คริสโตเฟอร์ ไรท์ เจ้าของโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ นักแสดง และผู้ดำเนินรายการวิทยุ ชื่อดัง ถูกเชิญไปบรรยายพิเศษเรื่อง "คน (เมือง) นอก มองไทยพร้อมแค่ไหนสู่ ASEAN" ในโครงการอบรมผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล หรือ MU Leadership จากการที่เขามองจากมุมมองของคนสองวัฒนธรรม ทั้งไทยทั้งฝรั่ง จึงสามารถช่วยสะท้อนให้เราคนไทยได้คิด มีเนื้อหาที่น่าสนใจหลายประเด็น จึงขอสรุปและนำมาเสนอต่อดังนี้...
คุณครูคริสโตเฟอร์ ไรท์ บอกว่า คนไทยเรามีบางวัฒนธรรม ที่อาจทำให้การฝึกฝนภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารกับชาวต่างชาติของไทยไม่สำเร็จหรือเป็นผลสำเร็จช้า รวมทั้งทำให้การทำอะไรก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จไปด้วย นั่นคือ
สังคมแบบลำดับชั้น ให้เกียรติคนที่ความอาวุโสไม่ใช่ความสามารถ, วิธีการแก้ปัญหา โดยเอาอารมณ์ความรู้สึกมาเป็นองค์ประกอบของความขัดแย้ง
วัฒนธรรมกลุ่ม ที่ทำให้เกิดการคิดตามกัน ไม่กล้าคิดต่าง ขาดความมั่นใจ, เขาบอกว่า "วัฒนธรรมการทำตามกลุ่ม (Group-culture) ของคนไทย ยังทำให้คนไทยไม่กล้าคิดแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ ไม่รู้จักพึ่งตนเองหรือแสดงความเป็นตัวของตัวเอง จะบอกว่าเป็นสังคมแห่งพวกพ้องก็คงไม่ผิด"
"สิ่งที่เห็นได้ง่ายในเรื่องของวัฒนธรรมกลุ่ม เช่น การดื่มเหล้า ที่คนไทยมักจะแชร์เหล้าขวดเดียวกัน กระติกน้ำแข็งกระติกเดียวกัน แล้วก็นั่งล้อมโต๊ะกินกันเป็นกลุ่ม ส่วนฝรั่งจะสั่งเหล้าเป็นแก้ว แล้วเดินมานั่งดื่มคนเดียวบ้าง ดื่มกับเพื่อนบ้าง
ซึ่งจากวัฒนธรรมการทำตามกลุ่มนี่เอง ส่งผลให้คนไทยหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงไปด้วย ทำให้คนไทยมีวัฒนธรรม "ไม่ชอบเสี่ยง"
คล้ายกับการทำตามวัฒนธรรมกลุ่ม คือกลัวเกิดปัญหาหรือตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย
สิ่งที่สังเกตได้ง่ายคือการปอกมะม่วง ที่คนไทยจะหันคมมีดออกจากตัว ส่วนฝรั่งจะปอกโดยหันคมมีดเข้าหาตัวเอง ซึ่งคนไทยจะกลัวว่า "ผีผลัก" แต่ความกล้าเสี่ยงเล็กๆ น้อยๆ นี่เอง ที่ทำให้ฝรั่งต่างชาติประสบความสำเร็จในชีวิต โดยไม่ต้องพึ่งคนอื่นมากนัก" เจ้าของรายการคริสดิลิเวอรี่อธิบาย
เช่น การก่อกำเนิดของธุรกิจในประเทศไทย ที่ส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะของธุรกิจครอบครัว ส่วนใหญ่รับพนักงานจากคนที่รู้จักกัน ส่วนธุรกิจต่างชาติอย่างเฟซบุ๊ก เริ่มขึ้นได้จากคนที่กล้าคิดต่างจากคนส่วนใหญ่ และรับพนักงานโดยพิจารณาจากความสามารถเป็นหลัก
การทำงานช้า ทำงานเชื่องช้า ไม่รีบสะสางทันทีที่ได้รับมอบหมายมา คริสโตเฟอร์บอกว่า "ลักษณะที่ทำให้คนไทยไม่ประสบความสำเร็จ คือ การทำงานแบบช้าๆ อยู่ในลักษณะของดินพอกหางหมู บ้างก็เรียกว่าทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม" ในช่วงแรกของการทำงานที่ยังไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมรอบตัว พนักงาน/ลูกจ้างชาวไทยอาจจะตื่นตัว แต่ก็เป็นการตื่นตัวในระยะสั้นๆ
"จะบอกว่าคนไทยขี้เห่อ หรือทำอะไรแค่ประเดี๋ยวประด๋าวก็ได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ โดนัทยี่ห้อหนึ่งที่นำเข้าจากต่างประเทศ ช่วงแรกๆ นั้นมีคนเข้าคิวต่อแถวซื้อยาวเหยียด ทั้งๆ ที่รสชาติก็ไม่ได้อร่อยกว่าเจ้าอื่น ขับรถผ่านเห็นแถวยาวอย่างนั้นเพียงไม่กี่เดือน หลังจากนั้นคนไทยก็เลิกเห่อ"
ความพยายามสั้น พยายามน้อย อดทนต่ำ พยายามเพียงช่วงสั้นๆ เห่อเพียงช่วงสั้นๆ อดทนต่ำ
นอกจากนี้ยังมีปัญหาทางวัฒนธรรมอื่นๆ อีกที่ทำให้การฝึกฝนอะไรไม่ค่อยสำเร็จ คือ
แก้ปัญหาโดยใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล หากมีปัญหาการทะเลาะกันภายในสำนักงาน คนไทยหรือชาติตะวันออกบางชาติจะใช้ความรู้สึกมาปะปนกับปัญหาที่เกิดขึ้น จนอาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีทั้งสองฝ่ายถึงขั้นแตกหัก ต่างกับวัฒนธรรมของชาติตะวันตก ที่วิพากษ์/วิจารณ์ปัญหาเพื่อหาคำตอบ (คนไทยบางคนมองว่าทะเลาะกัน) กันอย่างดุเดือด แต่อาศัยเหตุผลที่ต่างคนต่างมีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของงานที่น่าพอใจที่สุด
อำนาจนิยม สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ คนที่มีอำนาจหรือเป็นผู้นำอาจมีวัฒนธรรมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาข้างต้น
อาวุโสเป็นใหญ่ คริสโตเฟอร์บอกอีกว่า นอกจากวิธีการแก้และแยกแยะปัญหาที่ต่างกันสุดขั้วแล้ว ยังมีเรื่องของ "การให้เกียรติ" ที่คนไทยให้เกียรติคนตามลำดับชั้นความอาวุโส เด็กต้องเคารพและให้เกียรติผู้ใหญ่โดยที่ผู้ใหญ่ไม่ให้เกียรติ หรือบางคนก็ไม่ฟังแม้กระทั่งเหตุผลของเด็ก
ในขณะที่ "สังคมฝรั่งเป็นสังคมที่เน้นความเท่าเทียม ทุกคนยอมรับฟังเหตุผลของกันและกัน แล้วค่อยดีเบตกันเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด แต่ในขณะเดียวกัน สังคมแห่งความเท่าเทียมอย่างฝรั่งก็มีข้อเสีย เช่น การทอดทิ้งพ่อแม่ โดยคิดเพียงเรื่องของสิทธิความเท่าเทียมในการใช้ชีวิต" เจ้าของรายการคริสดิลิเวอรี่ อธิบาย
แต่ไทยก็มีสิ่งดีที่ควรรักษาไว้
แม้ว่าวัฒนธรรมไทยจะมีหลายอย่างที่ควรแก้ แต่คริสโตเฟอร์ก็ทิ้งท้ายว่า "แต่สิ่งที่คนไทยไม่ควรทำคือ ละทิ้งวัฒนธรรมอันดี แล้วตามอย่างฝรั่ง ควรปรับใช้ให้เป็นคนที่มีความอ่อนน้อมอย่างไทย มีความสามารถตามที่ต้องการจะเป็น และย้ำว่า สำหรับความพยายามเพื่ออนาคต อย่างการฝึกฝนภาษาอังกฤษเพื่อทำให้การใช้ชีวิตในอนาคตง่ายขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนควรพยายาม
นี่เป็นเพียงข้อเท็จจริงหนึ่งที่เจ้าของรายการวาไรตี้มีสาระอย่างคริสโตเฟอร์ ไรท์ หนุ่มที่เติบโตมาในสอง วัฒนธรรม ได้สะท้อนให้เห็น ซึ่งเราคนไทยน่าเก็บมาไตร่ตรองด้วยเหตุผล
สวัสดี
---
สรุปและเรียบเรียงโดย ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์
(ที่มา: นสพ.มติชน)
แก้ปัญหาโดยใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล หากมีปัญหาการทะเลาะกันภายในสำนักงาน คนไทยหรือชาติตะวันออกบางชาติจะใช้ความรู้สึกมาปะปนกับปัญหาที่เกิดขึ้น จนอาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีทั้งสองฝ่ายถึงขั้นแตกหัก ต่างกับวัฒนธรรมของชาติตะวันตก ที่วิพากษ์/วิจารณ์ปัญหาเพื่อหาคำตอบ (คนไทยบางคนมองว่าทะเลาะกัน) กันอย่างดุเดือด แต่อาศัยเหตุผลที่ต่างคนต่างมีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของงานที่น่าพอใจที่สุด
อำนาจนิยม สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ คนที่มีอำนาจหรือเป็นผู้นำอาจมีวัฒนธรรมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาข้างต้น
อาวุโสเป็นใหญ่ คริสโตเฟอร์บอกอีกว่า นอกจากวิธีการแก้และแยกแยะปัญหาที่ต่างกันสุดขั้วแล้ว ยังมีเรื่องของ "การให้เกียรติ" ที่คนไทยให้เกียรติคนตามลำดับชั้นความอาวุโส เด็กต้องเคารพและให้เกียรติผู้ใหญ่โดยที่ผู้ใหญ่ไม่ให้เกียรติ หรือบางคนก็ไม่ฟังแม้กระทั่งเหตุผลของเด็ก
ในขณะที่ "สังคมฝรั่งเป็นสังคมที่เน้นความเท่าเทียม ทุกคนยอมรับฟังเหตุผลของกันและกัน แล้วค่อยดีเบตกันเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด แต่ในขณะเดียวกัน สังคมแห่งความเท่าเทียมอย่างฝรั่งก็มีข้อเสีย เช่น การทอดทิ้งพ่อแม่ โดยคิดเพียงเรื่องของสิทธิความเท่าเทียมในการใช้ชีวิต" เจ้าของรายการคริสดิลิเวอรี่ อธิบาย
แต่ไทยก็มีสิ่งดีที่ควรรักษาไว้
แม้ว่าวัฒนธรรมไทยจะมีหลายอย่างที่ควรแก้ แต่คริสโตเฟอร์ก็ทิ้งท้ายว่า "แต่สิ่งที่คนไทยไม่ควรทำคือ ละทิ้งวัฒนธรรมอันดี แล้วตามอย่างฝรั่ง ควรปรับใช้ให้เป็นคนที่มีความอ่อนน้อมอย่างไทย มีความสามารถตามที่ต้องการจะเป็น และย้ำว่า สำหรับความพยายามเพื่ออนาคต อย่างการฝึกฝนภาษาอังกฤษเพื่อทำให้การใช้ชีวิตในอนาคตง่ายขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนควรพยายาม
นี่เป็นเพียงข้อเท็จจริงหนึ่งที่เจ้าของรายการวาไรตี้มีสาระอย่างคริสโตเฟอร์ ไรท์ หนุ่มที่เติบโตมาในสอง วัฒนธรรม ได้สะท้อนให้เห็น ซึ่งเราคนไทยน่าเก็บมาไตร่ตรองด้วยเหตุผล
สวัสดี
---
สรุปและเรียบเรียงโดย ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์
(ที่มา: นสพ.มติชน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น