศาสตร์และการประพันธ์ เทพประจำหมู่บ้าน ประจำเรือน เทพแห่งการเก็บเกี่ยว ประทานความอุดมสมบูรณ์ เทพผู้คุ้มครองป้องกันขจัดขัดขวางสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง จนมีผู้กล่าวว่าพระคเณศทรงเป็นเทพสากล
เมื่อศาสนาฮินดูแพร่เข้ามาในบริเวณอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระคเณศก็ได้กลายเป็นที่รู้จักและยอมรับนับถือของผู้คนในท้องถิ่น และมีพัฒนาการทางคติความเชื่อและการนับถือบูชาที่เป็นแบบฉบับของตนเอง โดยเฉพาะการผสมผสานวัฒนธรรมทางศาสนาระหว่างพุทธ พราหมณ์ และผี
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่จังหวัดสุรินทร์พบว่า ผู้คนในจังหวัดสุรินทร์จำนวนไม่มากนักที่นับถือพระคเณศในฐานะเทพแห่งอุปสรรค และผู้นับถือส่วนใหญ่มักเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระคเณศค่อนข้างดี เช่น ผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ หรือผู้ที่รับราชการอยู่ในกรมศิลปากร
ส่วนการนับถือพระคเณศในทางศิลปวิทยานั้นถือเป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย โดยมีต้นกำเนิดมาจากราชสำนักที่กรุงเทพมหานคร และแพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งจังหวัดสุรินทร์ ความเชื่อดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการที่ทรงเปลี่ยนสถานะจากเทพแห่งอุปสรรคกลายมาเป็นเทพผู้บันดาลความสำเร็จให้ผู้ที่นับถือบูชา ด้วยถือกันว่าพระองค์ทรงเฉลียวฉลาดและมีสติปัญญารอบรู้ในสรรพวิทยาทั้งปวง การนับถือบูชาจึงเปลี่ยนไปเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยา
โดยเฉพาะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงวางแนวทางความสำคัญของพระคเณศในฐานะเทพแห่งศิลปวิทยาเอาไว้ (ชูศรี เปรมสระน้อย. สัมภาษณ์ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๕) คติความเชื่อที่ว่าพระคเณศเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาจึงเป็นความเชื่อกระแสหลักกระแสหนึ่งที่แพร่หลายในสังคมไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องทางด้านศิลปะการแสดงและการช่าง
กลุ่มผู้นับถือเหล่านี้มักมีพิธีกรรม “ไหว้ครู” เพื่อบูชาพระคเณศในฐานะครูของศิลปิน ผู้ประกอบวิชาชีพทางศิลปะ หรือผู้ศึกษาเล่าเรียนทางศิลปะและการช่างเป็นประจำทุกปี (นิคม ลนขุนทด. สัมภาษณ์ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๔)
การนับถือบูชาพระคเณศในสถานะเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ผู้อำนวยโชคลาภและความเจริญรุ่งเรืองนี้ อาจมีที่มาแรกเริ่มจากการที่ทรงประทับร่วมอยู่กับเทพนพเคราะห์ ตามที่ปรากฏหลักฐานเป็นภาพจำหลักประดับศาสนสถานในอินเดียและกัมพูชา
ชาวอินเดียให้ความสำคัญต่อความเชื่อทางดาราศาสตร์และเทพพระเคราะห์ ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับเหล่าเทพหรือหมู่ดาวที่มีอิทธิพลในการกำหนดเคราะห์หรือชะตากรรมของมนุษย์ และไทยได้รับคตินี้สืบทอดมา โดยเชื่อว่าดาวพระเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลหรือดาวประจำวันทั้ง ๗ ในหนึ่งสัปดาห์มีความศักดิ์สิทธิ์ จึงยกย่องเป็นเทพเจ้าและบูชาเพื่อให้เกิดโชคดีและสันติสุข
ส่วนรูปพระคเณศที่ประทับอยู่ด้วยนั้น คงมีที่มาจากคติที่ว่าพระองค์ทรงเป็นปฐมปูชนียเทพซึ่งจะต้องได้รับการบูชาก่อนเทพองค์อื่นๆ เพื่อช่วยขจัดอุปสรรคต่างๆ จึงย่อมต้องได้รับการสรรเสริญบูชาด้วย
รูปปั้นพระพิฆเณศวรขนาดยักษ์ ปางนอนเสวยสุข ภายในวัดสมานรัตนาราม จ.ฉะเชิงเทรา |
และเนื่องจากความมั่งคั่งร่ำรวย ความเจริญรุ่งเรือง เป็นสิ่งพึงปรารถนาของผู้คนทุกชาติทุกภาษามาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย พระคเณศซึ่งเชื่อกันว่ามีคุณสมบัติที่สามารถประทานความสำเร็จในเรื่องดังกล่าวจึงถือเป็นเทพเจ้าที่ควรค่าแก่การสักการบูชา
กลุ่มบุคคลที่ให้การนับถือบูชาพระคเณศในฐานะเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ผู้อำนวยโชคลาภและความเจริญรุ่งเรือง ส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มคนเชื้อสายจีน และประกอบธุรกิจหลากหลายสาขา
ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น