วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561

3 คำถามต้องระวังในทางศาสนวิทยา

3 คำถามต้องระวังในทางศาสนวิทยา
เวลาให้สัมภาษณ์สื่อ มีหลายครั้งที่ผู้เขียนหนักใจเหมือนกันที่ต้องตอบคำถาม 3 ลักษณะที่สื่อถาม...

1. "ศาสนา/ความเชื่ออันนี้ผิดใช่ไหม?"
2. "นี่ไม่ใช่ศาสนาพุทธแท้ (คริสต์แท้/อิสลามแท้/ฯลฯแท้) ใช่ไหม?"
3. "ศาสนา/ความเชื่อแบบนี้หลอกลวงใช่ไหม?"

มาดูกันทีละข้อ

ตอบข้อ 1. "ศาสนา/ความเชื่ออันนี้ผิดใช่ไหม?"

ศาสนาและความเชื่อเป็นเรื่องที่พิสูจน์ว่าถูกหรือผิดได้ยาก  (เคยอธิบายเรื่องนี้แล้ว) มีบางเรื่องที่อาจพอพิสูจน์ได้ แต่ส่วนใหญ่พิสูจน์ไม่ได้  พูดได้ว่าเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้มีมากกว่าที่พิสูจน์ได้  ถึงกระนั้นก็เป็นสิทธิของเขาที่จะเชื่ออย่างนั้นอยู่ดี 

ตอบข้อ 2. "นี่ไม่ใช่ศาสนาพุทธแท้ (คริสต์แท้/อิสลามแท้/ฯลฯแท้) ใช่ไหม?"

ความเป็นศาสนาใดแท้ไม่แท้เป็นเรื่องที่ชี้วัดได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็จะมีประเด็นที่สามารถเห็นต่างกันหรือแม้แต่เป็นข้อถกเถียงได้อีกมากมาย  จนกระทั่งการบอกว่าอันไหน "ไม่แท้" บอกได้ง่ายกว่าบอกว่าอันไหน "แท้"  เพราะเหตุว่าของแท้เหมือนแบบดั้งเดิมแบบสมัยศาสดาหา(แทบ)ไม่มีแล้ว เหลือแต่ของไม่แท้ด้วยกันทุกอัน  ต่างกันที่ไม่แท้มากหรือน้อยแค่ไหน  และถึงแม้บอกว่าเขาไม่แท้ เขาก็มีสิทธิเชื่อในแบบของเขาอยู่ดี
ที่จริงคำถามที่ 1 กับ 2 อาจถูกต้องกว่าถ้าต่อด้วยคำถามที่ว่าศาสนาและความเชื่อดังกล่าวเป็นอันตรายแค่ไหน และมีข้อควรระวังอะไร  แต่การตอบคำถามที่ 3 จะเป็นอีกแบบ

ตอบข้อ 3. ศาสนา/ความเชื่อแบบนี้หลอกลวงใช่ไหม? 

ผู้เขียนขอตอบคำถามนี้โดยต้องขอร้องผู้อ่านก่อนว่าโปรดอ่านดี ๆ เพื่อจะไม่เข้าใจผู้เขียนผิด  ขอตอบแบบนี้ว่า "การหลอกลวงในทางศาสนาและความเชื่อ" มันไม่เหมือนการหลอกลวงทั่วไป  ส่วนใหญ่สิ่งที่คนเรียกว่าการหลอกลวงในทางศาสนาและความเชื่อ มันเป็นเรื่องที่ตัวผู้สั่งสอนหรือผู้จูงใจก็เชื่ออย่างนั้นจริง ๆ ด้วย และเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ  ฉะนั้นถ้าจะว่าเป็นการหลอก มันก็เป็นการหลอกตัวเองก่อนแล้วก็เลยไปหลอกคนอื่นต่อโดยไม่ตั้งใจ 
อันนี้ต้องบอกว่าไม่เกี่ยวกับกรณีที่มีบางคนที่ตั้งใจหลอกผู้อื่นจริงๆ  หรือหลอกโดยเจตนา พวกนั้นก็(อาจ)มีบ้างแน่นอน แต่ก็ต้องแยกเป็นคนละพวก 
การหลอกคนอื่นโดยเจตนา กับการหลอกคนอื่นโดยตัวเองก็เชื่ออย่างนั้นจริง ๆ นั้นไม่เหมือนกัน  หรือพูดได้ว่า แบบแรกคนหนึ่งเอาอีกคนเป็นเหยื่อ  ส่วนอันที่สองทั้งคู่ต่างตกเป็นเหยื่อของระบบศาสนาและความเชื่อนั้น ๆ  ซึ่งถ้าจะเอาผิด มันจะเป็นความผิดคนละข้อหากัน อย่างน้อยก็คือเรื่องผิดโดยเจตนากับไม่เจตนา  
บางคนอาจบอกว่า "ถ้าไม่อยากถูกถือว่าหลอกลวงก็อย่าเรียกเงินสิ"  ก็ตอบได้ว่า นั่นก็เป็นแนวคิดที่ดีมากและมีเหตุผลส่วนหนึ่ง  แต่มันก็อาจใช้ไม่ได้ผลจริงกับทุกกรณี เพราะทุกศาสนาและความเชื่อต่างก็มีรูปแบบการขอให้ช่วยอุดหนุนศาสนาในรูปแบบและเหตุผลต่างๆ เช่นกัน สุดแล้วแต่จะเรียกชื่อว่าอะไร เช่น ทำบุญ  ถวายปัจจัย  ค่าบูชา ค่าครู  เงินพลี ถวายทรัพย์ ซะกาด ฯลฯ 
ลองดูตัวอย่าง แม้แต่การซื้อขายพระเครื่องหรือวัตถุมงคลราคาสูง ๆ ก็ยังใช้คำว่าบูชาแล้วจะได้ลาภ ส่วนแท้ไม่แท้ จริงไม่จริง ก็ไม่มีใครว่าอะไรได้ ไม่เคยมีใครฟ้องว่าบูชาไปแล้วไม่เห็นขลัง   เป็นการสมยอมเชิงศรัทธากันโดยแท้

ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์

1 ความคิดเห็น:

  1. Did you know there's a 12 word sentence you can speak to your partner... that will trigger deep emotions of love and impulsive attractiveness to you deep inside his chest?

    Because deep inside these 12 words is a "secret signal" that fuels a man's instinct to love, admire and care for you with all his heart...

    12 Words Will Fuel A Man's Love Impulse

    This instinct is so hardwired into a man's genetics that it will drive him to work better than ever before to take care of you.

    Matter of fact, triggering this all-powerful instinct is absolutely mandatory to achieving the best possible relationship with your man that once you send your man one of the "Secret Signals"...

    ...You will immediately notice him expose his heart and soul for you in such a way he never experienced before and he will perceive you as the only woman in the galaxy who has ever truly tempted him.

    ตอบลบ