วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ศาสนาองค์กร กับศาสนาไร้องค์กร


ในทางศาสนวิทยามีการจัดประเภทของศาสนาหลายแบบ   แบบหนึ่งก็คือ การจัดประเภทศาสนาว่าเป็น "ศาสนาองค์กร" กับ "ศาสนาไร้องค์กร"     แต่มีประเด็นที่น่าสนใจว่า  นับวันในโลกตะวันตกจะมีคนออกมาตำหนิ "ศาสนาองค์กร" มากขึ้นเรื่อยๆ   และให้การยอมรับ "ศาสนาไร้องค์กร" มากขึ้นเรื่อยๆ

ลองดูข้อความผู้เขียนยกตัวอย่างคำพูดตำหนิมาให้ดูกันต่อไปนี้

เหตุผลในการนับถือศาสนา และเปลี่ยนศาสนา

ขอเริ่มต้นที่ประเด็น "ทำไมคนเราถึงนับถือศาสนา?"  ก่อน
 ในทางศาสนวิทยานั้น ได้วิเคราะห์สาเหตุในการนับถือศาสนาของมนุษย์เราไว้หลายประการ ดังนี้
  1. เพราะมนุษย์เรากลัวในธรรมชาติที่ตนเองไม่รู้ จนต้องวิงวอนและร้องขอในสิ่งที่อยากได้ 
  2. เพราะมนุษย์เราสงสัยและต้องการคำอธิบายว่า โลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และจะเป็นเช่นไรต่อไป 
  3. เพราะมนุษย์เราต้องการที่จะสร้างความเชื่อขึ้นมาเพื่อช่วยควบคุมความประพฤติของคนในสังคม ให้สังคมสงบสุข 
  4. เพราะมนุษย์เราต้องการที่จะพ้นจากความทุกข์และคำอธิบายสำหรับความทุกข์ เช่นความอดอยาก โรคระบาด ความแก่ ความตาย การสูญเสีย ความผิดหวังต่างๆ

ศาสนาอียิปต์ วิวัฒนาการและการปฎิรูปศาสนาเทพ


ศาสนาในอียิปต์โบราณ เกิดก่อนคริสตศักราชประมาณ 3,000 ปี ยั่งยืนมาจนถึง ค.ศ. 391 เป็นศาสนาประเภทพหุเทวนิยม คือ นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เท่าที่รวบรวมได้มีเทพเจ้าถึง 30-40 องค์   (แต่บางข้อมูลบอกว่า จริงๆแล้วเทพเจ้าของชาวอียิปต์โบราณ ถ้าองค์หลักๆก็หลักร้อยองค์  ถ้านับเป็นองค์ย่อยๆ พวก Demons หรือ Demi-Gods ในคัมภีร์ต่างๆด้วยก็ร่วมหลักพันองค์)

ศาสนาบรรพกาล (Primitive religion)

นักวิชาการศาสนาส่วนมาก นิยมจัดให้ศาสนาและความเชื่อทั้งหลายในยุคก่อนประวัติศาสตร์อยู่ในกลุ่มของศาสนาบรรพกาล (Primitive religion) ซึ่งหมายถึงศาสนาที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาทางความคิด  ยังหลงยึดติดในเรื่องของไสยศาสตร์และโชคลาง ปัจจุบันศาสนาดั้งเดิมนี้ยังคงหลงเหลืออยู่บ้างในชนเผ่าที่ล้าหลังทางวัฒนธรรม เช่น ศาสนาของชาวอเมริกันอินเดียน ศาสนาของชาวพื้นเมืองในออสเตรเลีย และศาสนาของชาวพื้นเมืองแอฟริกัน เป็นต้น ศาสนาบรรพกาลนี้มีลักษณะดังนี้

ศาสนาชาติพันธุ์

ศาสนาชาติพันธุ์  หรือ Ethnic religion  หมายถึงประเภทของศาสนาที่ได้รับการยึดถือโดยชาติพันธุ์หนึ่งๆ  โดยคนในชาติพันธุ์นั้นยอมรับว่า ศาสนาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ของตน  เป็นสัญญลักษณ์ของชาติพันธุ์ของตน  และสมาชิกของชาติพันธุ์นั้นส่วนใหญ่ก็ยึดถือปฏิบัติในศาสนาดังกล่าว  

การเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียว มักจะต้องหมายถึงการผสมรวมกันทั้ง เชื้อชาติหรือเชื้อสาย  (ซึ่งย่อมหมายถึงลักษณะทางหน้าตาร่างกายและผิวพรรณด้วย)  ภาษา   และวัฒนธรรม   ซึ่งในวัฒนธรรมนี้บ่อยครั้งที่รวมถึงศาสนาหรือความเชื่อเชิงศาสนาเข้าไปด้วย

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ศาสนาคริสต์กับ LGBT


ประเด็นเรื่องการแต่งงานเพศเดียวกัน ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดในหมู่ชาวคริสต์ในประเทศไทย เช่นเดียวกับในต่างประเทศ และคงจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งฝ่ายทัศนะเดิมที่คัดค้าน และฝ่ายทัศนะใหม่ที่เห็นด้วย

ศาสนาขงจื้อ: ปรัชญาที่กลายเป็นศาสนาโดยอุบัติเหตุ


ศาสนาขงจื๊อ (ภาษาอังกฤษเรียก Confucianism) มีต้นกำเนิดมาจาก ขงจื้อ ซึ่งเป็นนักปราชญ์หรือนักปรัชญาชาวจีน มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ๕๕๑ ถึงปี ๔๗๙ กคศ. เป็นที่ถือกันว่าขงจื้อเป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในอารยธรรมจีน ชาวจีนรวมทั้งชาวเอเซียตะวันออกพากันเลื่อมใสยกย่องขงจื๊อติดต่อกันมากว่าสองพันห้าร้อยปีแล้ว

ในหมู่นักวิชาการมีข้อถกเถียงกันมากว่าเป็นศาสนาหรือเป็นลัทธิหรือแนวคิดกันแน่? หลายคนถือว่าขงจื้อน่าจะเป็นเพัยงลัทธิขงจื้อ ไม่น่าเป็นศาสนา ด้วยเหตุผลที่ว่า

ศาสนาชินโต: ศาสนาเพื่อการปกครองและชาตินิยม


ศาสนา “ชินโต” (Shintoism) คำนี้มาจากอักษรจีนสองตัว ชิน แปลว่าเทพทั้งหลาย โตหรือเต๋า แปลว่าทาง รวมความแล้วแปลว่า "วิถีทางแห่งเทพทั้งหลาย"

สัญลักษณ์ของศาสนาชินโต คือประตูโทริอิ คือประตูอันมีเสา 2 เสา มีไม้ 2 ท่อนขวางอยู่ข้างบน เป็นเครื่องหมายแสดง บริเวณศาลเจ้าของชินโต กับอีกอันคือ ซานชูโน-ซิงกิ ประกอบด้วยของ 3 อย่างคือ กระจก ดาบและรัตนมณี
กระจก เป็นเครื่องหมายแห่งปัญญา
ดาบ เป็นเครื่องหมายแห่งความกล้าหาญ

ปู่แสะย่าแสะ และประเพณีเลี้ยงดง...เชียงใหม่

ตำนานเชียงใหม่ปางเดิม ของสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บันทึกความเป็นมาของพิธีเลี้ยงดงเอาไว้ว่า ในอดีตย่านนี้เป็นบ้านเมืองของชาวลัวะ ชื่อว่า “บุรพนคร” ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปิงและดอยอ้อยช้าง (อุจฉุคีรี) อยู่มาวันหนึ่งชาวเมืองได้รับความเดือดร้อนจากยักษ์พ่อแม่ลูก 3 ตน ที่มาจับชาวเมืองไปกินทุกวัน จนชาวเมืองต้องพากันอพยพหลบหนีไปอยู่ที่อื่น

ตำนานบอกต่อว่า องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับรู้ด้วยพระสัมมาสัมโพธิญาณ เห็นความเดือดร้อนของชาวเมืองบุรพนคร พระองค์พร้อมด้วยเหล่าสาวกจึงเสด็จมาประทับที่ดอยใต้ ได้มีชาวลัวะ 4 คน เข้าเฝ้าด้วยความเลื่อมใสถวายอาหารที่นำติดตัวมา

ที่มาของ "ระบบวรรณะ" ของอินเดีย

ระบบวรรณะ (Varna) ในคําสอนของศาสนาฮินดูประการหนึ่งกลาวอางเอาไววา การที่มนุษยจะประสบผลสําเร็จใน การประกอบกิจการใด ๆ อันรวมไปถึงการบรรลุโมกษะนั้น มนุษยพึงปฏิบัติใหเปนไปอยางเหมาะสม ตาม"วรรณะ" ดังนั้นชาวฮินดูจึงเครงครัดตอ "ธรรมะ" ของวรรณะของตน ซึ่ง "ธรรมะ" นี้ผูกพัน อยูกับ "อาศรม" หรือ "วัย" ของบุคคลนั้น ๆ ดังรวมเรียกวา "วรรณาศรมธรรม" ซึ่งมีความหมายวา  หนาที่ของคนในแตละวัยของแตละวรรณะ

จากความหมายนี้เองทําใหเรามองเห็นวา ระบบวรรณะ นั้นจะตองผูกพันเกี่ยวของกับชาวฮินดูไปตั้งแตเกิดจนตาย

คำว่า "ศาสนาผี" เป็นคำเรียกเชิงดูถูกของศาสนาไทยยุคหลัง


ที่จริงแล้วศาสนาที่คนไทยเรียกติดปากว่า "ศาสนาผี" ในทางศาสนวิทยาก็คือ "animism" หรือเรียกว่า "ศาสนาประเภทวิญญาณนิยม" โดยลักษณะก็คือ เป็นศาสนาที่นับถือธรรมชาติต่างๆว่ามีวิญญาณบางอย่างควบคุมอยู่ทั้งนั้น โดยนามก็เรียกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น
เพียงแต่คนไทยโบราณมักเรียกวิญญาณต่างๆว่า "ผี" ซึงก็ใช้คำนี้เรียกรวมไปถึงวิญญาณบรรพบุรุษที่ตายไป เช่น ผีพ่อผีแม่ ผีปู่ย่า ผีตายาย รวมไปถึงวิญญาณที่ครอบครองประจำท้องถิ่น เช่น ผีบ้านผีเรือน และแม้แต่ผีบ้านผีเมือง ซึ่งหมายความว่าใช้คำว่าผี หมายถึงวิญญาณทุกอย่างไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ศาสนายุคโพสท์โมเดิร์น

ระบบความคิดของโลกนี้ไม่ได้หยุดนิ่ง แต่มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างจากสัตว์ คือเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่สามารถเรียนรู้ จดจำ และคิดต่อจนเกิดเป็นความรู้ใหม่ความคิดใหม่ ไปจนถึงสามารถถ่ายทอดความรู้และความคิดนั้นไปยังมนุษย์รุ่นต่อๆ ไปได้ จนกระทั่งเกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า “อารยธรรม” และด้วยเหตุที่ระบบความรู้และความคิดของมนุษยชาติในโลกมีการเคลื่อนตัวเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นมาจนปัจจุบัน  

ไทยเป็นรัฐศาสนาหรือไม่?

มีหลายคนพยายามบอกว่า ไทยไม่ได้เป็นรัฐศาสนาเหมือนประเทศอิสลามสักหน่อย  เราเป็นเพียงประเทศที่ยึดถือศาสนาพุทธและให้เสรีภาพแก่ทุกศาสนาเท่าเทียมกันเท่านั้นเอง    ขอให้ลองพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ต่อไปนี้

1. เมื่อดูตามประวัติศาสตร์ไปถึงสมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา ก็จะพบว่า ฝ่ายอาณาจักรไทยมีความสัมพันธ์กับฝ่ายศาสนจักรอย่างแน่นแฟ้น พระมหากษัตริย์ไทยและพระราชนิกุลทรงเป็นพุทธมามกะ และหลายพระองค์ทรงผนวชเป็นภิกษุ จึงมีการอุดหนุนค้ำจุนกันระหว่างสถาบันทั้งสองเรื่อยมา 

รัฐกับศาสนา

การที่ประเทศใช้นโยบายรัฐศาสนา รัฐที่มีศาสนาประจำชาติ หรือ รัฐที่ใช้อำนาจในการเป็นผู้ให้การรับรองแก่ศาสนาต่างๆและนิกายต่างๆ แทนที่จะใช้นโยบายรัฐโลกวิสัย หรือรัฐที่ให้สิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมทางศาสนาอย่างแท้จริง

ผลคือ รัฐจะกลายเป็นผู้ที่มีส่วนสร้างความขัดแย้งระหว่างศาสนา ความขัดแย้งภายในศาสนา ความขัดแย้งระหว่างนิกายในศาสนา และความขัดแย้งภายในนิกาย และเป็นความขัดแย้งในเชิงอำนาจและผลประโยชน์ 

การหมกเม็ดเรื่องเสรีภาพทางศาสนาของไทย

มีคนถามว่า "การที่รัฐธรรมนูญของประเทศไทยบัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา  ถ้าเช่นนั้น คนไทยอยากจะก่อตั้งพุทธศาสนานิกายใหม่ หรือนำเข้าพุทธนิกายใหม่ ในประเทศไทย ได้หรือไม่?"

ขอตอบว่า ไม่ได้ เหตุผลก็คือ เพราะมี "เงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ" และ "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์" เป็นข้อจำกัดอยู่

ขออธิบายเพิ่มเติมเป็นขั้นๆ ดังนี้ว่า

รัฐโลกวิสัย (Secular state)


รัฐโลกวิสัย (Secular state) คือรัฐหรือประเทศที่เป็นกลางทางด้านศาสนา ไม่สนับสนุนหรือต่อต้านความเชื่อหรือการปฏิบัติทางศาสนาใด ๆ รัฐโลกวิสัยจะปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่จะไม่มีศาสนาประจำชาติ หรือหากมีศาสนาประจำชาติ ศาสนานั้นก็จะมีความหมายทางสัญลักษณ์และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชน (หมายเหตุ: คำว่า secular state บางคนก็แปลว่ารัฐโลกียวิสัย หรือ รัฐโลกียะ หรือรัฐฆราวาส ผู้เขียนขอใช้คำว่ารัฐโลกวิสัย ตรงข้ามกับ religious state ซึ่งก็แปลว่า รัฐศาสนา หรือรัฐโลกุตระวิสัย)  

เหตุใดคุณจึงนับถือศาสนาที่คุณนับถืออยู่?


ในการสำรวจถึงเหตุผลในการเลือกนับถือศาสนาของผู้คนว่า "เหตุใดคุณจึงนับถือศาสนาที่คุณนับถืออยู่?" ได้รับเหตุผลในการนับถือศาสนาหลายอย่างที่ถือได้ว่า "ผิดวัตถุประสงค์" ที่แท้จริงของศาสนาเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็กลับพบมากจนกลายเป็นส่วนใหญ่หรือสภาะปกติของการนับถือศาสนาของผู้คนไปแล้ว :

"พอดีต้องพึ่งคนที่นับถือศาสนานั้น"

"ศาสนานี้เขาให้ความช่วยเหลือ"

จัณฑาล...ระบบชนชั้นของศาสนาที่กลายเป็นปัญหาสังคม

มีโรงเรียนรัฐบาลในอินเดียถึงร้อยละ 38 ซึ่งเด็กจัณฑาลต้องแยกโต๊ะรับประทานอาหารกับเด็กวรรณะอื่น และมีโรงเรียนถึงร้อยละ 20 ซึ่งเด็กจัณฑาลไม่ได้รับอนุญาติให้ดื่มน้ำ ร่วมแหล่งเดียวกับเด็กวรรณะอื่นๆ ถ้าเด็กเหล่านี้ได้เข้าโรงเรียนก็จะต้องนั่งแถวหลังสุด!
คนวรรณะจัณฑาลในอินเดีย
คนอินเดียราว 170 ล้านคน (บางข้อมูลว่าถึง 300 ล้านคน) เกิดมาในกลุ่มที่เรียกว่า อวรรณะหรือ ถูกเรียกว่าจัณฑาล หรือ อธิศูทร และคนกลุ่มวรรณะจัณฑาลคือกลุ่มที่ถูกรังเกียจ และถูกเลือกปฏิบัติมากที่สุดในสังคมอินเดียในขณะนี้

ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูเกี่ยวกับเรื่องวรรณะในอินเดียนั้น วรรณะมี 4 ชั้น คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร โดยมีบทบาทความสำคัญในสังคม ตามลำดับ แต่เมื่อมีการแต่งงานข้ามวรรณะ บุตรที่เกิดมาก็จัดเป็นพวกจัณฑาล

เมื่อคนดังคริสต์คาทอลิกพูดเรื่อง LGBT



เป็นข่าวดังทั่วโลกไปแล้วเรื่องที่พระสันตปาปาฟรานซิส ให้สัมภาษณ์ประเด็นชาวรักเพศเดียวกันด้วยประโยคเด็ดว่า  "เราเป็นใครที่จะไปตัดสินเขา?"  ซึ่งตรัสเหมือนกับว่า พระองค์ไม่เห็นว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นความผิด ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะขัดแย้งกับจุดยืนของคริสตชนแนวอนุรักษ์นิยมทั่วโลกทุกนิกายซึ่งก็ถือเป็นคริสตชนส่วนใหญ่

แม่โพสพ...เทพธิดาแห่งข้าว

คนไทยเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีบุญคุณ มีจิตวิญญาณ มีเทพธิดาชื่อว่า “แม่โพสพ” ประจำอยู่ในต้นข้าว  แม่โพสพเป็นผู้คอยดูแลต้นข้าวให้เจริญงอกงาม    และข้าวคือเนื้อของแม่โพสพ  มนุษย์ดำรงชีวิตได้ด้วยการกินเนื้อของแม่โพสพ   ดังนั้นมนุษย์จึงควรบูชาแม่โพสพซึ่งเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเลี้ยงดูโลก   ถ้าผู้ใดทำพิธีตามคติความเชื่อและบูชากราบไหว้แม่โพสพแล้ว  แม่โพสพก็จะไม่หนีหายไป แต่จะทำให้ผู้นั้นทำนาข้าวได้อุดมสมบูรณ์ และร่ำรวย

ไหว้ไม้กางเขนริมนา


ภาพจากFB ของ Dilok Tamjaipuan พร้อมคำบรรยายประกอบว่า "เพราะข้าวคือชีวิต @บ้านป่าบงเปียง จ.เชียงใหม่"

เป็นภาพที่คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้เห็นกัน
ภาพชาวเขาเผ่าหนึ่งกำลังไหว้ "ไม้กางเขน" ที่ปักอยู่ริมท้องนาที่เพิ่งผ่านการดำนามา

ไม้กางเขนดังกล่าวมีคล้องสายประคำคล้องกางเขนไว้ด้วย
พร้อมกับโต๊ะบูชา ที่มีเทียนและอาหารเซ่น

ศาสนาบาไฮ...อีกศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว

แนวคิดของศาสนาบาไฮ เกี่ยวกับเรื่องพระเจ้าคือ พระผู้เป็นเจ้ามีเพียงพระองค์เดียว แต่เป็นที่รู้จักกันไปตามชื่อเรียกต่าง ๆ นานา ตามภาษาที่แตกต่างกัน เช่น พระองค์ถูกเรียกว่า "ก๊อด" ในภาษาอังกฤษ "ยาเวห์" ในภาษาฮีบรู "อัลลาห์"ในภาษาอาหรับ "ดีโอส" ในภาษาสเปน "พระพรหม" ในภาษาฮินดู  กระนั้นก็ตามอำนาจสูงสุดมีเพียงหนึ่งเท่านั้น ซึ่งในคัมภีร์บาไฮได้อธิบายไว้ว่า เป็นพระผู้ทรงอำนาจ พระผู้ทรงมหิทธานุภาพ พระผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง พระผู้ดำรงอยู่นิรันดร์ ไม่มีผู้ใดเคยเห็นพระผู้เป็นเจ้า เราอาจนึกคิดเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าได้บ้างโดยการ สังเกตความอัศจรรย์ของธรรมชาติที่พระองค์สร้างขึ้นมา แต่ไม่มีใครเข้าใจถ่องแท้ว่าพระผู้เป็นเจ้าคืออะไร เพราะพระผู้เป็นเจ้าทรงอยู่เหนือประสบการณ์ของมนุษย์

ศีลอด

แทบทุกศาสนามักจะมีการจำศีลหรือถือศีลอดอาหาร (religious fasting) มีหลายรูปแบบ และไม่ได้มีแต่ผู้ที่เป็นนักบวชเท่านั้น แม้แต่ศาสนิกชนทั่วไปก็ยังมีการให้ถือศีลอดอาหารในบางช่วงเวลาในรอบปีด้วย เพื่อให้มีวุฒิภาวะด้านจิตใจ และอารมณ์

ในศาสนาพุทธ มีการถือศีลอด เป็นศีลข้อ 6 ของ "ศีลแปด" เนื้อความบอกว่า

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ล้อเลียนศาสนา?

มีหลายท่านถามผู้เขียนมาว่า คิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเพจล้อเลียนศาสนา?


ผู้เขียนคิดเห็นว่าอย่างนี้ว่า ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาก็ตาม แต่สังคมควรมีค่านิยมที่ยอมรับและสนับสนุนสิทธิเสรีภาพในความเชื่อ (free thinking) และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (free speech) และไม่ถือว่าการวิจารณ์ความคิดความเชื่อหรือศาสนาเป็นเรื่องผิดในกรณีที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังกัน (hate speech) เว้นเสียแต่จะไม่มีหรือไม่เคยมีเหตุผลประกอบ และมีการแสดงความอาฆาตมาดร้าย

ศาสนาล้อเลียน


ศาสนาล้อเลียน (Parody religion หรือ Mock religion) เป็นระบบความเชื่อทางศาสนาที่มีคนสร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบเชิงล้อเลียนเสียดสีศาสนาบางศาสนา หรือล้อเลียนหลายศาสนา หรือล้อเลียนบางนิกาย หรือล้อเลียนผู้นำศาสนาบางคน หรือบางลัทธิ หรือบางทีก็เพียงแต่เน้นให้คนเห็นถึงจุดบกพร่องบางแง่ของบางศาสนาและโต้แย้งกับแนวคิดที่สนับสนุนเรื่องนั้นๆ

มาลองดูตัวอย่างของศาสนาล้อเลียนที่มีคนสร้างกันขึ้นมา

กฎหมายศาสนา...ตอนสาม : กฎหมายอิสลาม

กฎหมายศาสนาอิสลามมีแหล่งกำเนิดในนครเมกกะ (Mecca) เมื่อประมาณ 1,300 ปีเศษล่วงมาแล้วเป็นกฎหมายที่สอนให้ชาวมุสลิมมีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว คือ พระอัลเลาะฮ์ทรงเป็นผู้สร้างโลกมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งปวง โดยมีพระนบีมูฮัมมัดเป็นศาสดาเผยแพร่ศาสนาอิสลาม

กฎหมายอิสลามเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงหน้าที่ของชาวมุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า สังคมและครอบครัว เช่น กฎหมายครอบครัว กฎหมายมรดก กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความ แต่ส่วนที่เป็นกฎหมายอิสลามที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ กฎหมายครอบครัวและมรดก ส่วนกฎหมายอื่นๆ ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากกฎหมายของประเทศในซีกโลกตะวันตก

กฎหมายศาสนา...ตอนสอง : กฎหมายคริสต์

กฎหมายศาสนาคริสต์ ซึ่งมีกำเนิดมาจากคำสอนของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกและคำสอนของพระสันตะปาปาหลังจากที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ไปแล้วประมาณ 500 ปี การก่อตั้งศูนย์รวมอำนาจของศาสนาจักรของพระสันตะปาปาขึ้นที่นครวาตินกันและความศรัทธาที่ชาวยุโรปมีต่อศาสนาคริสต์ทำให้ศาสนาคริสต์เจริญรุ่งเรืองมากพระสันตะปาปามีอำนาจครอบคลุมทั้งฝ่ายศาสนาจักรและอาณาจักร ศาสนาคริสต์และสมณโองการของพระสันตะปาปาได้กลายมาเป็นกฎหมายศาสนาคริสต์ ซึ่งเรียกว่า Canon law  ใช้บังคับแก่คริสต์ศาสนิกชน  หากใครฝ่าฝืนก็จะได้รับโทษ

แต่หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกรวมทั้งกฎหมายศาสนาคริสต์ เริ่มเสื่อมอำนาจลง

กฎหมายศาสนา...ตอนแรก : กฎหมายฮินดู

ระบบกฎหมายประเภทหนึ่งที่นับว่ามีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อการร่างกฎหมายของหลายประเทศมาก  คือ "กฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม"  (Religious and Traditional Law)   ซึ่งคำว่า "ประเพณีนิยม" ที่ว่านี้ก็มักอิงความเชื่อเชิงศาสนาเช่นกัน    มีกลุ่มประเทศจำนวนไม่น้อยที่เอาศาสนาไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายจนวิวัฒนาการกลายเป็นกฎหมายศาสนาขึ้น

การที่กฎหมายประเภทนี้มีอิทธิพลต่อการร่างกฎหมายในหลายประเทศก็เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีความเชื่อในศาสนาใดศาสนาหนึ่งอย่างเคร่งครัด  และศาสนาดังกล่าวก็มีอิทธิพลต่อจิตใจของผู้คนเป็นอย่างมาก

เหตุใดศาสนจักรคาธอลิกจึงมีอำนาจทางการเมืองสูงมากในยุคกลาง?

ในยุโรปยุคกลาง  คริสตจักรและสมเด็จพระสันตะปาปามีบทบาทและอำนาจทางการเมืองอย่างยิ่งใหญ่มาก  เป็นทั้งผู้นำทางจิตวิญญาณและเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศด้วย   ซึ่งปัจจุบันไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว คำถามคือ คริสต์ศาสนาเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการเมืองมากขนาดนั้นได้อย่างไร    ทั้ง ๆ ที่พระเยซูคริสตเจ้าเองไม่เคยปรารถนาที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองเลย?    คำสอนของพระองค์ถูกสร้างขึ้นเพื่อชำระวิญญาณและไถ่บาปให้แก่มวลมนุษยชาติ มิได้มุ่งหวังที่จะสร้างรัฐและรัฐบาล หรือข้อเสนอแนะนำว่าสถาบันทางโลกควรมีหน้าที่อย่างไร พระองค์มุ่งหวังที่จะสถาปนาอาณาจักรธรรม และทรงประกาศยืนยันว่าพระองค์ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางโลกแม้แต่น้อย 

 แต่เหตุใดในยุคกลางจึงเป็นเช่นนั้น   มีแนวคิดอะไรอยุ่เบื้องหลัง?  

เพเกิ้น "ศาสนานอกศาสนา"

ศาสนาเพเกิน (Paganism) คือ "ศาสนานอกศาสนา"  ฟังดูนำขันไหม  แต่นี่คำที่ถูกเรียกเชิงดูถูก   คำว่า Pagan นี้มาจากภาษาละติน paganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”

คำว่า เพเกิ้น (Pagan) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้พูดถึงรวมๆของศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนที่จะมีการนับถือศาสนาคริสต์ในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก

เทวนิยมสารพัดแบบ และอเทวนิยม

"เทวนิยม"   มาจากอังกฤษว่า Theism สร้างมาจากคำว่า theos ในภาษากรีกที่แปลว่า เทพ คำว่าเทวนิยมมีความหมายอย่างกว้างหมายถึงความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าหรือเทพเจ้า ความหมายอย่างแคบคือเชื่อแบบเอกเทวนิยมว่ามีพระเจ้าองค์เดียวและทรงสัมพันธ์กับการดำรงอยู่ของเอกภพ

เทวนิยมยังเชื่อว่าพระเจ้าทรงเป็นบุคคล และมีอำนาจปกครองและจัดการโลกและเอกภพ
แนวคิดตามแบบแผนนี้อธิบายพระเจ้าในเชิงเอกเทวนิยมซึ่งปรากฏในศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดูในบางสำนัก

ศาสนามีกี่ประเภท?


หากถามว่าศาสนามีกี่ประเภท ต้องบอกว่า มันจัดประเภทได้หลายแบบ แต่ละแบบก็จะแยกเป็นหลายประเภท แต่แบบที่นิยมจัดกันเพราะมีนัยสำคัญมี 4 แบบหลักคือ 1. แบ่งตามถิ่นกำเนิด 2. แบ่งตามลำดับวิวัฒนาการของศาสนา 3. แบ่งตามความซับซ้อนของการจัดการ 4. แบ่งตามลักษณะผู้นับถือ ลองดูรายละเอียดกัน

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วงแหวนโครงสร้างทางศาสนา ของ Federick Heiler


Federick Heiler (เฟดเดอริค เฮเลอร์) นักศาสนวิทยาชาวเยอรมัน มีแนวคิดและว่าโครงสร้างของศาสนาต่างๆ นั้นมี "ประสบการณ์ทางศาสนา" เป็นหัวใจ เขาเสนอโครงสร้างเป็นวงแหวน 2 ชั้นล้อมรอบสิ่งนี้

วงแหวนรอบแรกซึ่งอยู่ติดกับประสบการณ์ทางศาสนาที่สุดประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ
1. ความคิดเกี่ยวกับพระเป็นเจ้า (concept of deity)

Syncretism การผสานความเชื่อทางศาสนา

การผสานความเชื่อ (Syncretism) คือความพยายามที่จะผสานความคิดหรือปรัชญาที่ต่างกันหรือตรงกันข้ามกันเข้าด้วยกัน โดยการนำตระกูลความคิดต่าง ๆ มาผสมผสานให้กลืนกันกันตามแนวปรัชญาใหม่ ที่อาจจะทำได้จากการดึงแนวเทียบของปรัชญาดั้งเดิม ธรรมเนียม และโดยเฉพาะจากเทววิทยาและปรัมปราวิทยาของศาสนาต่าง ๆ มาผสานกัน ในการสร้างพื้นฐานของความเป็นเอกทัศน์ของความคิดต่างๆ ดังว่าที่สามารถทำให้สร้างความเข้าใจได้จากมุมมองร่วมกัน (inclusive approach) ได้

เทพ และเทวดา

ถามกันเสมอว่า ศาสนาพุทธมีเทพเหมือนศาสนาพรามณ์หรือไม่? หรือ เทพในศาสนาพราหมณ์กับศาสนาพุทธเหมือนกันหรือไม่? ซึ่งก็รวมทั้งคำถามที่ว่า ในเมือในศาสนาพุทธก็มีเทพแล้วถูกจัดเป็นศาสนา "อเทวนิยม" ได้อย่างไร?

ขอตอบว่า ศาสนาพุทธแบบเถรวาทก็มีการใช้คำว่า "เทพ" เช่นเดียวกับศาสนาพราหมณ์ เพียงแต่เทพในศาสนาพุทธมีความหมาย และบทบาทไม่เหมือนกับเทพในศาสนาพราห์มเสียทีเดียว ความเชื่อเรื่องเทพของสองศาสนาแตกต่างกัน"เทพ" ในศาสนาพราหมณ์หมายถึง "เทพเจ้า"   แต่คำว่าเทพที่ใช้ในศาสนาพุทธ จะใช้หมายถึง "เทวดา"

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

henotheism ความสับสนในศัพท์ศาสนวิทยา

มีความสับสนและเข้าใจผิดกันมากต่อศัพท์ทางศาสนวิทยาที่สำคัญ ๓ คำ ได้แก่คำว่า "monotheism" "polytheism" และคำที่ผู้คนคุ้นเคยน้อยมากคือคำว่า "henotheism" ทั้งสามคำนี้เชื่อมโยงกันแต่ความหมายต่างกัน ขออธิบายให้ชัดๆ อย่างนี้ 

เริ่มจากสองคำแรกที่เป็นคำพื้นฐานก่อน คำแรก monotheism ที่ถูกบัญญัติศัพท์ไทยว่า เอกเทวนิยม แปลว่า การเชื่อว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียว (อย่าสับสนกับ monism ที่แปลว่า เอกนิยม)

คำที่สอง polytheism ที่ถูกบัญญัติเป็นคำไทยว่า พหุเทวนิยม แปลว่า การเชื่อว่ามีพระเจ้า(หรือเทพเจ้า)หลายองค์

กฎหมายกับศาสนา

รํฐไม่ได้มีหน้าที่พาประชาชนไปสวรรค์และพ้นนรก แต่รัฐมีความรับผิดชอบที่จะต้องทำใ้ห้สังคมเป็นสุขและสงบ ซึ่งก็ทำได้โดยการให้มีเสรีภาพและความเสมอภาค

หากรัฐคิดว่าต้องมีหน้าที่พาคนไปสวรรค์และพ้นนรก ก็ย่อมต้องเอาศีลทางศาสนามาทำเป็นกฎหมาย

และเมื่อทำอย่างนั้น คนมากมายก็จะขาดเสรีภาพและขาดความสุขทันที เพราะศีลคือข้อห้ามต่างๆที่หากทำแล้วจะเป็นบาป

ความชั่วร้ายที่จำเป็น

"ความชั่วร้ายที่จำเป็น" หรือ Necessary Evil 

ในชีวิตจริง มนุษย์ต้องตัดสินใจเลือกทางจริยศาสตร์หลายแบบ
ไม่ใช่แค่เลือกระหว่าง ดี กับ ชั่ว เท่านั้น
แต่ยังต้องเลือกระหว่าง ดี กับ ดีกว่า

และที่ยากที่สุดคือ หลายครั้งต้องเลือกระหว่าง ชั่ว กับ ชั่วน้อยกว่า

ศาสนาใดสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

มีคำถามมาว่า  ศาสดาของศาสนาไหน สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย?

ผู้เขียนขอตอบว่า ไม่มีเลย เพราะในยุคสมัยของศาสดาในทุกศาสนานั้น ยังไม่เคยมีรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเลย

ยกตัวอย่าง ในสมัยพระพุทธเจ้า สภาพการเมืองในยุคนั้นเป็นการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ฤคเวท...คัมภีร์ศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก



ในบรรดาคัมภีร์ทางศาสนาทั้งหลาย  คัมภีร์ที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดในโลกคือ "ฤคเวท" คัมภีร์เล่มหนึ่งของ "ชุดคัมภีร์พระเวท" ของศาสนาพราห์ม     เพื่อความชัดเจนขออธิบายให้เห็นภาพรวมดังนี้

คัมภีร์ทางศาสนาของอินเดียที่ประกอบกันขึ้นเป็นพระเวทนั้น ประกอบด้วยงานเขียน  ๔ ประเภท คือ  มันตระ  พราหมณะ  อารัณยกะ   อุปนิษัท

“อำนาจ” ของ ผี, พราหมณ์, พุทธ

โดย สุจิตต์ วงศ์เทศ


① ผี, พราหมณ์, พุทธ ล้วนมีอำนาจเหนือธรรมชาติ อันเป็นความเชื่อของมนุษย์ ที่ถูกมนุษย์ด้วยกันสร้างขึ้น ตั้งแต่ยุคดั้งเดิมดึกดำบรรพ์สืบทอดถึงปัจจุบัน

คนทุกวันนี้เชื่อว่าไทยเป็น “พุทธแท้” มาก่อน โดยไม่มีอย่างอื่นปะปนแปดเปื้อน

แต่แท้จริงมีพยานหลักฐานและร่องรอยจำนวนมาก ยืนยันสอดคล้องว่าพุทธในไทยไม่เคยเป็นพุทธบริสุทธิ์อยู่โดดๆ เพราะล้วนมีผีกับพราหมณ์ปะปนเป็นเนื้อเดียวกันตั้งแต่ยุคแรกประดิษฐานในสุวรรณภูมิ ราว 2,000 ปีมาแล้ว จนถึงทุกวันนี้ยิ่งปะปนกันมากมิได้ต่างจากอดีต

'พระยาแถน' ต้นเรื่องของผู้คนในอินโดจีน

โดย พลาดิศัย

การเกิดของมนุษย์ที่มาจากรูน้ำเต้าลูกเดียวกันนั้น เริ่มต้นเรื่องตรงที่พ่อขุนทั้งสาม คือ ปู่ลางเชิง ขุนคาน และขุนเด็ก ตั้งเมืองอยู่ที่เมืองลุ่ม โดยมีพระยาแถนซึ่งเป็นเทวดาอยู่เมืองฟ้าเป็นผู้ดูแล ต่อมาเกิดไม่เชื่อฟังพระยาแถน ทำให้พระยาแถนเคืองจึงทำให้น้ำท่วมเมืองลุ่ม คนกลุ่มนี้จึงพาเอาลูกเมียลงแพ แต่น้ำได้พัดขึ้นไปเมืองฟ้า

ครั้งนั้นพระยาแถนได้กล่าวเตือนพ่อขุนทั้งสามว่า .. ที่สั่งให้กินข้าวให้บอกให้หมาย กินแลงกินงายให้บอกแถน กินขึ้นให้ส่งขากินปลาให้ส่งรอยแก่แถนนั้น เป็นการยำแถนยำผีเถ้ายำเจ้ายืนกาย ก็ไม่ฟังกัน.. แล้วพระยาแถนก็จัดให้คนเหล่านั้นไปอยู่ที่บึงดอนแถนลอ แต่น้ำแห้งจึงกลายเป็นแผ่นดิน ต่อมาพ่อขุนเหล่านั้นได้ขอว่า อยู่เมืองบนเมืองฟ้าบ่เป็น จึงขอกลับไปอยู่เมืองลุ่มลีดเลียง เมืองเพียงคัดค้อย (หรือเพียงพักยอม)

หลักจริยธรรมของรัฐโลกวิสัย

รัฐทุกรัฐย่อมต้องมีกฎหมาย  และกฎหมายย่อมต้องตั้งอยู่บนกฎจริยธรรม   แต่การที่รัฐแต่ละรัฐมีหลักจริยธรรมที่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว  ก็ทำให้แนวคิดในการบัญญัติกฎหมายหมายจึงต่างกันไปด้วย 
และสิ่งหนึ่งที่ทำให้หลักจริยธรรมในการบัญญัติกฎหมายไม่เหมือนคือเรื่องของศาสนา   

รัฐที่เป็นรัฐศาสนา  หรือรัฐที่มีการระบุศาสนาประจำชาติ  หรือรัฐที่อิงศาสนาใดมาก การบัญญัติกฎหมายก็ต้องโน้มเอียงไปในทางการปกป้องศาสนานั้น และควบคุมสังคมให้ทำตามคำสอนของศาสนานั้น

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

จากศาสนาผี สู่ศาสนาเทพ


 กล่าวไปแล้วในเรื่อง "ศาสนาผี" และ "พัฒนาการ" ของศาสนาผี  ทีนี้ผู้เขียนจะพูดถึงในแง่ที่ว่า ศาสนาผี "วิวัฒนาการ" ตัวเองต่อไปอย่างไรจนกระทั่งกลายเป็น "ศาสนาเทพ"  และศาสนาที่มีความเป็นทางการอื่นๆ

เดิมนั้นศาสนาผี เป็นศาสนาที่เกิดจากรากฐานของการความกลัวและความไม่มั่นใจต่อการดำเนินชีวิต  และพื้นฐานก็คือการนับถือบูชาต่อวิญญาณ (ผี) จากผีฟ้าหรือผีแห่งธรรมชาติ  ก็มาสู่ผีบรรพบุรุษ  ผีชนเผ่า ผีประจำตัว  แล้วก็ผีประจำวัตถุของขลัง  

ผีกับพุทธ ศาสนาของคนไทย

โดย อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม

เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์เกิดความไม่มั่นคงต้องหาที่ยึด ทีนี้ความเป็นมนุษย์ถ้าเกิดความไม่มั่นคงขึ้นเมื่อไหร่ สิ่งที่เขายึดได้คือความเชื่อ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม อธิบายไม่ได้ว่าทำไมถึงเกิดเดือดร้อนขึ้นตรงนี้ ก็หันไปหาความเชื่อ ทีนี้ความเชื่อนี้มันมีสองชนิดด้วยกัน มีศาสนาและไสยศาสตร์ เวลาคนหันไปหาความเชื่อขณะนี้ ในสังคมไทยถ้ามามองแล้ว ความเชื่อนั้นอิงไปทางไสยศาสตร์มากกว่าเป็นศาสนา เพราะฉะนั้นผมต้องอธิบายว่าศาสนาและไสยศาสตร์มันต่างกันอย่างไร

ทั้งศาสนาและไสยศาสตร์เป็นความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติเหมือนกัน และศาสนาหมายถึงความเชื่อที่คนสยบต่ออำนาจที่เหนือธรรมชาติ เมื่อสยบต่ออำนาจเหนือธรรมชาติก็ยอมอยู่ในกติกา พูดง่ายๆ ว่าอยู่ในจารีตประเพณี ระเบียบ และศีลธรรม อันนี้ความหมายทางศาสนาอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นศาสนานั้นมีความหมายหนึ่ง ตอบสนองความทุกข์ทางจิตใจของคน เวลาเรามีเรื่องทุกข์ร้อนเราก็วิ่งไปหาศาสนา นั้นคือความหมายตามที่ศาสนาสอน

อันที่สอง ศาสนาทำให้มนุษย์อยู่เป็นกลุ่มเหล่า มีกำลังใจที่จะอยู่เป็นกลุ่ม เป็นการตอบสนองธรรมชาติของมนุษย์ในฐานะเป็นสัตว์สังคม แต่ว่าความเชื่ออันนี้มันไม่มีอยู่ในตัว มันมีความเชื่ออีกชนิดหนึ่ง เป็นความเชื่อที่ว่าจะใช้อำนาจเหนือธรรมชาติให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง ในเชิงเป็นเทคโนโลยี ตัวศาสนานี้คือตัวองค์ความรู้ทั้งหมด แต่จะทำอย่างไรให้บรรลุในแง่ตอบสนองความต้องการได้ ก็หันมาใช้ไสยศาสตร์

ไสยศาสตร์เหมือนกับเทคโนโลยี ทีนี้เมื่อไสยศาสตร์มันเกิดเป็นดาบสองคมขึ้นมา คือ ถ้าใช้ผิดก็อันตรายอย่างที่เราใช้เทคโนโลยี ถ้าใช้ผิด บ้านเมืองพัง ใช่ไหมครับ คือไม่ใช่เทคโนโลยีที่เหมาะสม แล้วไสยศาสตร์ก็เหมือนกันถ้าไม่ใช้ในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ก็เกิดภาวะที่เดือดร้อนขึ้น แล้วจากไสยศาสตร์ที่เรียกว่าเป็นเทคโนโลยีมันมีทั้งไสยขาวและไสยดำ

ถ้าไสยขาวคือทำไปในทางที่ดี อย่างเช่นเรื่องของพิธีทางพราหมณ์ อย่างทำอะไรเพื่อความเป็นสวัสดิ์มงคล ที่เรานำพราหมณ์มาใช้ เป็นพิธีที่เป็นไสยขาวมาก

แต่ถ้าเป็นไสยดำ เสน่ห์ยาแฝด คุณไสยแช่งด่าเขาอย่างนี้ นี่เป็นไสยศาสตร์ หรือว่าต้องการรวยทั้งๆ ที่ตัวไม่มีศีลธรรม ไปเอาอำนาจเหนือธรรมชาติมาใช้ หาเครื่องรางของขลังต่างๆ เหล่านี้มา ทำให้ร่ำรวยขึ้นมา อันนี้เป็นไสยศาสตร์

ไสยศาสตร์เป็นเรื่องปัจเจก ตอบสนองความต้องการของคนที่เป็นปัจเจก แต่ถ้าศาสนาไม่ใช่ ศาสนาเป็นสิ่งที่คนสยบ แต่ว่าไสยศาสตร์เป็นสิ่งที่คนเอาไปใช้

เพราะฉะนั้นเวลาเรามองปรากฏการณ์ทางสังคม เมื่อคนหันกลับไปหาความเชื่อ ต้องพิจารณาก่อนว่าเป็นศาสนาหรือไสยศาสตร์ ขณะนี้ในความคิดของผม ผมคิดว่าศาสนามันมีน้อยเหลือเกิน เพราะว่าคนหันไปเล่นไสยศาสตร์กันมาก อย่างจตุคามรามเทพเห็นชัด ปรากฏการณ์จตุคามรามเทพนั้น เมื่อแรกสร้างเทพองค์นี้ขึ้นมา เพื่อให้เป็นที่พึ่งทางจิตใจ ให้เกิดความมั่นคงในชีวิต แต่เมื่อทำมากๆ ขึ้น มันเพี้ยนไปทางไสยศาสตร์ รวยตะบันเลย

ผมเคยพูดว่ามีกูแล้วมึงไม่จน อันนี้เป็นไสยศาสตร์ ถ้ามีกูแล้วมึงไม่โกงนี่เป็นศาสนา อันนี้คือสิ่งที่เราเห็น ฉะนั้นเวลาเรามองความเชื่อมันก็เป็นอย่างนี้ มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่ได้กับความเชื่อ แล้วความเชื่อเป็นสิ่งที่สมมุติทั้งนั้น แต่มนุษย์เชื่อว่าเป็นจริง แล้วมนุษย์เป็นสัตว์ประหลาดมาก เพราะในชีวิตของมนุษย์พึ่งตัวเองไม่ได้ แม้กระทั่งชีวิตประจำวัน ต้องพึ่งคนอื่น ต้องอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนใช่ไหม กับครอบครัว เรื่อยมา ชุมชน ญาติพี่น้อง เป็นบ้านเมืองเป็นประเทศไปเลย

อีกอันหนึ่งมนุษย์มีจิตใจอ่อนไหวมาก ในเรื่องจิตใจสำคัญมาก ถ้ามนุษย์มีปัญหาเรื่องจิตใจต้องหันไปหาความเชื่อ เพราะว่ามันอธิบายไม่ได้ทางวิทยาศาสตร์ จึงทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา เพราะฉะนั้นปรากฏการณ์ความเชื่อในสังคมไทยขณะนี้มันสะท้อนให้เห็น เนื่องจากความไม่มั่นคงในจิตใจและความเป็นมนุษย์ จึงเกิดการเคลื่อนไหวตรงนี้ขึ้นมาในระบบความเชื่อ แล้วระบบความเชื่อแบบนี้เมื่อไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่นอย่างทางตะวันตก เขาเชื่อน้อยกว่าเรา แล้วมาคุยว่าเป็นประเทศที่ก้าวหน้าทางวัตถุ ประชาธิปไตยจ๋า มีตึกรามบ้านช่องใหญ่ๆ แต่คุณหนีไม่พ้นระบบความเชื่อหรอก นี่คืออัตลักษณ์ของคนไทย ไม่เชื่อดูตามอาคารใหญ่ๆ ศาลเทพศาลผีเต็มเลย อย่างโรงแรมใหญ่ๆ เอาระดับสูงเอาศาลพระพรหม ที่ตรงปิ่นเกล้าฯ มีเทพชั้นสูง ศาลพระศิวะ ทุกวันนี้ไม่มี ในสังคมเมืองตามบ้านเรือนมีแต่ศาลพระภูมิเท่านั้น เดี๋ยวนี้มีทั้งศาลพระพรหมมากมาย นี่คือลักษณะของสังคมไทย

ท่ามกลางความเจริญทางวัตถุแบบตะวันตก แต่คุณก็ยังมีสิ่งที่เป็นดั้งเดิมอยู่คือความเชื่อ แล้วนับวันมันจะเพิ่มพูนขึ้นมา แล้วสิ่งที่ท่านเห็นในเมืองนี้มีผีมากกว่าในชนบทอีก ซึ่งประเดี๋ยวผมจะพูดถึงเรื่องด่านซ้าย

ในชนบทท่านจะเห็นว่าในหมู่บ้านนี้มีผีอยู่สามระดับด้วยกัน ผีที่เป็นหลักคือผีเรือน ในเรือนจะต้องมีผีดูแล เพราะฉะนั้นหนุ่มๆ ต่างถิ่น พอเข้าไปบ้านเขา เขาตีหัวเอานะ ถ้าหากว่าเข้าไปอย่างผลีผลาม คือ ผิดผี อย่างพวกโซ่งนี่ เข้าไปไม่ได้ เขาต้องอนุญาตผีเรือนก่อน นั่นเป็นระดับผีเรือน แต่ผีเรือนนี้จะไม่ปรากฏรูปร่าง เขาจะอยู่ที่เสาบ้างอะไรบ้าง มันเป็นสัญลักษณ์มากกว่า

ถัดจากผีเรือนก็คือ ผีบ้าน คือผีชุมชน อย่างทางภาคอีสานเห็นไหมมีผีปู่ตา นี่เป็นผีชุมชน ชุมชนหมู่บ้าน ถ้าเป็นชุมชนเมืองก็มีผีเมือง ผีเมืองคือมเหศักดิ์หลักเมือง เป็นผีประจำเมืองเลย แล้วเขาเชื่อว่าผีประจำเมืองคือ วิญญาณเจ้านายสูงศักดิ์ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว แต่ผีบ้านคือวิญญาณของปู่ย่าตายาย แต่ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นใคร เพราะฉะนั้นระดับผีบ้านคือปู่ย่าตายาย บรรพบุรุษที่ไม่ปรากฏตัว แต่ว่าถ้าหากว่าเป็นผีเมืองคือผีเจ้านาย ทางภาคเหนือมีผีเจ้านายเห็นไหม ลาวมีผีมเหศักดิ์ มเหศักดิ์หลักเมือง จะมีศาลตรงนั้น นี่คือสังคมในชนบทที่มีอยู่ 

เพราะฉะนั้นเรื่องความเชื่อเรื่องผีนี่ชัดเจน แต่ว่าในชนบทนั้นไม่ได้มีผีอย่างเดียว จะเห็นว่าตามวัด ชุมชนที่สำคัญที่สุด ความเป็นชุมชนจะรวมศูนย์อยู่ที่วัด ชื่อวัดกับบ้านนั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะฉะนั้นในความเชื่อของคนในชนบทนั้น มีผีและมีพุทธด้วย

แต่พุทธเหมือนร่มเงาใหญ่ ผีอยู่ภายใต้พุทธ แล้วในแผนการพัฒนาบ้านเมืองมาแต่เดิมถ้ามองในชนบท ผีค่อยๆ มาเป็นสาวกของพุทธมาก่อน วัดบางแห่งมีเสื้อวัด เพราะฉะนั้นผีกับพุทธจึงอยู่ด้วยกัน และเป็นลักษณะที่เรียกว่าศาสนา เพราะคนสยบต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ แล้วอยู่ในกติกา เพราะฉะนั้นเวลานี้ในชนบท ผีคือผู้ที่รักษาทรัพยากร การใช้น้ำ การใช้ป่า พื้นที่สาธารณะ คุณก็ไปไหว้กราบผี ถ้าคุณ ประพฤติผิด ผีลงโทษ พังหมดเลย

เพราะฉะนั้นชนบทมีพลัง และทำให้สังคมไทยจรรโลงอยู่ได้ ผีคือสิ่งที่จรรโลงความมั่นคงของคนในโลกนี้ เจ็บไข้ได้ป่วยกลุ่มเด็ก หาผี นักศึกษาผู้รู้ ผู้รู้ก็ใช้ไสยศาสตร์บางอย่าง เอามาใช้เพื่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลขึ้นมา แล้วผีช่วยในการสำหรับโลกนี้ บรรเทาความเดือดร้อน โดยเฉพาะการจัดทรัพยากรธรรมชาติ อย่างป่าบางป่าที่เราดัดจริตเรียก ป่าชุมชน เราดัดจริตนะ ที่จริงป่าเหล่านั้นเป็นป่าสาธารณะ มันมีชื่อ มันไม่ใช่ป่าชุมชน อย่างป่านางรำอะไรพวกนี้ อย่างเขตแถวๆ อุทัยธานี คำว่านางรำมันเป็นชื่อ มีตำนาน แล้วมีผีดูแล เพราะฉะนั้นถ้าใครเข้าไปในป่า ไปทำลาย ไปใช้ทรัพยากรเกินตัว ผีลงโทษ เพราะผิดกติกา ผิดขึด ผิดขะลำก็มีปัญหาขึ้นมา เพราะฉะนั้นทำให้เกิดการควบคุมทรัพยากร ผีควบคุมและคอยดูแล

สังคมในชนบทแต่เดิมอยู่ด้วยแบบเศรษฐกิจพอเพียง เอื้ออาทรแบบที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพูด ถ้าใครไปใช้มากผีลงโทษ มันอยู่ด้วยกติกา เพราะฉะนั้นในชนบทผีเป็นพื้นฐาน แต่ไม่ปฏิเสธพุทธ ผีเป็นสาวกของพุทธ

ในสังคมภาคกลาง เมื่อคนลาวเข้ามาอยู่ในภาคกลางมีตัวเปลี่ยนพฤติกรรม เอาผีมาเหมือนกัน แต่เวลาเซ่นผีบ้าน ผีปู่ตา เขาจะไม่ฆ่าไก่หรือหมูพวกนั้นเซ่น เขาจะทำบุญในวัด แล้วก็กรวดน้ำไปให้ผีปู่ตาหมดเลย ผีปู่ตาก็อยู่ในวัด แล้วอันนี้ทำให้วัดเป็นศูนย์กลางของความเชื่อทั้งผีและพุทธ แต่ผีอยู่ภายใต้พุทธศาสนา ผีเป็นผู้พิทักษ์พุทธศาสนาด้วย

เพราะฉะนั้นการนับถือศาสนาของคนไทยในชนบทเป็นอย่างนี้มาตลอด เชื่อหรือไม่เชื่อท่านไปดู พระสงฆ์องค์เจ้าก็รู้ว่าวาระไหนที่ใช้ผี วาระไหนที่จะอธิบายเรื่องพุทธ สังคมไทยในชนบทเป็นสังคมที่มีดุลยภาพ มีดุลยภาพเพราะอะไร พอคุณต้องการพึ่งความเดือดร้อนทางโลก โลกนี้นะคุณก็ไปหาผี ถ้าหากว่าจะพึ่งโลกหน้า ผีเอาไม่อยู่ พุทธดีกว่า

อ่านทั้งหมดที่  http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=825 

ไทยนับถือศาสนาผี ไม่ว่าก่อนหรือหลังรับศาสนาพราห์ม-พุทธ

โดย สุจิตต์ วงศ์เทศ

ก่อนรับศาสนาพราหมณ์-พุทธ คนพื้นเมืองมีหินตั้งเป็นวัฒนธรรมเนื่องในศาสนาผี

หลังรับศาสนาพราหมณ์-พุทธ หินตั้งก็ยังมั่นคงดำรงอยู่สืบมา เนื่องในศาสนาผี เพียงแต่มีพราหมณ์-พุทธมาประดับประดาปะปนให้ดูดีเท่านั้น

ศาสนาผี คือ ระบบความเชื่อพื้นเมืองดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ของบรรพชนคนสุวรรณภูมิ (รวมคนไทยด้วย) ในอุษาคเนย์ ไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ก่อนรับศาสนาพราหมณ์-พุทธ

ผี หมายถึง อำนาจเหนือธรรมชาติที่คนแต่ก่อนเชื่อว่าบันดาลให้เกิดได้ทั้งเหตุดีและเหตุร้าย (คำว่าผีมีความหมายเดียวกับคำว่า เจ้า, เทวดา)

คนนับถือศาสนาผีเมื่อหลายพันปีมาแล้ว ต้องเซ่นวักฟ้าดิน เพราะเชื่อว่าผีฟ้าผีดินบันดาลให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์เลี้ยงดูผู้คนได้ จึงแสดงออกด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ คือ ก่อ (สร้าง) กองดินหรือไม้หรือหิน (ที่เรียกอีกอย่างว่า เส้า) ดังมีในคำบอกเล่าเก่าแก่ว่า
“ก่อเป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน” “ก่อเป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเหมือนเห็ด ก่อเป็นดินเจ็ดก้อน...”

น่าเชื่อว่าลักษณะแบบหนึ่งของการก่อหรือสร้าง คือก่อดินเป็นกองมีไม้ปักตรงกลาง ต่อมาใช้หิน แล้วเรียกกันภายหลังว่า “หินตั้ง” มีรูปแบบหลายอย่างต่างๆ กัน เช่น พบบนยอดเขาพุหางนาค อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

พุหางนาค เป็นชื่อทางน้ำที่มีต้นน้ำอยู่บนยอดเขา ระหว่างเขาพระทางด้านเหนือกับเขาทำเทียมทางด้านใต้ แล้วไหลผ่านซอกเขาลงที่ราบกว้างขวางอันเป็นที่ตั้งชุมชนยุคหินและยุคโลหะ กระทั่งมีพัฒนาการต่อมาเข้าสู่คูเมืองอู่ทอง เพื่อกักเก็บไว้ใช้ในเมืองซึ่งเป็นที่ตั้งของวังกับวัดสำคัญอันเป็นศูนย์กลางของอำนาจศักดิ์สิทธิ์

พุ คือ น้ำที่พุ่งขึ้นมาจากใต้ดิน เรียกน้ำพุ บางทีก็เรียกน้ำผุด, น้ำคำ, น้ำซำ (ซัม), น้ำซึม, น้ำซับ มีแหล่งน้ำอยู่ใต้ดินเรียกบาดาล อันเป็นที่อยู่ของนาคซึ่งเป็นเจ้าบาดาลคอยควบคุมคุ้มครองน้ำ

ชาวบ้านที่อู่ทอง เล่าว่าทางน้ำที่ไหลจากพุบนเขาลูกเตี้ยๆ ระหว่างเขาพระเขาทำเทียมคดเคี้ยวเหมือนส่วนหางของนาค คนจึงเรียกทางน้ำนี้ว่าพุหางนาค

ทิวเขาพระ-เขาทำเทียมเป็นแหล่งน้ำกับแหล่งสมุนไพรรักษาโรค บรรพชนคนพื้นเมืองเมื่อหลายพันปีมาแล้ว ตั้งแต่ยุคหิน, ยุคโลหะ ย่อมยกย่องเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตของผีฟ้าดิน ต้องก่อสร้างหินตั้งไว้เซ่นวักผีฟ้าดินผู้บันดาลความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะพื้นที่บนยอดเขาพุหางนาค

ราวหลัง พ.ศ. 1000 รับศาสนาพราหมณ์-พุทธจากชมพูทวีปกับลังกาทวีป ศาสนาผียังเป็นแกนหลักความเชื่อของคนพื้นเมืองดั้งเดิม แต่มีพราหมณ์-พุทธมาประดับประดาประสมประสานด้วย ดังพบศาสนสถานและวัตถุที่เขาพระ และเขาทำเทียม ตลอดจนสองฝั่งทางน้ำพุหางนาค ตรงเจดีย์หมายเลข 11 พบธรรมจักรและเสาหินอโศก

แต่บริเวณพุหางนาคซึ่งอยู่ตรงกลางยังเป็นหินตั้งเซ่นวักศาสนาผีอย่างเหนียวแน่น แม้จะมีพราหมณ์-พุทธมาปะปนบ้างก็ยังมีแก่นเป็นผีเหมือนเดิม มิได้หายไปไหน

มีกรณีตัวอย่างอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า ที่เจดีย์สามองค์ (อ.สังขละ จ.กาญจนบุรี) เริ่มจากกองดินหินสามก้อน เป็นหินสามกอง ดังมีคำบอกเล่าของ อ.สุรินทร์ เหลือลมัย (ที่ปรึกษาสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี พิมพ์ในเมืองโบราณ ฉบับตุลาคม–ธันวาคม 2548 หน้า 56-57 ) ว่า

“สมัยก่อนเป็นธรรมเนียมคนเดินป่า มอญและกะเหรี่ยงเมื่อเดินทางออกนอกพื้นที่จะทำพิธีตั้งหินสามก้อนแทนดอกไม้ธูปเทียน บูชาเทพารักษ์ที่สถิตอยู่ในป่าเขา ขออย่าให้ตนเจ็บไข้ได้ป่วยหรือมีอันตรายใดๆ ต่อมาคติความเชื่อเปลี่ยนจากผีเป็นพุทธ หินสามกองจึงกลายเป็นเจดีย์สามองค์”

หินสามก้อน หรือหินสามกอง จัดวางเป็นสามเหลี่ยมมีสามมุม ต่อไปข้างหน้าจะกลายเป็นเฉลว เครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ป้องกันผีร้าย

ประเทศไทยทุกวันนี้ยังนับถือศาสนาผีที่เป็นมรดกตกทอดจากอดีตหลายพันปีมาแล้ว เช่นจากพุหางนาค

เรื่องนี้ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เคยเขียนอธิบายมาก่อนแล้วว่าตราบจนปัจจุบันนี้ ไทยนับถือศาสนาผีเป็นฐานรากอันแข็งแกร่ง (เพื่อรักษากฎเกณฑ์ทางสังคม) แล้วรับเอาสิ่งละอันพันละน้อยของศาสนาพราหมณ์กับศาสนาพุทธ (ที่ใช้รักษากฎเกณฑ์ทางจิตวิญญาณของบุคคล) โดยเลือกเอาส่วนที่ไม่ขัดกับหลักผี เข้ามาประดับประดาศาสนาผีเพื่อให้ดูดีมีความทันสมัย มีสง่าราศี จนน่าศรัทธาเลื่อมใสมากขึ้นเท่านั้น

บวชนาค, ทำขวัญนาค, บายสีสู่ขวัญ, เก็บศพหลายวัน, ฯลฯ ล้วนเกี่ยวข้องกับศาสนาผีที่เคลือบด้วยพุทธ

(ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม 2555 หน้า 20)

www.sujitwongthes.com/2012/08/siam09082555

ศาสนาประจำชาติไทย คือ ศาสนาผีพราห์มพุทธ ?

  ศาสนาประจำชาติของไทย แท้จริงแล้วไม่ใช่ศาสนาเดี่ยวบริสุทธิ์ แต่เป็นศาสนาผสม (syncretism) ขอเรียกเป็นศัพท์เฉพาะว่า ” ศาสนาผีพราห์มพุทธ ” หรือ “Animist-Brahmin-Buddism”


ที่เรียกว่าเป็นศาสนาผสม ก็เพราะว่า ไม่เหมือนกับการนับถือสามศาสนาไปพร้อมๆกัน แต่แยกปฏิบัติ แต่เป็นการเอาสามศาสนาสามความเชื่อมาผสมรวมกันกลายเป็นศาสนาใหม่และปฏิบัติบูชาผสมรวมกันไปอย่างเป็นธรรมชาติ

ศาสนาผี

ก่อนอื่นเลย ต้องเน้นว่า คนไทยเมื่อได้ยินคำว่า "ผี" ก็มักจะนึกไปถึงพวกผีเปรต ผีกระสือ ผีแม่นาค หรือผีปีศาจ อะไรทำนองนั้น ซึ่งก็เลยทำให้เวลาพูดว่า "ศาสนาผี" ก็เลยนึกว่าเป็นเรื่องของการไปนับถือผีเปรต  ผีกระสือ  หรือผีแม่นาค  หรือศาสนาบูชาปีศาจ  หรือศาสนาบูชาซาตาน  ซึ่งไม่ใช่เลย  

แต่ "ผี" ของ "ศาสนาผี" ที่ว่านี้ก็คือวิญญาณของธรรมชาติ  วิญญาณของบรรพบุรุษ  หรือวิญญาณของวัตถุที่เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ศาสนาเชน : ศาสนาที่คล้ายศาสนาพุทธมากอย่างเหลือเชื่อ









ศาสนาเชน เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดูในด้านคำสอน ความเชื่อถือ และศาสนาพิธี ตลอดทั้งปฏิเสธเรื่องพระเจ้า เป็นศาสนากึ่งอเทวนิยม ที่เรียกว่ากึ่งก็เพราะยังเชื่อว่ามีชีวะหรือวิญญาณหรืออัตตา ถือว่าทุกสิ่งมีวิญญาณ ศาสนาเชนสอนเน้นหนักในการบำเพ็ญทุกกิริยา

คำว่า “เชน” บางทีออกเสียงว่า ไชน์ หรือ ไยน์ มาจากคำว่า “ชินะ” แปลว่า “ผู้ชนะ” เพราะฉะนั้น ศาสนาเชนจึงหมายความว่าศาสนาแห่งผู้ชนะ (ชนะตนเอง)

เป็นนักศาสนวิทยา ต้องรู้อะไรบ้าง?

มีผู้ถามมาว่า การจะเป็นนักศาสนวิทยาได้ ต้องรู้เรื่องศาสนาต่างๆมากๆใช่หรือไม่?

ขอตอบว่า ก็ใช่ครับ แต่ไม่ใช่แค่รู้เรื่องศาสนา แต่ควรต้องรู้ถึงความรู้สึกและประสบการณ์ทางศาสนา รวมทั้งผลกระทบต่อเนื่องทั้งระดับส่วนบุคคลและสังคมด้วย

คลิกเพื่อขยายภาพ
มีคำถามต่อว่า แล้วจะเป็นนักศาสนวิทยาที่ดีได้อย่างไร? ขอตอบว่า ต้องใฝ่รู้ทั้งเชิงกว้างและลึก และต้องมีใจเป็นกลางและเป็นธรรมต่อทุกศาสนาทุกความเชื่อ เข้าใจความคิดและความรู้สึก ทั้งแบบคนนอกและคนใน ทั้งแบบคนเห็นด้วยและแบบคนคัดค้าน ถ้าจะให้ดีมากต้องสามารถสวมความรู้สึกของหลายๆความเชื่อได้

และแน่นอนต้องรู้ที่มา พัฒนาการ สถานการณ์ ผลกระทบ จนถึงแนวโน้มอนาคตด้วย


ที่สำคัญมากที่ต้องไม่เข้าใจผิดคือ นักศาสนวิทยาไม่ใช่ศึกษาแต่เรื่องของการนับถือศาสนาเท่านั้น แต่ศึกษารวมถึงการไม่นับถือศาสนา การทิ้งศาสนา การเปลี่ยนศาสนา หรือการปรับศาสนา ฯลฯ เหล่านี้ในทุกรูปแบบทุกมิติด้วย

นอกจากนี้ ในอีกด้านหนึ่ง ศาสนวิทยาต้องเป็นนักปรัชญาสาขา "นักจริยศาสตร์" (ethicist) ไปในเวลาเดียวกันอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะศาสนาเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจริยศาสตร์โดยตรง ซึ่งการเป็นนักจริยศาสตร์ทำให้ต้องพิจารณาเรื่องว่าอะไร "ถูกผิดดีชั่วควรไม่ควร" หรืออะไรถูกผิดดีชั่ว"มากกว่ากัน" ทั้งจากฐานคิดเชิงศาสนา  ปรัชญา และอื่นๆ

ศิลป์ชัย  เชาว์เจริญรัตน์

ศาสนากับคาสิโน

ต้องออกตัวก่อนว่า การที่ประเทศไทยจะเปิดหรือไม่เปิด(บ่อน)คาสิโนถูกกฎหมายนั้น ไม่ได้มีผลกระทบกับผู้เขียนเลยเพราะไม่เล่นและไม่นิยมในสิ่งเหล่านี้ (แต่เคยเข้าไปเยี่ยมชมในหลายประเทศ ทั้งประเทศเพื่อนบ้านและประเทศตะวันตก เคยลองดึงหรือกดเครื่องสลอต ตามที่เจ้าภาพเขาพาไปและให้วงเงินทดลองเล็กน้อย เพียงเพื่อให้เกิดความรู้ที่แท้จริงเท่านั้น)

แต่เนื่องจากมีการพูดถึงเรื่องการพนันและคาสิโนว่าไม่ควรเปิดเพราะเรื่องของศาสนา จึงต้องขอแสดงความเห็นในเชิงศาสนวิทยาไว้ ณ ที่นี้

๑.

เรื่องของการพนันกับศาสนา เราต้องตระหนักก่อนว่า ข้อกำหนดของศาสดาในศาสนาต่างๆ นั้นมีมาเป็นยุคโบราณนานมาแล้ว และยังเป็นเรื่องที่อยู่ในบริบทของท้องถิ่นเดียวด้วย ฉะนั้น หากศาสนาใดจะพูดถึงการพนัน ก็เป็นการพูดในบริบทที่เกิดขึ้นแต่โบราณนานมาแล้วและเป็นบริบทของท้องถิ่นเดียวด้วย การพนันในยุคสมัยนั้นและท้องถิ่นนั้นก็อาจแตกต่างจากการพนันของยุคสมัยปัจจุบันและท้องถิ่นอื่นๆ

การพนันในยุคโบราณ ไม่มีการควบคุมอายุและตัวทรัพย์ พนันเอาตัวเองเป็นทาสก็ยังได้ พนันเอาลูกเมียก็ยังได้ แต่ปัจจุบันนี้ยังเป็นอย่างนั้นอยู่หรือไม่(ในทางสาธารณะ) และยังควบคุมได้ไหม หรือโลกทุกปัจจุบันนี้ก็ยังคงเหมือนยุคโบราณทุกประการ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง?

๒.

คำว่า "การพนัน" ไม่มีการถูกกล่าวถึงในศาสนาโบราณหลายศาสนา การที่บอกว่า "ทุกศาสนาห้ามเรื่องการพนัน" จึงไม่อาจพูดได้ว่าเป็นความจริง บางศาสนาในปัจจุบันที่บอกว่า การพนันเป็นเรื่องผิด แท้จริงแล้วเป็นการตีความและโยงหลักการศาสนาบางอย่างไปจับ

ศาสนาที่พูดถึงการพนันตรงที่สุดและกล่าวโทษการพนันรุนแรงที่สุด พูดได้ว่าคือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม

ในศาสนาพุทธ มีการระบุว่า คนที่การเล่นพนันจะตกนรก "ขุมที่ ๖" ซึ่งชื่อในภาษาบาลีว่า "ตาปนนรก" อธิบายกันว่าเป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบเล่นการพนันทุกชนิด

ซึ่งก็ต้องขอเพิ่มเติมว่า นรกขุมที่ ๕ มหาโรรุวนรก เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบดื่มสุรา หรือเสพสิ่งมึนเมา ยาเสพติด ส่วนนรกขุมที่ ๗ มหาตาปนนรก เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบเที่ยวกลางคืน

นั่นก็เท่ากับบอกว่า การตกนรกในเกณฑ์ของศาสนาพุทธ ไม่ใช่แค่ผิดศีลห้าเท่านั้น แต่เล่นการพนัน ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือเที่ยวกลางคืน ก็ต้องตกนรกด้วย

๓.

ในศาสนาอิสลาม การพนัน และรายได้จากการพนัน ถือเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) เช่นเดียวกับดื่มสุรา มาจากซาตาน และทำให้ตกนรก (ซึ่งก็น่าแปลกว่า มาเลเซียซึ่งใช้กฎหมายอิสลามเข้มข้นในระดับหนึ่งกลับให้ตั้งสถานคาสิโนถูกกฎหมายได้ที่เกนติ้ง)

ในศาสนาคริสต์นั้น ไม่มีการระบุอย่างชัดเจนว่า การพนันเป็นบาป แต่มีผู้ที่พยายามโยงโดยการอ้างว่า มีศาสนบัญญัติที่บอกว่า "อย่าโลภ" ฉะนั้น ศาสนิกต้องอย่าเล่นการพนันเพราะการพนันเกิดมาจากความโลภ อะไรทำนองนี้เป็นต้น ซึ่งก็ต้องพิจารณาให้ดีว่าการตีความเช่นนี้มีน้ำหนักพอหรือไม่

(ถึงตรงนี้ขอพูดเรื่องการดื่มสุราแล้วตกนรกสักหน่อยว่า ถ้าเป็นจริง ก็น่าห่วงว่า ชาวตะวันตกที่ดื่มพั๊นช์จิบไวน์หรือดื่มเบียร์ซึ่งมีแอลกอฮอล์มาแต่โบราณกาลก็คงตกนรกกันหมดตลอดประวัติศาสตร์โลกเลยทีเดียว รวมทั้งพวกที่ไปชอบไปเที่ยวห้างหรือดูภาพยนต์หลังฟ้ามืดด้วยกระมัง)

ในบางศาสนานั้นไม่ได้บอกว่าการพนันเป็นบาป หรือเป็นสิ่งที่ทำให้ตกนรก เป็นเพียงการบอกว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ชีวิต "ไม่เจริญ" หรือทำให้ชีวิต "เสื่อม" การกล่าวอย่างนี้ไม่ได้หมายถึงเป็นความผิดบาปร้ายแรง หรือเป็นบาปหนัก หรือเป็นอนันตริยกรรม อันจะนำมาซึ่งโทษร้ายแรงในนรกแต่อย่างใด

๔.

การพนันในยุคโบราณกับยุคปัจจุบันมีพัฒนาการและการตีความหมายต่างกันไม่น้อย

โดยพื้นฐานแล้ว การพนัน ก็คือ "การละเล่นชนิดหนึ่ง" หรือ "เกมชนิดหนึ่ง" ที่มีลักษณะที่มีผลแพ้-ชนะ ที่ทำให้ผู้เล่นเกิดความตื่นเต้นเร้าใจจากการที่ได้เสี่ยงได้ลุ้น จากการแพ้-ชนะ ได้-เสีย ซึ่งในการพนันนี้อาจมีการใช้แต่โชคหรือใช้ฝีมือทักษะประกอบด้วยก็ได้ ซึ่งความตื่นเต้นนี้ก็ก่อให้เกิดความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลินรื่นเริง

ซึ่งการละเล่นที่เรียกว่าเป็นเกมส์กีฬาหรือแม้แต่มหรสพชนิดไหนๆก็มุ่งทำให้ผู้คนตื่นเต้นทั้งนั้น มนุษย์ต้องการผ่อนคลายจากความเบื่อหน่ายและต้องการความตื่นเต้นสนุกสนาน และว่าไปมันก็คือความสุขชนิดหนึ่ง

และคนก็ยอมจ่ายราคาเพื่อให้ได้ความตื่นเต้นอันนำมาซึ่งความสุขอันนี้

ฉะนั้น ปัญหาของการพนัน จึงไม่ใช่ตัวการพนันเอง แต่ปัญหาอยู่ที่สองอย่างคือ หนึ่ง วิธีที่ใช้พนันนั้นถูกต้องชอบธรรมหรือไม่? เช่น ถ้าพนันด้วยการ "โยนเหรียญหัว-ก้อย" รับได้ แต่ถ้าพนันด้วยการ "รัสเซี่ยนรูเล็ตต์" หรือเอาปืนลูกโม่ใส่กระสุนนัดเดียวแล้วยิงหัวตัวเอง อย่างนี้รับไม่ได้

และสอง ความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้แพ้พนันนั้นอยู่ในระดับที่สังคมรับได้หรือไม่? เช่น ถ้าตู้เกมส์หยอดเหรียญเพื่อคีบตุ๊กตา ได้เสียทีละสิบบาท รับได้ แต่ถ้าได้เสียทีละเป็นร้อย(อาจ)รับไม่ได้

ซึ่งตรงนี้ก็มีปัญหาตามมาอีกว่า ทำไมให้เด็กเล่นได้-เสียทีละสิบบาท แล้วบอกว่ารับได้ แล้วสำหรับผู้ใหญ่ที่มีฐานะ การได้เสียทีละเป็นร้อย เป็นพัน หรือเป็นหมื่นของเขา คือเรื่องธรรมดา ทำไมจึงรับไม่ได้

๕.

คำนิยามเรื่อง "การพนัน" ยังมีปัญหาอีกหลายประการ เป็นประเด็นถกเถึยงต่อได้อีกมาก เช่น เล่นหุ้นแบบเก็งกำไรระยะสั้นถือว่าเป็นบาปแบบการพนันหรือไม่? การทำประกันชีวิตหรือประกันภัยเป็นการพนันด้วยหรือไม่? บางทฤษฎีบอกว่ามันก็คือการพนันชนิดหนึ่ง แต่บางทฤษฎีก็ว่า ไม่ใช่การพนัน เพราะมันได้ให้คุณค่าทางเศรษฐกิจในบางด้านและบางระดับ แต่การพนันไม่ได้ให้คุณค่าทางเศรษฐกิจกิจอย่างใดเลย

ซึ่งตรงนี้ก็จะมีการแย้งว่าไม่จริง เพราะการพนันก็คือ "ธุรกิจบันเทิง" ชนิดหนึ่งนั่นแหละ การพนันคือการละเล่นที่ให้ความสนุกสนานบันเทิงแก่ผู้คนได้เหมือนสวนสนุกและดูหนังฟังเพลงและร้านอาหารผับบาร์เธค ถ้าโรงหนังยังถูกควบคุมโดยมีการติดเรทได้ ร้านผับบาร์เธคยังควบคุมโดยห้ามคนต่ำกว่าสิบแปดเข้าได้ การพนันก็ควบคุมได้เช่นกัน


๖.

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเชื่อว่า คาสิโนถูกกฎหมาย "ไม่มีทางเกิดได้" ในรัฐบาลนี้แน่นอน แต่กระนั้นก็เศร้าใจว่า มีคนไทยมากมายเดินทางไปเที่ยวในคาสิโนถูกกฎหมายของประเทศเหล่านั้นและเสียเงินให้แก่ประเทศเหล่านั้นเป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละปี แม้แต่พวกข้าราชการ รวมถึงทหาร-ตำรวจ ที่มีกฎกระทรวงห้ามไม่ให้เข้าคาสิโนต่างประเทศเหล่านั้นแต่ความเป็นจริงก็คือไปกันทั้งนั้น และเข้าไปเป็นหมู่คณะด้วยซ้ำ

นอกจากนี้ยังแปลกใจยิ่งขึ้นว่า ประเทศไทยไม่สามารถมีคาสิโนถูกกฎหมายได้ทั้งที่ทราบดีว่า จะสามารถป้องกันไม่ให้รายได้ออกนอกประเทศได้มากกว่า และยังทำให้ควบคุมความเสียหายของผู้เล่นพนันได้มากกว่า ควบคุมอาชญากรรมได้ดีกว่า ควบคุมคอรัปชั่นได้ดีกว่า ควบคุมเจ้าของกิจการบ่อนคาสิโนได้ดีกว่า และรัฐยังได้รับประโยชน์ได้ดีกว่า

แน่นอนว่าคำพูดที่ว่า "เพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ" คงเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนสำคัญ ทำให้ไทยกลายเป็นรัฐที่ "ปากว่าตาขยิบ" คือไม่ยอมให้มีคาสิโนถูกกฎหมาย แต่ให้มีบ่อนเถื่อนทั่วไปหมด ซึ่งรัฐก็รู้เต็มอกว่าของใครและใครได้ประโยชน์บ้าง เป็นรัฐที่ไม่ให้มีโสเภณีถูกกฎหมาย ซึ่งรัฐก็รู้เต็มอก ว่าของใครและใครได้ประโยชน์บ้าง ซึ่งประชาชนก็ตกเป็นเหยื่อและรัฐก็ทั้งเสียประโยชน์และยังควบคุมอะไรไม่ได้เลย

การเป็นรัฐที่เน้นนโยบายสร้างภาพหรือรักษาภาพ(พจน์) มากเกินไป ทำให้รัฐไม่ยอมรับความจริง และเมื่อไม่ยอมรับความจริงก็เท่ากับอยู่กับความลวง และการอยู่กับความลวง คือหนทางแห่งความพินาศ

แต่ว่าไปเแล้วเรื่องนี้โทษแต่รัฐไม่ได้ เนื่องจากคณะรัฐบาลที่เป็นนักการเมืองย่อมมองว่าเรื่องนี้เป็นเผือกร้อน หากใครอนุมัติให้ทำก็จะเสียคะแนนเสียง และเสียภาพลักษณ์ ถูกมองว่าเป็นคนชั่วคนบาปและเป็นคนทำลายศาสนา

ยิ่งกว่านั้น จงเชื่อเถิดว่า การที่ประเทศไทยทำคาสิโนถูกกฎหมายไม่ได้ ไม่ได้ทำให้ไทยมีภาพลักษณ์ดีที่จะถูกมองว่าเป็นรัฐที่ศีลธรรมสูงกว่าประเทศอื่น หรือคนไทยเคร่งศาสนามากกว่าชาติอื่น

แต่จะถูกมองว่า ที่เปิดไม่ได้เพราะคนไทยไม่เชื่อมั่นในรัฐตนเอง และไม่เชื่อมั่นในประชาชนคนไทยกันเอง ที่ว่าไม่เชื่อมั่นในตนเอง ก็คือเชื่อว่า รัฐของตนไม่มีประสิทธิภาพพอและดีพอที่จะควบคุมกิจการเหล่านี้ได้ และเชื่อว่าคนไทยควบคุมตัวเองเรื่องการพนันไม่ได้ อีกทั้งคนไทยไม่อยากเสียภาพลักษณ์ทางด้านการเป็นเมืองศาสนาด้วย



ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์ 

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แก่นและกระพี้แห่งศรัทธา

ผู้เขียนได้เคยได้อ่านพบข้อความหนึ่งว่า "...หากพระเยซูทรงถูกประหารเมื่อยี่สิบปีก่อน ทุกวันนี้เราคงได้เห็นชาวคริสต์ห้อยเก้าอี้ไฟฟ้า แทนห้อยไม้กางเขน..." ผู้กล่าวคำนี้เป็นนักเขียนตะวันตกคนหนึ่ง