ชาวกรีกโบราณนับถือธรรมชาติ เชื่อว่าพลังลึกลับที่สามารถให้คุณให้โทษได้เกิดขึ้นเพราะมีเทพเจ้าต่างๆ บันดาลให้เป็นไป ชาวกรีกนับถือเทพเจ้าหลายองค์ เทพเจ้าตามความเชื่อของชาวกรีกมีหน้าตาและมีอารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์ แต่มีพลังอำนาจเหนือกว่า
ตาม "ตำนานเทพ" ของกรีก เทพเจ้าสูงสุดคือ “ซีอุส” หรือ “ซุส” (Zeus) เป็นเทพบิดรของบรรดาเทพทั้งหลาย สถิตอยู่บนยอดเขาโอลิมปัส(Olympus) มีชายาชื่อ “เฮร่า” (Hera) เป็นเทพีแห่งสวรรค์และการแต่งงาน นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าอีกมากมาย ต่างภาระหน้าที่กันไป
ศาสนาของกรีกได้รับการเสริมแต่งพรรณนาจนดูราวกับเทพนิยายจนมีชื่อเรียกว่า "Myth" หรือ “ศาสนนิยาย”
พัฒนาการสู่ศาสนาโรมัน
ต่อมาเมื่อกรีกตกอยู่ภายใต้การครอบครองของโรมัน ชาวโรมันก็ได้รับเอาความเชื่อนี้ไปใช้ แต่เปลี่ยนชื่อเทพเจ้าต่างๆ ให้เข้ากับภาษาและความเชื่อของตน นอกจากนี้ชาวกรีกยังนับถือนางไม้หรือเทพธิดา ที่สิงสถิตอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ในป่าเขาลำเนาไพร เทพธิดาของกรีกส่วนใหญ่เป็นหญิงสาวหน้าตาสวยงาม ชาวกรีกจะสร้างวิหารไว้ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า มีพิธีกรรมการเซ่นสรวงบูชา และสลักรูปจำลองของเทพเจ้าไว้สำหรับเคารพบูชาด้วย ส่วนทางด้านปรัชญานั้น ชาวกรีกเป็นผู้ให้กำเนิดวิชาปรัชญาแก่ชาวตะวันตก ซึ่งมีพื้นฐานสืบเนื่องมาจากเสรีภาพในความคิดและความอยากรู้อยากเห็นอันไม่มีที่สิ้นสุดของชาวกรีกที่มีต่อธรรมชาติ
รู้จักเทพกรีก-โรมัน
เทพ 12 องค์บนยอดเขาโอลิมปัส
เทพโอลิมปัส (The Olympians, Major gods) เป็นเทพที่อาศัยบนยอดเขาโอลิมปัส (Olympus) มีทั้งหมด 12 องค์
เทพชั้นรอง
เทพชั้นรอง (Minor gods) เป็นเทพที่ไม่ได้อยู่บนเขาโอลิมปัส มีมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งเทพเหล่านี้ต่างก็มีหน้าที่และความสำคัญต่างๆ กันไป อาทิ:
พวกอมนุษย์
เทพโอลิมปัส (The Olympians, Major gods) เป็นเทพที่อาศัยบนยอดเขาโอลิมปัส (Olympus) มีทั้งหมด 12 องค์
- ซุส (Zeus) เป็นราชาของบรรดาเทพเจ้าทั้งหลายและเหล่ามนุษย์บนโลก ซุสมีอาวุธเป็นอัศนีบาต
- โพไซดอน (Poseidon) เทพเจ้าแห่งท้องทะเล สัญลักษณ์ของพระองค์คือ สามง่าม หรือ ตรีศูล เทพผู้เขย่าพื้นพิภพ ผู้บัลดาลให้เกิดพายุ บิดาแห่งม้า
- ดิมิเทอร์ (Demeter) เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรรม การเก็บเกี่ยว
- เฮรา (Hera) หรือภาษาโรมันว่า จูโน (Juno) ราชินีแห่งสวรรค์ เป็นทั้งพี่สาวของซุสและเป็นภรรยาด้วย เฮร่าเป็นเทพีแห่งการให้กำเนิดทารก การสมรส สตรี สัตว์ประจำพระองค์คือนกยูง
- แอรีส (Ares) เทพแห่งสงคราม บุตรของ ซูส กับ เฮร่า สัตว์ประจำพระองค์คือเหยี่ยวและสุนัขมังกรไฟ (บางตำราว่าเป็นนกแร้ง) เทพองค์นี้มีเทพที่เป็นน้องสาวชื่อว่า อีริส เธอคือเทพีแห่งการวิวาท
- อะพอลโล (Apollo) เทพเจ้าแห่งการทำนาย กีฬา การรักษาโรคภัย การดนตรี และ เป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ เป็นบุตรแห่ง ซูส และ เทพีเลโต (Leto) มีน้องสาวฝาแฝดชื่อ อาร์เทมิส (Artemis) อะพอลโล่มีต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์คือ ต้นลอเรล Laurel สัตว์ศักดิ์สิทธิ์คือนกกาเหว่าและห่าน เครื่องดนตรีประจำพระองค์คือพิณ วิหารศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์อยู่ที่เดลฟี่ (Delphi) ซึ่งที่นั่นจะมีนักบวชคอยบอกคำทำนายของพระองค์ให้แก่ประชาชนที่มาสักการบูชา
- อาร์เทมีส (Artemis) เทพีแห่งดวงจันทร์และการล่าสัตว์ เป็นบุตรีของซูสและ เทพีเลโต เป็นน้องสาวแฝดของอะพอลโล่ พระองค์เป็นเทพีพรหมจรรย์องค์หนึ่งใน 3 องค์ ภาพที่ผู้คนเห็นอยู่เสมอๆ คือพระองค์จะถือธนูและศร มีสุนัขติดตาม สวมกระโปรงสั้น บางครั้งอาจเห็นเธออยู่บนรถศึกเทียมด้วยกวางขาว
- เฮอร์มีส (Hermes) เทพแห่งการค้า การโจรกรรม และผู้ส่งสารของเหล่าทวยเทพ เป็นบุตรของ ซูส กับ เทพธิดาไมอา เทพไททัน พระองค์มักจะปรากฏกายในลักษณะสวมหมวกขอบกว้าง สวมรองเท้ามีปีก ถือคทาที่มีงูพัน ชื่อ คะดูเซียสซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการแพทย์
- อาธีน่า (Athena) หรืออีกนามหนึ่ง มิเนอร์วา (Minerva) เทพีแห่งความเฉลียวฉลาด และศิลปศาสตร์ทุกแขนงของกรีกรวมถึงศิลปะการต่อสู้ด้วย ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์คือต้นมะกอก โดยเทพีอธีน่า เป็นผู้ที่มอบมะกอกให้กับมนุษย์เป็นองค์แรก ทำให้เมืองเอเธนส์ ได้ใช้ชื่อของพระองค์เป็นชื่อเมืองเพื่อเป็นเกียรติ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของเธอได้แก่ นกฮูก
- อะโฟรไดต์ (Aphrodite) เทพีแห่งความรักและความงาม เป็นบุตรีของ ซูส กับ เทพีไดโอนี่ (บางตำราว่าเกิดจากฟองคลื่น) สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของเธอได้แก่นกกระจอก นกนางแอ่น ห่าน และเต่า ส่วนดอกไม้และผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระนางได้แก่กุหลาบ และแอปเปิล กล่าวกันว่าพระนางเป็นเทพีผู้คุ้มครองเหล่าโสเภณีด้วย นางได้สมรสกับเฮเฟสทัส เทพแห่งการช่างที่ทีรูปร่างอัปลักษณ์ จึงได้มีสัมพันธ์ชู้สาวกับแอเรส หรือมาร์ส เทพแห่งสงคราม ต่อมาได้มีบุตรชื่อคิวปิด(อิรอส)เทพแห่งความรัก และบุตรคนเล็ก แอนติรอส เทพผู้บันดานให้เกิดความรักตอบ
- เฮเฟสตัส (Hephaestus) เทพแห่งไฟ โลหะ และการช่าง เป็นบุตรของ ซูส กับ เฮร่า (บางตำราว่าเป็นบุตรของเฮราผู้เดียว) พระองค์เป็นเทพที่พิการและอัปลักษณ์
- ไดโอนีซุส (Dionysus) เทพแห่งไวน์ การทำไวน์ และการเก็บเกี่ยวผลไม้ และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพแห่งละครอีกด้วย
ปัจจุบันได้จัดให้มีแค่ 12 องค์ เพราะ ตามตำราบางเล่มบอกไว้ว่าเทพรุ่นที่ 3 มีแค่ 12 องค์ แต่กระนั้นก็ยังมีเทพอื่นที่โดดเด่นด้วย ได้แก่ - ไดโอไนซัส (Dionysus) เทพแห่งไวน์ การทำไวน์ และการเก็บเกี่ยวผลไม้ เป็นเทพองค์ล่าสุดที่ขึ้นไปอยู่บนโอลิมปัส
- เพอร์เซโฟเน (Persephone) เทพีแห่งฤดูใบไม้ผลิ เป็นบุตรีแห่ง ซูส และ ดีมิเทอร์
- อีรอส (Eros) กามเทพ รู้จักกันดีในภาษาโรมันว่า คิวปิด Cupid เป็นบุตรแห่งเทพีความรัก อะโฟร์ไดตี้ และ เทพการศึกสงคราม เอเรส
- เฮเดส (Hades) เทพแห่งใต่พิภพยมโลก และเป็นเทพดูแลอัญมณีใต้ดิน ชาวกรีกบูชาพระองค์ก่อนเสมอที่จะลงมือทำเหมืองแร่
เทพชั้นรอง
เทพชั้นรอง (Minor gods) เป็นเทพที่ไม่ได้อยู่บนเขาโอลิมปัส มีมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งเทพเหล่านี้ต่างก็มีหน้าที่และความสำคัญต่างๆ กันไป อาทิ:
- โพรมีเธียส (โพรเมธิอัส) (Prometheus)
- อีออส (Eos) (ออโรร่า) (aurora)
- เพอซิโฟนี (perzifonee)
- ไซคี (zike)
- ธิโพรเมเธียส (Atiprometheus) เอธิโพรเมธิอัส (Atiprometis)
- เฮลิออส (Helios)
- เซเลน่า (สิลินี) (Selena)
- แพน (Pan)
- ไอริส (Iris)
- กลุ่มเทพีอิรินีอีส (The Erinyes)
- ออโรรา (Aurora)
พวกอมนุษย์
อมนุษย์ (The Immortals) ได้แก่ นางไม้ (Nymphs) ที่อยู่ตามป่า แม่น้ำ ลำธาร ถ้ำ หรือ ในทะเล หรือพวกสัตว์ประหลาดอย่างเช่น ยักษ์ตาเดียว ฯลฯ เป็นต้น เหล่าอมุนษย์ของกรีกนั้นมีมากพอ ๆ กับพวกเทพเจ้า ดังนั้นจะขอกล่าวถึงเฉพาะวีรบุรุษที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันมากเท่านั้น เช่น:
พวกมนุษย์
- นางไม้เอ็คโค่ (Echo)
- แซนทอร์ (Cantaurs)
- ยักษ์ไซคลอปส์ (ยักษ์ตาเดียว) (The Cyclops)
- ปีศาจฮาร์พีส์ (Harpies)
- เนดส์,ไนแอด (Naiads)
- นางพรายทะเลโอเซียนิดส์ (The Oceanids)
- นางไม้อมัลเธีย (Amalthea)
- ซาไทร์ (Satyrs)
- ปีศาจเมดูซ่า (Medusa)
- ยักษ์แอทลาส (Atlas)
พวกมนุษย์
มนุษย์ (Mortals - Descendents of Gods) มีเชื้อสายเป็นบุตร-ธิดาของเหล่าเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ กลุ่มนี้จะรวมทั้งเหล่าวีรบุรุษและวีรสตรีของกรีกด้วย (The Heroes and Heroines) เหล่าวีรบุรุษและวีรสตรีของกรีกนั้น มีมากพอ ๆ กับพวกเทพเจ้า ดังนั้นจะขอกล่าวถึงเฉพาะวีรบุรุษที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันมากเท่านั้น
ก่อนที่ชาวโรมันจะติดต่อและมีความสัมพันธ์กับกรีก มีความเชื่อในเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ โชคลาง และภูตผีปีศาจ เจ้าที่เจ้าทางที่ประจำอยู่ในธรรมชาติ
อย่างไรก็ตามลัทธิความเชื่อทางศาสนาที่กฎในจักรวรรดิโรมันมิได้มีเพียงแต่ศาสนาคริสต์เท่านั้น ยังมีลัทธิความเชื่ออื่นๆ อีกที่ควรกล่าวถึง คือ ลัทธิเพลได้ใหม่ (Neoplatonism) ผู้เสนอแนวคิดนี้คือ โพลไทนัส(ค.ศ.205-207) ได้กล่าวถึงความเป็นหนึ่งเดียวคือ สัจจะและความเป็นจริง ซึ่งเป็นเป็นความเต็มเปี่ยม เป็นเอกภาพ ความจริงดังกล่าวเป็นอนันตภาพไม่มีขอบเขตและอยู่เหนือความเข้าใจของมนุษย์ โพลไทนัส เรียกสิ่งนั้นว่าหนึ่งเดียวหรือThe one มนุษย์อาจรู้จักและเข้าถึงได้ด้วยการเข้าณาญเท่านั้น แนวความคิดดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของโรมันในเวลานั้นว่า เหตุผลไม่อาจเข้ามาปลอบประโลมความผิดหวังต่อการมีชีวิตในโลกได้ ลัทธิเหตุผลนิยมของกรีกหาความหมายอะไรมิได้ ความจริงที่มีคุณค่าควรแก่การเรียนรู้อาจมีอยู่จริงแต่สิ่งนั้นอยู่เหนือความรู้ความเข้าใจของมนุษย์ คนทั่วไปในยุคนี้จึงไม่คิดหาเหตุผลเพื่อสนับสนุนความเชื่อทางศาสนาใดๆ แต่สิ่งที่ปรารถคือ การสามารถรวมตัวเข้ากับพระผู้เป็นเจ้าในแบบลึกลับต่างๆ
ส่วนทางด้านปรัชญาความคิด รับแนวความคิดทางปรัชญามาจากกรีกโดยเฉพาะแนวคิดของพวกสโตอิด เรื่องความมีเหตุผลความยุติธรรมตามธรรมชาติและความเท่าเทียมกันมาใช้ในกฎหมายโรมัน กลุ่มนักปรัชญา คือ
กลุ่ม Scipionic cricle ได้เสนอแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมกันของมนุษย์ซึ่งทำให้เกิดความยุติธรรมในรัฐ และเสนอเรื่องความเป็นหนึ่งอันเดียวกันของเชื่อชาตินอกจากนี้ โพลีบิอุส เสนอแนวคิดว่า ระบบการปกครองแบบผสมเป็นระบบการปกครองที่ดีที่ป้องกันมิให้เสื่อมไปตามธรรมชาติ โดยกล่าวว่าโลกที่โรมันปกครองเป็นรัฐโลกเพราะได้ปรับอำนาจของสถานบันปกครองให้มีความสมดุล โดยที่กงสุลมีลักษณะเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สภาเซเนทมีลักษณะเป็นแบบอภิชนาธิปไตย สภาราษฎร์มีลักษณะเป็นแบบประชาธิปไตย ทั้ง 3 สถานบัน ต่างมีอำนาจตรวจสอบซึ่งกันและกัน อันเป็นการจัดสมดุลอำนาจทางการเมืองในระบบ Check and Balance
ซิเซโร เห็นด้วยกับความคิดว่าระบบการเมืองแบบผสมทำให้เกิด Check and Balance ผลสำคัญของซิเซโรคือการเอาความคิดเรื่องกฎธรรมชาติมาผนวกกับลัทธิสโตอิดโดยถือว่ากฎธรรมชาติ คือ รัฐธรรมนูญของรัฐโลก กฎนี้ไม่เปลี่ยนแปลงและใช้สำหรับทุกคน (ในแง่นี้ทุกคนจึงเท่าเทียมกัน) สิ่งใดที่ขัดกับกฎนี้จะถือเป็น กฎหมายมิได้
ซิเซโรมองว่าการมีคนมารวมกันเป็นประชาคมจะต้องการยอมรับกฎหมายสิทธิและประโยชน์ส่วนร่วม ซึ่งทำให้เกิด 3 ประการ คือ 1.รัฐและกฎหมายเป็นสมบัติของประชาชน เกิดจากการรวมกันแห่งอำนาจของประชาชน 2.อำนาจการเมืองที่ใช้อย่างถูกต้องจะสอดคล้องกับอำนาจขอประชาชน 3.รัฐและหมายของรัฐอยู่ใต้กฎของพระเจ้าในลักษณะเช่นนี้เป็นการยอมรับว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ และการปกครองต้องได้รับความยินยอมจากประชาชน
เซเนกา ได้รับอิทธิพลจากลัทธิสโตอิกเช่นเดียวกับซิเซโร แต่ได้เน้นสังคมมากกว่ารัฐและมีความผูกพันกับศีลธรรมมากกว่ากฎหมายการเมือง นอกจากนี้ยังได้แยกประโยชน์ทางโลกออกจากประโยชน์ทางวิญญาณ ลักษณะความคิดของเซเนกาเป็นศาสนา 2 ประการ คือถือว่าบาปเป็นธรรมชาติของมนุษย์ และเน้นที่ความเข้าใจกันความสุภาพ คุณธรรม
- เฮอร์คิวลีส (Hercules) บุตรแห่งซุสเป็นผู้ที่ทำภารกิจทั้ง 12 ประการได้สำเร็จ เป็นผู้ที่มีพละกำลังมากที่สุดในกรีก นอกจากนั้นยังสร้างวีรกรรมอีกมากมาย
- โอดีสซุซ (Odysseus) เป็นวีรบุรุษในสงครามกรุงทรอย เนื่องจากเป็นผู้คิดประดิษฐ์ม้าไม้ขึ้น และยังได้ผจญภัยในที่ต่างๆ อีกถึง 20 ปี ก่อนที่จะได้กลับบ้าน
- เจสัน (Jason) เป็นหัวหน้าคณะ Argonaut ไปตามหาขนแกะทองคำ
- เพอร์ซิอุส (Perseus) บุตรแห่งซุสซึ่งมีแม่เป็นมนุษย์ เป็นผู้สังหาร เมดูซ่า, คราเคน, โครนอส ได้สำเร็จ
- เบลเลอโรฟอน (Bellerophon) เป็นผู้จับที่เพกาซัสได้แล้วขี่มันไปสังหารไคเมร่า
- ธีซีอุส (Theseus) เป็นผู้สังหาร Minotaur ได้สำเร็จ
- อตาลันต้า (Atalanta) เป็นคนแรกที่ทำให้หมูป่าคาลิโดเนียน (Caledonian) บาดเจ็บได้ และเป็นผู้สังหารเซนทอร์ ได้
- มีแลมพัส (Melampus)
- เอดิเพิส (Oedipus) ผู้ก่อโศกนาฏกรรมด้วยการฆ่าพ่อของตนเองแล้วแต่งงานกับแม่ของตนเองด้วยความไม่รู้ ในสมัยหลังชื่อของเขาถูกซิกมุนด์ ฟรอยด์ จิตแพทย์ชาวออสเตรียผู้ก่อตั้งสำนักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ นำมาใช้เรียกปมทางจิตในเด็กชายว่า ปมปิตุฆาตหรือ ปมเอดิเพิส
- อคิลลีส (Achilles) วีรบุรุษในตำนานกรีกมหากาพย์อีเลียด สงครามกรุงทรอย เมื่อแรกเกิดมารดาของเขาได้จุ่มเขาลงไปในแม่นำสติกซ์ ทำให้เขาคงกระพันฟันแทงไม่เข้า ยกเว้นจุดเดียวคือเหนือข้อเท้าซึ่งเป็นตำแหน่งที่มารดาจับเขาจุ่มนำนั่นเอง
- เฮกเตอร์ (Hector)
- โอเรสเตส (Orestes)
- แอ็ดมิทัส และ อัลเซสติส (Admetus + Alcestis)
- อีนีอัส (Aeneas)
- แคสเตอร์ และ พอลลักซ์ (Caster + Pollux)
- ซิซิฟัส (Sisyphus)
- ไมดัส (King Midas)
- แทนทาลัส (Tantalus)
- แคดมัส (Cadmus)
- แอสคลีปิอัส (Asclepius)
- ออร์ฟิอัส (Orpheus)
ศาสนาโรมัน
ก่อนที่ชาวโรมันจะติดต่อและมีความสัมพันธ์กับกรีก มีความเชื่อในเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ โชคลาง และภูตผีปีศาจ เจ้าที่เจ้าทางที่ประจำอยู่ในธรรมชาติ
ต่อเมื่อชาวกรีกได้เข้ามาตั้งอาณานิคม ในตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลิได้นำความเจริญของกรีกเข้ามาเผยแผ่ และเมื่อโรมันสามารถผนวกกรีกให้เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ ชาวโรมันจึงรับเอาแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องเทพเจ้าของกรีกมาทั้งหมดโดยเปลี่ยนชื่อมาจากภาษากรีก เป็นภาษาลาติน การประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับเทพเจ้ามิได้รับมา ทั้งนี้ชนกลุ่มหนึ่งเทียบได้กับพระทำหน้าที่ทางศาสนาโดยมี Pontifex Maximus เป็นประมุขซึ่งมักจะได้แก่กงสุลในสมัยสาธารณรัฐและจักรวรรดิในสมัยจักรวรรดิ
จากการที่อาณาจักรโรมันไม่มีศาสนาเป็นของตัวเอง ดังนั้นเมื่อยึดครองดินแดนไม่ปล่อยให้ประชนในแต่ละท้องถิ่นปฏิบัติตามแนวความคิด ความเชื่อทางศาสนาของตนเอง
จากการที่อาณาจักรโรมันไม่มีศาสนาเป็นของตัวเอง ดังนั้นเมื่อยึดครองดินแดนไม่ปล่อยให้ประชนในแต่ละท้องถิ่นปฏิบัติตามแนวความคิด ความเชื่อทางศาสนาของตนเอง
เช่นเดียวกับที่จักรวรรดิโรมันยอมให้ชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์ยังคงสามารถนับถือศาสนายิวหรือยูดายมาโดยตลอด รวมถึงศาสนาคริสต์ที่ถือกำเนิดจากพระเยซูในปาเลสไตน์ และบรรดาสาวกก็แพร่ขยายศาสนาคริสต์ไปยังชุมชนต่างๆโดยในระยะแรกเริ่ม แพร่หลายในหมูคนยากจนและค่อยๆขยายสู่พ่อค้าประชนทั่วไปที่ไม่ได้มีอภิสิทธิ์ในสังคมเข้าสู่ช่วงปลายของจักรวรรดิโรมัน จนครั้นเมื่อจักรวรรดิ คอนแสตนดิน ครองอำนาจทรงประกาศองค์การแห่งมิลาน (Edict of milan) ใน ค.ศ. 313 ที่ยอมยกฐานะศาสนาคริสต์ให้มีสิทธิเท่าเทียมกับจักรวรรดิและพระองค์ทรงเลื่อมใสศาสนานี้หลังจากนั้นเป็นต้นมา ศาสนาคริสต์เป็นที่ยอมรับนับถือในหมูชนชั้นสูง และในที่สุด จักรพรรดิ ทีโอโดซิอุส (Theodosius) ทรงประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำ จักรวรรดิโรมันเมื่อ ค.ศ. 380 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ตามลัทธิความเชื่อทางศาสนาที่กฎในจักรวรรดิโรมันมิได้มีเพียงแต่ศาสนาคริสต์เท่านั้น ยังมีลัทธิความเชื่ออื่นๆ อีกที่ควรกล่าวถึง คือ ลัทธิเพลได้ใหม่ (Neoplatonism) ผู้เสนอแนวคิดนี้คือ โพลไทนัส(ค.ศ.205-207) ได้กล่าวถึงความเป็นหนึ่งเดียวคือ สัจจะและความเป็นจริง ซึ่งเป็นเป็นความเต็มเปี่ยม เป็นเอกภาพ ความจริงดังกล่าวเป็นอนันตภาพไม่มีขอบเขตและอยู่เหนือความเข้าใจของมนุษย์ โพลไทนัส เรียกสิ่งนั้นว่าหนึ่งเดียวหรือThe one มนุษย์อาจรู้จักและเข้าถึงได้ด้วยการเข้าณาญเท่านั้น แนวความคิดดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของโรมันในเวลานั้นว่า เหตุผลไม่อาจเข้ามาปลอบประโลมความผิดหวังต่อการมีชีวิตในโลกได้ ลัทธิเหตุผลนิยมของกรีกหาความหมายอะไรมิได้ ความจริงที่มีคุณค่าควรแก่การเรียนรู้อาจมีอยู่จริงแต่สิ่งนั้นอยู่เหนือความรู้ความเข้าใจของมนุษย์ คนทั่วไปในยุคนี้จึงไม่คิดหาเหตุผลเพื่อสนับสนุนความเชื่อทางศาสนาใดๆ แต่สิ่งที่ปรารถคือ การสามารถรวมตัวเข้ากับพระผู้เป็นเจ้าในแบบลึกลับต่างๆ
ส่วนทางด้านปรัชญาความคิด รับแนวความคิดทางปรัชญามาจากกรีกโดยเฉพาะแนวคิดของพวกสโตอิด เรื่องความมีเหตุผลความยุติธรรมตามธรรมชาติและความเท่าเทียมกันมาใช้ในกฎหมายโรมัน กลุ่มนักปรัชญา คือ
กลุ่ม Scipionic cricle ได้เสนอแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมกันของมนุษย์ซึ่งทำให้เกิดความยุติธรรมในรัฐ และเสนอเรื่องความเป็นหนึ่งอันเดียวกันของเชื่อชาตินอกจากนี้ โพลีบิอุส เสนอแนวคิดว่า ระบบการปกครองแบบผสมเป็นระบบการปกครองที่ดีที่ป้องกันมิให้เสื่อมไปตามธรรมชาติ โดยกล่าวว่าโลกที่โรมันปกครองเป็นรัฐโลกเพราะได้ปรับอำนาจของสถานบันปกครองให้มีความสมดุล โดยที่กงสุลมีลักษณะเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สภาเซเนทมีลักษณะเป็นแบบอภิชนาธิปไตย สภาราษฎร์มีลักษณะเป็นแบบประชาธิปไตย ทั้ง 3 สถานบัน ต่างมีอำนาจตรวจสอบซึ่งกันและกัน อันเป็นการจัดสมดุลอำนาจทางการเมืองในระบบ Check and Balance
ซิเซโร เห็นด้วยกับความคิดว่าระบบการเมืองแบบผสมทำให้เกิด Check and Balance ผลสำคัญของซิเซโรคือการเอาความคิดเรื่องกฎธรรมชาติมาผนวกกับลัทธิสโตอิดโดยถือว่ากฎธรรมชาติ คือ รัฐธรรมนูญของรัฐโลก กฎนี้ไม่เปลี่ยนแปลงและใช้สำหรับทุกคน (ในแง่นี้ทุกคนจึงเท่าเทียมกัน) สิ่งใดที่ขัดกับกฎนี้จะถือเป็น กฎหมายมิได้
ซิเซโรมองว่าการมีคนมารวมกันเป็นประชาคมจะต้องการยอมรับกฎหมายสิทธิและประโยชน์ส่วนร่วม ซึ่งทำให้เกิด 3 ประการ คือ 1.รัฐและกฎหมายเป็นสมบัติของประชาชน เกิดจากการรวมกันแห่งอำนาจของประชาชน 2.อำนาจการเมืองที่ใช้อย่างถูกต้องจะสอดคล้องกับอำนาจขอประชาชน 3.รัฐและหมายของรัฐอยู่ใต้กฎของพระเจ้าในลักษณะเช่นนี้เป็นการยอมรับว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ และการปกครองต้องได้รับความยินยอมจากประชาชน
เซเนกา ได้รับอิทธิพลจากลัทธิสโตอิกเช่นเดียวกับซิเซโร แต่ได้เน้นสังคมมากกว่ารัฐและมีความผูกพันกับศีลธรรมมากกว่ากฎหมายการเมือง นอกจากนี้ยังได้แยกประโยชน์ทางโลกออกจากประโยชน์ทางวิญญาณ ลักษณะความคิดของเซเนกาเป็นศาสนา 2 ประการ คือถือว่าบาปเป็นธรรมชาติของมนุษย์ และเน้นที่ความเข้าใจกันความสุภาพ คุณธรรม
เทพเจ้าโรมัน
ตรงกันข้ามกับการบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับเทพต่างๆ ของกรีก โรมันจะมีตำนานมากมายที่เกี่ยวกับการก่อตั้งและความรุ่งเรืองของเมืองต่างๆ นอกไปจากเรื่องราวที่เล่าขานกันตามท้องถิ่น ก็มีการเพิ่มเติมตำนานวีรบุรุษของกรีกที่ปะติดปะต่อกับตำนานพื้นบ้านโรมันมาตั้งแต่สมัยแรก ตัวอย่างเช่นอีเนียสของโรมันก็ถูกดึงไปเป็นสามีของลาวิเนียพระราชธิดาของกษัตริย์ลาตินัสผู้เป็นบรรพบุรุษของชนละติน ฉะนั้นจึงเป็นบรรพบุรุษของรอมิวลุส และรีมุส ฉะนั้นตำนานเกี่ยวกับโทรจันจึงกลายเป็นตำนานลึกลับเกี่ยวกับบรรบุรุษของชาวโรมัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ทหารม้าโรมันแต่งเครื่องแบบที่มาจากภาพวาดของโทรจัน กวีนิพนธ์ “เอนิอิด” (Aeneid) และ หนังสือสองสามเล่มแรกโดยนักประวัติศาสตร์โรมันลิวี” (Livy) เป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดเกี่ยวกับปรำปราวิทยาของมนุษย์ดังกล่าวประเพณีปฏิบัติต่างๆ โดยนักบวชของทางการของโรมันก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สร้างความแตกต่างของเทพสองระดับ “di indigetes” และ “di novensides”/“novensiles” กลุ่ม “di indigetes” หมายถึงทวยเทพดั้งเดิมของโรมัน ชื่อและรายละเอียดของเทพกลุ่มนี้ระบุด้วยตำแหน่งของนักบวชรุ่นแรกที่สุดและโดยวันเทศกาลที่เฉพาะเจาะจงที่มีด้วยกัน 30 องค์ที่มีเทศกาลที่ระบุอย่างเฉพาะเจาะจง ส่วน “di novensides”/“novensiles” คือเทพรุ่นต่อมาที่เข้ามาตามเมืองต่างๆ ในภายหลัง และมักจะทราบเวลาที่เข้ามาตามความจำเป็นของสถานการณ์หรือวิกฤติการณ์ ทวยเทพดั้งเดิมนอกไปจาก “di indigetes” เป็นกลุ่มทวยเทพที่เรียกว่า “เทพเฉพาะกิจ” เช่นเทพแห่งการเก็บเกี่ยว เศษชิ้นส่วนจากประเพณีที่เกี่ยวข้องกับกิจการต่างๆ เช่นการไถหรือการหว่านทำให้เราทราบว่ากระบวนการทุุกขั้นตอนของกิจการของโรมันต่างก็มีเทพเฉพาะกิจต่างๆ กันไป ชื่อของเทพก็จะมาจากคำกิริยาของกิจการที่กระทำ เทพเหล่านี้ก็จะจัดเป็นกลุ่มภายใต้กลุ่มกว้างๆ หรือ กลุ่มเทพสนับสนุน (attendant หรือ auxiliary gods) ผู้ที่จะได้รับการกล่าวนามพร้อมกับเทพระดับสูง
เทพเฉพาะกิจและเทศกาลที่เกี่ยวข้องทำให้เราทราบว่าชาวโรมันสมัยแรกนอกจากจะเป็นกลุ่มชนที่เป็นสังคมเกษตรกรรม แต่ยังเป็นสังคมที่นิยมการต่อสู้ และ มักจะนิยมการทำสงคราม นอกจากจะมีเทพเฉพาะกิจในด้านการเกษตรแล้วชาวโรมันก็ยังมีเทพเฉพาะกิจในกิจการประจำวันที่ต้องทำการสักการะบูชาตามความเหมาะสมด้วย
ฉะนั้นเทพแจนัส และ เทพีเวสตาก็จะเป็นผู้รักษาประตูและเตาผิง, เทพลารีสพิทักษ์ที่ดินและบ้าน, เทพพาลีสพิทักษ์ท้องทุ่ง, เทพแซทเทิร์นพิทักษ์การหว่าน, เทพีเซเรสพิทักษ์การเจริญเติบโตของธัญพืช,
เทพีโพโมนาพิทักษ์ผลไม้ และ เทคอนซัสพิทักษ์ธัญญาหารและสถานที่เก็บรักษาธัญญาหาร และ เทพีอ็อพสพิทักษ์การเก็บเกี่ยวและเป็นเทพีแห่งการเจริญพันธุ์
แม้แต่เทพจูปิเตอร์ผู้เป็นประมุขของทวยเทพก็ยังทรงเป็นเทพที่ช่วยให้ฝนตกเพื่อช่วยในการเกษตรกรรม และคุณลักษณะทั่วไปของพระองค์จากการที่ทรงมีสายฟ้าเป็นอาวุธทำให้ทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้อำนวยการของกิจการที่มนุษย์กระทำ และการที่ทรงมีอำนาจอันยิ่งใหญ่และกว้างขวางทำให้ทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้พิทักษ์กิจการทางทหารของชาวโรมันที่นอกไปจากในบริเวณเขตแดนของตนเอง เทพเจ้าสำคัญในสมัยแรกก็ได้แก่เทพมาร์ส และ เทพควิรินัส ผู้มักจะเป็นเทพในกลุ่มเดียวกัน เทพมาร์สเป็นเทพเจ้าแห่งการสงครามที่ทำการฉลองกันในเดือนมีนาคมและตุลาคม ส่วนเทพควิรินัสเชื่อกันโดยนักวิชาการสมัยใหม่ว่าเป็นเทพเจ้าแห่งประชาคมผู้ถืออาวุธในยามสันติ
ในกลุ่มเทพของสมัยแรกก็มีไตรเทพ (triad) ที่สำคัญคือ เทพจูปิเตอร์, เทพมาร์ส และ เทพควิรินัส เทพในสมัยแรกมักจะไม่มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่สำคัญ และประวัติก็ไม่มีเรื่องราวของการสมรสหรือบรรพบุรุษ ซึ่งไม่เหมือนกับเทพเจ้ากรีกเพราะจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์เดินดิน ฉะนั้นจึงแทบจะไม่มีเรื่องราวของกิจการที่กระทำ
เจนัส(Janus)เทพแห่งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เทพแห่งทวารทางเข้าออก สงคราม และสันติภาพ เป็นผู้อุปถัมภ์การกำเนิดของสิ่งต่างๆ ถึงแม้จะเป็นเทพที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในบรรดาเทพทั้งปวงของโรมัน แต่ไม่เป็นที่รู้จักของกรีกเลย
นักเทวดาตำนานเห็นว่า เจนัส(Janus)เป็นโอรสของอพอลโล(Apollo) ถึงแม้จะถือกำเนิดในเทสซารี แต่ช่วงแรกๆ ของชีวิตทรงมาอยู่ในอิตาลี และทรงก่อตั้งเมืองในแม่น้ำไทเบอร์ขึ้น ซึ่งพระองค์ทรงตั้งนามเมืองว่า เจนิคิวลัม(Janiculum) ที่เมืองนี้ พระองค์ได้ร่วมกับเทพแซเทิร์น(Saturn)ผู้ถูกเนรเทศโดยร่วมบัลลังก์กัน ทั้งสองนี้ได้ร่วมกันทำให้ผูคนในอิตาลีที่ป่าเถื่อนนั้นมีอารยรธรรมขึ้น แล้วทรงอวยพรให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง จนกระทั่งยุคสมัยที่ท่านครองอยู่มีกเรียกว่า"ยุคทอง"
เจนัส(Janus)โดยทั่วไปแล้วจะปรากฏพระองค์มีสองพักตร์ หันไปในทิศทางตรงข้ามกัน เหตุด้วยพระองค์ทรงคุ้นเคยกับอดีตและอนาคตพอๆกับปัจจุบัน และเพราะถือว่าพระองค์เป็นเครื่องหมายแห่งตะวัน ที่เกิดทิวาวารเมื่อเริ่มรุ่งราง และปิดวันวารเมื่อยามโรยร่วง
บางรูปปั้นปรากฏพระองค์ด้วยพรพักตร์ที่มีเกศสและมัสสุขาว บางรูปปั้นก็ปรากฏในรูปที่เป็นชายหนุ่ม ขณะที่บางรูปปั้นสร้างให้ทรงมีสามเศียรหรือสี่เศียร
จูปิเตอร์ คือปะมุขแห่งทวยเทพ สถิตอยู่ ณ ยอดเขาโอลิมปัส มีมเหสีคือจูโน อาวุธคู่กายคือสายฟ้า พระองค์มีฤทธิ์เหนือเทพทั้งมวล กล่าวกันว่าต่อให้ผูกเชือกทองกับสวรรค์แล้วให้เทพทุกองค์ดึงจูปิเตอร์ลงมาก็ไม่อาจทำได้ ข้อเสียของจูปิเตอร์คือความเจ้าชู้ ซึ่งหลายครั้งกลายเป็นชนวนความวุ่นวายในตำนานเทพ
ตามนิสัยของจูปิเตอร์ หากพอใจหญิงใด ก็จะทำทุกอย่างให้ได้นางมาครอง วันหนึ่งขณะที่นางยูโรปากำลังเก็บดอกไม้อยู่ในทุ่ง นางพบโคลักษณะงามและเชื่องตัวหนึ่งจึงขึ้นนั่งหลัง ทันใดนั้นโคก็เผ่นหนีลงทะเลแล้วนำนางยูโรปามาไว้ที่เกาะครีตพร้อมแสดงตนว่าคือเทพจูปิเตอร์นั่นเอง
เทพผู้เป็นเจ้าแห่งการสงครามคือ มาร์ส (Mars) หรือ เอเรส (Ares) ซึ่งเป็นชู้รักของเทวีอโฟรไดที่ เธอเป็นบุตรองค์หนึ่งของเทพปริณายก ซูส กับเจ้าแม่ ฮีรา และเป็นที่เกลียดชังของเทพและมนุษย์ทั้งปวงเว้นแต่ชาวโรมัน ผู้มีนิสัยชอบการสงคราม
ชาวโรมันเทิดทูนสดุดีเทพองค์นี้ยิ่งนัก ถึงกับอุปโลกน์ให้เป็นเทพบิดาของ โรมิวลัส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรม และพรรณาสรรเสริญเกียรติคุณของเธอนานัปการ ตรงกันข้ามกับชาวกรีก ซึ่งนอกจากจะไม่นิยมเลื่อมใสเทพองค์นี้แล้ว ยังถือว่า เธอเป็นเทพที่มีสันดานป่าเถื่อนดุร้าย ปราศจากความเมตตากรุณาเสียอีก
ในมหากาพย์อิเลียด ซึ่งเป็นบทกวี เกี่ยวกับการ สงคราม แท้ ๆ เธอเป็นที่เกลียดชังตลอดเรื่อง นักกวีโฮเมอร์ถึงแก่ประณามเธอว่า "ยินดีในการประหัตประหาร มีมลทินด้วยเลือด เป็นอุบาทว์สำหรับมนุษย์ทั้งปวง" เมื่อสรุปตามสายตาของกรีกดังกล่าว โดยสำนวนปัจจุบัน เราจะเห็นว่า เอเรสคือ เทพอันธพาลของกรีก
เอเรสเป็นโอรสขององค์เทพซูสกับฮีร่าเทวี และทรงเป็นโอรสที่เทพบิดาซูส ตรัสใส่หน้าเลยว่า "เจ้าเป็นที่น่าชังที่ สุดในบรรดาลูกของข้า ทั้งโหดร้าย ดื้อด้านเหมือนแม่เจ้าไม่ผิด!" ซึ่งวาทะประโยคนี้นับว่าวิจารณ์อุปนิสัยใจคอของ เอเรสได้ตรงเป็นที่สุด นอกจากโหดร้ายและดื้อดึง เอเรสยังบุ่มบ่าม โกรธง่าย และนิยมความรุนแรงมาก นับว่าเป็นอุปนิสัยที่ แตกต่างกับเจ้าแม่เอเธน่า มากซึ่งเป็นเทวีแห่งสงครามเหมือนกัน เอเธน่านั้นสุขุม เฉลียวฉลาดและกล้าหาญ จึงได้รับการ ยกย่องทั่วทุกหนแห่ง เป็นเหตุให้เอเรสเกิดจิตริษยาเอามาก เป็นดั่งว่า "ฟ้าให้เอเรสเกิดแล้วไฉนให้เอเธน่ามาเกิดอีกเล่า" เวลาพบกันทีไรจึงมักมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันเป็นประจำ
---
อ่าน เทววิทยาของศาสนากรีกโบราณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น