วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

จิตอาสา?



จิตอาสา ที่ในภาษาอังกฤษเรียก community services หรือ volunteer service มีทั่วโลกและมีมานานแล้ว มันคือการที่คนเราอยากทำอะไรเพื่อสังคมโดยไม่ได้ทำเพราะกฎหมายบังคับหรือเพื่อผลประโยชน์ทางอาชีพหรือรายได้ หรือเพื่อเลี่ยงภาษีหรือลดภาษี ส่วนจะทำเพราะหวังผลประโยชน์แฝงในด้านที่ได้สนุกด้วย ได้เพื่อนได้แฟนด้วย ได้ชื่อเสียงได้สร้างภาพด้วย หรือได้บำบัดจิตใจด้วย อันนั้นไม่นับเป็นผลประโยชน์โดยตรง

และจะทำคนเดียวลำพังหรือจะรวมกลุ่มทำก็ได้

การที่จิตอาสาถูกรวมเข้ามาอยู่ในระบบราชการหรือหน่วยงาน ใส่เป็นหน้าที่งาน และเอาการเข้าร่วมมาพิจารณาเพื่อให้คุณให้โทษในงานด้วย แบบนี้ไม่อาจนับได้ว่าเป็นจิตอาสาแท้

แต่จิตอาสาจะเลวร้ายที่สุดเมื่อเอามาใช้เป็นเครื่องมือในระบอบการปกครองที่ไม่เป็นธรรม สาเหตุก็เพราะ มันเป็นการพยายามเอาความดีมาสร้างภาพให้แก่การปกครองที่ไม่เป็นธรรม

คล้ายกับการเอาศาสนามาเป็นเครื่องมือในการปกครองที่ไม่เป็นธรรม

และในที่สุดก็จะแอบอ้างว่า เห็นไหมการปกครองนี้เพราะมีการเป็นจิตอาสาทำความดี หรือเห็นไหมกาปกครองนี้ดีเพราะสนับสนุนศาสนาหรือเคร่งศาสนา(แต่เปลือก)

แล้วสุดท้ายก็จะอ้างต่อว่า ถ้าใครไม่สนับสนุนการปกครองนี้ก็เท่ากับไม่มีจิตอาสา หรือไม่มีความดี และก็กลายเป็นไม่ใช่คนดี

สุดท้ายก็จะสรุปว่าใครที่ไม่สนับสนุนการปกครองแบบนี้คือ…คนชั่ว …ที่สมควรถูกกำจัด

ਗ਼মᒏర౬ ഽరๅݎ᪒নਭலᣅᢅᡇ

ผู้พิพากษายิงตัวตายเพื่อสร้างประเด็นการเมืองรึ?

คนเป็นผู้พิพากษานั้นมีความรู้สูง มีความมั่นคงสูง เงินเดือนสูง และมีเกียรติสูง 
และถูกฝึกฝนและถูกคาดหวังสูง
ให้เป็นคนที่มีความยุติธรรมสูงสุดในสังคม

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

สถาบันกษัตริย์ทั่วโลกในยุคปัจจุบัน

มีคนขอให้อธิบายว่า ประชาชนควรเข้าใจเรื่องสถาบันกษัตริย์อย่างถูกต้องอย่างไร?  ผู้เขียนก็ขอสรุปสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายๆ โดยพูดถึงสถาบันกษัตริย์ทั่วโลกในยุคปัจจุบัน ดังนี้ 

การมีกษัตริย์ในโลกปัจจุบันคงเหลืออยู่ 26 ราชวงศ์หรือตระกูล แต่ปกครองใน 43 ประเทศ  ที่เป็นเช่นนี้เพราะกษัตริย์บางประเทศมีอำนาจเหนือหลายประเทศ คือกษัตริย์อังกฤษที่ถูกถือเป็นกษัตริย์ในทุกประเทศในเครือจักรภพอังกฤษด้วยโดยปริยาย  

ประเทศที่ยังมีกษัตริย์

กษัตริย์ที่ว่านี้ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น กษัตริย์ หรือราชินี  พระราชาธิบดี  สุลตาน   หรือแม้แต่พระสันตปาปา   

ประเทศที่มีกษัตริย์เหล่านี้ไม่ได้มีระบอบการปกครองเหมือนกัน และบทบาทการเป็นกษัตริย์ก็ไม่เหมือนกัน แบ่งได้เป็น 4 แบบ ได้แก่ 

1. กษัตริย์แบบสมบูรณาญาสิทธิราช  เช่นซาอุดีอาระเบีย บรูไน และประเทศอิสลาม ประเทศเหล่านี้กษัตริย์เป็นผู้บริหารโดยตรง หรือบางทีตวบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย   (นอกจากนี้อาจถือรวมกรณีของสมเด็จพระสันตปาปาแห่งรัฐวาติกันด้วย แต่มีเงื่อนไขพิเศษ)

2. กษัตริย์แบบที่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ  เช่น อังกฤษ ไทย กษัตริย์แบบนี้ไม่มีอำนาจบริหารโดยตรง แต่ยังมีอำนาจบางส่วน เช่นการอนุมัติหรือยับยั้งกฎหมายที่สภาฯเสนอมา  (อย่างไรก็ตามก็มีการวิจารณ์ว่ากรณีของไทยมีลักษณะแฝงแบบแรก)  

3. กษัตริย์แบบสัญลักษณ์และพิธีการ เช่น กษัตริย์ในประเทศยุโรป ไม่มีอำนาจในการบริหารเลย เป็นเพียงสัญลักษณ์ของชาติและเป็นประธานในการทำพิธีต่างๆ ทางสังคมเท่านั้น 

4. กษัตริย์แบบเครือจักรภพ  คือ ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ อันได้แก่ อังกฤษ แคนาดา  ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอื่น ๆ  กษัตริย์แบบนี้ก็เป็นแบบที่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญด้วย 

5. กษัตริย์แบบหมุนเวียนในสหพันธรัฐ  เช่น สุลตานแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย  เป็นการหมุนเวียนกันเป็นในหมู่รัฐต่างๆ ในประเทศ วาระคราวละ 5 ปี และอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ

6. กษัตริย์ใต้อำนาจผู้นำเผด็จการ  เช่น กษัตริย์กัมพูชา 

เรื่องของสถาบันกษัตริย์ มีประเด็นที่มีการถกหรือโต้แย้งกันในแต่ละประเทศอยู่หลายประเด็น ขอแยกให้เห็นดังต่อไปนี้

1. ประเทศยังควรมีสถาบันกษัตริย์หรือไม่? หรือถ้าควรยังมีอยู่ สถาบันกษัตริย์ควรมีสิทธิอำนาจและบทบาทเพียงใด ทั้งในเชิงสัญลักษณ์และภาคปฎิบัติ?  และตรวจสอบได้อย่างไร? 

2. สถาบันกษัตริย์ควรมีทรัพย์สินและรายได้อย่างไร? มีการบริหารจัดการอย่างไร? ต้องเสียภาษีหรือไม่อย่างไร? ตรวจสอบได้อย่างไร?

3. สถาบันกษัตริย์ควรมีรูปแบบการปฏิสัมพันธ์กับประชาชนอย่างไร? การพูดกันการวางตัวต่อกันควรมีรูปแบบอย่างไร? การใช้คำราชาศัพท์และการแสดงความเคารพต่อกันที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร?  มีฐานะเป็นสมมติเทพหรือเป็นมนุษย์เท่ากัน?  

4. สถาบันกษัตริย์ควรมีการคัดเลือกผู้รับตำแหน่งอย่างไร การสืบทอดอย่างไร มีกฎระเบียบหรือเงื่อนไขคุณสมบัติที่ทำให้พ้นสภาพอย่างไร? 

5. สถาบันกษัตริย์ควรมีการจัดระเบียบแห่งสิทธิอำนาจและเกียรติศักดิ์ภายในราชวงศ์อย่างไร? จัดระดับชั้นอย่างไร?  ระดับชั้นอันนี้เกี่ยวพันกับสังคมอย่างไร?  สังคมต้องปฏิบัติต่อลำดับชั้นต่างๆ อย่างไร?  

6. สถาบันกษัตริย์ควรต้องเกี่ยวข้องกับศาสนาหรือไม่?  ต้องถูกบังคับให้นับถือศาสนาใดหรือไม่?  ต้องมีตำแหน่งเป็นผู้นำศาสนาหรือสนับสนุนศาสนาใดหรือไม่ อย่างไร?  

7. สถาบันกษัตริย์ควรมีกฎหมายคุ้มครองอย่างไร? มีกฎหมายห้ามหมิ่นประมาท แต่ถูกวิจารณ์ได้หรือไม่? 

ขอตอบแบบสรุปดังนี้


ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์