วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ศาสนาประจำชาติ (State Religion)


แนวคิดเรื่องศาสนากับชุมชนของชาติ(ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติหรือสัณชาติ)มีอยู่หลายแนวคิด แนวคิดที่เก่าแก่ที่สุดคือแนวคิดแบบศาสนาประจำชาติ เป็นแนวคิดที่เก่าแก่มากย้อนกลับไปได้ไกลถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ก่อนมีการบันทึกประวัติศาสตร์หรือก่อนมีภาษาเขียนเสียอีก)

สาเหตุที่เก่าแก่เช่นนี้ เพราะตั้งแต่บรรพกาลนั้นเมื่อชุมชนต้องการความเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อความเป็นปึกแผ่น เพื่อชุมชนจะสงบ เป็น...ระเบียบและปกครองได้ง่ายขึ้น ก็จำเป็นต้องมีสิ่งที่เป็นเครื่องช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจทุกคนให้เป็นหนึ่งเดียวกันและยอมเชื่อฟังผู้ปกครอง เคร่ืองมือที่ดีที่สุดคือศาสนา


ด้วยเหตุนี้เองชุมชนโบราณทุกชมชนจึงจำเป็นต้องมีศาสนาของชุมชน และสมาชิกของชุมชนทุกคนจะถูกคาดหวังจนถึงบังคับให้ต้องนับถือและปฏิบัติตามศาสนาของชุมชนอันนี้

และด้วยเหตุนี้เองเช่นกัน ศาสนายุคโบราณทุกศาสนาก็จำเป็นต้องมีทั้งลักษณะของหลักธรรมทางจิตใจมีพิธกรรม แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมีลักษณะของกฏหมายที่ทุกคนในชุมชนต้องปฏิบัติตาม รวมทั้งมีบทลงโทษทางสังคมหากไม่ทำตามกฎบัญัติของศาสนาชุมชนด้วย

ศาสนาของชุมชนจึงเท่ากับกฎหมาย ใครทำผิดกฏศาสนาก็เลยเท่ากับทำผิดกฏหมาย และใครไม่นับถือศาสนาหรือนับถือศาสนาอื่นก็เลยเท่ากับผิดกฏหมายด้วยเช่นกัน

แนวคิดของศาสนาของชุมชนเป็นที่มาของศาสนาประจำชาติ แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปก็มีการคลี่คลายพัฒนามากขึ้น ยืดหยุ่นมากขึ้น เนื่องจากคนของชุมชนหลายแห่งที่มีศาสนาชุมชนต่างกันมีการเดินทางไปมาหาสู่กันมากขึ้น จึงเริ่มมีการยืดหยุ่นว่า คนศาสนาอื่นที่เข้ามาอยู่ในชุมชนก็มีข้อยกเว้นจากกฎศาสนาบางอย่างได้ แต่ก็ถือเป็นคนนอก แต่พอนานคนต่างศาสนาที่เคยเป็นคนนอกก็มีลูกมีหลานเกิดและโตในชุมชนนั้น จะถือเป็นคนนอกต่อไปก็ไม่ได้แลัว เลยต้องกลายเป็นชุมชนของคนหลายศาสนาไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กฎของศาสนาชุมชนก็เลยต้องยืดหยุ่นตามไปด้วย

ในที่สุดก็พัฒนากลายเป็นความจำเป็นที่ต้องแยกระหว่างศาสนา(และกฎศาสนา)กับ "กฎหมาย" ของชุมชนออกจากกัน เพื่อให้คนหลายศาสนาอยู่ร่วมกันได้ แต่กระนั้นคนส่วนใหญ่ก็ยังพยายามรักษาสถานภาพของศาสนาประจำชุมชนหรือศาสนาประจำชาติต่อไป แม้จะยืดหยุ่นให้บ้าง 



ในโลกทุกวันนี้แนวคิดเรื่องศาสนาประจำชาติเปลี่ยนไปมากแล้ว ยิ่งนับวันยิ่งเหลือประเทศที่กำหนดศาสนาประจำชาติน้อยลงเรื่อยๆตามลำดับ และแบ่งได้หลายแบบ แบบที่เคร่งที่สุดคือมีศาสนาประจำชาติและห้ามมีการปฏิบัติศาสนาอื่นในที่สาธารณะเลย เคร่งรองลงมาคือ ให้มีศาสนาอื่นอยู่ร่วมด้วยได้ แต่ต้องได้รับอนุญาติอย่างเป็นทางการเฉพาะบางศาสนาเท่านั้น รวมทั้งห้ามคนศาสนาประจำชาติเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นเด็ดขาด รองลงมาคือไม่ห้ามเปลี่ยนศาสนา รองลงมาอีกและอ่อนที่สุดก็คืออนุญาตให้ทุกศาสนาทุกความเชื่อมีได้ แต่รัฐจะให้การดูแลและสิทธิพิเศษแก่ศาสนาประจำชาติเหนือกว่า

ประเทศส่วนใหญ่ในโลกได้หันมายึดแนวทางการแยกศาสนาออกจากชาติ คือไมมีศาสนาประจำชาติ ประชาชนทุกคนมีเสรีภาพและความเท่าเทียมกันในการนับถือศาสนา หรือแม้แต่การไม่นับถือศาสนาใดเลย โดยทุกศาสนาต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของชุมชนอย่างเท่าเทียมกัน แต่ก็แน่นอนว่าก็ยังอาจมีอิทธิพลของศาสนาของชุมชนปะปนหลงเหลืออยู่บ้างมากน้อยต่างกันไป ในรูปแบบของประเพณีนิยม

ส่วนแนวคิดสุดท้ายเป็บแบบคอมมิวนิสต์คือ ห้ามทุกศาสนา ซึ่งในทางปฏิบัติก็มักมีการยืดหยุ่นให้ในบางขนาด เช่น อนุญาตให้เฉพาะบางศาสนา หรือให้ในบางเรื่องบางขนาด หรือให้เฉพาะบางเมือง ซึ่งก็ต้องอยู่ในการควบคุมอย่างเข้มงวด

ท่านผู้อ่านเห็นด้วยกับแนวคิดใดมากที่สุด?


ศิลป์ชัย  เชาว์เจริญรัตน์

2 ความคิดเห็น:

  1. รัฐโลกวิสัยเท่านั้น ที่จำเป็นต่อผู้คนในยุคต่อไป

    ตอบลบ
  2. รัฐโลกวิสัยเท่านั้น ที่จำเป็นต่อผู้คนในยุคต่อไป

    ตอบลบ