ด้วยเหตุนี้ ทุกศาสนาจึงต้องพยายามให้คำตอบในเรื่องของชีวิตและความตาย และการเอาชนะความตาย หรือถ้าชนะไม่ได้ก็จะเป็นเรื่องการมีชีวิตหลังความตายที่ดี
การที่คนเรากลัวความตายนั้น เป็นเรื่องที่มีหลายเหตุผล และแต่ละคนมีเหตุผลต่างกันไป
ส่วนใหญ่กลัวตายเพราะกลัวว่าจะตายเร็วเกินไป ตายก่อนวัยอันควร รู้สึกว่ายังหาความสุขไม่เต็มที่ หรือยังใช้ชีวิตไม่คุ้ม
ต่อมาก็...กลัวตายเพราะไม่อยากจากคนที่รัก
กลัวตายเพราะมีสิ่งที่ยังเป็นห่วง สิ่งที่ยังทำไม่สำเร็จ
กลัวตายเพราะกลัวว่าจะเป็นความตายที่เจ็บปวดทุกข์ทรมาน เป็นความตายที่น่าอับอาย
และท้ายที่สุด กลัวตายโดยมีความกลัวในเรื่องชีวิตหลังความตาย...ไม่รู้ตายแล้วจะไปไหน หรือจะเป็นอย่างไร
ต่อมาก็...กลัวตายเพราะไม่อยากจากคนที่รัก
กลัวตายเพราะมีสิ่งที่ยังเป็นห่วง สิ่งที่ยังทำไม่สำเร็จ
กลัวตายเพราะกลัวว่าจะเป็นความตายที่เจ็บปวดทุกข์ทรมาน เป็นความตายที่น่าอับอาย
และท้ายที่สุด กลัวตายโดยมีความกลัวในเรื่องชีวิตหลังความตาย...ไม่รู้ตายแล้วจะไปไหน หรือจะเป็นอย่างไร
คำถามสำคัญที่มนุษย์เฝ้าถามตัวเองมาตลอดคือ...มนุษย์เราจะชนะความตายได้ไหม?
เป็นไปได้ไหมที่จะเราจะชนะความตาย และเป็นอมตะ ? ในอดีตมนุษย์ไม่เคยเชื่อว่าจะเป็นไปได้ มีแต่ในนิทานหรือนิยาย จึงเชื่อตามๆกันจนเป็นภาษิตหรือคำสอนศาสนาในแง่ที่ให้ปลงว่า “ทุกคนล้วนต้องตาย” “ทุกชีวิตต้องเกิดแก่เจ็บตาย” และ “ไม่มีใครหนีความตายพ้น”
แต่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่เคยหยุดยั้ง บัดนี้ได้ทำให้ผู้คนไม่น้อยเริ่มเชื่อกัน (มากขึ้นเรื่อยๆ) ว่าในอนาคต มนุษย์เราจะสามารถหาวิธี "ชนะความตาย" และ "เป็นอมตะ" ได้
แม้ว่าปัจจุบันมนุษย์ยังทำไม่สำเร็จ
แต่ก่อนอื่น ต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า การเอาชนะความตาย ที่ผู้เขียนกำลังพูดถึงนี้หมายความว่าอย่างไรแน่?
เวลาที่คนเราบอกว่า “ไม่ตาย” หรือ “มีชีวิต” นั้นไม่ใช่มีความหมายในทางกายภาพ เพียงแค่ว่า ยังมีลมหายใจ หรือหัวใจยังเต้น เพราะถ้าเป็นความหมายเพียงเท่านี้ การเป็นผู้ป่วยที่สมองตายเป็นเหมือนผัก ก็ถือว่ามีชีวิตเช่นกัน แต่การมีชีวิตอมตะเหมือนผักแบบนี้ไปตลอด ก็คงไม่มีใครอยากได้เป็นแน่
ความหมายของการ "มีชีวิต" ที่เป็นพื้นฐานที่สุดและลึกซึ้งที่สุดคือ
หนึ่ง มีความทรงจำสะสม (memorability)
สอง สามารถเรียนรู้และคิดได้ (thinkability)
และสาม สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น (communicability)
หนึ่ง มีความทรงจำสะสม (memorability)
สอง สามารถเรียนรู้และคิดได้ (thinkability)
และสาม สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น (communicability)
การมีลักษณะที่ว่ามานี้เท่านั้นที่นับว่าเป็นการมีชีวิตที่แท้จริง ไม่เกี่ยวกับว่า ต้องมีการหายใจหรือไม่ หรือหัวใจเต้นหรือไม่ หรือขยับร่างกายได้หรือไม่
ปัจจุบันนี้ แนวคิดที่เชื่อกันและมีการทดลองกันมา ว่าจะสามารถทำให้มนุษย์ไม่ตาย และเป็นอมตะได้ มีหลายวิธีด้วยกัน แต่ขอสรุปรวมเป็นวิธีหลักเหลือแค่ 2 วิธี ซี่งหลายคนคงรับรู้จากภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ต่างๆ มากันบ้างแล้ว นั่นคือ
วิธีแรก การเปลี่ยนอวัยวะ :
อวัยวะร่างกายทั้งภายนอกภายใน ตรงไหนแก่ตรงไหนเสีย ก็เปลี่ยนอวัยวะใหม่ได้เรื่อยๆ ไม่รู้จบ ซึ่งอวัยวะที่เปลี่ยนอาจเป็นของแท้ที่เอามาจากตัวโคลนนิ่งของตนเอง หรืออาจเป็นอวัยะเทียมที่ทำทดแทนได้ทุกชิ้น จนเป็นเสมือนหุ่นยนต์ หรือหุ่นแอนดรอยด์ โดยยังใช้สมองคนจริง หรืออาจใช้สมองกลแต่บรรจุความทรงจำจริงของตัวเราเข้าไป (ดังแนวคิดของภาพยนตร์เรื่อง I Robot)
วิธีนี้ยังมีข้อจำกัดตรงที่ว่า แม้ว่าเราจะเปลี่ยนอวัยวะทั้งหมดได้ แต่ถ้าสมองเสียหาย เช่นเป็นอัลไซเมอร์ ความทรงจำก็ย่อมจะสูญเสียไป สุดท้ายก็ต้องนำไปสู่วิธีการที่สองอยู่ดี
วิธีที่สอง คือการถ่ายทอดข้อมูลในสมองโดยปรับเป็นดิจิตอลแล้วใส่เข้าไปในคอมพิวเตอร์ หรือสมองของตัวโคลนนิ่ง หรือสมองเทียมของหุ่นยนต์:
เป็นการใช้ร่างกายมนุษย์จริงที่มาจากการโคลนนิ่ง (อาจเป็นโคลนของตัวเองหรือผู้อื่น) แล้วใส่ความทรงจำของตัวเราเข้าไป (ดังแนวคิดของภาพยนตร์เรื่อง The Sixth Day หรือ Avartar หรือ The Metrix) หรืออาจเป็นการใส่เข้าไปในสมองเทียมของหุ่นยนต์ก็ได้ (ดังแนวคิดของภาพยนต์ Chappie)
อย่างไรก็ตาม การเป็นอมตะในวิธีที่สองนี้ หากไม่เอาความทรงจำไปใส่ในตัวโคลน ก็อาจการถ่ายทอดอัปโหลดใส่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้เฉยๆ โดยไม่ต้องมีร่างกายก็ได้ (ดังแนวคิดของภาพยนตร์เรื่อง The Metrix หรือ Trancendence)
(อนึ่ง ผู้เขียนต้องใส่หมายเหตุไว้ด้วยว่า ผู้เขียนไม่เอาวิธีเรื่องการใช้ยาอายุวัฒนะ และการแช่แข็งร่างไครโอนิคส์ ไม่นับมารวมไว้ด้วย เพราะทั้งสองวิธีไม่ถือเป็นการทำให้เป็นชีวิตอมตะ การใช้ยาอายุวัฒนะก็ทำได้เพียงชะลอความชรา ไม่สามารถทำให้เป็นอมตะได้ และการแช่แข็งไครโอนิคส์ แต่เป็นเพียงการหยุดชีวิตไว้ชั่วคราวเพื่อรอเวลาที่จะสามารถคิดค้นการทำให้ชีวิตเป็นอมตะได้สำเร็จ)
ถึงตรงนี้ ผู้เขียนอยากบอกว่า ยังมีวิธีอื่นที่เราจะสามารถ “ชนะความตาย” ได้
การที่เราจะชนะความตาย หรือเป็นอมตะนั้น ไม่จำเป็นต้องมีแต่การหาวิธีเป็นอมตะ “ในฝ่ายร่างกาย” เท่านั้น แต่เรายังสามารถชนะความตาย “ทางฝ่ายวิญญาณ” ได้ด้วย เราจะ “ชนะความตายในฝ่ายวิญญาณ” ได้โดย 3 วิธี
วิธีแรก ทำให้จิตใจเราไม่กลัวความตายแม้ว่าร่างกายยังต้องตาย - คนเราถ้าไม่กลัว ไม่ยี่หระ ก็เท่ากับชนะสิ่งนั้นแล้วทางด้านจิตใจ
วิธีที่สอง คือ ทำให้ชื่อเสียงของเรายังอยู่ยั่งยืนยงแม้ตัวต้องตายไป - แต่ก็ขอให้เป็นชื่อเสียงที่ดีด้วย
วิธีที่สาม คือ ทำให้มีชีวิตหลังความตายที่ดีแม้ต้องตาย - อันนี้ในทางศาสนาเรียกด้วยคำหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสวรรค์ หรือ ชีวิตนิรันดร์ ซึ่งก็อย่าลืมว่ามีนรกด้วย และก็มีหลายแนวความเชื่อ เช่น สวรรค์/นรกเป็นนิรันดร์หรือไม่ หรือวิญญาณจะไปอยู่ที่สวรรค์/นรกถาวรหรือไม่ หรือต้องไปที่อื่นต่ออีกหรือไม่ หรือต้องเวียนกลับมาเกิดอีกหรือไม่
อันที่สามนี้ หากคุณไม่เชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย ก็คงไม่สำคัญ
แต่ถ้าคุณเชื่อ หรือเลือกที่จะเชื่อ ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่า มีวิธีใดบ้างที่ทำให้คุณสามารถบรรลุสู่ “ชีวิตหลังความตายที่ดี” (good afterlife) วิธีไหนที่น่าเชื่อถือ และสามารถปฏิบัติได้จริง จากนั้นก็จงมุ่งมั่นไปให้ถึง
เว้นเสียแต่ว่า คุณจะมีทัศนคติที่ว่า “เชื่อว่ามี แต่ไม่แคร์” หรือ “ถึงมีก็ช่างมัน ขอแค่วันนี้มีความสุขก็แล้วกัน”
ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น