วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

แนวโน้มของคริสเตียนในสหรัฐในภาพรวม

ที่มา www.religioustolerance.org/chr_tren.htm   ผู้แปล ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์

จากข้อมูลเร็วๆ นี้ได้บ่งชี้ถึงสถานการณ์ของศาสนาคริสต์ว่ายังคงมีความมั่นคงอยู่ จำนวนผู้นับถือศาสนาคริสต์มีสัดส่วน 34% ของทั้งโลก จึงยังคงเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก

ในพื้นที่ของอเมริกาเหนือกล่าวได้ว่าคริสเตียนยังคงมีความมั่นคงมาก ผู้ใหญ่ 3 ใน 4 คนเรียกตัวเองว่าเป็นคริสเตียน อันดับรองลงมาคือผู้นับถืออิสลาม และศาสนายิว ซึ่งมีประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์

แม้ว่าความศรัทธาใน ศาสนาจะเสื่อมลงในหลายประเทศ แต่ในสหรัฐยังคงมีความเข้มแข็งอยู่ ในสหรัฐ จำนวนผู้ที่ไปโบสถ์ยังมีสูงกว่าหลายประเทศในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว


53 เปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกันถือว่าศาสนาเป็นสิ่งที่สำคัญมากในชีวิตของตน ในขณะที่ชาวอังกฤษจะถือเช่นนี้เพียง 16 เปอร์เซ็นต์ ในฝรั่งเศส 14 เปอร์เซ็นต์ และในเยอรมัน 13 เปอร์เซ็นต์

แต่ถึงกระนั้น ก็มีสัณญานที่น่าสนใจบางอย่างที่บ่งชี้ว่าศาสนากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ถดถอยลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในสหรัฐและทั่วโลก

วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551

จุดยืนของมุสลิมต่อท่านอีซา (พระเยซู)
ขอขอบคุณที่มา http://www.answeringislam.net/Thai/reason_Isa_follow.html
เหตุผลการติดตามท่านอีซา
ถ้า พี่น้องมุสลิมทุกคนมาช่วยกันพัฒนาฟื้นฟูอิสลามกันใหม่อีกครั้งเกี่ยวกับผู้ ที่ติดตามท่านอีซา และผู้ที่ตามท่านนบีมูฮัมมัด จะเป็นการดีถ้าทุกฝ่ายยอมรับซึ่งกันและกันได้ ขณะนี้ได้เข้าสู่ยุคสุดท้ายแล้วที่เราควรต้องร่วมมือกันทำให้มุสลิมทั่วโลก ได้กลับใจมาติดตามท่านอีซา มุสลิมทุกคนสามารถอยู่ร่วมกับสังคมอื่นได้แล้วบอกข่าวดีกับคนเหล่านั้นถึง เรื่องราวของท่านอีซา เป็นการรู้ซึ้งถึงหลักการที่แท้จริงของมุสลิม จะมีมุสลิมสักกี่คนที่กระตือรือร้น และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะช่วยให้สังคมมุสลิมของเรา มีระเบียบแบบแผนเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันยอมรับซึ่งกันและกัน ให้อภัยกัน เป็นผู้ที่รักสันติจริงๆ เกรงกลัวต่อบาป ทั้งบาปเล็กบาปใหญ่ ไม่พูดจาดูถูกกันและกัน หรือดูหมิ่นขนบธรรมเนียมประเพณีของพี่น้องมุสลิมด้วยกันเอง นี่จึงไม่ใช่ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของสังคมมุสลิม แต่ท่านนบีมูฮัมมัด (ซ.ล.) ยังได้กล่าวไว้ใน ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่ 51 ; 57 ว่า

ศีลอดแสดงถึงพลังแห่งศรัทธาของยิว คริสเตียน และมุสลิม
Fasting shows sign of faith
โดย Julie Baker | The State News, Michigan
แปลโดย วาริษาฮ์ อัมรีล

รัฐมิชิแกน, สหรัฐอเมริกา - ซามันธา เดรสซอร์, นักจิตวิทยาอาวุโส, มองว่าการถือศีลอดในวัน โยม คิพเพอะ (Yom Kippur - วันศักดิ์สิทธิ์ของชาวยิว เป็นวันอดอาหารและสวดมนต์ทั้งวันในโบสถ์ยิว) เป็นประเพณีแห่งการทำความสะอาดจิตใจและร่างกาย

เป็นเวลา 25 ชั่วโมงตั้งแต่พระอาทิตย์ตกเมื่อคืนนี้, ซามันธางดกินอาหารและดื่มน้ำเพื่อจะได้บรรลุตามข้อกำหนดของเทศกาลของชาวยิว, ซึ่งเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมาด้วยวันปีใหม่ยิว - หรือ โรช ฮาชนาห์ (Rosh Hashanah)

ซามันธาบอกว่าเธอเริ่มถือศีลอดในวันโยม คิพเพอะ ตั้งแต่เมื่ออายุได้ 13 ปี ตอนได้รับอนุญาตโดยกฎหมายยิวให้เข้าพิธีถือศีลอดได้
"มันคล้ายๆ กับเป็นผลรวมของการถูกทำโทษและการชำระล้างร่างกายและจิตใจ" เธอกล่าว "เป็นเวลาที่ต้องมาชำระทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นเมื่อปีก่อนซึ่งคุณต้องการการให้อภัย (จากพระเจ้า)"
ศาสนายูดาย (ยิว), คาทอลิก, และอิสลาม - มีการถือศีลอดประจำปีในช่วงวันหรือเดือนอันศักดิ์สิทธิ์ของทางศาสนา

กรณีศึกษาเกี่ยวกับคริสตชนที่เปลี่ยนเป็นมุสลิม

ดร.มุรอด วิลฟรีด ฮอฟมานน์ Dr.Murad Wilfried Hofmann ค.ศ.1931 -
แปลโดย วาริษาฮ์ อัมรีล
ดร.มุรอด วิลฟรีด ฮอฟมานน์ (Dr.Murad Wilfried Hofmann) อดีตนักการทูตเยอรมัน หันมารับอิสลามในปี 1980 และเขียนหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับอิสลามในโลกตะวันตก
ดร.ฮอฟมานน์เกิดในครอบครัวคาทอลิก ประเทศเยอรมนี จบการศึกษาจากยูเนี่ยนคอลเลจ (Union College) ในนิวยอร์ก สหรัฐฯ ต่อมาปี 1957 จบปริญญาเอกกฎหมายจากมหาวิทยาลัยมิวนิค เยอรมนี จากนั้นเข้าทำงานเป็นผู้ช่วยนักวิจัย ต่อมาปี 1960 ไปจบปริญญาโทกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ
ปี 1983-87 ดร.ฮอฟมานน์เป็นผู้อำนวยการข่าวสารขององค์การนาโตที่กรุงบรัสเซลล์ เบลเยี่ยม ช่วงปี 1987-90 เป็นทูตเยอรมันประจำประเทศอัลจีเรีย และช่วงปี 1990-94 เป็นทูตที่ประเทศโมรอคโค ดร.ฮอฟมานน์ทำอุมรอฮในปี 1982 และฮัจย์ในปี 1992
การเข้าสู่อิสลามของดร.ฮอฟมานน์มาจากสาเหตุ 3 ประการคือ ความประทับใจในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวมุสลิมในอัลจีเรีย ความหลงใหลในศิลปะอิสลาม และความขัดแย้งในหลักการศาสนาคริสต์ที่เขียนโดยเซนต์ปอล
ประการแรก การต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวมุสลิมในอัลจีเรีย ในปี 1961 ขณะที่ดร.ฮอฟมานน์ทำงานในสถานฑูตเยอรมนีประจำอัลจีเรีย มีการสู้รบระหว่างนักรบกู้ชาติอัลจีเรียเพื่อปลดแอกจากการเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส กับกองทัพฝรั่งเศส ดร.ฮอฟมานน์ได้เห็นการสังหารหมู่ที่โหดร้าย ในอีกด้านก็เห็นการสู้ไม่ถอยของชาวอัลจีเรีย ทุกวันมีคนถูกฆ่าตายนับสิบ "ผมเห็นจะๆ กับตา" เพียงเพราะพวกเขาเป็นอาหรับหรือไม่ก็เรียกร้องอิสรภาพ "ผมเห็นความอดทน ความไม่ย่อท้อของชาวอัลจีเรียแม้พวกเขาต้องลำบากแสนสาหัส ความมีวินัยของพวกเขาในช่วงเดือนรอมดอน ความเชื่อมั่นว่าพวกเขาจะต้องได้ชัยชนะ และความเอื้ออาทรของพวกเขาท่ามกลางวิปโยคแห่งชีวิต" ดร.ฮอฟมานน์เชื่อว่าชาวอัลจีเรียเป็นแบบนี้เพราะศาสนาของพวกเขา จากนั้นดร.ฮอฟมานน์จึงเริ่มศึกษาคัมภีร์ของพวกเขา - อัล-กุรอาน "แล้วผมก็ไม่เคยหยุดอ่านอัล-กุรอานเลยจนทุกวันนี้"