วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การประหารชีวิตเพราะเหตุทางศาสนาในประวัติศาสตร์ไทย



ประวัติศาสตร์การข่มเหงเบียดเบียนศาสนาในประเทศไทย ซึ่งมีมาตลอดตั้งแต่สมัยอยุธยา - กรุงธนบุรี - รัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 - รัชการที่ 3 - รัชกาลที่ 4 - รัชกาลที่ 5

ปี 1517 โปรตุเกสส่งทูตมายังกรุงศรีอยุธยา  โดยมีบาทหลวงแห่งศาสนจักรคาทอลิกมาด้วย

ปี 1567-1682  มีการเผยแพร่คริสตศาสนายุคสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ - สมเด็จพระนารายณ์ 

ปี 1688 สมเด็จพระนารายณ์ถูกยึดอำนาจ  ทำให้หมดยุครุ่งเรืองของศาสนจักรคาทอลิกไปด้วย

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กำเนิดนิกาย


ในขณะที่ทุกศาสนาต่างบอกว่าศาสนาของตนถูกต้องที่สุด แต่เราก็พบความจริงว่า ทุกศาสนายังมีการแตกเป็นนิกายย่อยๆ อีก เช่น พุทธศาสนาแตกเป็น 18 นิกาย โดยเริ่มแตกมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ศาสนาอิสลามแตกเป็น 9 นิกาย (เป็นอย่างต่ำ) และแต่ละนิกายก็แบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกมากมาย ส่วนคริสตศาสนาแตกเป็น 3 นิกาย และแต่ละนิกายก็แบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกมากมาย มีรายงานว่าโปรเตสแต๊นท์แบ่งออกมากที่สุดเป็นกว่า 37,000 กลุ่มหรือนิกายย่อย

ชีวิตคู่พระศาสดา

พระศาสดาแต่ละท่าน มีชีวิตแต่งงานที่น่าสนใจมาก   ตามความเชื่อส่วนใหญ่ก็เชื่อกันว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงอภิเษกสมรสในวัย 16 ชันษา กับพระนางพิมพายโสธรา ซึ่งอยู่ในวัยเดียวกัน (1)   

ทางมุสลิมมีความเชื่อว่า  พระนางมารี(มัรยัม)พระมารดาของพระเยซู ก็หมั้นและแต่งงานในวัยราว 12-14 ปี กับโยเซฟ (ยูซุฟ ช่างไม้ผู้เป็นพระสวามี ซึ่งมีอายุราว 90 ปี (2)

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เทพแห่งอวัยวะเพศของโลกตะวันตก


ในโลกของเรามีศาสนาที่บูชาอวัยวะเพศมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์   คนไทยและคนเอเชียมักคิดถึงการบูชาศิวลึงค์ ของพระศิวะในศาสนาพราหมณ์ซึ่งมีจุดกำเนิดในลุ่มแม่น้ำสินธุของอินเดีย  รวมทั้งผีหรือเทพเจ้าพื้นบ้านของญี่ปุ่น  หรือแม้แต่ของไทย  แต่แท้จริงแล้ว การบูชาเทพแห่งอวัยวะเพศมีในโลกตะวันตกมาแต่โบราณด้วย   เรามาดูกัน

เทพมิน Min  เป็นเทพเจ้าของอียิปต์ยุคโบราณมากตั้งแต่ราว 4 พันปีก่อนคริสตศักราช   เป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และการเจริญพันธ์  หรือกามารมณ์  และพลังแห่งเพศชายของผู้ชายทั้งหลาย    รวมทั้งเป็นผู้พิทักษ์ถนนหนทางต่างๆ   นอกจากนี้ เทพมินยังเป็นเทพแห่งพายุฝนและการเก็บเกี่ยวอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คำขวัญประจำชาติ


คำขวัญประจำชาติ หรือ national motto หรือ state motto สิ่งที่ใช้อธิบายประเทศต่างๆ โดยใช้วลีที่สั้น และกระชับ โดยเนื้อหาจะเกี่ยวกับ แนวความคิด แรงจูงใจ การปลุกใจ เอกลักษณ์ หรือความภาคภูมิใจสำหรับชาตินั้น ๆ

8 พิธีขอฝนของคนไทย




คนไทยมีพิธีขอฝนอยู่หลายวิธี  ซึ่งเป็นประเพณีโบราณที่ทำสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้  แม้คนไทยส่วนใหญ่คนมักรู้จักเพียงพิธีแห่นางแมวเท่านั้น    ลองมาดูทีละพิธี 

ที่จริงพิธีขอฝนที่พื้นฐานที่สุดและเป็นที่นิยมที่สุดของยุคนี้คือ "จุดบั้งไฟ" เพื่อขอฝนจาก "พญาแถน"  

คนอีสานเชื่อว่า "พญาแถน" เป็นเทพที่ทำให้เกิดฝนตก จึงจัดพิธีจุดบั้งไฟบูชาพญาแถนซึ่งมีปรากฏให้เห็นในวรรณกรรมและตำนานพื้นบ้านของอีสาน

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ด้านมืดของความรัก


แม้ความรักจะทำให้มีความสุขและกระทำคุณให้มากมาย 
แต่ขณะเดียวกัน...

ความรัก...ก็อาจทำให้ตาบอด

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คุณค่าของความตาย


ข้อเขียนนี้เป็นตอนต่อของบทความ "ชีวิตอมตะ" แต่เรื่องนี้จะเป็นแง่มุมตรงกันข้าม 
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า มนุษย์ทุกคนและยุคสมัยล้วนแต่กลัวความตาย พยายามเอาชนะความตาย อยากมีชีวิตอมตะ ความพยายามนี้ไม่เคยจางหายไปแม้จนปัจจุบัน
แต่แท้จริงแล้ว ความตายก็เป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง  

ชีวิตอมตะ

ชีวิตอมตะ (immortal life) หรือ ชีวิตนิรันดร์ (eternal life) เป็นสิ่งที่มนุษยชาติแสวงหามาโดยตลอด เหมือนกับเป็นสุดยอดปรารถนาของมนุษย์ เพราะมนุษย์ทั่วไปล้วนแต่ไม่อยากตาย อยากมีชีวิตอยู่ หรือแม้ในคราวที่ต้องยอมรับความตายก็ยังอยากให้มีชีวิตหลังความตายดำเนินต่อไป และเป็นสภาพชีวิตหลังความตายที่ดีด้วย 

ด้วยเหตุนี้ ทุกศาสนาจึงต้องพยายามให้คำตอบในเรื่องของชีวิตและความตาย และการเอาชนะความตาย หรือถ้าชนะไม่ได้ก็จะเป็นเรื่องการมีชีวิตหลังความตายที่ดี

บุพเพสันนิวาส


พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ระบุว่าคำว่า "บุพเพสันนิวาส" แปลว่า การเคยเป็นเนื้อคู่กัน, การเคยอยู่ร่วมกันในชาติก่อน

ที่จริงคำว่า บุพเพสันนิวาสนี้เป็นคำพุทธ (ดู ชาดกที่ ๖๘ และ ๒๓๗ เป็นต้น) พจนานุกรมพระพุทธศาสนา บอกว่า บุพเพสันนิวาส แปลว่า การเคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อน เช่น เคยเป็นพ่อแม่, ลูก, พี่น้อง, เพื่อน, ผัวเมียกันในภพอดีต

ฉะนั้น บุพเพสันนิวาส ความหมายเดิมนั้นจึงไม่ได้หมายถึงแต่เรื่องการเป็นผัวเมียเท่านั้น  

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ศาสนากับการเมือง

โดย  นิธิ เอียวศรีวงศ์    2015-02-25 

บรรยายสาธารณะ “ศาสนากับการเมือง ชาตินี้เราคงแยกกันไม่ได้” นิธิ เอียวศรีวงศ์ ชี้ว่าอิทธิพลของพุทธศาสนาต่อสังคมไทยลดถอยลงนับตั้งแต่เริ่มปฏิรูปคณะสงฆ์ในสมัยรัชกาลที่ 4-5-6 ปัจจุบันมหาเถรสมาคมผูกขาดได้แต่สบง-จีวร ชี้ “พ.ร.บ. ปกป้องพุทธศาสนา” ในมือ สนช. อันตราย-ระวังจะกลายเป็น “ม.112 ทางศาสนา” เพราะเป็นการเอาอำนาจรัฐมาเผยแพร่ศาสนา-ลงโทษคนวิจารณ์ศาสนา

การนำเสนอหัวข้อ "ศาสนากับรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย" โดยนิธิ เอียวศรีวงศ์ 

สปช. สรุปปัญหาสู่4ข้อเสนอ ปฏิรูปกิจการพุทธศาสนา


การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในวันนี้ (24 มี.ค.) ที่ประชุม สปช. มีวาระการพิจารณา “รายงานผลการศึกษา” ของ คณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ตามที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปชุดดังกล่าว พร้อมคณะได้สรุปรายงานผลการศึกษาเสนอเข้าที่ประชุม ก่อนประกาศปิดฉากคณะกรรมการชุดนี้ไปเมื่อต้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา

กระแสเรียกร้องให้บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ


กระแสเรียกร้องให้มีการบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อต้นปีพุทธศักราช 2550

ชาวพุทธ ๗ องค์หลัก กล่าวคือ มหามกุฏราชวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก, ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย, คณะสงฆ์อณัมนิกาย, คณะสงฆ์จีนนิกาย, และ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ได้เริ่มต้นเรียกร้อง ต่อมา กลุ่มชาวพุทธได้ขยายเพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 300 องค์กรทั่วประเทศและได้ผนึกกำลังกันเรียกร้องขึ้นมา

การต่อต้านร่างกฎหมายอุปถัมภ์และคุ้มครองพุทธศาสนา

คปก.ชี้ร่าง ก.ม.คุ้มครองพุทธศาสนาทำไทยเป็นรัฐศาสนา  เสี่ยงเลือกปฏิบัติ  เปิดช่องรัฐแทรกแซงเพื่อประโยชน์การเมือง

(12 พ.ค.2558) คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) เสนอความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ... ว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นรัฐศาสนา และมีการเลือกปฏิบัติ หรือเกิดการจำกัดเสรีภาพทางศาสนา และกีดกันศาสนาอื่นๆ เปิดช่องให้รัฐแทรกแซงกิจการของศาสนาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง

เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา คปก.ได้จัดทำบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ... เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยระบุว่า มาตรา 4 ของร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา

คุณมีแนวโน้มเป็นอย่างไรในด้านศาสนา?

คุณมีแนวโน้มเป็นอย่างไรในด้านศาสนา?   ลองตอบแบบทดสอบดังต่อไปนี้....





วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความเชื่อเรื่องตัวเลขของคนทั่วโลก

เรื่องของตัวเลขที่มีความหมายเป็นสิริมงคลและอัปมงคลนั้น  เชื่อกันว่าหากได้ผูกพันกับเลขเหล่านั้นแล้ว เมื่อประกอบภารกิจใด ชีวิตก็จะประสบกับความเจริญรุ่งเรืองหรือเกิดความวุ่นวาย จนบางคนถึงกับเสาะแสวงหา เลขทะเบียนรถยนต์ เบอร์โทรศัพท์ บ้าน ฮวงจุ้ย การงานธุรกิจ บริษัท เลขที่บ้านของตนให้เป็นเลขมงคล  พอเวลามีการประมูลเลขทะเบียนสวย หรือเลขมงคลของสำนักงานขนส่งฯ แต่ละจังหวัด   หลายๆ คนก็จะต้องขวนขวายลงทุนไปประมูลในราคาสูงๆ เพื่อให้ได้เลขมงคลที่ตัวเองชื่นชอบ โดยคิดว่าจะนำความเป็นสิริมงคลมาให้ ก่อให้เกิดสิ่งที่ดีงามในชีวิต แต่ความเชื่อก็มีหลากหลายตามศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมในการดูของแต่ละที่ แต่ละประเทศ

ลองมาดูความเชื่อเหล่านี้กันว่าคุณเชื่อตรงตามนั้นหรือไม่

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ศาสนาประจำชาติ (State Religion)


แนวคิดเรื่องศาสนากับชุมชนของชาติ(ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติหรือสัณชาติ)มีอยู่หลายแนวคิด แนวคิดที่เก่าแก่ที่สุดคือแนวคิดแบบศาสนาประจำชาติ เป็นแนวคิดที่เก่าแก่มากย้อนกลับไปได้ไกลถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ก่อนมีการบันทึกประวัติศาสตร์หรือก่อนมีภาษาเขียนเสียอีก)

สาเหตุที่เก่าแก่เช่นนี้ เพราะตั้งแต่บรรพกาลนั้นเมื่อชุมชนต้องการความเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อความเป็นปึกแผ่น เพื่อชุมชนจะสงบ เป็น...ระเบียบและปกครองได้ง่ายขึ้น ก็จำเป็นต้องมีสิ่งที่เป็นเครื่องช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจทุกคนให้เป็นหนึ่งเดียวกันและยอมเชื่อฟังผู้ปกครอง เคร่ืองมือที่ดีที่สุดคือศาสนา

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ลัทธิบูชาเสด็จพ่อ ร.5

เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรและเสด็จสวรรคต ณ วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 ก็ได้สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เพราะพระองค์ท่านทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์อย่างสูงยิ่ง จนได้รับพระฉายานามว่า "ปิยมหาราช"
   แต่เรื่องไม่จบเพียงแค่นั้น เมื่อสวรรคตไปแล้ว พระองค์ได้ถูกทำให้กลายเป็นเทพหรือสมมติเทวราช ของประชาชนไปด้วย หลายคนมีความเชื่อว่าได้เห็นท่านแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้ผู้ที่นับถือประจักษ์ต่อสายตาต่าง ๆ นานาด้วย
และด้วยความเชื่อต่าง ๆ นั้น ทำให้พระองค์มีลักษณะเป็น บุคลาธิษฐาน หรือบุคคลในจินตนาการหรือบุคคลในมโนคติแห่งการอธิษฐานเพื่อขอพรให้พระบารมีแห่งพระองค์ได้ปกป้องคุ้มครองและอำนวยชัย จนพระองค์มีฐานะเป็นเทพในหัวใจของชาวไทยทั้งมวลในที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ศาสนากรีก-โรมัน

ชาวกรีกโบราณนับถือธรรมชาติ เชื่อว่าพลังลึกลับที่สามารถให้คุณให้โทษได้เกิดขึ้นเพราะมีเทพเจ้าต่างๆ บันดาลให้เป็นไป   ชาวกรีกนับถือเทพเจ้าหลายองค์ เทพเจ้าตามความเชื่อของชาวกรีกมีหน้าตาและมีอารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์ แต่มีพลังอำนาจเหนือกว่า 

ตาม "ตำนานเทพ" ของกรีก  เทพเจ้าสูงสุดคือ “ซีอุส” หรือ “ซุส” (Zeus) เป็นเทพบิดรของบรรดาเทพทั้งหลาย สถิตอยู่บนยอดเขาโอลิมปัส(Olympus) มีชายาชื่อ “เฮร่า” (Hera) เป็นเทพีแห่งสวรรค์และการแต่งงาน นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าอีกมากมาย ต่างภาระหน้าที่กันไป

เทววิทยาของศาสนากรีกโบราณ


โดย ศ.กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิต

เฮร์เรอโดว์เถิส (Herodotus, ก.ค.ศ.484-420) กล่าวถึงความสำคัญของโฮว์เมอร์ (Homer) และเฮสเสียด (Hesiod) สำหรับศาสนาของชาวกรีกไว้ว่า "นักปราชญ์สองท่านนี้แหละที่เป็นผู้แต่งประวัติกำเนิดของเทพเจ้าให้แก่ชาวกรีกทั้งหลาย ตั้งนามให้แก่เทพเจ้าต่างๆ กำหนดยศศักดิ์และความสามารถพร้อมทั้งรูปร่างหน้าตาให้แก่เทพเจ้าแต่ละองค์" (Herodotus, 2 : 53)

นิกายของอิสลาม

ผู้คนมักได้ยินเรื่องนิกายของศาสนาอิสลามกันบ่อยๆ แค่ "สุหนี่" กับ "ชีอะห์" จนมักเข้าใจกันว่าศาสนาอิสลามมีแค่สองนิกายนี้   แต่แท้จริงแล้วไม่ได้มีแค่ 2 นิกาย แต่มีนิกายอื่น   รวมทั้งนิกายย่อย และสำนักคิดย่อยอีกมาก

นบีมุหัมมัด ผู้เป็นศาสดาเองก็ดูเหมือนพยากรณ์ว่าจะมีการแตกเป็น 73 กลุ่ม   โดยกล่าวว่า "แท้จริงประชาชาติของนบีมูซา(โมเสส) ได้แตกออกภายหลังจากเขาเป็น 71 จำพวก มีหนึ่งกลุ่มเท่านั้นที่รอด ส่วนอีก 70 อยู่ในไฟนรก

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เสรีภาพในการนับถือศาสนาที่สมบูรณ์

เสรีภาพในการนับถือศาสนา "ที่สมบูรณ์" ต้องรวมถึง...

พัฒนาการทางนิกายของศาสนายูดาย


ศาสนายูดาย (Judaism) หรือศาสนายิว หนึ่งในศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ถือว่าเริ่มโดยศาสดาพยากรณ์โมเสส ซึ่งนำชนชาติอิสราเอลออกจากอียิปต์มาก่อตั้งชาติใหม่ยังดินแดนที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้ให้ คือดินแดนปาเลสไตน์ในปัจจุบัน พร้อมกับเรื่องราวของบัญญัติสิบประการและกฎหมายพิธีการอื่นๆ