วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

การหลอกลวงโดยใช้ศาสนาหรือไสยศาสตร์ ผิดกฎหมายอย่างไร?

การหลอกลวงโดยอ้างความเชื่อเชิงศาสนาหรือไสยศาสตร์ ผิดกฎหมายหรือไม่? แบบไหนผิด แบบไหนไม่ผิด?
.
การหลอกลวง โดยอ้างความเชื่อในด้านศาสนา หรือไสยศาสตร์ ผู้ที่ทำการหลอกลวงจะมีความผิดตามประมวลอาญา มาตรา 341, 342, 343

"มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่น ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน ฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ"

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

ศาสนากับจิตวิทยาฝูงชน

จิตวิทยาฝูงชน (Mob Psychology) เป็นทฤษฎีที่พยายามอธิบายพฤติกรรมของคนที่อยู่ในฝูงชน ตามพื้นฐานของจิตวิทยาฝูงชน เป็นคำที่คล้ายกับคำว่าจิตวิทยากลุ่มคน จิตวิทยามวลชน และจิตวิทยากลุ่ม

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ฝูงชนมีได้หลายแบบ และแต่ละแบบมีลักษณะพิเศษและมีอิทธิพลทางจิตวิทยาแตกต่างกัน ดังนี้

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

หนังสือ "ศาสนวิทยา และศาสนายุคโพสท์โมเดิร์น" โดย ผู้เขียน


หนังสือสองเล่มของผู้เขียนที่นำเสนอเพื่อเป็นพื้นฐานของเพจศาสนวิทยาสักนิดครับ

1. หนังสือ "ศาสนวิทยา และศาสนายุคโพสท์โมเดิร์น" เล่มละ 395 บาท

2. "อภิจิต SuperSoul : กระบวนวิธีพัฒนาจิตและปัญญาอย่างทะลุขีดจำกัด" เล่มละ 345 บาท ดูรายละเอียดกด apijitsupersoul.com/book.html#book-page

(บวกค่าส่งด่วน 50 บาท)

นอกจากนี้อยากเชิญชวนท่านลองทำแบบทดสอบ Apijit SuperSoul ครับ ขณะนี้มีคนทำร่วม 2 พันคนแล้ว กด apijitsupersoul.com/test.html

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การประหารชีวิตเพราะเหตุทางศาสนาในประวัติศาสตร์ไทย



ประวัติศาสตร์การข่มเหงเบียดเบียนศาสนาในประเทศไทย ซึ่งมีมาตลอดตั้งแต่สมัยอยุธยา - กรุงธนบุรี - รัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 - รัชการที่ 3 - รัชกาลที่ 4 - รัชกาลที่ 5

ปี 1517 โปรตุเกสส่งทูตมายังกรุงศรีอยุธยา  โดยมีบาทหลวงแห่งศาสนจักรคาทอลิกมาด้วย

ปี 1567-1682  มีการเผยแพร่คริสตศาสนายุคสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ - สมเด็จพระนารายณ์ 

ปี 1688 สมเด็จพระนารายณ์ถูกยึดอำนาจ  ทำให้หมดยุครุ่งเรืองของศาสนจักรคาทอลิกไปด้วย

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กำเนิดนิกาย


ในขณะที่ทุกศาสนาต่างบอกว่าศาสนาของตนถูกต้องที่สุด แต่เราก็พบความจริงว่า ทุกศาสนายังมีการแตกเป็นนิกายย่อยๆ อีก เช่น พุทธศาสนาแตกเป็น 18 นิกาย โดยเริ่มแตกมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ศาสนาอิสลามแตกเป็น 9 นิกาย (เป็นอย่างต่ำ) และแต่ละนิกายก็แบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกมากมาย ส่วนคริสตศาสนาแตกเป็น 3 นิกาย และแต่ละนิกายก็แบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกมากมาย มีรายงานว่าโปรเตสแต๊นท์แบ่งออกมากที่สุดเป็นกว่า 37,000 กลุ่มหรือนิกายย่อย

ชีวิตคู่พระศาสดา

พระศาสดาแต่ละท่าน มีชีวิตแต่งงานที่น่าสนใจมาก   ตามความเชื่อส่วนใหญ่ก็เชื่อกันว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงอภิเษกสมรสในวัย 16 ชันษา กับพระนางพิมพายโสธรา ซึ่งอยู่ในวัยเดียวกัน (1)   

ทางมุสลิมมีความเชื่อว่า  พระนางมารี(มัรยัม)พระมารดาของพระเยซู ก็หมั้นและแต่งงานในวัยราว 12-14 ปี กับโยเซฟ (ยูซุฟ ช่างไม้ผู้เป็นพระสวามี ซึ่งมีอายุราว 90 ปี (2)

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เทพแห่งอวัยวะเพศของโลกตะวันตก


ในโลกของเรามีศาสนาที่บูชาอวัยวะเพศมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์   คนไทยและคนเอเชียมักคิดถึงการบูชาศิวลึงค์ ของพระศิวะในศาสนาพราหมณ์ซึ่งมีจุดกำเนิดในลุ่มแม่น้ำสินธุของอินเดีย  รวมทั้งผีหรือเทพเจ้าพื้นบ้านของญี่ปุ่น  หรือแม้แต่ของไทย  แต่แท้จริงแล้ว การบูชาเทพแห่งอวัยวะเพศมีในโลกตะวันตกมาแต่โบราณด้วย   เรามาดูกัน

เทพมิน Min  เป็นเทพเจ้าของอียิปต์ยุคโบราณมากตั้งแต่ราว 4 พันปีก่อนคริสตศักราช   เป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และการเจริญพันธ์  หรือกามารมณ์  และพลังแห่งเพศชายของผู้ชายทั้งหลาย    รวมทั้งเป็นผู้พิทักษ์ถนนหนทางต่างๆ   นอกจากนี้ เทพมินยังเป็นเทพแห่งพายุฝนและการเก็บเกี่ยวอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คำขวัญประจำชาติ


คำขวัญประจำชาติ หรือ national motto หรือ state motto สิ่งที่ใช้อธิบายประเทศต่างๆ โดยใช้วลีที่สั้น และกระชับ โดยเนื้อหาจะเกี่ยวกับ แนวความคิด แรงจูงใจ การปลุกใจ เอกลักษณ์ หรือความภาคภูมิใจสำหรับชาตินั้น ๆ

8 พิธีขอฝนของคนไทย




คนไทยมีพิธีขอฝนอยู่หลายวิธี  ซึ่งเป็นประเพณีโบราณที่ทำสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้  แม้คนไทยส่วนใหญ่คนมักรู้จักเพียงพิธีแห่นางแมวเท่านั้น    ลองมาดูทีละพิธี 

ที่จริงพิธีขอฝนที่พื้นฐานที่สุดและเป็นที่นิยมที่สุดของยุคนี้คือ "จุดบั้งไฟ" เพื่อขอฝนจาก "พญาแถน"  

คนอีสานเชื่อว่า "พญาแถน" เป็นเทพที่ทำให้เกิดฝนตก จึงจัดพิธีจุดบั้งไฟบูชาพญาแถนซึ่งมีปรากฏให้เห็นในวรรณกรรมและตำนานพื้นบ้านของอีสาน

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ด้านมืดของความรัก


แม้ความรักจะทำให้มีความสุขและกระทำคุณให้มากมาย 
แต่ขณะเดียวกัน...

ความรัก...ก็อาจทำให้ตาบอด

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คุณค่าของความตาย


ข้อเขียนนี้เป็นตอนต่อของบทความ "ชีวิตอมตะ" แต่เรื่องนี้จะเป็นแง่มุมตรงกันข้าม 
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า มนุษย์ทุกคนและยุคสมัยล้วนแต่กลัวความตาย พยายามเอาชนะความตาย อยากมีชีวิตอมตะ ความพยายามนี้ไม่เคยจางหายไปแม้จนปัจจุบัน
แต่แท้จริงแล้ว ความตายก็เป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง  

ชีวิตอมตะ

ชีวิตอมตะ (immortal life) หรือ ชีวิตนิรันดร์ (eternal life) เป็นสิ่งที่มนุษยชาติแสวงหามาโดยตลอด เหมือนกับเป็นสุดยอดปรารถนาของมนุษย์ เพราะมนุษย์ทั่วไปล้วนแต่ไม่อยากตาย อยากมีชีวิตอยู่ หรือแม้ในคราวที่ต้องยอมรับความตายก็ยังอยากให้มีชีวิตหลังความตายดำเนินต่อไป และเป็นสภาพชีวิตหลังความตายที่ดีด้วย 

ด้วยเหตุนี้ ทุกศาสนาจึงต้องพยายามให้คำตอบในเรื่องของชีวิตและความตาย และการเอาชนะความตาย หรือถ้าชนะไม่ได้ก็จะเป็นเรื่องการมีชีวิตหลังความตายที่ดี

บุพเพสันนิวาส


พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ระบุว่าคำว่า "บุพเพสันนิวาส" แปลว่า การเคยเป็นเนื้อคู่กัน, การเคยอยู่ร่วมกันในชาติก่อน

ที่จริงคำว่า บุพเพสันนิวาสนี้เป็นคำพุทธ (ดู ชาดกที่ ๖๘ และ ๒๓๗ เป็นต้น) พจนานุกรมพระพุทธศาสนา บอกว่า บุพเพสันนิวาส แปลว่า การเคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อน เช่น เคยเป็นพ่อแม่, ลูก, พี่น้อง, เพื่อน, ผัวเมียกันในภพอดีต

ฉะนั้น บุพเพสันนิวาส ความหมายเดิมนั้นจึงไม่ได้หมายถึงแต่เรื่องการเป็นผัวเมียเท่านั้น  

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ศาสนากับการเมือง

โดย  นิธิ เอียวศรีวงศ์    2015-02-25 

บรรยายสาธารณะ “ศาสนากับการเมือง ชาตินี้เราคงแยกกันไม่ได้” นิธิ เอียวศรีวงศ์ ชี้ว่าอิทธิพลของพุทธศาสนาต่อสังคมไทยลดถอยลงนับตั้งแต่เริ่มปฏิรูปคณะสงฆ์ในสมัยรัชกาลที่ 4-5-6 ปัจจุบันมหาเถรสมาคมผูกขาดได้แต่สบง-จีวร ชี้ “พ.ร.บ. ปกป้องพุทธศาสนา” ในมือ สนช. อันตราย-ระวังจะกลายเป็น “ม.112 ทางศาสนา” เพราะเป็นการเอาอำนาจรัฐมาเผยแพร่ศาสนา-ลงโทษคนวิจารณ์ศาสนา

การนำเสนอหัวข้อ "ศาสนากับรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย" โดยนิธิ เอียวศรีวงศ์ 

สปช. สรุปปัญหาสู่4ข้อเสนอ ปฏิรูปกิจการพุทธศาสนา


การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในวันนี้ (24 มี.ค.) ที่ประชุม สปช. มีวาระการพิจารณา “รายงานผลการศึกษา” ของ คณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ตามที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปชุดดังกล่าว พร้อมคณะได้สรุปรายงานผลการศึกษาเสนอเข้าที่ประชุม ก่อนประกาศปิดฉากคณะกรรมการชุดนี้ไปเมื่อต้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา

กระแสเรียกร้องให้บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ


กระแสเรียกร้องให้มีการบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อต้นปีพุทธศักราช 2550

ชาวพุทธ ๗ องค์หลัก กล่าวคือ มหามกุฏราชวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก, ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย, คณะสงฆ์อณัมนิกาย, คณะสงฆ์จีนนิกาย, และ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ได้เริ่มต้นเรียกร้อง ต่อมา กลุ่มชาวพุทธได้ขยายเพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 300 องค์กรทั่วประเทศและได้ผนึกกำลังกันเรียกร้องขึ้นมา

การต่อต้านร่างกฎหมายอุปถัมภ์และคุ้มครองพุทธศาสนา

คปก.ชี้ร่าง ก.ม.คุ้มครองพุทธศาสนาทำไทยเป็นรัฐศาสนา  เสี่ยงเลือกปฏิบัติ  เปิดช่องรัฐแทรกแซงเพื่อประโยชน์การเมือง

(12 พ.ค.2558) คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) เสนอความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ... ว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นรัฐศาสนา และมีการเลือกปฏิบัติ หรือเกิดการจำกัดเสรีภาพทางศาสนา และกีดกันศาสนาอื่นๆ เปิดช่องให้รัฐแทรกแซงกิจการของศาสนาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง

เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา คปก.ได้จัดทำบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ... เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยระบุว่า มาตรา 4 ของร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา

คุณมีแนวโน้มเป็นอย่างไรในด้านศาสนา?

คุณมีแนวโน้มเป็นอย่างไรในด้านศาสนา?   ลองตอบแบบทดสอบดังต่อไปนี้....





วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความเชื่อเรื่องตัวเลขของคนทั่วโลก

เรื่องของตัวเลขที่มีความหมายเป็นสิริมงคลและอัปมงคลนั้น  เชื่อกันว่าหากได้ผูกพันกับเลขเหล่านั้นแล้ว เมื่อประกอบภารกิจใด ชีวิตก็จะประสบกับความเจริญรุ่งเรืองหรือเกิดความวุ่นวาย จนบางคนถึงกับเสาะแสวงหา เลขทะเบียนรถยนต์ เบอร์โทรศัพท์ บ้าน ฮวงจุ้ย การงานธุรกิจ บริษัท เลขที่บ้านของตนให้เป็นเลขมงคล  พอเวลามีการประมูลเลขทะเบียนสวย หรือเลขมงคลของสำนักงานขนส่งฯ แต่ละจังหวัด   หลายๆ คนก็จะต้องขวนขวายลงทุนไปประมูลในราคาสูงๆ เพื่อให้ได้เลขมงคลที่ตัวเองชื่นชอบ โดยคิดว่าจะนำความเป็นสิริมงคลมาให้ ก่อให้เกิดสิ่งที่ดีงามในชีวิต แต่ความเชื่อก็มีหลากหลายตามศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมในการดูของแต่ละที่ แต่ละประเทศ

ลองมาดูความเชื่อเหล่านี้กันว่าคุณเชื่อตรงตามนั้นหรือไม่

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ศาสนาประจำชาติ (State Religion)


แนวคิดเรื่องศาสนากับชุมชนของชาติ(ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติหรือสัณชาติ)มีอยู่หลายแนวคิด แนวคิดที่เก่าแก่ที่สุดคือแนวคิดแบบศาสนาประจำชาติ เป็นแนวคิดที่เก่าแก่มากย้อนกลับไปได้ไกลถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ก่อนมีการบันทึกประวัติศาสตร์หรือก่อนมีภาษาเขียนเสียอีก)

สาเหตุที่เก่าแก่เช่นนี้ เพราะตั้งแต่บรรพกาลนั้นเมื่อชุมชนต้องการความเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อความเป็นปึกแผ่น เพื่อชุมชนจะสงบ เป็น...ระเบียบและปกครองได้ง่ายขึ้น ก็จำเป็นต้องมีสิ่งที่เป็นเครื่องช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจทุกคนให้เป็นหนึ่งเดียวกันและยอมเชื่อฟังผู้ปกครอง เคร่ืองมือที่ดีที่สุดคือศาสนา

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ลัทธิบูชาเสด็จพ่อ ร.5

เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรและเสด็จสวรรคต ณ วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 ก็ได้สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เพราะพระองค์ท่านทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์อย่างสูงยิ่ง จนได้รับพระฉายานามว่า "ปิยมหาราช"
   แต่เรื่องไม่จบเพียงแค่นั้น เมื่อสวรรคตไปแล้ว พระองค์ได้ถูกทำให้กลายเป็นเทพหรือสมมติเทวราช ของประชาชนไปด้วย หลายคนมีความเชื่อว่าได้เห็นท่านแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้ผู้ที่นับถือประจักษ์ต่อสายตาต่าง ๆ นานาด้วย
และด้วยความเชื่อต่าง ๆ นั้น ทำให้พระองค์มีลักษณะเป็น บุคลาธิษฐาน หรือบุคคลในจินตนาการหรือบุคคลในมโนคติแห่งการอธิษฐานเพื่อขอพรให้พระบารมีแห่งพระองค์ได้ปกป้องคุ้มครองและอำนวยชัย จนพระองค์มีฐานะเป็นเทพในหัวใจของชาวไทยทั้งมวลในที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ศาสนากรีก-โรมัน

ชาวกรีกโบราณนับถือธรรมชาติ เชื่อว่าพลังลึกลับที่สามารถให้คุณให้โทษได้เกิดขึ้นเพราะมีเทพเจ้าต่างๆ บันดาลให้เป็นไป   ชาวกรีกนับถือเทพเจ้าหลายองค์ เทพเจ้าตามความเชื่อของชาวกรีกมีหน้าตาและมีอารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์ แต่มีพลังอำนาจเหนือกว่า 

ตาม "ตำนานเทพ" ของกรีก  เทพเจ้าสูงสุดคือ “ซีอุส” หรือ “ซุส” (Zeus) เป็นเทพบิดรของบรรดาเทพทั้งหลาย สถิตอยู่บนยอดเขาโอลิมปัส(Olympus) มีชายาชื่อ “เฮร่า” (Hera) เป็นเทพีแห่งสวรรค์และการแต่งงาน นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าอีกมากมาย ต่างภาระหน้าที่กันไป

เทววิทยาของศาสนากรีกโบราณ


โดย ศ.กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิต

เฮร์เรอโดว์เถิส (Herodotus, ก.ค.ศ.484-420) กล่าวถึงความสำคัญของโฮว์เมอร์ (Homer) และเฮสเสียด (Hesiod) สำหรับศาสนาของชาวกรีกไว้ว่า "นักปราชญ์สองท่านนี้แหละที่เป็นผู้แต่งประวัติกำเนิดของเทพเจ้าให้แก่ชาวกรีกทั้งหลาย ตั้งนามให้แก่เทพเจ้าต่างๆ กำหนดยศศักดิ์และความสามารถพร้อมทั้งรูปร่างหน้าตาให้แก่เทพเจ้าแต่ละองค์" (Herodotus, 2 : 53)

นิกายของอิสลาม

ผู้คนมักได้ยินเรื่องนิกายของศาสนาอิสลามกันบ่อยๆ แค่ "สุหนี่" กับ "ชีอะห์" จนมักเข้าใจกันว่าศาสนาอิสลามมีแค่สองนิกายนี้   แต่แท้จริงแล้วไม่ได้มีแค่ 2 นิกาย แต่มีนิกายอื่น   รวมทั้งนิกายย่อย และสำนักคิดย่อยอีกมาก

นบีมุหัมมัด ผู้เป็นศาสดาเองก็ดูเหมือนพยากรณ์ว่าจะมีการแตกเป็น 73 กลุ่ม   โดยกล่าวว่า "แท้จริงประชาชาติของนบีมูซา(โมเสส) ได้แตกออกภายหลังจากเขาเป็น 71 จำพวก มีหนึ่งกลุ่มเท่านั้นที่รอด ส่วนอีก 70 อยู่ในไฟนรก

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เสรีภาพในการนับถือศาสนาที่สมบูรณ์

เสรีภาพในการนับถือศาสนา "ที่สมบูรณ์" ต้องรวมถึง...

พัฒนาการทางนิกายของศาสนายูดาย


ศาสนายูดาย (Judaism) หรือศาสนายิว หนึ่งในศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ถือว่าเริ่มโดยศาสดาพยากรณ์โมเสส ซึ่งนำชนชาติอิสราเอลออกจากอียิปต์มาก่อตั้งชาติใหม่ยังดินแดนที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้ให้ คือดินแดนปาเลสไตน์ในปัจจุบัน พร้อมกับเรื่องราวของบัญญัติสิบประการและกฎหมายพิธีการอื่นๆ

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ศาสนาองค์กร กับศาสนาไร้องค์กร


ในทางศาสนวิทยามีการจัดประเภทของศาสนาหลายแบบ   แบบหนึ่งก็คือ การจัดประเภทศาสนาว่าเป็น "ศาสนาองค์กร" กับ "ศาสนาไร้องค์กร"     แต่มีประเด็นที่น่าสนใจว่า  นับวันในโลกตะวันตกจะมีคนออกมาตำหนิ "ศาสนาองค์กร" มากขึ้นเรื่อยๆ   และให้การยอมรับ "ศาสนาไร้องค์กร" มากขึ้นเรื่อยๆ

ลองดูข้อความผู้เขียนยกตัวอย่างคำพูดตำหนิมาให้ดูกันต่อไปนี้

เหตุผลในการนับถือศาสนา และเปลี่ยนศาสนา

ขอเริ่มต้นที่ประเด็น "ทำไมคนเราถึงนับถือศาสนา?"  ก่อน
 ในทางศาสนวิทยานั้น ได้วิเคราะห์สาเหตุในการนับถือศาสนาของมนุษย์เราไว้หลายประการ ดังนี้
  1. เพราะมนุษย์เรากลัวในธรรมชาติที่ตนเองไม่รู้ จนต้องวิงวอนและร้องขอในสิ่งที่อยากได้ 
  2. เพราะมนุษย์เราสงสัยและต้องการคำอธิบายว่า โลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และจะเป็นเช่นไรต่อไป 
  3. เพราะมนุษย์เราต้องการที่จะสร้างความเชื่อขึ้นมาเพื่อช่วยควบคุมความประพฤติของคนในสังคม ให้สังคมสงบสุข 
  4. เพราะมนุษย์เราต้องการที่จะพ้นจากความทุกข์และคำอธิบายสำหรับความทุกข์ เช่นความอดอยาก โรคระบาด ความแก่ ความตาย การสูญเสีย ความผิดหวังต่างๆ

ศาสนาอียิปต์ วิวัฒนาการและการปฎิรูปศาสนาเทพ


ศาสนาในอียิปต์โบราณ เกิดก่อนคริสตศักราชประมาณ 3,000 ปี ยั่งยืนมาจนถึง ค.ศ. 391 เป็นศาสนาประเภทพหุเทวนิยม คือ นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เท่าที่รวบรวมได้มีเทพเจ้าถึง 30-40 องค์   (แต่บางข้อมูลบอกว่า จริงๆแล้วเทพเจ้าของชาวอียิปต์โบราณ ถ้าองค์หลักๆก็หลักร้อยองค์  ถ้านับเป็นองค์ย่อยๆ พวก Demons หรือ Demi-Gods ในคัมภีร์ต่างๆด้วยก็ร่วมหลักพันองค์)

ศาสนาบรรพกาล (Primitive religion)

นักวิชาการศาสนาส่วนมาก นิยมจัดให้ศาสนาและความเชื่อทั้งหลายในยุคก่อนประวัติศาสตร์อยู่ในกลุ่มของศาสนาบรรพกาล (Primitive religion) ซึ่งหมายถึงศาสนาที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาทางความคิด  ยังหลงยึดติดในเรื่องของไสยศาสตร์และโชคลาง ปัจจุบันศาสนาดั้งเดิมนี้ยังคงหลงเหลืออยู่บ้างในชนเผ่าที่ล้าหลังทางวัฒนธรรม เช่น ศาสนาของชาวอเมริกันอินเดียน ศาสนาของชาวพื้นเมืองในออสเตรเลีย และศาสนาของชาวพื้นเมืองแอฟริกัน เป็นต้น ศาสนาบรรพกาลนี้มีลักษณะดังนี้

ศาสนาชาติพันธุ์

ศาสนาชาติพันธุ์  หรือ Ethnic religion  หมายถึงประเภทของศาสนาที่ได้รับการยึดถือโดยชาติพันธุ์หนึ่งๆ  โดยคนในชาติพันธุ์นั้นยอมรับว่า ศาสนาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ของตน  เป็นสัญญลักษณ์ของชาติพันธุ์ของตน  และสมาชิกของชาติพันธุ์นั้นส่วนใหญ่ก็ยึดถือปฏิบัติในศาสนาดังกล่าว  

การเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียว มักจะต้องหมายถึงการผสมรวมกันทั้ง เชื้อชาติหรือเชื้อสาย  (ซึ่งย่อมหมายถึงลักษณะทางหน้าตาร่างกายและผิวพรรณด้วย)  ภาษา   และวัฒนธรรม   ซึ่งในวัฒนธรรมนี้บ่อยครั้งที่รวมถึงศาสนาหรือความเชื่อเชิงศาสนาเข้าไปด้วย

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ศาสนาคริสต์กับ LGBT


ประเด็นเรื่องการแต่งงานเพศเดียวกัน ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดในหมู่ชาวคริสต์ในประเทศไทย เช่นเดียวกับในต่างประเทศ และคงจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งฝ่ายทัศนะเดิมที่คัดค้าน และฝ่ายทัศนะใหม่ที่เห็นด้วย

ศาสนาขงจื้อ: ปรัชญาที่กลายเป็นศาสนาโดยอุบัติเหตุ


ศาสนาขงจื๊อ (ภาษาอังกฤษเรียก Confucianism) มีต้นกำเนิดมาจาก ขงจื้อ ซึ่งเป็นนักปราชญ์หรือนักปรัชญาชาวจีน มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ๕๕๑ ถึงปี ๔๗๙ กคศ. เป็นที่ถือกันว่าขงจื้อเป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในอารยธรรมจีน ชาวจีนรวมทั้งชาวเอเซียตะวันออกพากันเลื่อมใสยกย่องขงจื๊อติดต่อกันมากว่าสองพันห้าร้อยปีแล้ว

ในหมู่นักวิชาการมีข้อถกเถียงกันมากว่าเป็นศาสนาหรือเป็นลัทธิหรือแนวคิดกันแน่? หลายคนถือว่าขงจื้อน่าจะเป็นเพัยงลัทธิขงจื้อ ไม่น่าเป็นศาสนา ด้วยเหตุผลที่ว่า

ศาสนาชินโต: ศาสนาเพื่อการปกครองและชาตินิยม


ศาสนา “ชินโต” (Shintoism) คำนี้มาจากอักษรจีนสองตัว ชิน แปลว่าเทพทั้งหลาย โตหรือเต๋า แปลว่าทาง รวมความแล้วแปลว่า "วิถีทางแห่งเทพทั้งหลาย"

สัญลักษณ์ของศาสนาชินโต คือประตูโทริอิ คือประตูอันมีเสา 2 เสา มีไม้ 2 ท่อนขวางอยู่ข้างบน เป็นเครื่องหมายแสดง บริเวณศาลเจ้าของชินโต กับอีกอันคือ ซานชูโน-ซิงกิ ประกอบด้วยของ 3 อย่างคือ กระจก ดาบและรัตนมณี
กระจก เป็นเครื่องหมายแห่งปัญญา
ดาบ เป็นเครื่องหมายแห่งความกล้าหาญ

ปู่แสะย่าแสะ และประเพณีเลี้ยงดง...เชียงใหม่

ตำนานเชียงใหม่ปางเดิม ของสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บันทึกความเป็นมาของพิธีเลี้ยงดงเอาไว้ว่า ในอดีตย่านนี้เป็นบ้านเมืองของชาวลัวะ ชื่อว่า “บุรพนคร” ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปิงและดอยอ้อยช้าง (อุจฉุคีรี) อยู่มาวันหนึ่งชาวเมืองได้รับความเดือดร้อนจากยักษ์พ่อแม่ลูก 3 ตน ที่มาจับชาวเมืองไปกินทุกวัน จนชาวเมืองต้องพากันอพยพหลบหนีไปอยู่ที่อื่น

ตำนานบอกต่อว่า องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับรู้ด้วยพระสัมมาสัมโพธิญาณ เห็นความเดือดร้อนของชาวเมืองบุรพนคร พระองค์พร้อมด้วยเหล่าสาวกจึงเสด็จมาประทับที่ดอยใต้ ได้มีชาวลัวะ 4 คน เข้าเฝ้าด้วยความเลื่อมใสถวายอาหารที่นำติดตัวมา

ที่มาของ "ระบบวรรณะ" ของอินเดีย

ระบบวรรณะ (Varna) ในคําสอนของศาสนาฮินดูประการหนึ่งกลาวอางเอาไววา การที่มนุษยจะประสบผลสําเร็จใน การประกอบกิจการใด ๆ อันรวมไปถึงการบรรลุโมกษะนั้น มนุษยพึงปฏิบัติใหเปนไปอยางเหมาะสม ตาม"วรรณะ" ดังนั้นชาวฮินดูจึงเครงครัดตอ "ธรรมะ" ของวรรณะของตน ซึ่ง "ธรรมะ" นี้ผูกพัน อยูกับ "อาศรม" หรือ "วัย" ของบุคคลนั้น ๆ ดังรวมเรียกวา "วรรณาศรมธรรม" ซึ่งมีความหมายวา  หนาที่ของคนในแตละวัยของแตละวรรณะ

จากความหมายนี้เองทําใหเรามองเห็นวา ระบบวรรณะ นั้นจะตองผูกพันเกี่ยวของกับชาวฮินดูไปตั้งแตเกิดจนตาย

คำว่า "ศาสนาผี" เป็นคำเรียกเชิงดูถูกของศาสนาไทยยุคหลัง


ที่จริงแล้วศาสนาที่คนไทยเรียกติดปากว่า "ศาสนาผี" ในทางศาสนวิทยาก็คือ "animism" หรือเรียกว่า "ศาสนาประเภทวิญญาณนิยม" โดยลักษณะก็คือ เป็นศาสนาที่นับถือธรรมชาติต่างๆว่ามีวิญญาณบางอย่างควบคุมอยู่ทั้งนั้น โดยนามก็เรียกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น
เพียงแต่คนไทยโบราณมักเรียกวิญญาณต่างๆว่า "ผี" ซึงก็ใช้คำนี้เรียกรวมไปถึงวิญญาณบรรพบุรุษที่ตายไป เช่น ผีพ่อผีแม่ ผีปู่ย่า ผีตายาย รวมไปถึงวิญญาณที่ครอบครองประจำท้องถิ่น เช่น ผีบ้านผีเรือน และแม้แต่ผีบ้านผีเมือง ซึ่งหมายความว่าใช้คำว่าผี หมายถึงวิญญาณทุกอย่างไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ศาสนายุคโพสท์โมเดิร์น

ระบบความคิดของโลกนี้ไม่ได้หยุดนิ่ง แต่มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างจากสัตว์ คือเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่สามารถเรียนรู้ จดจำ และคิดต่อจนเกิดเป็นความรู้ใหม่ความคิดใหม่ ไปจนถึงสามารถถ่ายทอดความรู้และความคิดนั้นไปยังมนุษย์รุ่นต่อๆ ไปได้ จนกระทั่งเกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า “อารยธรรม” และด้วยเหตุที่ระบบความรู้และความคิดของมนุษยชาติในโลกมีการเคลื่อนตัวเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นมาจนปัจจุบัน  

ไทยเป็นรัฐศาสนาหรือไม่?

มีหลายคนพยายามบอกว่า ไทยไม่ได้เป็นรัฐศาสนาเหมือนประเทศอิสลามสักหน่อย  เราเป็นเพียงประเทศที่ยึดถือศาสนาพุทธและให้เสรีภาพแก่ทุกศาสนาเท่าเทียมกันเท่านั้นเอง    ขอให้ลองพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ต่อไปนี้

1. เมื่อดูตามประวัติศาสตร์ไปถึงสมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา ก็จะพบว่า ฝ่ายอาณาจักรไทยมีความสัมพันธ์กับฝ่ายศาสนจักรอย่างแน่นแฟ้น พระมหากษัตริย์ไทยและพระราชนิกุลทรงเป็นพุทธมามกะ และหลายพระองค์ทรงผนวชเป็นภิกษุ จึงมีการอุดหนุนค้ำจุนกันระหว่างสถาบันทั้งสองเรื่อยมา 

รัฐกับศาสนา

การที่ประเทศใช้นโยบายรัฐศาสนา รัฐที่มีศาสนาประจำชาติ หรือ รัฐที่ใช้อำนาจในการเป็นผู้ให้การรับรองแก่ศาสนาต่างๆและนิกายต่างๆ แทนที่จะใช้นโยบายรัฐโลกวิสัย หรือรัฐที่ให้สิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมทางศาสนาอย่างแท้จริง

ผลคือ รัฐจะกลายเป็นผู้ที่มีส่วนสร้างความขัดแย้งระหว่างศาสนา ความขัดแย้งภายในศาสนา ความขัดแย้งระหว่างนิกายในศาสนา และความขัดแย้งภายในนิกาย และเป็นความขัดแย้งในเชิงอำนาจและผลประโยชน์ 

การหมกเม็ดเรื่องเสรีภาพทางศาสนาของไทย

มีคนถามว่า "การที่รัฐธรรมนูญของประเทศไทยบัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา  ถ้าเช่นนั้น คนไทยอยากจะก่อตั้งพุทธศาสนานิกายใหม่ หรือนำเข้าพุทธนิกายใหม่ ในประเทศไทย ได้หรือไม่?"

ขอตอบว่า ไม่ได้ เหตุผลก็คือ เพราะมี "เงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ" และ "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์" เป็นข้อจำกัดอยู่

ขออธิบายเพิ่มเติมเป็นขั้นๆ ดังนี้ว่า

รัฐโลกวิสัย (Secular state)


รัฐโลกวิสัย (Secular state) คือรัฐหรือประเทศที่เป็นกลางทางด้านศาสนา ไม่สนับสนุนหรือต่อต้านความเชื่อหรือการปฏิบัติทางศาสนาใด ๆ รัฐโลกวิสัยจะปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่จะไม่มีศาสนาประจำชาติ หรือหากมีศาสนาประจำชาติ ศาสนานั้นก็จะมีความหมายทางสัญลักษณ์และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชน (หมายเหตุ: คำว่า secular state บางคนก็แปลว่ารัฐโลกียวิสัย หรือ รัฐโลกียะ หรือรัฐฆราวาส ผู้เขียนขอใช้คำว่ารัฐโลกวิสัย ตรงข้ามกับ religious state ซึ่งก็แปลว่า รัฐศาสนา หรือรัฐโลกุตระวิสัย)  

เหตุใดคุณจึงนับถือศาสนาที่คุณนับถืออยู่?


ในการสำรวจถึงเหตุผลในการเลือกนับถือศาสนาของผู้คนว่า "เหตุใดคุณจึงนับถือศาสนาที่คุณนับถืออยู่?" ได้รับเหตุผลในการนับถือศาสนาหลายอย่างที่ถือได้ว่า "ผิดวัตถุประสงค์" ที่แท้จริงของศาสนาเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็กลับพบมากจนกลายเป็นส่วนใหญ่หรือสภาะปกติของการนับถือศาสนาของผู้คนไปแล้ว :

"พอดีต้องพึ่งคนที่นับถือศาสนานั้น"

"ศาสนานี้เขาให้ความช่วยเหลือ"

จัณฑาล...ระบบชนชั้นของศาสนาที่กลายเป็นปัญหาสังคม

มีโรงเรียนรัฐบาลในอินเดียถึงร้อยละ 38 ซึ่งเด็กจัณฑาลต้องแยกโต๊ะรับประทานอาหารกับเด็กวรรณะอื่น และมีโรงเรียนถึงร้อยละ 20 ซึ่งเด็กจัณฑาลไม่ได้รับอนุญาติให้ดื่มน้ำ ร่วมแหล่งเดียวกับเด็กวรรณะอื่นๆ ถ้าเด็กเหล่านี้ได้เข้าโรงเรียนก็จะต้องนั่งแถวหลังสุด!
คนวรรณะจัณฑาลในอินเดีย
คนอินเดียราว 170 ล้านคน (บางข้อมูลว่าถึง 300 ล้านคน) เกิดมาในกลุ่มที่เรียกว่า อวรรณะหรือ ถูกเรียกว่าจัณฑาล หรือ อธิศูทร และคนกลุ่มวรรณะจัณฑาลคือกลุ่มที่ถูกรังเกียจ และถูกเลือกปฏิบัติมากที่สุดในสังคมอินเดียในขณะนี้

ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูเกี่ยวกับเรื่องวรรณะในอินเดียนั้น วรรณะมี 4 ชั้น คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร โดยมีบทบาทความสำคัญในสังคม ตามลำดับ แต่เมื่อมีการแต่งงานข้ามวรรณะ บุตรที่เกิดมาก็จัดเป็นพวกจัณฑาล

เมื่อคนดังคริสต์คาทอลิกพูดเรื่อง LGBT



เป็นข่าวดังทั่วโลกไปแล้วเรื่องที่พระสันตปาปาฟรานซิส ให้สัมภาษณ์ประเด็นชาวรักเพศเดียวกันด้วยประโยคเด็ดว่า  "เราเป็นใครที่จะไปตัดสินเขา?"  ซึ่งตรัสเหมือนกับว่า พระองค์ไม่เห็นว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นความผิด ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะขัดแย้งกับจุดยืนของคริสตชนแนวอนุรักษ์นิยมทั่วโลกทุกนิกายซึ่งก็ถือเป็นคริสตชนส่วนใหญ่

แม่โพสพ...เทพธิดาแห่งข้าว

คนไทยเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีบุญคุณ มีจิตวิญญาณ มีเทพธิดาชื่อว่า “แม่โพสพ” ประจำอยู่ในต้นข้าว  แม่โพสพเป็นผู้คอยดูแลต้นข้าวให้เจริญงอกงาม    และข้าวคือเนื้อของแม่โพสพ  มนุษย์ดำรงชีวิตได้ด้วยการกินเนื้อของแม่โพสพ   ดังนั้นมนุษย์จึงควรบูชาแม่โพสพซึ่งเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเลี้ยงดูโลก   ถ้าผู้ใดทำพิธีตามคติความเชื่อและบูชากราบไหว้แม่โพสพแล้ว  แม่โพสพก็จะไม่หนีหายไป แต่จะทำให้ผู้นั้นทำนาข้าวได้อุดมสมบูรณ์ และร่ำรวย

ไหว้ไม้กางเขนริมนา


ภาพจากFB ของ Dilok Tamjaipuan พร้อมคำบรรยายประกอบว่า "เพราะข้าวคือชีวิต @บ้านป่าบงเปียง จ.เชียงใหม่"

เป็นภาพที่คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้เห็นกัน
ภาพชาวเขาเผ่าหนึ่งกำลังไหว้ "ไม้กางเขน" ที่ปักอยู่ริมท้องนาที่เพิ่งผ่านการดำนามา

ไม้กางเขนดังกล่าวมีคล้องสายประคำคล้องกางเขนไว้ด้วย
พร้อมกับโต๊ะบูชา ที่มีเทียนและอาหารเซ่น

ศาสนาบาไฮ...อีกศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว

แนวคิดของศาสนาบาไฮ เกี่ยวกับเรื่องพระเจ้าคือ พระผู้เป็นเจ้ามีเพียงพระองค์เดียว แต่เป็นที่รู้จักกันไปตามชื่อเรียกต่าง ๆ นานา ตามภาษาที่แตกต่างกัน เช่น พระองค์ถูกเรียกว่า "ก๊อด" ในภาษาอังกฤษ "ยาเวห์" ในภาษาฮีบรู "อัลลาห์"ในภาษาอาหรับ "ดีโอส" ในภาษาสเปน "พระพรหม" ในภาษาฮินดู  กระนั้นก็ตามอำนาจสูงสุดมีเพียงหนึ่งเท่านั้น ซึ่งในคัมภีร์บาไฮได้อธิบายไว้ว่า เป็นพระผู้ทรงอำนาจ พระผู้ทรงมหิทธานุภาพ พระผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง พระผู้ดำรงอยู่นิรันดร์ ไม่มีผู้ใดเคยเห็นพระผู้เป็นเจ้า เราอาจนึกคิดเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าได้บ้างโดยการ สังเกตความอัศจรรย์ของธรรมชาติที่พระองค์สร้างขึ้นมา แต่ไม่มีใครเข้าใจถ่องแท้ว่าพระผู้เป็นเจ้าคืออะไร เพราะพระผู้เป็นเจ้าทรงอยู่เหนือประสบการณ์ของมนุษย์

ศีลอด

แทบทุกศาสนามักจะมีการจำศีลหรือถือศีลอดอาหาร (religious fasting) มีหลายรูปแบบ และไม่ได้มีแต่ผู้ที่เป็นนักบวชเท่านั้น แม้แต่ศาสนิกชนทั่วไปก็ยังมีการให้ถือศีลอดอาหารในบางช่วงเวลาในรอบปีด้วย เพื่อให้มีวุฒิภาวะด้านจิตใจ และอารมณ์

ในศาสนาพุทธ มีการถือศีลอด เป็นศีลข้อ 6 ของ "ศีลแปด" เนื้อความบอกว่า

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ล้อเลียนศาสนา?

มีหลายท่านถามผู้เขียนมาว่า คิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเพจล้อเลียนศาสนา?


ผู้เขียนคิดเห็นว่าอย่างนี้ว่า ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาก็ตาม แต่สังคมควรมีค่านิยมที่ยอมรับและสนับสนุนสิทธิเสรีภาพในความเชื่อ (free thinking) และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (free speech) และไม่ถือว่าการวิจารณ์ความคิดความเชื่อหรือศาสนาเป็นเรื่องผิดในกรณีที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังกัน (hate speech) เว้นเสียแต่จะไม่มีหรือไม่เคยมีเหตุผลประกอบ และมีการแสดงความอาฆาตมาดร้าย