วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

กรณีธรรมกาย
เรื่องย่อหนังสือ "แฟ้มคดีธรรมกาย "
ที่มา : http://members.tripod.com/~rabob/casenarok.htm

ข้อกล่าวหาวัดพระธรรมกาย และพระไชยบูลย์ สุทธิผล ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน แต่ละข้อกล่าวหายังไม่เคยได้รับการดำเนินการให้เกิดความกระจ่าง ทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐผู้มีหน้าที่โดยตรงและจากวัดพระธรรมกาย คงปล่อยให้อึมครึมลี้ลับ เกิดความอึดอัดเอือมระอาแก่พุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก
คณะทำงานรวบรวมข้อมูลหลักฐานกรณีวัดพระธรรมกาย ได้ทำการศึกษา ตรวจสอบ รวบรวม วิเคราะห์ ค้นหา นับตั้งแต่เริ่มแรกที่ได้ทำงานร่วมกับคณะกรรมาธิการศาสนาฯ บางครั้งต้องถึงกับเข้าไปฝังตัวในกลุ่มกัลยาณมิตรของวัดพระธรรมกาย
เข้าไปศึกษาหาหลักฐานจากชมรมพุทธศาสตร์สากลในมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นต้น
คณะทำงานฯ จำต้องตั้งปณิธานเป็นบรรทัดฐานไว้เสมอว่า การทำงานเกี่ยวกับความเชื่อ ความนับถือส่วนบุคคลเช่นนี้ “จะต้องทำงานประกอบด้วยความเมตตา รู้จักให้อภัย รู้จักการเสียสละ รอบคอบ และที่สำคัญ จะต้องไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น”

แต่จากการค้นหาข้อมูล ยิ่งสาวลึกเข้าไป ยิ่งพบความไม่ชอบมาพากลของวัดพระธรรมกายและบุคคลใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น พบเห็นการจัดตั้งเครือข่ายเหมือนองค์กรอาชญากรรมใหญ่ๆ มีการใช้กลวิธีเล่ห์เพทุบายเพื่อประทุษร้ายบุคคลผู้วิพากษ์วิจารณ์วัดพระธรรมกายนานัปการ และขณะนี้เหตุการณ์บานปลายจนถึงขั้นกล่าวจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ไปแล้ว

ดังนั้นคณะทำงานฯ จึงต้องหันกลับมาตั้งต้นใหม่ว่า "เราควรจะมีเมตตาให้อภัยแก่คนที่ไม่รู้จักสำนึก” หรือไม่ ซึ่งในกรณีของวัดพระธรรมกายนี้ เราสรุปได้ชัดเจนว่า บุคลากรของวัดพระธรรมกายและผู้ที่เกี่ยวข้องล้วนไร้สำนึกผิดชอบชั่วดี ส่วนหลักการเคารพสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ซึ่งวัดพระธรรมกายชอบยกขึ้นอ้าง เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตนเองนั้น คณะทำงานฯเห็นว่าเราจะเคารพศักดิ์ศรีและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของประชาชนผู้ที่ถูกวัดพระธรรมกายหลอกลวง มากกว่าการพิทักษ์สิทธิของวัดพระธรรมกายซึ่งเป็นตัวการทำความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน และทำความเสียหายให้แก่สถาบันพระพุทธศาสนาอันเป็นที่รักของเรา

ณ วันนี้ คณะทำงานฯ จึงตัดสินใจนำเสนอเผยแพร่ข้อมูลหลักฐาน ปรากฏเป็นหนังสือ "แฟ้มคดีวัดพระธรรมกาย เล่มที่ 1” เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด ดังมีหัวข้อและสรุปเนื้อหาย่อได้ดังนี้

1. รายงานเสนอนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 1

ใน พ.ศ. 2532 หน่วยงานความมั่นคงและการข่าวของรัฐ ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับวัดพระ ธรรมกายตรงต่อนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในหลายกรณี เช่น การทำธุรกิจในทางลับ การมรณภาพของพระชิตชัย มหาชิโต พฤติการณ์ส่วนตัวของพระไชยบูลย์ที่ไม่ชอบมาพากล การขอเข้าพบหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เพื่อขอให้ยุติข้อเขียนในคอลัมน์ “ซอยสวนพลู” แต่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์มิให้เข้าพบ เป็นต้น คณะทำงานฯ ไม่ทราบเหตุผลว่า ข้อมูลที่ประทับตราว่า “ลับมาก” อยู่ในข่ายที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน รัฐบาลกลับไม่ดำเนินการให้ถูกต้องตามอำนาจตามความชอบธรรมแห่งกฎหมายและการปกครองรัฐ กลับปล่อยให้ปัญหาวัดพระธรรมกายลุกลามแผ่ขยายออกไปจนถึงปัจจุบัน


2. รายงานเสนอนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 2

ใน พ.ศ. 2535 หน่วยงานความมั่นคงและการข่าวของรัฐ ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายตรงต่อนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งในปีนั้น ประเทศไทยเกิดวิกฤติทางการเมือง ทำให้ต้องเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีถึง 3 ครั้ง อำนาจรัฐคาบเกี่ยวระหว่าง รสช. กับอำนาจจากการเลือกตั้ง นายกฯ อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกเฉพาะกิจครั้งที่สอง จึงไม่สามารถสั่งปฏิบัติการเรื่องละเอียดอ่อนเช่นนี้ได้ อีกทั้งนายกฯ พลเอกสุจินดา คราประยูร ก็ประสบปัญหาทางการเมืองความไม่พอใจของประชาชน ทั้งระยะเวลาดำรงตำแหน่งเพียงเดือนกว่า จึงน่าเชื่อว่าคงไม่สามารถจัดการปัญหาวัดพระธรรมกายตามรายงานของหน่วยงานความมั่นคงได้

ก่อนหน้านี้ ในปี 2534 วัดพระธรรมกายถูกจัดเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ และอยู่ในบัญชีดำ (Black List) ของสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) แต่จากปัญหาความไม่ลงตัวในอำนาจของ รสช. จึงไม่อาจจัดการปัญหาดังกล่าวได้ปล่อยให้วัดพระธรรมกายสร้างเครือข่ายองค์กรใหญ่โต มีกลุ่มผลประโยชน์เข้าไปสมรู้ร่วมคิดจำนวนมากขึ้น กระทั่งแผ่ขยายอาณาจักรสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนทุกหย่อมหญ้าในปัจจุบัน

3. ผลประโยชน์และรายได้ของพระธัมมชโย

มูลนิธิธรรมกาย มีนโยบายระดมทุนจากประชาชนมากมายหลายวิธีการ ในห้วงหลายปีที่ผ่านมา สุจริตชนโดยทั่วไป ย่อมรู้เห็นว่า มีเงินหมุนเวียนในมูลนิธิแห่งนี้นับ 10,000 ล้านบาท แต่จากเอกสารงบดุลของมูลนิธิฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 ที่รายงานต่อทางการ มูลนิธิฯ มีสินทรัพย์หมุนเวียนเพียง 3 ล้านกว่าบาทเท่านั้น สำหรับงบดุลสิ้นสุดปี 2541 มูลนิธิฯ แห่งนี้ยังไม่รายงานต่อทางการแต่อย่างใด ทั้งที่เวลาผ่านเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2542 แล้ว ทางการเองก็ปล่อยปละละเลย ไม่ตรวจสอบ ไม่จัดการกับปัญหาของมูลนิธิฯ ปล่อยให้การดำเนินการของมูลนิธิธรรมกายกระทำการท้าทายอำนาจรัฐ ละเมิดกฎหมายบ้านเมืองอยู่ตลอดเวลาที่ผ่านมา

คณะทำงานฯ เชื่อว่า รายได้และผลประโยชน์ของพระธัมมชโย รวมแล้วไม่น่าจะต่ำกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาทอย่างแน่นอน ทรัพย์สินส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะปกปิด ส่วนเงินสดจะปรากฏอยู่ในบัญชีลับๆ ซึ่งทางวัดพระธรรมกายได้มีหนังสือแจ้งไปยังสาขาของธนาคารที่ฝากเงินว่า ห้ามเปิดเผยบัญชีของพระธัมมชโยและบุคคลรอบข้างเด็ดขาด ถ้าเปิดเผยทางวัดฯ จะถอนเงินฝากทั้งหมดซึ่งก็สร้างความหวาดกลัวให้กับธนาคารผู้รับฝากเป็นอย่างมาก เพราะเกรงว่ายอดเงินก้อนมหึมาจะโยกย้ายไปฝากธนาคารอื่น ด้วยเหตุผลข้อนี้ คณะทำงานฯ จึงตรวจสอบอีกครั้ง จึงพบว่า ปัจจุบันพระธัมมชโยน่าจะมีเงินสดหลายพันล้านบาท ใกล้เคียงกับเงินสดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

4. การตัดต้นไม้มงคลของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง

พระธัมมชโย กระทำการละเมิด กระทำการหมิ่นอาฆาตมาดร้าย ต่อพระบรมเดชานุภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยการสั่งตัดต้นไม้ที่ทรงปลูกโดยสมเด็จย่าฯ สมเด็จพระเทพฯ และสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ ซึ่งเป็นการปลูกแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพราะพระธัมมชโยอาฆาตสถาบันฯ ว่าในกรณีขอพระราชทานสมณศักดิ์ไม่ได้ตามต้องการ เหตุการณ์ดังกล่าววัดพระธรรมกายชี้แจงว่า ผืนดินมีค่าความเป็นกรด-ด่าง หรือค่า pH สูง ทำให้ไม่เติบโต ต้องโยกย้ายไปปลูกพื้นที่ใกล้เคียง และภาพที่เห็นในสื่อมวลชนเป็นต้นหมากพุ่มเตี้ย เป็นต้น

คณะทำงานฯ ได้ทำการพิสูจน์ทราบ ด้วยการใช้ภาพถ่ายมาเปรียบเทียบกัน ปรากฏว่าวัดพระธรรมกายชี้แจงข้อความอันเป็นเท็จต่อสาธารณชน ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในภาพถ่าย จึงสรุปได้ว่า พระธัมมชโยได้กระทำการอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จริง อีกทั้งมีเหตุผลที่รับทราบกันทั่วไป ได้แก่ พระธัมมชโยตั้งปณิธานว่าถ้าเป็นฆราวาสจะต้องเป็นพระจักรพรรดิ (Emperor) ถ้าออกบวชจะต้องเป็น “พระบรมพุทธเจ้า”
สานุศิษย์วัดพระธรรมกายล้วนคิดว่าตัวเองเป็นสาขาของพระพุทธเจ้า หรือ Sub Buddha บรรลุธรรมชั้นสูงกว่าใครๆ ในประเทศไทย จึงไม่แปลกใจว่าทำไมคนเหล่านี้ถึงกล้าละเมิด จาบจ้วง สถาบันชั้นสูงของไทย ทั้งในศาสนจักรและอาณาจักรอย่างหน้าตาเฉย

5. กรณีการมรณภาพของพระชิตชัย มหาชิโต (วิญญูนันทกุล)

ค่านิยมในการอัดวิชชาธรรมกายบนดอยสุเทพ-ปุยอันเป็นวิธี การ “อปกติ” ของพระธัมมชโย ทำให้เกิดอาการเครียดแก่พระชิตชัย มหาชิโต เป็นอย่างมาก เพราะพระชิตชัย มหาชิโต ไม่นิยมการพูดเท็จ เป็นพระที่มีสัจจะสูง พระธัมมชโยถามว่า เห็นพระธรรมกายไหม พระชิตชัยตอบว่า “ไม่เห็น” ตามความเป็นจริง
จึงทำให้พระธัมมชโยโกรธขึ้งอย่างรุนแรง จนกระทำการอเปหิสั่งไม่ให้ใครคบหากับพระชิตชัย ไม่ให้ออกสังฆสมาคม ทั้งที่พระชิตชัยมีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมาก ยิ่งเพิ่มความเครียดแก่พระชิตชัย จึงเป็นสาเหตุให้พระชิตชัยมรณภาพอย่างเป็นปริศนา

การมรณภาพของพระชิตชัย แม้ทางการพิสูจน์จะทราบได้ว่าเป็นการกระทำอัตวินิบาตกรรมหรือฆ่าตัวตาย ก็ล้วนมีแหล่งกำเนิดมาจากพฤติกรรมและวิธีการของพระธัมมชโยทั้งสิ้น พระธัมมชโยจึงน่าจะมีความผิดเป็นตัวการกระทำการใดๆ อันจงใจหรือเจตนาให้บุคคลอื่นฆ่าตัวตาย ซึ่งปัจจุบันเรื่องนี้ก็ยังเป็นปริศนาดำมืดอยู่เช่นเดิม ญาติพี่น้องตระกูลวิญญูนันทกุลยิ่งมีความเชื่อว่าเป็นการฆาตกรรมอำพรางอยู่จนปัจจุบัน


6. กรณีการถือครองที่ดินทั่วประเทศ

การถือครองที่ดินของพระธัมมชโย ที่มักชี้แจงต่อสาธารณชนว่ามีผู้บริจาคนั้น เป็นความเท็จแทบทั้งสิ้น เพราะที่ดินที่พระธัมมชโยโอนให้วัดตามกำหนดเส้นตายของกรมการศาสนานั้น ข่าวในทางลับแจ้งว่าเป็นที่ดินที่ ดร.ประกอบ กีรจิตติ ถวายแทบทั้งสิ้น จึงเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิถูกต้อง ส่วนที่ดินอีกกว่า 1,400 ไร่นั้น เป็นการได้มาโดยการสั่งให้สานุศิษย์ผู้ใกล้ชิดทำการกว้านซื้อไว้แล้วยกถวายพระธัมมชโยในภายหลัง

ในช่วงยื่นคำขาดที่ผ่านมา วัดพระธรรมกายและสานุศิษย์พยายามเปลี่ยนแปลง ปลอมแปลงเอกสารที่ดิน เพื่อให้ได้ข้อยุติว่า “เป็นการบริจาค” เพื่อหลีกเลี่ยงข้อหายักยอกทรัพย์
เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ฯลฯ โดยกระทำการดังกล่าวที่บ้านของ “ดร.ประกอบ กีรจิตติ” ส.ส.เขต 10 กทม. พรรค ปชป. โดยการประสานงานหรือล็อบบี้ของ “พรรณพิพา วัชโรบล” อดีตผู้สมัคร ส.ส. เขต 3 พญาไท พรรค ปชป. ผู้เป็นญาติของนางสาวลีลาวดี วัชโรบล อดีตนางเอกภาพยนตร์ สานุศิษย์ผู้คอยเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับวัดพระธรรมกายเพื่อการระดมทุนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

คณะทำงานฯ จึงได้เข้าทำการตรวจสอบการถือครอง ที่ดินในนามของพระไชยบูลย์ สุทธิผล ใน พื้นที่ อ.ภูเรือ จ.เลย ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายสอง วัชรศรีโรจน์, นางชนัสถ์นันท์ สุขุมพานิช, นางวรรณา อุดมผล, นายเพชร แก่นทรัพย์ ไปกว้านซื้อที่ดิน น.ส.1 ก. จากชาวบ้านในพื้นที่ อ.ภูเรือ จ.เลย ใกล้กับที่ดินของนายแพทย์ชัยยุทธ กรรรณสูต ซึ่งประชาชนผู้ยากไร้ในพื้นที่ได้สิทธิการครอบครองจากการเข้าไปทำประโยชน์ในป่าสงวนไร้สภาพ หรือได้มาจากการจัดสรรที่ทำกินของ รัฐ หลังจากนั้นก็ขอเปลี่ยนเป็น น.ส.3 ก. สามารถจำหน่ายถ่ายโอนได้แล้วกระทำการยกให้พระไชยบูลย์ ในภายหลัง และตีราคาต่ำกว่าราคาประเมินของทางการ อันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีที่ดิน

คณะทำงานฯ จึงสรุปว่ากรณีการถือครองที่ดิน พระธัมมชโยใช้เงินบริจาคของวัดให้สานุศิษย์ไปทำการกว้านซื้อที่ดิน แล้วยกถวายเป็นสมบัติของตนเองในภายหลัง ซึ่งถือว่าเป็นการเบียดบังทรัพย์สินของวัด ฉ้อโกงประชาชน

7. กรณีแหล่งผลิตพระมหาสิริราชธาตุ

พระธัมมชโยพยายามปั้นเรื่องเท็จ โดยนำเอาเรื่องในชาดกมาผสมผสานกับ “สินค้า” ที่ออกมาจำหน่าย คือ พระมหาสิริราชธาตุ ที่อ้างว่าพญานาครักษาไว้หลายร้อยล้านปี แต่จากการตรวจสอบของคณะทำงานฯ พบว่าวัตถุธาตุดังกล่าวนำเข้ามาจากประเทศพม่า และประเทศยุโรปตะวันออก ไม่ใช่วัตถุธาตุที่ทรงคุณค่าดังคำโฆษณาแต่อย่างใด

คณะทำงานฯ ได้ส่งคนเข้าไปสอบถามพนักงานโรงงานของบริษัท D. Gems International จำกัด ของนางสงบ ปัญญาตรง สีกาอีกคนหนึ่งของพระธัมมชโย ปรากฏว่าเป็นโรงงานผลิตพระมหาสิริราชธาตุเถื่อน ใช้แรงงานต่างด้าวหนีเข้าเมือง ไม่มีสวัสดิการใดๆ แก่คนงานตามกฎหมายคุ้มครองและสวัสดิการแรงงาน เรื่องนี้จึงสรุปได้ว่า วัดพระธรรมกายโดยมีผู้นำบุญเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกระทำการหลอกลวงประชาชนทำให้เสียทรัพย์ จนหลายครอบครัวต้องบ้านแตกสาแหรกขาด เกิดความเดือดร้อนไปหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ดังปรากฏเป็นข่าวอยู่ทุกวันนี้

8. กรณีความสัมพันธ์กับสตรีเพศ

เกือบจะเป็นเรื่องปกติเสียแล้ว สำหรับพระสงฆ์ชื่อดังที่จะต้องมีสันถวไมตรีทางกามรสกับสตรีเพศ เช่น พระยันตระ อมโรภิกขุ, พระภาวนาพุทโธ, นายจันทร์ อาจหาญ หรือหลวงตาจันทร์ วัดป่าชัยรังสี เป็นต้น

แต่กรณีของพระธัมมชโย เป็นการเกี่ยวพันกับสตรีถึง 7 คน สตรีผู้ที่พระธัมมชโยให้ความอภิรมย์ มากที่สุด ได้แก่ นางเพียงนิล ศิริเกษม ม่ายลูกสอง อดีตภรรยาน้อยของนายสุวิทย์ มหาแถลง เพื่อนของนายสอง วัชรศรีโรจน์ ซึ่งปัจจุบันปรากฏข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ “สยามรัฐ” และอีกหลายฉบับ จนกระทั่งเสี่ยสุวิทย์ มหาแถลง เสียชีวิตอย่างปริศนาภายในห้องทำงาน ท่ามกลางความเสียใจของ “นางอาภรณ์ มหาแถลง” ภรรยาหลวง ปัจจุบันนางเพียงนิลได้ยกลูกสาวให้เป็นบุตรบุญธรรมของพระธัมมชโย บางกระแสกล่าวว่า เด็กหญิงคนดังกล่าวมีอาการของโรคประจำตัวคล้ายกับพระธัมมชโย น่าจะเกิดจากกรรมพันธุ์หรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีสตรีผู้ใกล้ชิด ที่พระธัมมชโยมีความสนิทสนมอย่างมากอีก 4 คน ได้แก่ นางจิรวัฒน์ (อี๊ด), นางสงบ ปัญญาตรง, นางสาววิชญา ไตรวิเชียร และคนสุดท้ายที่ฮือฮาโจษขานกันมากที่สุด เพราะสามีของเธอบุกเข้าไปประจานพระธัมมชโยถึงในวัดพระธรรมกายท่ามกลางสานุศิษย์ชั้นนำ สีกาคนล่าสุดนี้ชื่อว่า นางแก้วตา หรือทยา หรือติ๋ม เรื่องการปะทะคารมระหว่างสามีของเธอกับพระธัมมชโย เป็นที่โจษขานกันในวัดสนุกปากจนทุกวันนี้

9. คำให้การของพยานบุคคล อดีตแขนข้างขวาของพระธัมมชโย

กลุ่มผู้นำบุญ ที่มีบทบาทในการหาเงินทุนให้พระธัมมชโยมากที่สุด จนพระธัมมชโยยกย่องให้ “เป็นสาขาหนึ่งของพระบรมพุทธเจ้า” หรือ “Sub Buddha" ให้คำให้การชัดเจนหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการชักชวนคนทำบุญ การตามตื๊อคนให้ทำบุญมากที่สุด วิธีการหา “เหยื่อ” เพื่อพาไปตบทรัพย์บนดอยสุเทพ-ปุยในพิธีการอัดวิชชาธรรมกาย

คำให้การดังกล่าว ให้ความกระจ่างถึงวิธีการ “ตบทรัพย์” ของวัดพระธรรมกายและพระธัมมชโยชัดเจนที่สุด

ที่มา : http://members.tripod.com/~rabob/casenarok.htm

5 ความคิดเห็น:

  1. ผมไม่ได้รู้จักอะไรกับสำนักนี้ แต่เท่าที่อ่าน อย่างผู้มีการศึกษาก็ทราบได้แล้วว่า ผู้เขียนบทความนี้ มีอคติ ใส่ร้าย ใส่ความ เพื่อสนองความต้องการของตนเองอย่างไร้สาระที่สุด

    คนมีการศึกษาท่านอื่นอ่านก็พอจะรู้แล้วครับว่า สำนวนมันเวอร์ อะไรจะเลวร้ายขนาดนั้น แมร่งเลวไม่มีชิ้นดีเลย ป่านนี้พระธัมมชโยคงโดนยิงหัวมรณะภาพไปแล้วล่ะ

    คนเขียนนี้เวอร์บรม

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ22 ตุลาคม 2553 เวลา 05:49

    คนเขียนบทความนี้ทุเรศสิ้นดี...

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ26 พฤษภาคม 2554 เวลา 09:53

    คิดว่าทำดีแล้ววหรอ ที่จะใส่ร้ายคนอื่น

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ9 กรกฎาคม 2555 เวลา 23:16

    รับรู้ข้อมูลไว้ แต่อย่าเพิ่งตัดสิน ทำใจให้เป้นกลาง เพราะเราไม่ได้อยู่ในจุดๆนั้น ทำตัวเองให้ดีที่สุด คนอื่นเป็นอย่างไร ช่างมัน

    ตอบลบ
  5. ผมว่าความยุติธรรมยังมีอยู่ในโลกครับ ผู้กล่าวหากับผู้ถูกกล่าวหาต้องสู้กันตามกระบวนการยุติธรรมครับ แพ้ชนะตามพยานหลักฐานต่าง ๆ ความจริงจะได้ปรากฎแก่ชาวโลก ผมก็อยากรู้ ผมเชื่อว่าผลของการทำชั่วทำดีมีจริง ใครทำอะไรก็รู้อยู่แก่ใจ หลอกใจตัวเองไม่ได้หรอกครับ ใครทำอะไรก็รับไป !!!

    ตอบลบ