วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

รู้จัก "ศาสนวิทยา" และ "ผู้เขียน"

ศาสนวิทยาคืออะไร? 

"ศาสนวิทยา" ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาปรากฎการณ์และแนวคิดทางศาสนาที่ครอบคลุมทุกด้านอย่างเป็นวิทยาศาสตร์  มีทั้งปรัชญาศาสนา  มนุษยวิทยาศาสนา   สังคมวิทยาศาสนา  จิตวิทยาศาสนา  เทวศาสตร์ และศาสนศาสตร์ 

คำว่า "ศาสนวิทยา" เคยมีนักวิชาการบัญญัติเป็นคำภาษาอังกฤษว่า  “Religiology”  ว่ากันว่าคนใช้คนแรกคือ Hideo Kishimoto โดยหมายถึง การศึกษาเรื่องของศาสนาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์  (“science of religion” or “scientific study of religion,”)  ซึ่งใกล้เคียงกับความหมายของคำภาษาเยอรมันว่า "Religionswissenschaft"  ซึ่งนักวิชาการหลายคนชอบคำนี้มากกว่า "ศาสนศึกษา" หรือ  “Religious Studies.”  



Author: Hideo Kishimoto : Numen, Volume 14, Issue 1, pages 81 – 86, Publication Year :1967



มีผู้ถามมาว่า การจะเป็นนักศาสนวิทยาได้ ต้องรู้เรื่องศาสนาต่างๆมากๆใช่หรือไม่?

ขอตอบว่า ก็ใช่  แต่ไม่ใช่แค่รู้เรื่องศาสนา แต่ควรต้องรู้ถึงความรู้สึกและประสบการณ์ทางศาสนา รวมทั้งผลกระทบต่อเนื่องทั้งระดับส่วนบุคคลและสังคมด้วย

มีคำถามต่อว่า แล้วจะเป็นนักศาสนวิทยาที่ดีได้อย่างไร? ขอตอบว่า ต้องใฝ่รู้ทั้งเชิงกว้างและลึก และต้องมีใจเป็นกลางและเป็นธรรมต่อทุกศาสนาทุกความเชื่อ เข้าใจความคิดและความรู้สึก ทั้งแบบคนนอกและคนใน ทั้งแบบคนเห็นด้วยและแบบคนคัดค้าน ถ้าจะให้ดีมากต้องสามารถสวมความรู้สึกของหลายๆความเชื่อได้

และแน่นอนต้องรู้ที่มา พัฒนาการ สถานการณ์ ผลกระทบ จนถึงแนวโน้มอนาคตด้วย

ที่สำคัญมากที่ต้องไม่เข้าใจผิดคือ นักศาสนวิทยาไม่ใช่ศึกษาแต่เรื่องของการนับถือศาสนาเท่านั้น แต่ศึกษารวมถึงการไม่นับถือศาสนา การทิ้งศาสนา การเปลี่ยนศาสนา หรือการปรับศาสนา ฯลฯ เหล่านี้ในทุกรูปแบบทุกมิติด้วย

นอกจากนี้ ในอีกด้านหนึ่ง ศาสนวิทยาต้องเป็นนักปรัชญาสาขา "นักจริยศาสตร์" (ethicist) ไปในเวลาเดียวกันอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะศาสนาเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจริยศาสตร์โดยตรง ซึ่งการเป็นนักจริยศาสตร์ทำให้ต้องพิจารณาเรื่องว่าอะไร "ถูกผิดดีชั่วควรไม่ควร" หรืออะไรถูกผิดดีชั่ว"มากกว่ากัน" ทั้งจากฐานคิดเชิงศาสนา ปรัชญา และอื่นๆ


มีคนถามมาหลายครั้งว่าต่างกันยังไงระหว่าง ศาสนศาสตร์ ศาสนศึกษา กับ ศาสนวิทยา?   ขอตอบคร่าวๆ อย่างนี้ และไม่จำเป็นที่ทุกคนต้องเห็นด้วย

ศาสนศาสตร์...เรียนหนึ่งศาสนา เพื่อรู้ ศรัทธา และประยุกต์ใช้
ศาสนศึกษา...เรียนหลายศาสนา เพื่อรู้ เปรียบเทียบ และประยุกต์ใช้
ศาสนวิทยา...เรียนทุกประเภทศาสนา รวมทั้งที่ต่อต้านศาสนา และทุกแง่ของศาสนา รวมทั้งประวัติศาสตร์พัฒนาการ  ปรากฎการณ์   เพื่อรู้ เปรียบเทียบ ประยุกต์ใช้ จนถึงวิเคราะห์ วิพากษ์ เและสังเคราะห์

ตัวผู้เขียนเองได้ศึกษาด้านศาสนวิทยามามาก เห็นประโยชน์ในเรื่องนี้ และมีภาระใจที่อยากจะให้ความรู้ด้านนี้แก่คนไทย ซึ่งในการนำเสนอก็กระทำอย่างเปิดเผยตัวเอง อย่างไม่ปิดบังอำพราง เพื่อแสดงถึงความเปิดเผย จริงใจ และพร้อมรับผิดชอบ


จุดยืนของข้าพเจ้าในการนำเสนอเรื่องศาสนวิทยาในประเทศไทย : 

1. นำเสนอวิชาการด้านศาสนวิทยา  ปรัชญาและจิตวิญญาณธรรม
2. ยึดความรู้และความจริง อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้คน
3. เป็นกลางทางศาสนา ไม่ได้ทั้งสนับสนุนหรือต่อต้าน ทั้งต่อศาสนาโดยรวมหรือต่อศาสนาใดๆ และยอมรับการเป็นอศาสนิก
4. เป็นกลางและเป็นธรรมสำหรับทุกแนวคิดทางศาสนา ไร้อคติ  ยึดตามความเที่ยงตรงทางหลักวิชาการ
5. ส่งเสริมการแยกรัฐจากศาสนา หรือการเป็นรัฐโลกวิสัย การเปิดเสรีทางศาสนา และการเท่าเทียมทางศาสนา
6. ส่งเสริมการมีสิทธิเสรีภาพทางศาสนาและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น(เกี่ยวกับศาสนา) และไม่สนับสนุนการมีกฎหมายห้ามหมิ่นศาสนาและการห้ามการแสดงความคิดเห็นที่สร้างความเกลียดชัง(ทางศาสนา) และไม่ถือว่าการวิพากษ์วิจารณ์ศาสนาถือเป็นการ "หมิ่นศาสนา" เว้นแต่มีการขู่อาฆาต 
7. มุ่งนำเสนอความจริงและความเห็นอย่างตรงไปตรงมา แต่ใช้เหตุผล สุภาพ ไม่หยาบคาย และไม่ล้อเลียน

หากเมื่อใดที่ท่านผู้อ่านรู้สึกว่า ข้อเขียนชิ้นใดของผู้เขียนไม่ยุติธรรม หรือไม่ถูกต้องใคร่ขอเรียนท่านผู้อ่านว่า..

1. ก่อนอื่นเลยคือ ต้องขออภัยที่ทำให้ท่านระคายเคือง ผู้เขียนก็ไม่สบายใจเช่นกันที่ทำให้ท่านผู้อ่านรู้่สึกเช่นนั้น
2. โปรดทราบว่า ผู้เขียนตระหนักอย่างยิ่งว่า เรื่องของศาสนาเป็นเรืองที่อ่อนไหวอย่างที่สุด และก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะนำเสนอให้ทุกคนพอใจได้ แต่โปรดเชื่อว่า ผู้เขียนพยายามอย่างที่สุดแล้วที่จะพิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบด้าน เป็นกลางและเป็นธรรม
3. ท่านสามารถแสดงความเห็นได้ทั้งที่ช่องแสดงความคิดเห็น หรือทางข้อความส่วนตัว ผู้เขียนขอน้อมรับฟังทุกความคิดเห็น และจะพิจารณาไตร่ตรองด้วยใจเป็นธรรม ใจที่พร้อมจะเรียนรู้ และพร้อมจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงแนวคิดหากพบว่าเป็นจริง
4. บางเรื่้องที่ผู้เขียนนำมาโพสท์เป็นเพียงนำมาให้ดูเป็นกรณีศึกษาเท่านั้น ไม่ได้แปลว่าผู้เขียนเห็นด้วยกับทุกเรื่อง
5. ท่านอาจมั่นใจขึ้นหากได้ติดตามมาตั้งแต่ต้น หรือติดตามมาเป็นเวลานาน ซึ่งหากท่านย้อนกลับไปอ่านบทความเดิมๆ ได้ก็จะช่วยได้มาก


ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง

ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์


*********
ประวัติสังเขปทางด้านศาสนวิทยา 


ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์
Dr.Sinchai Chaojaroenrat 

การศึกษา  Education: 
  • Th.D. (Doctor of Religious Studies / Doctor of Theology ) Major in Theology ABGTS (Asian Baptist Theological Seminary)  ปริญญาเอก ศาสนวิทยา / ศาสนศาสตร์   วิชาเอก ศาสนศาสตร์   และ ศาสนวิทยา 
  • ปริญญาตรี รัฐศาสตร์  สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (B.Sc. Bachelor of Polotical Science)   มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 

การอบรมพิเศษ (Special Training) :
  • Leadership in Publishing Ministry  by Cook Communication  , Colorado Springs,  USA
  • Leadership in Christian Publishing Ministry by Lifeway International  , Nashville, USA
  • Special training in Philosophy, Buddhism, History, Religious Practice, Sociology and Anthropology,  Psychology, Counseling etc. (การศึกษาและฝึกอบรมเป็นพิเศษในด้าน ปรัชญา  ศาสนาเปรียบเทียบ  ประวัติศาสตร์  สังคมวิทยาและมนุษยวิทยา จิตวิทยา และการให้การปรึกษา ฯลฯ)  

งาน Job :
  • ประธานสถาบันอภิจิต SuperSoul
  • ประธานมูลนิธิพันธกิจชุมชน
  • Religiologist/ academics in Religiology, Theology, Philosophy, Anthropology, Political Science - นักวิชาการด้านศาสนวิทยา  ศาสนศาสตร์  ปรัชญา มนุษยวิทยา และรัฐศาสตร์ 
  • Director of CLI Publishing House - ผู้อำนวยการสถาบัน CLI และสำนักพิมพ์ CLI
  • Lecturer for universities, colleges and seminaries,   
  • Academician, author of nearly 50 books, lecturer, preacher , and advisor of some company. - นักวิชาการศาสนวิทยา ศาสนศาสตร์  นักปรัชญา  นักเขียน และวิทยากร ที่ปรึกษาบริษัทเอกชนบางแห่ง

ผลงานวิชาการ Academic books and essays: 
  • "ศาสนวิทยา กับศาสนายุคโพสท์โมเดิร์น"
  • "เสรีภาพทางศาสนา และรัฐโลกวิสัย"
  • "อภิจิต SuperSoul : กระบวนวิธีพัฒนาศักยภาพจิต"  
  • "ประวัติและพัฒนาการแห่งคริสตศาสนาและความสัมพันธ์กับอารยธรรมโลก"
  • ฯลฯ

และบทความอีกมากมาย  อ่านได้ทาง
facebook.com/dr.sinchai.chaojaroenrat
Blog : sinchaichao.blogspot.com

Some of those books ever wrote that are more than 50 books and a lot of articles. Looks the details in  

Email:  sinchaich@gmail.com 
Facebook Fanpage:  facebook.com/dr.sinchai.chaojaroenrat  ,

สนใจติดต่อสั่งซื้อหนังสือได้ที่