วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ศาสนา กับวิทยาศาสตร์ โดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
(บทความ ลง นิวยอร์ก ไทมส์ ค.ศ. 1930)

ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์กระทำและคิดนั้น จะเกี่ยวข้องกับสองเรื่องสำคัญเสมอ นั่นคือ ความต้องการและความเจ็บปวด โดยในส่วนของ “ความต้องการ” นั้น มักจะเป็นความรู้สึกพอใจว่าหากได้มาในสิ่งที่ต้องการตนจะเป็นอย่างไร ส่วนหนึ่งของ “ความเจ็บปวด” นั้นจะเป็นความคิดว่า ทำอย่างไร เราจึงจะผ่อนคลายความเจ็บปวดลงได้ ดังนั้น หากเราต้องการรู้ซึ้งถึงจิตวิญญาณ หรือเข้าใจพัฒนาการของมนุษย์อย่างแท้จริง เราต้องศึกษาเรื่องความเต้องการและความเจ็บปวดของคนเราให้ดี ทำนองเดียวกัน เรื่องนี้สามารถใช้ศึกษาถึงที่มาของความเชื่อและศาสนาได้เช่นกัน อะไรคือสิ่งที่เป็นบ่อเกิดของศาสนาและความเชื่อต่าง ๆ

ในสมัยที่คนเรายังอยู่ในถ้ำ ศาสนาก็ได้เกิดเป็นรูปร่างขึ้นแล้ว โดยมีเหตุมาจากการกลัวอดอยาก ความกลัวในภยันตรายจากสัตว์ป่า การเจ็บไข้ และการกลัวความตาย แท้จริงแล้วสิ่งต่าง ๆ ที่ คนสมัยก่อนเกรงกลัวนั้น ล้วนแต่มีความเกี่ยวพันและเป็นเหตุเป็นผลด้วยกันทั้งสิ้น แต่คนในสมัยนั้นยังไม่มีความรู้ความเข้าใจดีพอ เรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเขานั้นเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน เมื่อเป็นดังนี้ พวกเขาจึงเกิดภาพหลอนขึ้นมาเพื่ออธิบายว่าปัญหาแต่ละอย่างเกิดขึ้นมาเพราะเหตุใด และพวกเขาก็รับมรดกจากคนรุ่นก่อนมาว่า หากมอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้แก่ภาพหลอนนั้นแล้ว สิ่งที่ตนเองเกรงกลัวก็จะหมดไป นั่นคือที่มาของการบูชายัญ ดังนั้น ศาสนาที่เกิดขึ้นมาในสมัยโบราณจึงเป็นศาสนาแห่งความกลัว

ภายใต้ความคิดความเชื่อเช่นนี้จึงได้เกิดชนชั้นหนึ่งขึ้นมา กลุ่มคนนี้เป็นพวกพิเศษไปจากคนอื่น เนื่องจากสามารถเป็นตัวเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่มนุษย์เกรงกลัวได้ คนกลุ่มนี้คือชนชั้นนักบวช และต่อมาได้มีความพยายามที่จะใช้ชนชั้นปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบพิธีกรรมของนักบวชด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ชนชั้นปกครองเกิดความเชื่อมั่น และปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง ดังนั้น ชนชั้นปกครอง และนักบวช จึงเริ่มมีความสัมพันธ์ที่เอื้อต่อประโยชน์ซึ่งกันและกัน

นอกจากปัจจัยด้วยความกลัวที่ทำให้เกิดศาสนาขึ้นมาแล้ว ปัจจัยทางสังคมก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยเร่งให้ศาสนาตกผลึกเป็นรูปธรรมได้เร็วขึ้น คำอธิบายในประเด็นนี้ คือ มนุษย์ที่เป็นเพียงพ่อหรือแม่ หรือผู้นำในสังคมนั้น ล้วนแล้วแต่เจ็บป่วย และตายได้ด้วยกันทั้งสิ้น สิ่งนี้จึงทำให้มนุษย์ต้องการความรักและการดูแลเอาใจใส่จากผู้อื่นที่น่าจะมีอำนาจเหนือกว่า และนี่คือที่มาของ “พระเจ้า” พระเจ้าของคนสมัยก่อนจึงถูกคาดหมายให้มอบความรัก ให้ช่วยเหลือมนุษย์ รวมทั้งดูแลวิญญาณของมนุษย์เมื่อผู้นั้นตายลง ศาสนาในยุคนี้จึงถือว่าเป็นศาสนาแห่งกำลังใจ ซึ่งเปลี่ยนไปจากช่วงแรกของการเกิดศาสนาแห่งความกลัว

ในคัมภีร์ของชาวยิวและในคัมภีร์ไบเบิลต่างแสดงให้เห็นชัดเจนว่า พัฒนาการของศาสนานั้น เริ่มจากศาสนาแห่งความกลัวมาสู่ศาสนาแห่งกำลังใจเช่นที่ข้าพเจ้ากล่าวถึง และโดยเฉพาะในตะวันออก ศาสนาของพวกเขาจะเห็นได้ชัดว่าเป็นศาสนาแห่งกำลังใจ แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ทุกศาสนาล้วนแต่เป็นส่วนผสมของรูปแบบทั้งสองด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ว่าศาสนาใดจะมีส่วนผสมอย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ทุกศาสนามีเหมือนกันหมดคือ ความคิดที่ว่า พระเจ้านั้นมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับมนุษย์

อย่างไรก็ตาม สำหรับข้าพเจ้าแล้วยังมีอีกรูปแบบหนึ่งของศาสนาที่แตกต่างไปจากศาสนาทั่วไป เพราะศาสนานี้ไม่ได้มีความคิดที่ว่าพระเจ้ามีรูปร่างที่มองเห็นได้เช่นมนุษย์ และเมื่อพระเจ้าไม่มีรูปร่างที่สมองสัมผัสได้เช่นนั้นแล้ว การจะอธิบายถึงรายละเอียดของศาสนาจึงกระทำได้ยากยิ่ง ซึ่งข้าพเจ้าอยากเรียกศาสนานี้ว่า “ศาสนาแห่งจักรวาล”

แนวคิดเกี่ยวกับศาสนาแห่งจักรวาลนี้แท้จริงแล้วมีหลักฐานปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่สมัยของเดวิด และในคำพยากรณ์แต่โบราณรวมทั้งปรากฏให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมากในศาสนาพุทธ

คำถามที่สำคัญคือ หากว่าศาสนาแห่งจักรวาลไม่มีแนวคิดเกี่ยวกับรูปร่างของพระเจ้า และไม่มีแนวคิดของเทววิทยาแล้ว เราจะสื่อสารและสร้างความเข้าใจในศาสนาแห่งจักรวาลนี้ได้อย่างไร? สำหรับข้าพเจ้าแล้วขอตอบว่า มันเป็นหน้าที่ของศิลปะและวิทยาศาสตร์ที่จะต้องกระตุ้นให้สังคมได้รู้จักและสืบทอดศาสนาในรูปแบบนี้ต่อไป

อีกคำถามหนึ่งที่ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นสิ่งน่าสนใจก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์นั้นเป็นอย่างไร ? เรื่องนี้อาจจะมีมุมมองที่แตกต่างกันอยู่มากมาย เช่น หากเรามองเข้าไปในประวัติศาสตร์ เราอาจจะเห็นว่าศาสนาและวิทยาศาสตร์ เป็นเสมือนน้ำกับน้ำมันที่เข้ากันไม่ได้ ไม่มีความผสมกลมกลืนระหว่างกันโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เชื่ออย่างฝังหัวในกฎของเหตุและผล ด้วยเชื่อว่าผลเป็นสิ่งที่เกิดจากการกระทำแล้ว จะมองว่า พระเจ้านั้นไม่มีความหมาย เพราะว่าพฤติกรรมของมนุษย์ไม่ได้เกิดจากการดลบันดาลใจของพระเจ้า แต่เกิดจากความต้องการความจำเป็นของมนุษย์เอง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการภายในหรือภายนอกก็ตาม

ดังนั้น ในทางกลับกัน ผู้คนที่เชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในศาสนาจะกล่าวโจมตีวิทยาศาสตร์ว่าเป็นตัวบ่อนทำลายศรัทธาของผู้คนเพราะคอยแต่กล่าวอ้างว่า พฤติกรรมของมนุษย์ไม่เกี่ยวข้องกับพระเจ้า รวมทั้งชี้ให้เห็นว่า ชีวิตที่ปราศจากความกลัวว่าจะถูกลงโทษหลังความตาย หรือชีวิตที่ไม่คาดหวังว่าจะได้รับสิ่งตอบแทนสำหรับการกระทำความดี ล้วนเป็นชีวิตที่เลวร้ายของผู้นั้น

ด้วยมุมมองที่ต่างกันเช่นนี้ จึงทำให้ศาสนจักรในสมัยก่อนโจมตีวิทยาศาสตร์ และประหัตประหารผู้ที่ฝักใฝ่วิทยาศาสตร์ไปเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม สำหรับข้าพเจ้าแล้วยังยืนยันว่า วิทยาศาสตร์และศาสนานั้นสามารถกลมกลืนเข้ากันได้ โดยเฉพาะหากศาสนานั้นเป็นศาสนาแห่งจักรวาลเช่นที่ว่า มิใช่ศาสนาแห่งความกลัว หรือศาสนาแห่งกำลังใจ และเมื่อนั้น ผู้ที่คร่ำเคร่งกับงานวิทยาศาสตร์จะเป็นผู้ที่เคร่งศาสนาอย่างที่สุดด้วยเช่นกัน


ศาสนากับวิทยาศาสตร์ 2 โดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (คำปราศรัยที่นิวยอร์ก ค.ศ. 1941)

ในช่วงศตวรรษที่ 19 หรือแม้แต่ในช่วงหนึ่งของศตวรรษที่ 18 ได้มีความเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า ความรู้กับความเชื่อ เป็นสิ่งที่ลงรอยกันไม่ได้ ผสมผสานเป็นเนื้อหนึ่งเดียวกันไม่ได้ ต่อมาสำหรับผู้ที่รำ่เรียนสูงขึ้นหรือมีหัวก้าวหน้า ก็ได้เปลี่ยนมุมมองไปอีกว่า ความเชื่อจะเริ่มถูกทดแทนด้วยความรู้ รวมทั้งเห็นว่า ความเชื่อที่ปราศจากความรู้ย่อมกลายสภาพเป็นความงมงาย ดังนั้น หากเป็นไปเช่นแนวทางนี้ หน้าที่หลักของการศึกษาก็คือ การฝึกมนุษย์ให้รู้จักคิดและมีความรู้มากขึ้น

แม้ว่าจะยากอยู่สักหน่อย แต่บางคนก็อาจจะมองเห็นว่า แนวคิดข้างต้นนั้นเป็นการมองปัญหาเพียงด้านเดียว แง่มุมเดียวและเป็นการวิเคราะห์อย่างหยาบ ๆ เท่านั้น การที่เราจะให้คำตัดสินในเรื่องใดนั้น เราจำต้องมีทั้งประสบการณ์และความคิดที่เฉียบแหลมเกี่ยวกับปัญหานั้น

วิทยาศาสตร์นั้นสอนอะไรแก่เรา? โดยตัวข้าพเจ้าเองแล้วเห็นว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่เราได้เรียนรู้จากวิทยาศาสตร์ก็คือ การที่เราได้เรียนรู้และเข้าใจว่่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เกี่ยวข้องและเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน แต่สิ่งสำคัญที่ข้าพเจ้าต้องการย้ำ ณ ที่นี้ก็คือ การที่เรารู้ว่าาสิ่งใด เป็นอยู่หรือเป็นอะไร (what is ) นั้น ยังไม่ได้หมายความว่าเราจะมีความรู้มาโดยทันทีว่า สิ่งที่ควรเป็น (what should be) นั้นคืออะไร หากจะพูดอย่างง่าย ๆ ก็คือ มนุษย์เราอาจจะมีความรู้ ความเข้าใจอย่างแจ้งชัดในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น รู้ว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้คืออะไร แต่แม้ว่าเราจะรู้มากมายถึงขนาดนั้น เราก็ยังอาจไม่รู้ว่าเป้าหมาย หรือความปรารถนาของมนุษย์นั้นคือสิ่งใด ความรู้ที่ปราศจากอคติย่อมนำมาซึ่งเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้มนุษย์ไปถึงเป้าหมายได้ แต่เครื่องมือเช่นว่านั้นไม่ได้เป็นตัวบอกเราว่าเป้าหมายของมนุษย์คือ อะไร หรืออยู่ที่ไหน ดังนั้น เป้าหมายและเครื่องมือจึงเป็นสิ่งที่ต้องมีทั้งสองอย่าง และต่างต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน หรออาจพูดได้ง่าย ๆ ว่า การที่เราจะไปถึงเป้าหมายใดได้นั้น เราต้องมีเครื่องมือ

ดังนั้น ในมุมมองของข้าพเจ้า ความสำคัญยิ่งของศาสนาทุกศาสนาก็คือ การช่วยให้สังคมมนุษย์ได้รู้และเข้าใจว่า เป้าหมายและแก่นสารของชีวิตคืออะไร และแก่นสารของชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่ไม่จำต้องมีใครมากำหนดหรือบีบบังคับ เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว มนุษย์เราเพียงแต่ต้องตระหนักถึงมันเท่านั้น อีกนัยหนึ่งก็คือ เป้าหมายของชีวิตนั้นไม่ใช่สิ่งที่ต้องสร้างขึ้นมา หากเป็นเพียงสิ่งที่ต้องถูกเปิดเผยออกมาเท่านั้นเอง จารีตประเพณีของศาสนาคริสเตียน - ยิวแต่ครั้งเก่าก่อน ก็ได้วางแนวทางไว้ในลักษณะนี้เช่นกัน

ข้าพเจ้าเชื่อว่า เป้าหมายสูงสุดของเราแต่ละคนนั้น เป็นเรื่องของการรับใช้ผู้อื่น มากกว่าการบีบบังคับผู้อื่นให้กระทำในสิ่งที่เราต้องการ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นต่อไปว่า หน้าที่หลักของสถานศึกษานั้นคือการปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ให้เข้าไป อยู่ในสายเลือดของเด็ก ๆ ให้พวกเขาได้เข้าใจว่า เป้าหมายของชีวิตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่ต่างจากอากาศที่เราสูดเข้าไปอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

หากว่า ความจริงเกี่ยวกับเป้าหมายของชีวิตนี้ได้รับการยอมรับโดยทั่วกัน เราก็คงตองยอมรับต่อไปเช่นกันว่า อารยธรรมของมวลมนุษย์ในขณะนี้กำลังตกอยู่ในอันตรายที่ใหญ่หลวง ประการหนึ่งก็เพราะประเทศที่เป็นอำนาจนิยมกำลังทำลายจิตวิญญาณของมนุษยชาติ ด้วยความคลั่งชาติ ด้วยภาวะที่ไร้ขันติธรรม และด้วยการข่มเหงผู้อื่นทางเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้กำลังทำลายล้างประเพณีที่ทรงคุณค่าของเราลงไป

ปัจจุบัน ข้าพเจ้าเห็นว่าคนเราได้ตระหนักถึงอันตรายเช่น นี้มากขึ้น ทั้งในระดับประเทศและในแวดวงนานาชาติ การจัดองค์กรและตรากฏหมายใหม่ ๆ ออกมาจะช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้ อย่่างไรก็ตาม ข้าพเจ้ายังเห็นว่า เครื่องมือหรือกลไกใดๆ ก็ตามที่ปราศจากจิตวิญญาณ เครื่องมือหรือกลไกนั้นย่อมไร้ซึ่งประสิทธิภาพ และถือว่าเป็นหน้าที่ที่เราทุกคนจะต้องเติมจิตวิญญาณลงไปในกลไกของมนุษยชาติ เพื่อเยียวยาปัญหาต่าง ๆ

เมื่อคุยกันในเรื่องวิทยาศาสตร์ เราพอจะเข้าใจขอบเขตของมันได้ไม่ยากนัก หลายคนคงพอรู้ว่า วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ตกทอดกันมาหลายร้อยปี เป็นศาสตร์ที่สอนให้เรารู้จักคิดอย่างเป็นระบบ หัดให้เรารู้จักนำปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเข้าสู่กระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และมีเหตุผลที่อธิบายได้ แต่หากว่าใครสักคนมาถามข้าพเจ้าว่ารู้หรือไม่ว่าศาสนาคืออะไร ข้าพเจ้ากลับหาคำตอบได้ไม่ง่ายนัก และไม้ว่าจะพอมีคำตอบที่ตนเองพอใจในระดังหนึ่ง ก็จะเป็นคำตอบที่พอใช้ได้ในชั่วขณะนั้นเท่านั้นเอง ศาสนาจึงเป็นเรื่องต้องคิดอย่างรอบคอบ

สิ่งแรกที่ควรถามนั้นอาจจะไม่ใช่คำถามที่ว่า ศาสนาคืออะไร? แต่น่าจะเป็นคำถามที่ว่า อะไรคือแรงดลใจให้คนใดคนหนึ่งหันมานับถือศาสนา? เท่าที่มองเห็น ผู้ที่นับถือศาสนานั้นคือผู้ที่ปลดปล่อยตนเองจากความเห็นแก่ตัว และมีความคิดที่ลึกซึ้ง เป็นผู้ที่ให้ความหมายแก่ชีวิต มองหาแก่นสารของชีวิต ชีวิตของผู้ที่นับถือศาสนา จึงย่อมมีชีวิตที่เป็นเหตุเป็นผล มีความชัดเจน มีสติ และรู้จัดคิดอย่างแท้จริง

ศาสนาจึงเป็นเรื่องของการแสวงหาคุณค่าและเป้าหมายของชีวิต อีกทั้งปรารถนาให้เป้าหมายหรือแก่นสารของชีวิตนั้นเกิดขึ้นจริงกับเหล่าผู้คน สิ่งนี้คือแนวทางของศาสนาที่เป็นมาแล้วนับร้อยปี ดังนั้น เมื่อเรานำศาสนากับวิทยาศาสตร์มาเปรียบเทียบกันก็สามารถสรุปได้ว่า วิทยาศาสตร์และศาสนานั้นไม่มีข้อขัดแย้งกันแต่อย่างใด

แต่ความแตกต่างระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์ก็มีอยู่ เพราะวิทยาศาสตร์นั้นสอนให้เรารู้ว่า สิ่งทีเป็นอยู่ (what is) นั้น มีอยู่หรือไม่ และสัมพันธ์์กับสิ่งอื่นอย่างไร แต่ไม่ได้บอกเราว่า สิ่งที่ควรเป็น (what should be) คืออะไร แต่สำหรับศาสนานั้น จะไม่พูดถึงความสัมพันธ์ของแต่ละสิ่งในฐานะที่เป็นข้อเท็จจริงเหมือนเช่นที่วิทยาศาสตร์สอน แต่ศาสนาจะสอนให้เราประเมินความคิดและการกระทำของมนุษย์

ดังนั้น ความคิดหรือความเชื่อที่ว่าวิทยาศาสตร์และศาสนานั้น เป็นสองสิ่งที่ขัดแย้งกันตลอดเวลา และไม่มีที่จะประสานเข้าด้วยกันได้ จึงเป็นการตีความหมายที่ผิดพลาด

ในอดีต ความขัดแย้งระหว่างวิทยาศาสตร์และศาสนาได้สร้างความน่าหดหู่มาแล้วหลายครา ตัวอย่างเช่น หากมีชุมชนใดสักแห่งที่เคร่งศาสนาอย่างแรงกล้าออกมายืนยันว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่บัญญัติไว้ในคัมภีร์ไบเบิลนั้นเป็นสิ่งที่เป็นจริงทั้งหมด เมื่อนั้นก็อาจพิจารณาได้ว่า ศาสนาได้ก้าวล้ำเข้าไปในขอบเขตของวิทยาศาสตร์ และสร้างความขัดแย้งระหว่าง ความเชื่อทางศาสนากับวิทยาศาสตร์เหมือนเช่นที่ กาลิเลโอ และดาร์วินเคยประสบมาก่อน

แต่ในทางตรงกันข้าม ในหลายกรณีวิทยาศาสตร์ได้กลับเป็นฝ่ายล้ำเส้นของศาสนา เช่นการพยายามเข้าไปกำหนดหรือตัดสินว่า คุณค่าพื้นฐานของมนุษย์นั้นคืออะไร เป็นอย่างไร หรือมีอยู่หรือไม่ เมื่อเกิดความล้ำเส้นเช่นนี้ ก็เท่ากับทำให้ฐานะของวิทยาศาสตร์ตรงกันข้ามกับศาสนาไปโดยทันที และความขัดแย้งเช่นนี้ก็นำมาซึ่งความหดหู่อย่างที่ข้าพเจ้าเอ่ยมาแล้ว

ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงมองว่า ทั้งศาสนาและวิทยาศาสตร์นั้น ต่างก็มีเส้นขอบของตนเองและอย่างชัดเจน แต่กระนั้น ศาสตร์ทั้งสองนี้ต่างก็เชื่อมเข้าหากันอย่างดีในหลายแง่มุม และขณะเดียวกันก็กลับมามีความเป็นเอกเทศจากกันในบางแง่มุม ตัวอย่าง คืออะไร แต่ศาสนาก็ต้องเรียนรู้จากวิทยาศาสตร์ด้วย นั่นคือ ศาสนาต้องหาเครื่องมือหรือวิธีการเพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายที่ต้องการได้ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ไม่ต่างไปจากวิทยาศาสตร์ ขณะเดียวกัน วิทยาศาสตร์ก็เวียนว่ายอยู่กับการค้นหาความจริง และความเข้าใจที่ถ่องแท้ในสรรพสิ่ง ซึ่งการค้นหาเช่นว่านี้จะสำเร็จไปไม่ได้ หากผู้นั้นไม่มีศรัทธาของการค้นคว้า ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงยังไม่่เคยพบมาก่อนเลยว่า นักวิทยาศาสต์ที่แท้จริงนั้นเป็นผู้ที่ขาดศรัทธาหรือความเชื่อมั่น ดังนั้น เราจึงอาจเปรียบเปรยได้ว่า วิทยาศาสตร์ทีปราศจากศาสนาย่อมง่อยเปลี้ย และศาสนาที่ปราศจากวิทยาศาสตร์ย่อมมีดบอด

แม้ว่าข้าพเจ้าจะมีความเห็นว่า โดยแท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์และศาสนานั้นไม่มีข้อขัดแย้งระหว่างกัน แต่ข้าพเจ้าก็จำต้องย้ำให้เห็นถึงสาระของศาสนาเมื่อแรกกำเนิดด้วยว่า ลักษณะสำคัญของศาสนาเมื่อแรกเริ่มนั้นก็ด้วยจินตนาการของมนุษย์เท่านั้นเอง อีกทั้งมนุษย์ในอดีตอีีกเช่นกันที่เป็นผู้เลือกสร้างอำนาจให้แก่พระเจ้าแต่ละองค์ตามอำเภอใจของตนเอง ด้วยการบูชาและบวงสรวง ดังนั้น ความคิดของพวกเราในปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับพระเจ้านั้นจึงเป็นมรดกทางความคิดอันเก่าแก่ในอดีต สิ่งตกทอดที่เราเห็็นกันได้ชัดก็คือ ความรู้สึกที่ว่าพระเจ้านั้นมีรูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์ และเราสามารถสวดมนต์ อ้อนวอน ขอสิ่งที่เราปราถนาจากพระเจ้าได้ เป็นที่แน่นอนว่าไม่มีผู้ใดจะคัดค้านว่าพระเจ้าของมนุษย์ซึ่งทรงไว้ซึ่งมหิทธานุภาพ และความเป็นธรรมนั้น ความคิดเช่นนี้ก็ได้ประโลม และเป็นเสมือนแสงนำทางให้แก่มนุษย์ แต่ความคิดเช่นนีี้ก็ได้แทรกความอ่อนแอที่สร้างความเจ็บปวดไว้ตั้งแต่แรกเริ่มของประวัติศาสตร์เช่นกัน นั่นคือ หากมนุษย์คิดและเชื่อว่าการกระทำทุกอย่างของตน ความคิดอ่าน ความรู้สึก ตลอดจนความปรารถนาในสิ่งใด ๆ ของมนุษย์เป็นเพราะพระเจ้าพึงประสงค์เช่นนั้นแล้ว ถ้าเช่นนั้น เหตุใดมนุษย์จึงคิดว่าตนต้องรับผิดชอบต่อความคิดและการกระทำของตนเอง? ทำไมจึงไม่คิดว่าสิ่งนั้น ๆ ต้องเป็นความรับผิดชอบของพระเจ้าเสียเอง? และในการที่พระเจ้าประทานรางวัลหรือลงโทษมนุษย์นั้น จะมิได้หมายความว่าพระเจ้าได้พิจารณาการกระทำของพระองค์เอง และตัดสินว่าสิ่งที่ได้ทำลงไปนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือผิดพลาดหรือ? (จึงจำต้องได้รับรางวัลตอบแทน หรือการลงโทษแล้วแต่กรณี)

ดังนั้น หากมองให้แคบลงก็อาจกล่าวได้ว่า ความขัดแย้งระหว่างวิทยาศาสตร์กับศาสนานั้นอยู่ในเรื่องของพระเจ้าเป็นหลัก วิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายเพื่อการค้นหาความจริงว่า เหตุการณ์กับวัตถุนั้นมีส่วนสัมพันธ์กันอย่างไร ทั้งในแง่ของเวลาและสถานที่ (time & space) ส่วนศาสนานี้นมุ่งเน้นที่การปลดปล่อยมนุษย์ให้รอดพ้นจากกิเลสและความกลัว ซึ่งโดยนัยนี้แล้ว วิทยาศาสตร์สามารถเข้ามาเสริมศาสนาให้บรรลุเป้าหมายได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ไม่ใช่ด้วยการทำให้ความเชื่อในพระเจ้ากลายเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์์ผุดผ่อง แต่ด้วยการทำให้ศาสนานี้นมีจิตวิญญาณที่แท้จริง นั่นคือด้วยการสร้างความเข้าใจในหมู่ชนให้ถูกต้องยิ่งขึ้น

อีกนัยหนึ่งก็คือ เส้นทางสู้ความเป็นศาสนิกชนที่แท้จริงนั้น ไม่ใช่เส้นทางที่เต็มไปด้วยความกลัว ความตาย หรือศรัทธา ที่มืดบอด หากแต่เป็นเส้นทางที่ต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความรอบรู้เป็นเหตุเป็นผล ซึ่งเป็นจุดหมายเดียวกับวิทยาศาสตร์นั่นเอง

ขอบคุณบทความจาก
http://my.dek-d.com/dek-d/story/viewlongc.php?id=253304&chapter=59
http://my.dek-d.com/dek-d/story/viewlongc.php?id=253304&chapter=60

7 ความคิดเห็น:

  1. จาก http://www.ipst.ac.th/ThaiVersion/publications/in_sci/religion_sci.html

    วิทยาศาสตร์กับศาสนา

    ถึงแม้ว่าในอดีต ศาสนาจะต่อต้านวิทยาศาสตร์มาก ดังจะเห็นได้จากการพิพากษาจำคุก Galileo เมื่อเขาเชื่อว่าโลกมิได้อยู่นิ่ง แต่เคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์ แต่เหตุการณ์ในทุกวันนี้ได้แสดงให้เห็นว่า วิทยาศาสตร์และศาสนาเป็นมิตรกันมากขึ้น เช่นเมื่อ องค์สันตะปาปา John Paul ที่2 ได้ประกาศอภัยโทษให้ Galileo และได้ยอมรับว่าทฤษฎีวิวัฒนาการของ Charles Darwin เป็นทฤษฎีที่ควรค่าแก่การฟังมากทฤษฎีหนึ่ง

    ส่วนทางด้านวิทยาศาสตร์นั้นเล่า สถาบัน National Academy of Science และสมาคม American Association for the Advancement of Science ก็ได้มีโครงการสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์หลายโครงการ ทั้งมหาวิทยาลัย Cambridge ของอังกฤษและมหาวิทยาลัย Princeton ของสหรัฐก็ได้มีการจัดตั้งตำแหน่งศาสตราจารย์ ผู้มีหน้าที่ผสมผสานความคิดของศาสนากับวิทยาศาสตร์ให้กลมกลืนกัน และแม้แต่นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงระดับรางวัลโนเบล เช่น Charles Townes ก็ได้ออกมาพูดถึงความเชื่อทางศาสนาของเขาทั้งในหนังสือที่เขาเขียน และในโทรทัศน์ เป็นต้น ส่วน Stephen Hawking นักฟิสิกส์อัจฉริยะผู้ค้นคว้าเรื่องหลุมดำ ก็ได้เคยพูดว่า การศึกษากำเนิดของจักรวาลจะทำให้มนุษย์รู้และเข้าใจพระทัย ของพระเจ้าและในการสำรวจความคิดเห็นของ นักวิทยาศาสตร์อเมริกันต่อความเชื่อในพระเจ้า เมื่อ 4 ปีก่อนนี้ ก็ได้ผลสรุปว่า นักฟิสิกส์และนักชีววิทยา 40% เชื่อในพระเจ้ามาก

    ณ วันนี้ การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์กำลังรุดหน้าไปทุกขณะ เช่น ได้มีการพบวิธีโคลนนิ่ง GMO และการรู้รหัสพันธุกรรม (genome) ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้มีผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ ชีวิตและจริยธรรม การสนทนาแลกเปลี่ยน ความคิดและแนวปฏิบัติระหว่างวิทยาศาสตร์และศาสนา ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องทำมาก ดังนั้น ในทุกวันนี้จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าประหลาดใจ ที่แม้แต่องค์สันตะปาปาก็ทรงต้องการรู้แนวคิดของวิทยาศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ก็มีความจำเป็นต้องรับทราบแนวคิดของ ศาสนาเช่นกัน

    Pontifical Academy of Science คือสภาวิทยาศาสตร์แห่งองค์พระสันตะปาปา ที่สันตะปาปา Pius ที่ 11 ได้โปรดให้ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2479 เพื่อถวายคำแนะนำแด่องค์สันตะปาปา ในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาและคำตอบสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดจาก ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

    สมาชิกตลอดชีพของสถาบันนี้มีทั้งสิ้น 80 คน และต่างก็เป็นบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงทั่วโลก ปัจจุบันมีสมาชิก 25 คน ที่เคยได้รับรางวัลโนเบลเช่น Carlo Rubbia สาขาฟิสิกส์ David Baltimore และ Joseph Murray สาขาแพทย์ เป็นต้น ส่วนนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ เช่น Stephen Hawking นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษและ C.N. Rao นักเคมีชาวอินเดีย ก็เป็นสมาชิกของสถาบันนี้เช่นกัน

    ในทุกปีสมาชิกจะเดินทางมาประชุมกันที่ Casina Pio Quattro ในกรุงวาติกัน เพื่อแสดงปาฐกถาและรับฟังเรื่องสถานภาพ ด้านวิทยาศาสตร์ของโลก และเมื่อสิ้นสุดการประชุม ที่ประชุมก็จะทำรายงานถวายองค์สันตะปาปาเพื่อทรงทราบ พร้อมกับถวาย ข้อเสนอแนะที่จะให้สันตะปาปาทรงสามารถช่วยชาวโลกให้อยู่เย็นเป็นสุขมากขึ้น

    ดังนั้นในการประชุมทุกครั้ง สมาชิกทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และองค์สันตะปาปาก็จะทรงได้รับ ข่าวล่าสุดและถูกต้องที่สุดจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ระดับเซียน ไม่ว่าจะเป็นด้านดาราศาสตร์ จักรวาลวิทยา พันธุศาสตร์หรือ หัวข้ออะไรก็ตามที่คริสต์ศาสนิกชนสนใจเป็นพิเศษทันที และเมื่อองค์สันตะปาปาทรงใช้วิจารณญาณกลั่นกรองข้อมูลเหล่านั้นแล้ว ถ่ายทอดพระดำริของพระองค์สู่ประชาชน คริสต์ศาสนิกชนก็ดีจะยอมรับหรือต่อต้านเทคโนโลยีด้านนั้นๆ ก็ได้

    เมื่อ 3 ปีก่อนนี้ ที่ประชุมของสถาบันได้ประชุมเรื่องด่วน เช่น สภาพแวดล้อมของโลก ปัญหา GMO การวิจัยด้านประสาทวิทยา การให้ทารกดื่มนมมารดา กำเนิดของสิ่งมีชีวิตบนโลก โคลนนิ่งและกำเนิดของกาแล็กซี เป็นต้น การมีสมาชิกของที่ประชุมเพียง 80 คน ทำให้การประชุมกระชับ ไม่เยิ่นเย้อ และการตัดสินใจสรุปผลใช้เวลาไม่นานและในการประชุมของสถาบันเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2543 ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยนักฟิสิกส์ นักชีววิทยา นักเทววิทยา และนักบวช ได้ฟังเรื่องชีววิทยาของสมองพระเจ้ามีจริงหรือไม่ วิวัฒนาการของจักรวาล บทบาทและอิทธิพลของคริสต์ศาสนาต่อการค้นพบกฎต่างๆ ของ Newton และ ภัยพิบัติอันเกิดจากธรรมชาติ เป็นต้น โดยผู้พูดอาจจะพูดเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส หรืออิตาเลียนก็ได้

    ถึงแม้การรับฟังเรื่องราวต่างๆ จะเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่สิ่งที่ประชุมสนใจพูดมากคือ นโยบายที่จะเสนอให้องค์สันตะปาปาทรงทำ
    เช่นเมื่อ 20 ปีก่อน ที่โลกรู้สึกตื่นเต้นกับการพบเทคนิคพันธุวิศวกรรมใหม่ๆ และที่ประชุมคิดว่า คริสต์ศาสนาคงไม่ขัดข้อง ที่จะมีการวิจัยด้านนี้ และเมื่อองค์สันตะปาปาทรงเห็นด้วย กระแสต่อต้านจากสังคมก็ได้ลดลงมาก ความเห็นเกี่ยวกับ DNA มิได้เป็น หัวข้อเดียวที่ที่ประชุมเสนอต่อสันตะปาปา ความเห็นเรื่องอื่นๆ เช่น อาวุธนิวเคลียร์ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในกรณีสงครามนิวเคลียร์ ระเบิด ก็ได้ช่วยให้สันตะปาปาทรงเข้าใจเรื่องเหล่านี้ดีขึ้น ดังนั้น เมื่อสันตะปาปาทรงแสดงสุนทรพจน์ในที่ประชุมขององค์การ สหประชาชาติว่า ศาสนาไม่เห็นด้วยกับการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ในการทำสงคราม กระแสต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์จึงยังคงมีอยู่จนทุกวันนี้

    เมื่อ 10 ปีก่อน ที่ประชุมได้เสนอให้สันตะปาปาทรงอภัยโทษ Galileo ซึ่งท่านก็ทรงทำ ทั้งๆ ที่เหตุการณ์อภัยโทษเกิดช้าไป 369 ปี แต่ก็ยังดีกว่าที่สันตะปาปาไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย

    และเมื่อการคุมกำเนิดเป็นปัญหาที่วิทยาศาสตร์และศาสนามีความเห็นแตกต่างกัน ดังนั้น ที่ประชุมก็ไม่พูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็ได้พูดถึง ปัญหาประชากรล้นโลก ซึ่งองค์สันตะปาปาก็ได้ทรงยอมรับว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของโลก

    ในที่ประชุมเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ที่ประชุมได้พูดถึงการใช้เทคโนโลยี GMO อย่างรับผิดชอบด้วย ซึ่งองค์สันตะปาปา ก็ได้ทรงแถลงว่า ในการประเมินคุณค่าของเทคโนโลยี เราต้องคำนึงถึงผลบวกและลบทางเศรษฐกิจและจริยธรรมด้วย เพื่อไม่ให้เกิด อันตรายต่อสุขภาพของพลโลกในอนาคต และนั่นก็หมายความว่า องค์สันตะปาปาทรงเห็นชอบที่มีการค้นคว้าวิจัยด้าน GMO อย่างมีสติรอบคอบ

    และเมื่อการประชุมสิ้นสุด บาทหลวง Poupard ก็ได้กล่าวแถลงสรุปว่า วิทยาศาสตร์และศาสนาจะต้องมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพราะถ้าเราเข้าใจธรรมชาติ เราก็จะเข้าใจพระเจ้า

    ดังนั้น การที่คนบางคนคิดว่า โลกวิทยาศาสตร์กับโลกศาสนาเป็นโลกที่ขนานกัน อย่างที่ถ้านำมาอยู่ด้วยกัน จะทำให้ทั้งสองโลก ทำงานไม่ได้

    ความคิดเช่นนี้ไม่จริง และไม่ถูกต้อง

    เพราะ pontifical Academy of Science ได้พิสูจน์แล้วว่า โลกทั้งสองโลกสามารถทำให้โลกมนุษย์ดีขึ้นได้




    เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2544 Gunnar Staalseth บาทหลวงชาวนอร์เวย์ ผู้เป็นกรรมการคนหนึ่งในคณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ได้กล่าวว่า สันตะปาปา John Paul ที่ 2 มีโอกาสน้อยมากที่จะพิชิตรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปีนี้ เพราะพระองค์ทรงไม่เห็นด้วยกับการใช้ถุงยางอนามัยในการต่อสู้มหันตภัยเอดส์ ทั้งๆ ที่
    ณ วันนี้ทั่วโลกมีคนติดเชื้อ HIV ถึง 36 ล้านคนแล้ว ซึ่งเป็นการผิดศีลธรรม

    ดังนั้น เราจึงเห็นได้ว่า ถึงแม้องค์สันตะปาปาจะได้รับคำถวายเช่นไร หรือมากเพียงใด จากนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่อง "มีชัย" พระองค์ก็ทรงมีความเชื่อมั่นในคำสอนของ คริสต์ศาสนาที่ว่า การคุมกำเนิดทุกรูปแบบผิดศีลธรรมอยู่นั่นเอง


    ภาพจาก : http://www.catholic.net/RCC/POPE/Pope.html

    ดังนั้น การประกาศชื่อของผู้พิชิตรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในเดือนตุลาคม พ.ศ.2544 จะทำให้เราเข้าใจเหตุผลในการ ตัดสินใจของคณะกรรมการรางวัลโนเบลว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับพระดำริของพระองค์ในเรื่องชีวิต และความตายของมนุษย์ ด้วยเอดส์

    ตอบลบ
  2. .................................
    ในการค้นคว้าวิจัยของเรา
    ได้พบหลักฐานสำคัญจากจารึกโบราณโดยพระอรหันต์
    แห่งประเทศศรีลังกา นามว่า พระมหาวามสุ ( Maha Vamasu )
    ได้บันทึกไว้ว่า “.....ได้ให้การต้อนรับ
    พระอรหันต์จากเมืองอะเล็กซานเดรีย
    นครหลวงแห่งยาวานา ( Yavana )
    มีจำนวน ๓๐,๐๐๐ รูป ซึ่งได้เดินทางมาเพื่อ
    ร่วมเฉลิมฉลองในพิธีรูวันเวลีซายา ( Ruwan Veli Saya )….”
    ...................................
    .........................
    พิธีรูวันเวลีซายา ( Ruwan Veli Saya )
    นี้ได้ถูกจัดขึ้น ณ เกาะประเทศศรีลังกา เมื่อ ๑๖๐ ปี
    ก่อนเยซูศาสดาของชาวคริสต์จะกำเนิดขึ้นมาดูโลก
    และเมืองอะเล็กซานเดรียเป็นเมืองหลวงของประเทศอียิปต์ในขณะนั้น
    ต่อมาคณะโบราณคดีได้ขุดค้นพบหลักฐานสำคัญ
    ทางประวัติศาสตร์และศาสนศาสตร์ที่ยืนยันความเจริญรุ่งเรือง
    ของพระพุทธศาสนามีอยู่จริงในเมืองอะเล็กซานเดรีย
    ดินแดนอียิปต์ คือพุทธสถานและแท่งหินแกะสลัก
    เป็นรูปพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
    ซึ่งต่อมาได้ถูกทำลายเสียหายชำรุดไปอย่างน่าเสียดาย
    โดยนักบวชโรมันคาทอลิก
    .......................

    คณะวิจัยค้นคว้าได้พบที่มาของการเรียกชื่อ
    ของราชโอรสแห่งกษัตริย์ศรีอินเดีย
    ซึ่งเรียกว่า โจอาซาฟ ( Joasapht ) นั้น
    ได้มีการเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ คัมพัตตะมะ ( Gambatama )”
    และความหมายของคำว่า “คัมพัตตะมะ”
    นี้ได้ไปปรากฏอยู่ในหนังสือโบราณ “ฟราวาดิน ( Fravardin Yast)”
    ซึ่งได้เขียนไว้เป็นภาษาปาร์ซี ให้คำอธิบายความหมายในบทที่ ๑๖
    ว่า “คำว่าคัมพัตตะมะ ( Gambatam )
    ในภาษาปาร์ซีนั้น จะมีความหมายเท่ากับคำว่า
    “ ก๊อดตะมะ ( Godtama)” สามารถใช้เรียกสั้น ๆ
    ได้โดยคำว่า “ก๊อด ( GOD )” ว่า
    “...หากผู้ใดประสงค์จะเห็นพระราชาที่มีอำนาจสูงสุด
    ก็จงดูกษัตริย์ที่ครองด้วยเครื่องอาภรณ์ของนักบวชผู้ที่ชนทั่วไปเรียกว่า
    “ก๊อด ( God)” ในบรรดามนุษย์ทั้งหลาย พระองค์เป็นผู้ที่บริสุทธิ์สะอาดในคุณธรรมทั้งปวง...”
    .............................
    ............................
    ข้อความในม้วนปาปิรุสดังกล่าวสนับสนุนแสดง
    ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ต่อเนื่องเชื่อมโยงของข่าวสาร
    ระหว่างดินแดนในประเทศอินเดีย กับประเทศอียิปต์
    ได้อย่างชัดเจน จึงเป็นเครื่องหมายยืนยันที่มาของคำว่า
    “ก๊อด ( God)” ได้ถูกใช้มาก่อนที่เยซูจะถือกำเนิดกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว
    ..............................

    ดร.โกลด์ สิฮาร์ ( Dr. Gold Sihar)
    แห่งบูดาเปสท์ ได้ศึกษาม้วนปาปิรุส
    และหลักฐานประกอบต่าง ๆ ได้ยืนยันว่า
    “ตามข้อความในมัวนปาปิรุสที่อ้างถึงพระราชาซึ่งเรียกว่า
    ก๊อด ( God ) นั้นเป็นคำเรียกซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า
    “โคตะมะ” เมื่อออกเสียงสั้น ๆ
    โดยสำเนียงท้องถิ่นจึงกลายมาเป็นคำว่า
    “ก๊อด ( God )” ซึ่งในยุคก่อนคริสตกาล
    ภาษาอียิปต์กับภาษาซีเรียนั้น เป็นภาษาที่มีรากภาษาเดียวกัน
    ทั้งยังเป็นภาษาที่ใช้อย่างกว้างขวางเนื่องจากอิทธิพลทางการเมือง
    และการทหาร และการค้า
    การถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ
    จึงสามารถต่อเนื่องเชื่อมโยงถึงกันได้เป็นปกติ
    ........................................
    ........................................
    ดร.โกลด์ สิฮาร์ ยังได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีว่า
    ศาสนาพุทธได้เข้าไปเผยแพร่และเจริญอยู่ในเกาะอังกฤษอีกด้วย
    ซึ่งเป็นสมัยก่อนที่จะมีคริสต์ศาสนา

    .............................

    ในกรณีพระพุทธศาสนาได้เข้าไปเจริญรุ่งเรืองอยู่บนเกาะอังกฤษ
    ก่อนที่คริสต์ศาสนาจะเผยแพร่เข้าไปถึงนั้น
    คณะวิจัยได้ค้นพบมีเอกสารหลักฐานยืนยันโดยบาทหลวงคริสเตียน
    ในสมัยการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ยุคแรกเริ่ม
    เอกสารบันทึกนั้นเป็นของออริเก้น แห่งอะเล็กซานเดรีย
    เขาได้บันทึกยืนยัน ไว้ด้วยตนเองในเอกสารของเขาว่า
    “ศาสนาพุทธได้เจริญเป็นอย่างมาก
    ได้ตั้งศาสนสถาน และมีเหล่าพระสงฆ์สามเณรจำนวนมาก
    รวมทั้งสถานศึกษาทางพุทธศาสนา ตั้งอยู่ทั่วไปบนเกาะอังกฤษ
    ก่อนที่ศาสนาคริสต์จะแผ่ไปถึง”

    ตอบลบ
  3. ........................
    และยิ่งปราศจากข้อสงสัยใด ๆ
    เพราะเราได้รับการยินยันจากหลักฐานโดยการค้นคว้า
    ของ ดี.เอ.แมคเคนซี่ ( D.A.Mackenzie)
    ในเอกสารงานวิจัยของเขาชื่อ
    “พระพุทธศาสนาบนเกาะอังกฤษก่อนคริสต์ศาสนา
    ( Buhddhism existed im pre Christian England)”
    พยานหลักฐานทางโบราณคดีซึ่งปรากฏบนเกาะอังกฤษ
    ซึ่งหมายถึงหินแกะสลักเป็นพระสงฆ์สามเณร
    หินสลักเป็นอักษรบรรยายพระสูตรในพุทธศาสนา
    เอกสารโบราณมากมายได้ถูกนำมาเผยแพร่และพิสูจน์
    ได้ทางวิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์วา
    “ศาสนาพุทธได้เจริญอย่างกล้าแข็งบนเกาะ
    อังกฤษก่อนที่อังกฤษจะรู้เรื่องคริสต์ศาสนา”
    .................................
    ...............................
    ในการประชุมคณะกรรมการประวัติศาสตร์โลก
    ซึ่งจัดขึ้นในปี ค.ศ.๑๙๒๖ ที่เมืองลานาว ( Laknow)
    ได้ปรากฏเหตุการณ์สำคัญในการประชุมนี้ที่ชาวโลกควร
    ได้รับรู้ก็คือ โปรเฟสเซอร์เมสรอฟบ์ ที.เซ๊ช ( Pro. Mesrovb T. Seth )
    ได้นำเสนองานวิจัยค้นคว้าของท่านต่อ
    คณะกรรมการบันทึกประวัติศาสตร์โลก
    ( Historical Record Commission )
    เนื้อหางานวิจัยของท่านส่วนหนึ่งดังนี้

    “....หนังสือประวัติศาสตร์เรื่อง ทารอน ( Taron )
    โดยผู้แต่งชื่อ เซนอบ ( Zenob) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในยุคต้น ๆ
    ของคริสเตียนอาร์มาเนีย ได้กล่าวว่า
    ในช่วงกลางศตวรรษที่สองก่อนคริสต์ศักราช
    มีศาสนาพุทธเข้ามาตั้งอยู่อย่างมั่นคงในอามาเนียร์
    ที่มีชาวพราหมณ์อาศัยอยู่ก่อนแล้ว ๔๕๐ ปี
    พวกเขาเหล่านี้ได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ
    และพวกชาวพุทธเหล่านี้ได้สร้างเมือง หมู่บ้าน
    วัดวาอารามหลายแห่งต่อมาพวกคริสเตียน
    ได้ทำลายวัดวาอารามของพวกเขา
    และเข่นฆ่าพวกพระทั้งหลาย

    .................

    ข้าพเจ้าได้รู้เห็นเป็นพยานด้วยตัวข้าพเจ้าเองต่อการทำลายเหล่านี้
    และจากความโหดร้ายที่ได้รับ
    ทำให้ชาวพุทธเหล่านี้จำเป็นต้องเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์
    แล้วผสมผสานกับชาวอาร์มาเนียน
    จากนั้นจึงได้กลายเป็นชนชาติหนึ่ง

    .....................
    มีหลักฐานมากมายที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า
    เอเชียตะวันตกและยุโรปมีชาวพุทธและศาสนาพุทธ
    มันเป็นที่แน่ชัดว่าxxxของพวกคริสเตียนทั้งหลาย
    ก็คือการกระหายเลือด ต้องการบดขยี้ทำลายศาสนาอื่น ๆ
    ..................................

    รวมทั้งผู้ที่นับถือศาสนาเหล่านั้นด้วย
    .......................
    และมันก็คือพวกคริสเตียนนี่แหละที่
    เป็นผู้เผาทำลายห้องสมุดอะเล็กซานเดรียที่รวมของ
    สรรพวิชาอันยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกให้หายไปในกองเพลิง
    แน่นอนที่สุด
    ......
    ต้องมีคัมภีร์ต่าง ๆ ของพุทธศาสนาอยู่ที่นั่นอย่างมากมาย
    และขณะที่เวลาได้ล่วงเลยไป พวกคริสเตียนจึงได้ฉวยโอกาส
    รวบเอาพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นศาสดาของพุทธศาสนา
    มานับรวมอยู่ในแถวรายชื่อของนักบุญ
    ผู้สอนศาสนาคริสต์เสียเลยด้วยความเห็นแก่ตัว
    และโง่เขลาเป็นอย่างยิ่ง...”

    ........................
    มันไม่มีทางหรือวิธีการใด ๆ
    ที่คริสต์ศาสนาจะสามารถบิดเบือนความจริง
    หรือสร้างประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่ เพื่อที่จะพิสูจน์ได้เลยว่า
    “พระพุทธเจ้าซึ่งเกิดก่อนพระเยซูถึง ๖ ศตวรรษนั้นเป็นคริสเตียน”

    ........................
    แต่เรา ( คณะผู้ค้นคว้าวิจัย.....ผู้เรียบเรียง)
    สามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และ
    โบราณคดีของทุกชาติล้วนตรงกันว่า เยซูคริสต์
    ลืมตามีชีวิตขึ้นมาดูโลกหลังจากพระพุทธเจ้าศาสดา
    ของพระพุทธศาสนานิพพานไปแล้วถึง ๕๔๓ ปี
    หากนับรวมอายุของพระพุทธเจ้าเข้าไปด้วยแล้ว เยซูคริสต์
    จะเกิดหลังพระพุทธเจ้าเกินกว่า ๖ ศตวรรษ
    ( พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ ๘๐+ ๕๔๓ = ๖๒๓ ปี....ผู้เรียบเรียง)
    และสามารถพิสูจน์ได้ว่าเยซูคริสต์
    นั้นเป็นเพียงลูกศิษย์ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
    ไม่ได้ร่ำเรียนความรู้ของ “พระเจ้า”
    ตามที่ได้กล่าวอ้างโดยชาวคริสต์ไว้ในคัมภีร์ไบเบิล

    ตอบลบ
  4. ...................................
    ........................
    ข้อพิสูจน์ของเรา ( คณะผู้ค้นคว้าวิจัย...ผู้เรียบเรียง )
    จากการที่ได้พบหลักฐานของ Dr. E.Maknob
    ปรากฏในผลงานวิจัยชื่อ “ชีวประวัติที่ไม่มีใครรู้ของพระคริสต์
    ( The Unknown Life of Christ )”
    งานวิจัยดังกล่าวนี้ได้แปลออกมาจากเอกสารหลักฐาน
    โบราณที่ค้นพบที่วัดเฮมิส ( Hemis Monastery )
    ซึ่งเป็นวัดโบราณในธิเบต ที่มาของหลักฐานของ
    Dr. Maknob นี้ได้มาด้วยความยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง
    เพราะมีความพยายามที่จะทำลายความเชื่อถือ
    ของหลักฐานชิ้นสำคัญโดย บาทหลวงคริสต์โรมันคาทอลิกผู้หนึ่ง
    ซึ่งได้พยายามปั้นเรื่องเท็จ โดยกล่าวว่า
    “เขาได้เดินทางไปที่วัดในธิเบต ซึ่ง Dr. Maknob
    ได้เป็นผู้นำหลักฐานจากที่วัดนี้มาเปิดเผยนั้น
    พร้อมกับได้ถามหาเอกสารหลักฐานโบราณดังกล่าว
    แต่ได้รับการปฎิเสธจากพระลามะเจ้าอาวาสวัดดังกล่าวว่า
    ไม่เคยพบและไม่เคยรู้เรื่องเกี่ยวกับเอกสารหลักฐาน
    ดังกล่าวว่าเคยมีอยู่หรือเป็นสมบัติของวัดนี้มาก่อนเลย”
    ....................

    แต่ในที่สุดความเท็จดังกล่าวของบาทหลวงโรมันคาทอลิก
    ก็ได้ถูกเปิดเผยขึ้นโดยโปรเฟสเซอร์ นิคเล่อร์ส โรห์ลิค
    ( Pro. Nichlors Roehrick )
    ก็ได้เดินทางไปยังวัดเฮมิส ( Hemis Monastery )
    ตามที่ Dr. Maknob อ้างถึงและใช้ชีวิตอยู่ในวันนั้นหลายปี
    ใช้ความพยายามสุดความสามารถจนกระทั่ง
    ได้เอกสารหลักฐานตัวจริงตามที่ หลักฐานดังกล่าว
    ได้เขียนลงบนเอกสารกระดาษสาซึ่งมีอายุกว่า
    ๑,๕๐๐ ปี ซึ่งได้ถูกเขียนไว้เป็นภาษาธิเบต
    ข้อความที่ปรากฏในเอกสารหลักฐานนั้นล้วนแล้วแต่
    เป็นเรื่องราวของ “เยซู” ศาสดาของชาวคริสต์
    ซึ่งในภาษาธิเบตเรียกว่า “อิสซา ( Issa )”
    เนื้อหาทั้งสิ้นนั้นได้รับการจารึก
    โดยละเอียดนับตั้งแต่เด็กจนกระทั่งเยซูตาย
    .....................

    โปรเฟสเซอร์ นิคเล่อร์ส โรห์ลิค
    ( Pro. Nichlors Roehrick ) จึงนำเรื่องราวในเอกสาร
    โบราณดังกล่าวมาเปิดเผยต่อชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง
    โดยปรากฏเป็นการค้นคว้าวิจัย ดังนี้
    “......อิสซา ( Issa ) หรือ เยซู
    ในวัยเด็กได้เดินทางไปอินเดียกับกองคาราวาน
    พ่อค้าพร้อมกับบิดามารดาของตน บิดาของ
    อิสซาหรือเยซู มีอาชีพทำการค้าระหว่างซีเรียกับอินเดีย
    บิดาได้ฝากให้อาศัยอยู่กับพระสงฆ์ในพุทธศาสนา
    ในฐานะเป็นศิษย์และได้กลับไปบ้านเกิดเมืองนอน
    ในปาเลสไตน์เมื่อมีอายุได้ ๒๙ ปี
    ..................

    ณ เวลานั้น นาลันทา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการ
    ศึกษาของพระพุทธศาสนา กำลังมีชื่อเสียงโด่งดังเป็น
    ที่รู้จักไปทุกอาณาจักร ไม่มีข้อสงสัยใด ๆ เลย
    ว่าชายหนุ่มนาม เยซู ซึ่งเป็นบุคคลแห่งประวัติศาสตร์ผู้นี้
    จะไม่เข้าไปรับการศึกษาที่นั่น
    ..........................
    ..................
    มันสามารถพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีว่า
    การที่เยซูได้ศึกษาปฎิบัติจิตของชาวพุทธที่นั่นทำให้เยซู
    ได้เดินทางขึ้นสู่ธิเบตและได้เข้าวัดเพื่อฝึกหัดญานและ
    อิทธิ ( Dhyana & Iddhi ) แม้แต่ในคัมภีร์ไบเบิลเอง
    ก็ไม่มีการบันทึกเรื่องราวตอนนี้ ขาดหายไปในช่วง
    ของเรื่องราวต่าง ๆ ของเยซูเกี่ยวกับสถานที่และ
    การงานของเขาได้กระทำในระหว่างวัยเด็กเล็ก
    จนถึงอายุ ๒๘ ปี ว่าเป็นอย่างไร
    ..................

    จากเอกสารงานวิจัยจากหลักฐานโบราณ
    ซึ่งนำเสนอต่อคณะกรรมการประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา
    ภายใต้ชื่อว่า “การประหารชีวิตบนไม้กางเขนโดยพยานเอก
    ( The story of Crucifiction by on Evew-ithness )”
    มีว่า “เยซู ไม่ได้เสียชีวิตบนไม้กางเขน
    พระองค์ดูคล้ายกับสลบไปก่อนที่เชือกที่เท้าของพระองค์จะถูกตัด
    เขาได้ถูกเคลื่อนย้ายออกจากไม้กางเขน และ
    เพราะความกลัวว่าพวกยิวทั้งหลายจะรู้และกลับมาฆ่า
    จึงได้หนีออกจากเมืองไปสู่แคว้นแคชเมียร์
    และที่นั่นคือถิ่นเดิมยาวเยาว์วัยของเขา
    ซึ่งผู้คนได้รู้จักและเรียกขาน เยซูด้วยชื่อเดิมของเขาว่า
    “อิสซาและยูซา ( Issa and Yusa )
    เขาอาศัยอยู่ที่นั่นอย่างสงบจากนั้นอีกหลายปีเขาจึงตาย
    ศพของเยซูได้ถูกฝังไว้ที่เมืองศรีนาคาร์ แคว้นแคชเมีย”
    ......................
    ............................
    โปรเวสเซอร์ คิคเล่อร์ส โรห์ลิค ( Pro. Nichlors Roehrick )
    ได้แสดงหลักฐานที่พิสูจน์ได้ความจริงแล้วนั้นไว้ในงานวิจัยต่อไปอีกว่า
    “...นางมาเรีย ( ชาวคริสต์ยกย่องให้เป็นผู้วิเศษคน
    หนึ่งโดยเรียกว่าพระแม่มาเรีย...ผู้เรียบเรียง)
    ได้หนีออกจากเมืองไปพร้อมกับเยซู
    โดยไปอยู่ในแคว้นแคชเมียร์ อันเป็นที่อยู่เดิมเมื่อครั้งสมัยแรกซึ่ง
    ได้มาอยู่ในขณะเยซูยังเป็นเด็ก
    และได้อาศัยอยู่ ณ ที่นั้นจนกระทั่งหมดอายุไข...”

    ตอบลบ
  5. ......................

    เมื่อนำเอาหลักฐานที่พิสูจน์ได้ความจริงแล้ว
    เหล่านี้มาพิจารณาเข้าด้วยกัน ก็คงหนีไม่พ้นที่จะเกิดคำถามว่า
    “เยซู ใช้คำสอนของศาสนาใด
    เป็นสิ่งที่ได้รับมาจากพระเจ้าตามพระคัมภีร์ไบเบิล
    อ้างไว้นั้นจริงหรือ” และ “คำสอนในสมัยที่เยซู
    มีชีวิตอยู่และใช้สั่งสอน และตนเองใช้ปฎิบัตินั้นคือศาสนาอะไร”
    ข้อสงสัยนี้ได้ถูกขจัดให้หมดไปโดยสิ้นเชิง
    โดย Pro. N. Plini ได้นำหลักฐานที่ได้พิสูจน์อย่าง
    เป็นทางการออกสู่ชาวโลกในงานวิจัยของท่านชื่อ
    “ปาเลสไตน์ก่อนสมัยคริสเตียน ( Pre-Christine Palestine )
    ซึ่งได้ระบุถึงนิกายหนึ่งของพุทธศาสนามีชื่อว่า
    แอสเซ เนส ( Essenes ) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกของพระสงฆ์
    ในพุทธศาสนา นิกายเอกโยหาริกวาท
    ( เอก โพยหารี) หรือ เอกวยหาริกะ
    (ปรากฏในอรรถคาถาแห่งคัมภีร์มหายานชื่อ
    “เภทธรรมมติจักรศาสตร์” ของกุยกี
    ซึ่งระบุว่า นิกายนี้ยึดถือว่า โลกิยธรรมและ
    โลกุตรธรรมไม่มีสภาวะโดยแท้จริง
    สักแต่ว่าเป็นบัญญัติโวหาร
    นิกายนี้แยกตัวออกจากมหาสังฆิกะ (มหายาน)
    ไปอยู่ต่างหาก...ผู้เรียบเรียง) ปฎิบัติบำเพ็ญพรตคล้ายโยคี
    มักอยู่ตามถ้ำและป่าเขา ไม่กินเนื้อสัตว์
    เผยแพร่เจริญมากที่สุดในแถบแคชเมียร์
    และธิเบตตอนล่างได้ แพร่หลายเข้าสู่
    ปาเลสไตน์โดยผ่านทางช่องแคบไคเบอร์
    ......................
    .....................
    พุทธศาสนานิกายแอสเซเนส ( Essenes )”
    มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ปาเลสไตน์ก่อนที่ “เยซู”
    ศาสดาของคริสต์ศาสนาจะเกิดหลายร้อยปี
    พระสงฆ์พวกนี้ไม่จับจ่ายใช้สอยเงินทอง
    ตื่นแต่เช้าและทำสมาธิโดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
    จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์
    และโบราณคดีศาสนา ล้วนตรงกันว่า
    นิกาย “แอสเซเนส ( Essenes )”
    นี้นั้นมีกิจวัตรหลักที่ต้องปฏิบัติคือการทำสมาธิจิต
    อันเป็นลักษณะเดียวกันกับการประพฤติของพวกโยคีในยุคนั้น
    จึงทำให้ถูกเรียกอีกว่าชื่อหนึ่งว่า “อิสี”
    หรือ “อิสิ ( Isi)” ซึ่งเป็นคำจากภาษาบาลี
    และยังถูกเรียกเป็นภาษามคธว่า “รชิ (Rshi)”
    คำเรียกในภาษาทั้งสองจึงถูกนำไปใช้เรียก
    พระสงฆ์นิกายนี้ซึ่งได้เผยแพร่เข้า
    สู่ปาเลสไตน์ด้วยเช่นเดียวกัน

    ........................

    มีหลักฐานที่ยืนยันชัดจากในไบเบิลของคริสต์ศาสนาเองว่า
    พระอรหันต์องค์หนึ่งในพุทธศาสนานิกาย
    “แอสเซเนส ( Essenes )” ได้ถูกบิดเบือนให้เป็นหนึ่งใน
    ปิตาจารย์ของคริสต์ศาสนาโดยปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไบเบิลในชื่อของ
    “เซ้นท์จอห์น เดอะแบบติสท์”
    แต่เมื่อเราได้พิจารณาตามหลักฐานแล้วพบว่า
    จอห์นเดอะแบบติส นั้นไม่ได้ใช้ชีวิตแบบ
    ชาวคริสต์เลยแม้แต่น้อย แต่กลับดำเนินชีวิตและ
    ประพฤติปฎิบัติตามหลักคำสอนของ
    พุทธศาสนานิกายแอสเซเนส ( Essenes ) ทั้งสิ้น
    ......................
    ...........................
    เป็นสิ่งพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีว่า
    ผู้ที่ถูกคริสต์ศาสนาอ้างกล่าวนามว่าคือ จอห์นเดอะแบบติส
    ไม่ใช่ คริสเตียนอย่างแน่นอน ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ
    “จอห์นเดอะแบบติสท์ เป็นผู้ที่ทำพิธีแบบติสท์
    ให้กับเยซูในแม่น้ำจอแดน”
    ในพิธีกรรมการบวชของชาวพุทธนั้น
    จะมีพระสงฆ์ผู้ใหญ่ตักน้ำรดหัวและโกนผมให้เป็นคนแรก
    การตักน้ำรดหัวนี้ชาวคริสต์ได้อ้างว่าเป็นพิธีกรรมเรียกว่า
    “แบบติสท์”แต่โดยความจริงพิธีดังกล่าวนั้น
    เป็นของชาวพุทธศาสนา และการบวชโดยใช้แม่น้ำ
    เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ใช้ประกอบพิธีเป็นพิธีปกติ
    ของชาวพุทธเช่นกัน (ในเมืองไทยเรียกว่า “โบสถ์น้ำ”
    หรือ “พัทธสีมาน้ำ” สมัยปัจจุบัน ( พ.ศ.๒๕๔๓ )
    ในต่างจังหวัดก็ยังคงมีการอุปสมบทแบบนี้อยู่...
    ผู้เรียบเรียงก็เคยเห็นการบวชพระภิกษุไทยที่
    สหรัฐอเมริกาแบบนี้ใช้ลอยเรือและพระสงฆ์ลง
    ไปอยู่ในเรือทำพิธีในทะเลสาบ
    เพราะไม่มีโบสถ์ที่ผูกพัทธสีมาเหมือนในเมืองไทย)
    จึงเป็นหลักฐานยืนยันได้อย่างไม่มีข้อคัดค้านว่า
    จอห์นเดอะแบบติสท์คือพระสงฆ์ในพุทธศาสนา
    ทำหน้าที่อุปัชฌายะบวชให้กับ เยซู ในแม่น้ำจอแดน
    แต่ต่อมานักบวชของโรมันคาทอลิกยุคหลังได้เปลี่ยนแปลง
    ความจริงไปจนหมด ทำให้ไม่สามารถสืบค้นได้ว่า
    จอห์นเดอะแบบติสท์ นั้นเป็นพระสงฆ์ที่ชื่อเรียงเสียงไร
    ซึ่งเป็นกรณีหนึ่งในหลาย ๆ กรณีที่คริสต์โรมันคาทอลิก
    เป็นศาสนาเดียวที่ได้ทำทลายหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชนชาติต่าง ๆ
    ไปทั่วโลกอย่างกระหายเลือด
    โดยประวัติศาสตร์ไม่สามารถปฎิเสธความจริงได้ทั้งสิ้น

    ตอบลบ
  6. ..................

    โดยงานวิจัยของศาสตราจารย์ เอ็ม.เอ.อาร์เธอร์ ไลลี่ ( M.A.Arthur Lyli)
    ทำให้เรา ( คณะค้นคว้าวิจัย...ผู้เรียบเรียง)
    ได้หลักฐานเพิ่มเติมว่า พุทธศาสนานิกาย
    “แอสเซเนส ( Essenes ) นี้
    เป็นสาขาหนึ่งในหลายสาขาของพระพุทธศาสนา
    และอีกสาขาหนึ่งมีสำนักใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองอเล็กซานเดรีย
    ของอีจิปต์ ในชื่อว่า สะมานอย ( Samaamoi )
    จากหลักฐานที่เหลืออยู่ของพระสูตรในพุทธศาสนาของ
    พระสงฆ์นิกายนี้ทำให้ทราบได้ว่าแท้แล้วนั้นนิกายนี้คือ
    พุทธศานามหายานที่มีชื่อในภาษาบาลี
    ว่า “สะมิติยะ ( Smitiya )”
    (พุทธมหายานนิกายนี้มีอิทธิพลมากในอินเดียและ
    เอเชียไมเนอร์มาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๒
    บันทึกของหลวงจีนเฮี่ยงจัง ได้กล่าวถึงความเจริญรุ่งเรือง
    ของพระพุทธศาสนานิกายนี้ไว้ว่า
    “....ในแคว้นมาละแห่งเดียวมีภิกษุในนิกาย (สะมิติยะ)
    นี้ถึง ๒๐,๐๐๐ รูป...” จะเห็นได้ว่าหลักธรรม
    ของพุทธศาสนานิกายสะมิติยะ ( Samitiya)” นี้

    .....................

    ได้ถูกเยซูหรือสาวกของเยซูดึงเอาไปดัดแปลงใช้ใน
    การเผยแพร่คริสต์ศาสนา คือ ๑. ถือว่ามีอันตรภาวะ
    ๒. ถือว่าปุถุชนก็ละกามราคะพยาบาทได้...ผู้เรียบเรียง)
    ..................
    ......................
    จากงานวิจัยของ ดร.แม็ช มูลเลอร์ ( Dr.Max Muller )
    ได้พบหลักฐานความจริงจากจารึกในกระดาษปาปิรุส
    ของอเล็กซานเดรีย ซึ่งบันทึกไว้โดย
    อเล็กซานเดอร์ โบลี่ ฮิสเตอร์ ( Alexander Poly Histor )
    ซึ่งบันทึกจากสิ่งที่พบเห็นด้วยตนเอง
    ในสมัยก่อนเยซูเกิด ๖๐ ปี ไว้ว่า

    “ ....ชาวพุทธทั้งหลายที่เรียกว่า สะมานอย ( Samaanoi)
    ซึ่งเป็นอาจารย์ของพวกนักปราชญ์ปาร์ซี-ไบเตรียน
    ( Parsi Baitrain Philosophers )
    ส่วนหนึ่งได้ไปสอนอยู่ในอาณาจักรของ
    พระเจ้าออกัสตัส ( Augustus)
    นิกายนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษากรีกว่า
    ซามาโนซีกัส ( Zarmanochegus )
    ส่วนพระสงฆ์ผู้เป็นหัวหน้าก็จะได้รับการเรียกชื่อ
    เดียวกันกับนิกายของเขาเช่นเดียวกัน....”
    ....................

    เมื่อเรา ( คณะผู้ค้นคว้าและวิจัย...ผู้เรียบเรียง)
    ไดค้นคว้าหารากศัพท์ของชื่อนิกายหรือ
    ตำแหน่งผู้นำคณะสงฆ์คำว่า ซามาโนซีกัส
    พบว่ามาจากคำในภาษาบาลีว่า “สรามาจริยา ( Sramachariya )
    ชื่อของนิกายและพระสงฆ์มหายานนี้ได้ถูกสลักจารึกไว้ที่กรุงเอเธนส์

    ..................

    ตอบลบ
  7. ..................

    จากหลักฐานงานวิจัยทางวิชาการ
    “การค้าขายระหว่างจักรวรรดิโรมันกับอินเดีย
    ( Commerce Between the Roman Empire and India )”
    ทำให้เราสามารถพิสูจน์ได้ถึงความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสอง
    และการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนาในยุคจักรวรรดิโรมันนั้น
    หลักฐานดังกล่าวที่เป็นเครื่องยืนยันมีว่า
    “.......พระพุทธศาสนามหายานได้มีการเผยแผ่
    หลักคำสอนอย่างแพร่หลายกว้างขวางที่สุดเข้าไป
    จนถึงปาเลสไตน์และอียิปต์
    รากฐานในคำสอนของมหายานก็คือ
    อธิ-พุทธะ และในส่วนสำคัญของคำสอนเรื่อง
    อธิ-พุทธ นั้นคล้ายกับพระพรหมในคัมภีร์เวทานตะ ( Vedanta )
    ซึ่งชี้เน้นให้เห็นอย่างเดียวกันคือเป็นต้นแบบองพระผู้สร้าง ( Creator )
    ที่ชาวยิวทั้งหลายนับถืออยู่นั่นเองแต่ไม่ใช่
    อยู่ในสภาพของบุคคล แต่มันเป็นต้นกำเนิด
    ของปรากฎการทั้งหมด เป็นสิ่งที่คล้ายกันกับ
    “ปรกติ ( Prokati)” ในปรัชญาสังขยา
    มันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถพรรณนารูปร่างลักษณะได้
    นักปราชญ์ผู้อื่นเช่น โจลิปัส ก็มีความเห็นเช่นเดียวกัน
    เป็นประเพณีในการจารึกของเหล่านักปราชญ์โบราณเหล่านี้
    ต้องอ้างถึง อธิ-พุทธะ ต่อตนทั้งหลายที่เคารพบูชา “ก๊อด ( พระเจ้า)”
    ......................
    ........................
    แต่คำว่า “ก๊อด ( God)” หรือ “พระเจ้า”
    เป็นภาษาต่างชาติที่ได้ผสมเข้ามาอยู่ในภาษาซีเรียน
    ซึ่งเดิมทีแล้วเป็นคำที่ใช้ในภาษาพูดของนางมาเรียมารดาของ
    “เยซู” และคำนี้ได้ถูกเยซูนำมาใช้ในการยกอำนาจ
    เบื้องบนประกอบการสั่งสอนของเยซูเท่านั้น
    และคำว่า “ก๊อด” นี้เป็นคำที่ชาวพุทธธิเบต
    ใช้เรียกพระพุทธเจ้าของเขา ซึ่งมีนามว่า “พระโคตะมะ”
    โดยปกติ ก่อนที่เยซูจะเกิดมาบนโลก.....

    .......................

    โปรเฟสเซอร์ ลีด เดวิด ( Pro.Lead David )
    ได้พิสูจน์จากหลักฐานโดยการวิจัย
    ทั้งทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีได้พบความจริง
    ที่ไม่อาจจะสามารถหาข้อโต้แย้งใด ๆ
    ทางวิชาการมาหักล้างผลงานวิจัยของท่านได้คือ
    คำว่า “ก๊อด ( God )” ที่กล่าวไว้ทุกแห่งในคัมภีร์ไบเบิลนิวเทสตาเมนท์
    จึงจะเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากหมายถึง “พระพุทธเจ้า”
    ศาสดาของพระพุทธศาสนา เป็นคำที่ถูกย่อให้สั้นลงมาจากคำว่า
    “ก๊อดตะมะ ( Godtama)” (ตรงกับภาษาบาลีว่า โคตะมะ...ผู้เรียบเรียง)
    ซึ่งเป็นชื่อโคตรตระกูลของพระพุทธเจ้า
    นอกจากนี้สิ่งที่พิสูจน์ได้ว่า “เยซู”
    ได้ใช้หลักธรรมของพระพุทธศาสนาดัดแปลงมาสั่งสอน
    จากคำว่า “อิลิยาห์” เป็นคำที่ใช้ทับศัพท์กับคำภาษาบาลี
    ซึ่งใช้เรียกพระสงฆ์ที่สำเร็จธรรมขั้นสูงและ
    พระพุทธเจ้าซึ่งเกรียกว่า “อริยะ”
    ซึ่งแปลตามศัพท์ว่า “ผู้ประเสริฐ ( The Noble One )
    .....................
    .....................
    คำที่คริสต์ศาสนานำของพุทธศาสนามาดัดแปลง
    ใส่เข้าไปในคัมภีร์ไบเบิลอีกนั้นก็คือคำว่า
    “บุตรของก๊อด ( Son of God )”
    ในเมื่อได้พิสูจน์ให้เห็นถึงที่มาที่ไม่อาจปฏิเสธได้ของำว่า
    ก๊อด (God ) มาจากคำว่า “โคตะมะ”
    ซึ่งหมายถึง “พระพุทธเจ้า” ดังนั้น
    “บุตรของก๊อด” ก็คือ “บุตรของพระพุทธเจ้า”
    ตรงกันกับภาษาในพระสูตรของพุทธศาสนาว่า
    “พุทธบุตร” ซึ่งหมายถึง “บุตร (สาวก)
    ของพระพุทธเจ้า” ช่างเป็นเรื่องที่น่าละอายอย่างยิ่ง
    ในการหยิบฉวยกล่าวอ้างของคริสเตียน
    ในชั้นหลังที่นำเอาศาสนาอื่นมาเปลี่ยนแปลง
    ประกาศใช้ว่าเป็นของตนแต่ดั้งเดิม

    ตอบลบ