1 กลุ่มคน (Crowd)
เป็นการรวมตัวกันของคนหมู่หนึ่งโดยมีเหตุทางอารมณ์ หรืออาจมีเรื่องผลประโยชน์ร่วมด้วย โดยเป็นไปเพื่อสนองตอบความต้องการส่วนตนแต่ก็สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มด้วย ซึ่งมักจะเป็นความต้องการร่วมในระดับที่ 4-5 ตามทฤษฏีของมาสโลว์ เช่น ความมั่นคง ความปลอดภัย ความยุติธรรม ความเสมอภาค โดยมีอารมณ์พื้นฐานหลัก คือ ความกลัว ความปิติยินดีและความโกรธเป็นอารมณ์ของคนในการเข้าร่วม ซึ่งจะแสดงออกในลักษณะของการตื่นตระหนกจากความกลัว การเริงร่าจากความปิติยินดี และการทำลายล้างจากความโกรธ อย่างไรก็ตาม อารมณ์ในด้านลบ คือ ความกลัวและความโกรธจะเป็นอารมณ์พื้นฐานของกลุ่มที่นำไปสู่ความรุนแรง การแสดงออกของคนในกลุ่มจะมีแนวโน้มถดถอยจากเหตุผลและเป็นเรื่องของอารมณ์ล้วน ๆ ในท้ายที่สุดเมื่อเข้าถึงจุดดังกล่าว
2. สาธารณะ (Public)
2. สาธารณะ (Public)
คือการที่ฝูงชนมีการรวมกลุ่มอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ โดยบุคคลในกลุ่มนั้นมีระดับของการเข้าร่วมที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่จะมีอารมณ์และความต้องการร่วมอย่างเดียวกัน ซึ่งอัตราส่วนดังกล่าวจะเป็นตัวชี้วัดศักยภาพของฝูงชนและนำไปสู่การกำหนดทิศทางของกลุ่มต่อไป
3. มวลชน (Mass)
3. มวลชน (Mass)
เป็นการที่มีกลุ่มคนและการแสดงออกในลักษณะสาธารณะ ตลอดจนมีการสื่อสารและกระจายข้อเรียกร้องออกไป หลังจากนั้นจึงจะเกิดลักษณะของมวลชน หรือจะเรียกว่า "กระแส" ก็ได้ รูปแบบของการสื่อสารระหว่างกันและการกระจายข่าวสารจะเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาและเพิ่มขนาดของมวลชน อย่างไรก็ตาม เมื่อฝูงชนก้าวเข้าสู่ลักษณะของมวลชนนั้นข้อเรียกร้องร่วมของมวลชนจะมีลักษณะเชิงอุดมคติมากกว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่จริง
4. การเคลื่อนไหวทางสังคม (Social movement)
เมื่อมีการรวมกลุ่มในที่สาธารณะและมีการจัดตั้งมวลชนโดยอาศัยสื่อต่าง ๆ การเคลื่อนไหวทางสังคมก็จะตามมาในท้ายที่สุด โดยการเคลื่อนไหวทางสังคมนั้นอาจจะเป็นในรูปของการสร้างสรรอย่างสงบสันติเพื่อดำรงข้อเรียกร้องไว้อย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดตั้งสถาบันทางสังคมหรือการเมืองต่าง ๆ หรือนำไปสู่การเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงเพื่อล้มล้างระบอบการปกครองหรือการปฏิวัติโครงสร้างของสังคม
5. ฝูงชนเครือข่ายเทคโนโลยี (Smart mobs หรือ Cyber mobs)
5. ฝูงชนเครือข่ายเทคโนโลยี (Smart mobs หรือ Cyber mobs)
ปัจจุบันนี้ ด้วยความเจริญของเทคโนโลยีเครือข่ายโทรศัพท์มือถือและอินเทอเน็ต ทำให้เกิดฝูงชนในแบบที่เพิ่มจากเดิม คือลักษณะที่เป็นการสื่อสารแบบผ่านทางเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ แม้ไม่ได้มาอยู่ที่เดียวกัน เช่น การสื่อสารในเครือข่ายโซเชียลสังคมหรือ Social networking เช่น Facebook Twitter ไปจนถึงเทคโนโลยีพื้นฐานที่ยังคงใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น ทีวี เคเบิล วิทยุ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการตระหนักร่วมและความรู้สึกร่วมแบบฝูงชนทั้งที่ผู้คนอยู่คนละที่ ไม่ได้มารวมตัวกัน สิ่งเหล่านี้ก็สามารถก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมเสมือนจริงของฝูงชน โดยที่คนไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมทางกายภาพทุกครั้งแต่จะมีความรู้สึกร่วมเหมือนกำลังเข้าร่วมอยู่ในฝูงชนอยู่ตลอดเวลาอย่างไม่รู้ตัว เราอาจเรียกฝูงชนลักษณะนี้ว่า ฝูงชนเสมือน (Virtual mobs) ก็ได้
การเกิดขึ้นของฝูงชนนั้นเป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ และการรวมกลุ่มของฝูงชนนั้นมีทั้งลักษณะสร้างสรรและทำลายล้างซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยและเงื่อนไขอื่น ๆ รอบด้าน ตลอดจนข้อเรียกร้อง สถานการณ์และผู้นำฝูงชน
การศึกษาทางจิตวิทยาฝูงชนพบว่า เมื่อผู้คนมารวมตัวกันมากๆจนเป็นฝูงชน จะมีสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนก็คือ ผู้เข้าร่วมฝูงชนมีแนวโน้มที่จะสละจิตสำนึกส่วนตนและนำเอาจิตสำนึกร่วมของฝูงชนเข้ามาแทน บุคคลมีแนวโน้มจะแสดงพฤติกรรมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างจากพฤติกรรมเดิมที่ตัวเองเป็น สมาชิกของกลุ่มมักจะแสดงออกโดยที่ไม่ต้องคำนึงถึงศีลธรรม หรือการตัดสินที่ถูกผิด แต่การกระทำเช่นนี้ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในความเชื่อหรือตัวตนของ คนๆนั้น แต่เกิดจากการที่สมาชิกในฝูงชนนั้นจะเกิดการละเลย หลีกเลี่ยงการใช้จิตสำนึกของตนเอง หรือ การตัดสินอย่างมีเหตุผล สมาชิกในฝูงชนจะเปลี่ยนจุดมุ่งหมายของตัวตนเป็นจุดมุ่งหมายของฝูงชน จะละเลยคำตำหนิ ความรับผิดชอบ การตัดสินใจที่มีต่อตนเองไป สมาชิกในฝูงชนมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมในรูปแบบที่จะไม่ทำถ้าอยู่ลำพังเพียงคนเดียว
พฤติกรรมเชิงจิตวิทยาสังคมที่ปรากฏอยู่ในฝูงชน มีหลายแบบ คือ
1. ปฏิกิริยาตามขบวนแห่ (Bandwagon effect) คือคนเราจะโน้มเอียงที่จะเข้าข้างคนส่วนใหญ่หรือฝ่ายผู้ชนะไว้ก่อนโดยไม่ค่อยคำนึงถึงเหตุผลว่าถูกหรือไม่ หรือเดิมเคยตั้งใจไว้อย่างไร
2. สัณชาติญาณฝูง (Herd instinct) เป็นสัณชาติญาณพื้นฐานทางธรรมชาติที่ผู้คนมักจะเชื่อในคำบอกต่อของคนอื่น ๆ ในกลุ่มอย่างปราศจากเหตุผล โดยเฉพาะเรื่องที่เกียวกับผลประโยชน์หรือความมั่นคงปลอดภัยของตนเองและข่าวนั้นมีลักษณะการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วโดยมีเนื้อหาที่รุนแรง คนก็มักจะกลัวและเชื่อไว้ก่อน
3. ความรู้สึกร่วมกับกลุ่ม (Collective effervesce) การรวมกลุ่มกันทางสังคมในบางลักษณะ เช่น ความเชื่อด้านศาสนาหรือความศรัทธาที่มีต่อผู้นำ ผู้เข้าร่วมมักจะเกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วมไปด้วยกัน ไม่ว่าจะในความรู้สึกซาบซึ้ง ความร่าเริง ยินดีที่มีต่อสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ สัญลักษณ์หรือผู้นำ
4. ภาวะหลอนเชิงกลุ่ม (Mass hysteria) เป็นพฤติกรรมที่เกิดร่วมกันในลักษณะของอุปาทานหมู่ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหนึ่งเกิดป่วยหรือมีอาการแปลกๆบางอย่าง (เช่นอาการของโรคฮิสเตอเรียที่เป็นผลมาจากภาวะเครียด) และเมื่อผู้ป่วยคนนั้นเริ่มแสดงอาการ คนอื่น ๆ รอบข้างก็เริ่มแสดงอาการด้วยเพราะเชื่อว่าตัวเองก็ประสบภาวะอย่างเดียวกัน อาการที่แสดงเช่นว่ามักได้แก่ อาการคลื่นไส้อาเจียน, อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง การชัก หรืออาการปวดศีรษะ ล้มลงไม่ได้สติ ฯลฯ หรืออาจแสดงออกในด้านความรู้สึกเจ็บปวดในจิตใจ ตื่นกลัว ก้าวร้าว และเชื่อในสิ่งที่ไม่เหตุและผลเพียงพอ มักจะเกิดจากการถูกตอกย้ำอย่างซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานาน โดยผู้นำกลุ่มหรือสภาพแวดล้อมตามทฤษฏีของปาพลอฟ จนนำไปสู่สภาวะหลอนเชิงกลุ่มและเชื่อกันโดยไม่มีเหตุผล เช่น รู้สึกถึงการถูกรังแก ดูถูกเหยียดหยาม การไม่ได้รับความยอมรับ ความไม่เสมอภาค การถูกคุกคามโดยอำนาจเร้นลับหรือผู้มีอำนาจ ฯลฯ ผู้เข้าร่วมจะมีความรู้สึกเจ็บปวดร้าวลึกอยู่ในจิตใจ จากนั้นจึงนำไปสู่ความคลุ้มคลั่งของฝูงชนในท้ายที่สุด
คนที่ใช้จิตวิทยาฝูงชนได้เก่งจะสามารถนำฝูงชนไปทางไหนก็ได้ แต่ไม่เพียงเท่านั้น ยิ่งหากเขาผู้นั้นมีความสามารถในการพูดและสื่อสารด้วยแล้วก็จะยิ่งชี้นำได้อย่างเหลือเชื่อ ดังที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เคยกล่าวไว้ในหนังสือของเขาว่า
"หากท่านโกหกเรื่องใหญ่มากพอ, โกหกบ่อยครั้งเพียงพอ, เรื่องนั้นจะถูกเชื่อ"
"If you tell a big enough lie and tell it frequently enough, it will be believed. "
(จากหนังสือ Adolf Hitler, Mein Kampf, "Why the second reich collapse" การต่อสู้ของข้าพเจ้า "เหตุใดจักรวรรดิไรค์ที่ 2 จึงล่มสลาย")
ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์
---
บรรณานุกรม
Wikipedia
การเกิดขึ้นของฝูงชนนั้นเป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ และการรวมกลุ่มของฝูงชนนั้นมีทั้งลักษณะสร้างสรรและทำลายล้างซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยและเงื่อนไขอื่น ๆ รอบด้าน ตลอดจนข้อเรียกร้อง สถานการณ์และผู้นำฝูงชน
การศึกษาทางจิตวิทยาฝูงชนพบว่า เมื่อผู้คนมารวมตัวกันมากๆจนเป็นฝูงชน จะมีสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนก็คือ ผู้เข้าร่วมฝูงชนมีแนวโน้มที่จะสละจิตสำนึกส่วนตนและนำเอาจิตสำนึกร่วมของฝูงชนเข้ามาแทน บุคคลมีแนวโน้มจะแสดงพฤติกรรมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างจากพฤติกรรมเดิมที่ตัวเองเป็น สมาชิกของกลุ่มมักจะแสดงออกโดยที่ไม่ต้องคำนึงถึงศีลธรรม หรือการตัดสินที่ถูกผิด แต่การกระทำเช่นนี้ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในความเชื่อหรือตัวตนของ คนๆนั้น แต่เกิดจากการที่สมาชิกในฝูงชนนั้นจะเกิดการละเลย หลีกเลี่ยงการใช้จิตสำนึกของตนเอง หรือ การตัดสินอย่างมีเหตุผล สมาชิกในฝูงชนจะเปลี่ยนจุดมุ่งหมายของตัวตนเป็นจุดมุ่งหมายของฝูงชน จะละเลยคำตำหนิ ความรับผิดชอบ การตัดสินใจที่มีต่อตนเองไป สมาชิกในฝูงชนมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมในรูปแบบที่จะไม่ทำถ้าอยู่ลำพังเพียงคนเดียว
พฤติกรรมเชิงจิตวิทยาสังคมที่ปรากฏอยู่ในฝูงชน มีหลายแบบ คือ
1. ปฏิกิริยาตามขบวนแห่ (Bandwagon effect) คือคนเราจะโน้มเอียงที่จะเข้าข้างคนส่วนใหญ่หรือฝ่ายผู้ชนะไว้ก่อนโดยไม่ค่อยคำนึงถึงเหตุผลว่าถูกหรือไม่ หรือเดิมเคยตั้งใจไว้อย่างไร
2. สัณชาติญาณฝูง (Herd instinct) เป็นสัณชาติญาณพื้นฐานทางธรรมชาติที่ผู้คนมักจะเชื่อในคำบอกต่อของคนอื่น ๆ ในกลุ่มอย่างปราศจากเหตุผล โดยเฉพาะเรื่องที่เกียวกับผลประโยชน์หรือความมั่นคงปลอดภัยของตนเองและข่าวนั้นมีลักษณะการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วโดยมีเนื้อหาที่รุนแรง คนก็มักจะกลัวและเชื่อไว้ก่อน
4. ภาวะหลอนเชิงกลุ่ม (Mass hysteria) เป็นพฤติกรรมที่เกิดร่วมกันในลักษณะของอุปาทานหมู่ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหนึ่งเกิดป่วยหรือมีอาการแปลกๆบางอย่าง (เช่นอาการของโรคฮิสเตอเรียที่เป็นผลมาจากภาวะเครียด) และเมื่อผู้ป่วยคนนั้นเริ่มแสดงอาการ คนอื่น ๆ รอบข้างก็เริ่มแสดงอาการด้วยเพราะเชื่อว่าตัวเองก็ประสบภาวะอย่างเดียวกัน อาการที่แสดงเช่นว่ามักได้แก่ อาการคลื่นไส้อาเจียน, อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง การชัก หรืออาการปวดศีรษะ ล้มลงไม่ได้สติ ฯลฯ หรืออาจแสดงออกในด้านความรู้สึกเจ็บปวดในจิตใจ ตื่นกลัว ก้าวร้าว และเชื่อในสิ่งที่ไม่เหตุและผลเพียงพอ มักจะเกิดจากการถูกตอกย้ำอย่างซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานาน โดยผู้นำกลุ่มหรือสภาพแวดล้อมตามทฤษฏีของปาพลอฟ จนนำไปสู่สภาวะหลอนเชิงกลุ่มและเชื่อกันโดยไม่มีเหตุผล เช่น รู้สึกถึงการถูกรังแก ดูถูกเหยียดหยาม การไม่ได้รับความยอมรับ ความไม่เสมอภาค การถูกคุกคามโดยอำนาจเร้นลับหรือผู้มีอำนาจ ฯลฯ ผู้เข้าร่วมจะมีความรู้สึกเจ็บปวดร้าวลึกอยู่ในจิตใจ จากนั้นจึงนำไปสู่ความคลุ้มคลั่งของฝูงชนในท้ายที่สุด
นอกจากนี้ยังต้องระวังคนที่กำลังใช้จิตวิทยาฝูงชนด้วย วิธีที่คนที่ต้องการใช้จิตวิทยาฝูงชนกับเราคือ
- มีความสามารถในการพูดที่โน้มน้าวด้วยบุคคลิกที่ขึงขัง จริงจัง หนักแน่น แต่ไม่ได้ใช้เหตุผลเท่าที่ควร
- เน้นการสื่อสารที่เร้าอารมณ์มากๆ ทั้งการพูด เนื้อหา เสียง และภาพ มีการสร้างมโนภาพที่กระทบอารมณ์ความรู้สึกอย่างแรง
- พยายามวางตัวว่ามีค่านิยม ทรรศนะ ความเชื่อ ศรัทธา เช่นเดียวกับเรา หรือแม้แต่แต่งตัวแบบเดียวกับเรา
- พยายามให้ทุกคนในกลุ่มมีความรู้สึกผูกพันกันเป็นกลุ่มชนพวกเดียวกัน จนมองข้ามความเป็นปัจเจกบุคคลของตนเอง
- มีลักษณะชี้นำแบบเด็ดขาดแต่ปิดกั้นความคิด ไม่ให้ซักถามอย่างเพียงพอ
- สื่อสารบ่อยๆ ซ้ำๆ ถี่ๆ เร็วๆ โดยเว้นระยะให้คําพูดเข้าไปแทรกซึมในสมองของผู้รับสาร
- ชักจูงโดยเน้นให้เกิดความกลัว ทำให้เห็นว่าถ้าเชื่อฟังจะปลอดภัย ถ้าไม่เชื่อฟังจะเป็นอันตราย
- สร้างการยกชูผู้นำให้เหนือคนปกติ หรือแม้แต่เหนือธรรมชาติ
คนที่ใช้จิตวิทยาฝูงชนได้เก่งจะสามารถนำฝูงชนไปทางไหนก็ได้ แต่ไม่เพียงเท่านั้น ยิ่งหากเขาผู้นั้นมีความสามารถในการพูดและสื่อสารด้วยแล้วก็จะยิ่งชี้นำได้อย่างเหลือเชื่อ ดังที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เคยกล่าวไว้ในหนังสือของเขาว่า
"หากท่านโกหกเรื่องใหญ่มากพอ, โกหกบ่อยครั้งเพียงพอ, เรื่องนั้นจะถูกเชื่อ"
"If you tell a big enough lie and tell it frequently enough, it will be believed. "
(จากหนังสือ Adolf Hitler, Mein Kampf, "Why the second reich collapse" การต่อสู้ของข้าพเจ้า "เหตุใดจักรวรรดิไรค์ที่ 2 จึงล่มสลาย")
ด้วยความเข้าใจในเรื่องนี้ เราควรมีการตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอว่า สิ่งที่เราคิดหรือทำอยู่นั้น เป็นเพราะเราได้ไตร่ตรองด้วยตัวเองอย่างถ่องแท้ หรือแท้จริงแล้วเราคิดหรือทำอย่างนั้นเพราะเรากำลังตกอยู่ในการครอบงำของ "จิตวิทยาฝูงชน" อยู่ โดยไม่รู้ตัว
ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์
---
บรรณานุกรม
Wikipedia
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น