หนังสือบางเล่มที่เกี่ยวกับมานุษยวิทยาศาสนา |
ในศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงเวลาที่นักมานุษยวิทยาเริ่มสนใจศาสนาในฐานะเป็นวิธีคิดและ พฤติกรรมแบบโบราณซึ่งกำลังจะสูญหายไป และอยู่คนละด้านกับวิทยาศาสตร์ กฎหมาย การเมือง และการศึกษาสมัยใหม่ ปัจจุบันนี้ ไม่มีนักมานุษยวิทยาคนใดพูดว่าศาสนาจะหายไป แม้ว่าปัญหาของการนิยามศาสนายังคงมีอยู่เพราะขึ้นอยู่กับวิธีคิด แต่เรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาก็ยังมีให้เห็นได้ในกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ วิชามานุษยวิทยาศาสนาในแง่ที่เป็นศาสตร์ต้องสามารถอธิบายในเชิงทฤษฎีและวิธีวิทยาได้ เพื่อที่จะอธิบายปรากฎการณ์ทางศาสนาในมิติสังคม คำถามคือ อะไรคือทฤษฎีและวิธีวิทยา เมื่อเราพูดถึง “ศาสนา” เรากำลังหมายถึงอะไร และ สิ่งนี้จะสัมพันธ์กับศาสนาที่มนุษย์นับถืออยู่อย่างไร อะไรที่สร้างศาสนา ศาสนาทำอะไรให้กับมนุษย์ ศาสตร์ประเภทอื่นๆอาจตั้งคำถามที่คล้ายๆกันหรือต่างไปจากนี้ก็ได้ แต่ในวิชามานุษยวิทยาจะต้องศึกษาศาสนาในภาคสนาม
ตัวอย่างเช่น ในขณะที่การศึกษาประวัติศาสตร์ของศาสนาซึ่งจะมีคำถามเหมือนกับการศึกษาศาสนาที่สำคัญของโลก อาจจะต้องหาคำตอบจากหลักฐานที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หรือ มาจากตำนานเรื่องเล่า และงานศึกษาของผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนา แต่นักมานุษยวิทยาศาสนาจะต้องหาคำตอบโดยการลงไปเก็บข้อมูลภาคสนาม นักมานุษยวิทยาศาสนาทั้งหลายจะต้องสนใจปรากฎการณ์ทางศาสนาในลักษณะที่กว้างที่สุด ไม่ว่าจะเป็นมิติประวัติศาสตร์ หรือศาสนาในแต่ละสังคม แต่นักมานุษยวิทยาศาสนามักจะสนใจเรื่องเฉพาะที่เป็นพฤติกรรมและการปฏิบัติในช่วงเวลาหนึ่งด้วย ซึ่งนักวิชาการด้านศาสนาอื่นๆไม่เคยสนใจ ยกเว้นแต่เรื่องหลักคำสอน คัมภีร์และบทบัญญัติทางศาสนาเท่านั้น
ประวัติโดยย่อของมานุษยวิทยาศาสนา
อี บี ไทเลอร์(1832-1917) เป็นนักมานุษยวิทยาสกุลอังกฤษ คือผู้ที่ปูทางสำหรับการศึกษามานุษยวิทยาศาสนา งานวิจัยของไทเลอร์ยังคงเป็นงานที่มีผู้อ่านอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในการศึกษาเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งเป็นประเด็นที่ไทเลอร์จุดประกายขึ้นมาในแวดวงมานุษยวิทยา แต่สิ่งที่ไทเลอร์ทิ้งไว้ให้เริ่มถูกมองข้ามจากนักมานุษยวิทยาและนักศาสนาไปเรื่อยๆ ไทเลอร์จึงกลายเป็นเพียงความทรงจำ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะไทเลอร์ใช้ทฤษฎีวิวัฒนาการอธิบายศาสนา โดยเขาตั้งสมมุติฐานว่าความก้าวหน้าของการประดิษฐ์วัตถุสิ่งของทางวัฒนธรรม เป็นผลมาจากความเชื่อทางศาสนา ผลงานที่มีชื่อเสียงของไทเลอร์เกี่ยวกับทฤษฎี animism หรือการนับถือภูตผีปีศาจ บ่งบอกว่าความเชื่อแบบนี้เกิดขึ้นในสังคมบุพกาล (primitive) หรือเป็นสังคมลำดับขั้นแรกๆในวิวัฒนาการ เจมส์ เฟรเซอร์(1854-1941) และ อาร์ อาร์ มาเร็ตต์ (1866-1943) รวมทั้งนักเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสอีกหลายคนก็คิดเหมือนไทเลอร์
ไทเลอร์อาจสร้างคุณูปการเอาไว้ในฐานะเป็นผู้ริเริ่มให้มีการศึกษาศาสนา ในมิติมานุษยวิทยาซึ่งเกิดขึ้นจากทฤษฎีทางสังคมในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งทฤษฎีเหล่านั้นมาจากนักคิดหลายคน ได้แก่ เดอร์ไคม์, เวเบอร์, มาร์กซ์ และฟรอยด์ อีมิล เดอร์ไคม์ (1858-1917) คือนักคิดที่ปูทางให้สำนักฝรั่งเศส เดอร์ไคม์เชื่อว่าประสบการณ์ทางศาสนาคือ “ความจริงทางสังคม” ผู้ที่นำความคิดนี้ไปใช้คือมาร์เซล มอสส์ และลูเซียน เลวี่-บรูล์ นักคิดทั้งสองนี้ได้สร้างทฤษฎีสำหรับการศึกษาศาสนาแบบบุพกาล อาร์โนลด์ แวน เก็นเน็ป(1873-1957) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Rites de Passage คือนักคิดที่มีอิทธิพลอีกคนหนึ่งในสำนักฝรั่งเศส เม็กซ์ เวเบอร์(1864-1920) อธิบายว่าสังคมและเศรษฐกิจแยกจากกันไม่ได้ ทั้งสองส่วนนี้เกิดขึ้นในกิจกรรมของมนุษย์ คาร์ล มาร์กซ์(1818-1883) อธิบายว่าความเชื่อที่แปลกแยกเกิดจากการถูกกดขี่ข่มเหงทางสังคมและเศรษฐกิจ และกิจกรรมทางศาสนาจะถูกใช้เพื่อปกปิดซ่อนเร้นความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ ซิกมันด์ ฟรอยด์(1856-1939) อธิบายว่าประสบการณ์ทางศาสนามีความสัมพันธ์กับแรงผลักดันทางสังคมและจิตใจ นักคิดเหล่านี้ต่างทำลายกำแพงที่ขว้างกันความเข้าใจเรื่องศาสนา ทำให้เกิดศัตรูทางความคิดที่ไม่ลงรอยกัน และเปิดพรมแดนวิธีการตีความศาสนาที่หลากหลายมากขึ้น
ในวงวิชาการแบบอเมริกัน ซึ่งไม่เชื่อทฤษฎีวิวัฒนาการสกุลอังกฤษและฝรั่งเศส แต่เชื่อแนวคิดการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมสกุลเยอรมันซึ่งถูกใช้ในแวดวงมานุษยวิทยาศาสนา กล่าวคือทฤษฎีแพร่กระจายเชื่อว่าสิ่งที่มีเหมือนกันในแต่ละวัฒนธรรมเกิดขึ้นจาก การแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ฟรานซ์ โบแอสคือนักมานุษยวิทยาที่ใช้ทฤษฎีการแพร่กระจาย โดยกล่าวว่าวัฒนธรรมมีความสำคัญมากกว่าเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ และการศึกษาก็ต้องเก็บข้อมูลภาคสนาม แนวทางการศึกษาแบบนี้อาจเห็นได้งานวิจัยของนักมานุษยวิทยาสกุลอเมริกัน โบแอสเชื่อว่าองค์ประกอบของวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพ หรือความคิด ต่างมีหน้าที่ของตัวเอง ซึ่งเป็นการอธิบายตามทฤษฎีหน้าที่นิยม
โบรนิสโลว์ มาลีนอฟสกี(1884-1942) นักทฤษฎีหน้าที่นิยมที่ให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลภาคสนามอย่างละเอียด มาลีนอฟสกี้พยายามที่จะศึกษาและอธิบายคุณลักษณะทางความรู้สึกของคนพื้นเมือง เขาใช้แนวคิดเดียวกับเฟรเซอร์เพื่อศึกษาและจำแนกสิ่งที่เป็นเวทมนต์ วิทยาศาสตร์ และศาสนา และอธิบายว่าเรื่องทางศาสนาคือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยปราศจากการควบคุม เอ เอ เรดคลิฟฟ์-บราวน์(1881-1955) เป็นนักมานุษยวิทยาอีกคนหนึ่งที่ใช้ทฤษฎีหน้าที่นิยมมาอธิบายระบบจักรวาลวิทยา ระบบความเชื่อและตำนาน ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นผู้รักษากฎระเบียบ
การศึกษาของ อี อี อีแวน พริทชาร์ด(1902-1973) เกี่ยวข้องกับศาสนาของชนพื้นเมือง ซึ่งมีแนวคิดเหมือนกับโบแอส แต่ความคิดของพริทชาร์ดมีพลังมากกว่า กล่าวคือ พริทชาร์ดได้โต้แย้งกับสมมุติฐานของนักวิชาการรุ่นเก่าเช่นไทเลอร์ซึ่งพยายามจัดประเภทของศาสนา พริทชาร์ดพยายามทำลายกำแพงของความคิดคู่ตรงข้าม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความล้าสมัย/ทันสมัย ผัวเดียวเมียเดียว/หลายผัวหลายเมีย คนขาว/คนพื้นเมือง ความเชื่อภูตผี/เทพเจ้า คู่ตรงข้ามเหล่านี้พบเห็นได้บ่อยๆในงานเขียนของนักมานุษยวิทยา งานศึกษาแบบเก่ายังคงดำเนินต่อมา และ การวิจารณ์งานวิจัยรุ่นแรกๆก็เป็นลักษณะเฉพาะตัวในแวดวงมานุษยวิทยาศาสนา แต่งานวิจัยหลายเรื่องที่มาจากนักมานุษยวิทยารุ่นเก่าๆก็ยังมีผู้ที่อ่านอยู่เพื่อที่จะค้นหา ความเกี่ยวพันที่ยุ่งเหยิงระหว่างการเก็บข้อมูลและการตีความของนักมานุษยวิทยารุ่นเก่า
นักมานุษยวิทยาศาสนาในยุคหลังๆให้ความสนใจกับปรากฏการณ์และกระบวนการเคลื่อนไหวในหลายๆลักษณะ คล้อด เลวี่-สเตราส์ ซึ่งใช้ทฤษฎีโครงสร้างนิยมเพื่อวิเคราะห์ตำนาน เป็นนักมานุษยวิทยาที่มีคนเอาความคิดของเขาไปใช้ศึกษาวัฒนธรรมจำนวนาก ทฤษฎีของแมรี ดักลาส เป็นทฤษฎีที่มุ่งอธิบายพิธีกรรมและความสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งมีอิทธิพลความคิดของเลวี่-สเตราส์อยู่มาก แต่ไม่คนมีใครนำแนวคิดของดักลาสมาใช้มากนัก คลิฟฟอร์ด เกียร์ต คือนักมานุษยวิทยาที่เสนอแนวทางการศึกษาแบบการตีความ ถึงแม้ว่าจะมีผู้วิจารณ์แนวคิดนี้มาก แต่เกียร์ตก็อธิบายศาสนาว่าเป็นระบบสัญลักษณ์ และเน้นให้เห็นถึงระบบความหมายของสัญลักษณ์นั้น ในฐานะเป็นสิ่งอ้างอิง และผู้สร้างความหมายให้ชีวิต
ในทศวรรษที่ 60 มีความคิดใหม่ๆเกิดขึ้นมาก แต่นักมานุษยวิทยาบางคนก็ยังคงใช้แนวคิดเก่าๆมาศึกษาไม่ว่าจะเป็นแนวคิดของเลวี่-สเตราส์, แมรี ดักลาส หรือคลิฟฟอร์ด เกียร์ต แต่บางคนก็หันไปใช้แนวคิดจากศาสตร์อื่นๆ ในช่วงนี้เกียร์ตเริ่มเสนอความคิดว่าศาสนาเปรียบเสมือนระบบของวัฒนธรรม เมลฟอร์ด สปีโร ย้อนกลับไปใช้แนวคิดของเดอร์ไคม์ เพื่ออธิบายว่าศาสนาอยู่คนละด้านกับชีวิตประจำวัน นักมานุษยวิทยาหลายคนเริ่มสังเกตเห็นว่าศาสนาเปรียบเสมือน ระบบสัญลักษณ์หรือเป็นระบบที่มีโครงสร้างชัดเจน เช่นการศึกษาของวิคเตอร์ เทอร์เนอร์ที่ใช้ทฤษฎีละครทางสังคมมาอธิบายเพื่อดูโครงสร้างของพิธีกรรม ข้อโต้แย้งที่สำคัญเกี่ยวกับความหมายของพิธีกรรมก็คือ พิธีกรรมคือสิ่งที่ปลดปล่อยหรือความสับสนวุ่นวายในชีวิตจริงหรือไม่ การศึกษาหลายเรื่องมักจะอาศัยการตีความจากความรู้สึกนึกคิดเชิงจิตวิทยา ซึ่งมีกลิ่นอายทฤษฎีของฟรอยด์และลาค็อง และการศึกษาที่เดินรอยตามเดิร์ไคม์และเวเบอร์ก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ในช่วงนี้
งานวิจัยทางมานุษยวิทยาเกี่ยวกับเรื่องผู้วิเศษ(shamanism)ส่วนใหญ่เป็นการ นำความคิดเชิงจิตวิทยามาวิเคราะห์ รวมถึงอาจนำไปศึกษาลัทธิตันตระด้วย ความเชื่อเรื่องผู้มีอำนาจวิเศษเป็นประเด็นหลักของการวิจัยในช่วงทศวรรษที่ 60และ 70 ทั้งนี้นักมานุษยวิทยาบางคนเชื่อว่าลัทธิผู้วิเศษมีเรื่องราวทางสังคมและจิตวิทยา ที่อาจเป็นกุญแจสำคัญต่อการทำความเข้าใจองค์ประกอบของศาสนา ในปี ค.ศ.1982 สุธีร์ กาก่าร์ พยายามที่จะเปรียบเทียบวิธีการเยียวยาและการบำบัดทางจิต 2 แบบ ในขณะที่ อาเก้ ฮุลท์แครนท์ ศึกษาลัทธิผู้วิเศษในอีกแนวทางหนึ่ง โดยพิจารณาเปรียบเทียบลักษณะทางนิเวศวิทยาและปรากฏการณ์ทางสังคมในแต่ละแห่ง ในขณะที่การศึกษาเรื่องผู้วิเศษจะสนใจสภาวะทางจิต แต่มานุษยวิทยาที่ศึกษาสภาวะจิตก็เริ่มก่อตัวและพัฒนาขึ้นเป็นแนวคิด ความสนใจต่อสภาวะจิตใจของมนุษย์ที่พบเห็นจากประสบการณ์ทางศาสนา เป็นความสนใจที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะพบได้ในการศึกษาทางมานุษยวิทยาเท่านั้น แต่จะไม่พบในการศึกษาของศาสนวิทยา
ในทศวรรษที่ 70 และ 80 เริ่มมีการวิจารณ์งานเขียนทางชาติพันธุ์และมีการปฏิวัติการศึกษาทางมานุษยวิทยาในยุคผ่านพ้นอาณานิคม โดยเฉพาะการวิจารณ์ในสิ่งที่นักมานุษยวิทยาคิดและพูดถึงศาสนา แนวทางการศึกษาใหม่นี้เกิดขึ้นพร้อมกับการหันกลับมาตรวจสอบตัวเองของนักมานุษยวิทยาในช่วง 150 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจมีความลำเอียงและอคติต่อชนพื้นเมือง สาขาย่อยใหม่ของมานุษยวิทยาคือสาขาประวัติศาสตร์เกิดขึ้นมาพร้อมกับการศึกษาหลังยุคลัทธิอาณานิคม และการทบทวนประวัติศาสตร์ของมานุษยวิทยาที่ผ่านมาก็ทำให้มองเห็น การทำงานที่ผิดพลาดของนักมานุษยวิทยา และการศึกษาของนักมานุษยวิทยาก็สะท้อนสิ่งที่ถูกใช้เพื่อการศึกษา ในขณะที่วิชามานุษยวิทยาสนใจเรื่องศาสนา แต่งานเหล่านั้นมักจะเขียนขึ้นโดยนักมานุษยวิทยาที่อยู่ในภาควิชาศาสนวิทยาเสียมากกว่า
ถึงแม้ว่าทั้งสองศาสตร์นี้จะไม่มีความขัดแย้ง หรือเกี่ยวข้องกัน แต่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ การทบทวนตรวจสอบและวิจารณ์ความรู้ทางมนุษยศาสตร์ เป็นการทบทวนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิชาศาสนวิทยาและมานุษยวิทยาศาสนา ประเด็นวิจารณ์ที่เกี่ยวข้องคือ การจัดประเภทความเชื่อและประเภทของศาสนาทำได้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมามีนักทฤษฎีหลายคนซึ่งมีพื้นฐานต่างกัน พยายามที่จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและศาสนาอย่างเป็นรูปธรรม ประเด็นที่ถกเถียงในแวดวงสังคมศาสตร์ก็คือลักษณะพลวัต และความไม่คงที่ของปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นทั้งปัจจุบันและอดีตที่ผ่านมา
ในแง่ประเด็นการศึกษา เริ่มมีความสนใจศึกษาศาสนาในเขตเมือง หรือศาสนาที่มีคนนับถือปฏิบัติและสนใจศาสนาของคนผิวขาวและชนชั้นกลางในอเมริกา นักมานุษยวิทยา หลายคนต่างประหลาดใจกับความเชื่อเชิงศาสนาแบบใหม่ๆในปัจจุบัน โดยเฉพาะ ศาสนาของเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ และเพศ ซึ่งอาจถูกมองว่าเป็นสิ่งน่าเกลียดและอันตราย ปัจจุบันนี้ นักมานุษยวิทยามองว่าศาสนามีคุณลักษณะของตัวเอง เช่นเดียวกับกิจกรรมประเภทอื่นๆของมนุษย์ เมื่อศาสนาเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งก็มิได้หมายความว่าจะวิจารณ์ หรือสร้างทฤษฎีมาอธิบายศาสนาไม่ได้ นักมานุษยวิทยาศาสนาหลายคนย้อนกลับไปทบทวนตัวเองและวิจารณ์ตัวเองมากขึ้นเช่นเดียวกัน อาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันนี้ นักวิชาการทั้งหลายต่างมีความระมัดระวังมากขึ้นเมื่อศึกษาศาสนา นักวิชาการหันมาวิจารณ์คำศัพท์ต่างๆที่เคยใช้กันมา เช่น คำที่อธิบายเกี่ยวกับความเชื่อ วัฒนธรรม และพิธีกรรม ดังนั้นการพูดถึง “ความเชื่อ” ก็มิใชิ่ส่งที่จะพูดขึ้นมาได้ง่ายๆเพราะต้องคำนึงถึงบริบทประวัติศาสตร์ที่เกิดในสังคมตะวันตก
การศึกษามานุษยวิทยาศาสนาในปัจจุบัน
ในแง่ประเด็นการศึกษา เริ่มมีความสนใจศึกษาศาสนาในเขตเมือง หรือศาสนาที่มีคนนับถือปฏิบัติและสนใจศาสนาของคนผิวขาวและชนชั้นกลางในอเมริกา นักมานุษยวิทยา หลายคนต่างประหลาดใจกับความเชื่อเชิงศาสนาแบบใหม่ๆในปัจจุบัน โดยเฉพาะ ศาสนาของเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ และเพศ ซึ่งอาจถูกมองว่าเป็นสิ่งน่าเกลียดและอันตราย ปัจจุบันนี้ นักมานุษยวิทยามองว่าศาสนามีคุณลักษณะของตัวเอง เช่นเดียวกับกิจกรรมประเภทอื่นๆของมนุษย์ เมื่อศาสนาเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งก็มิได้หมายความว่าจะวิจารณ์ หรือสร้างทฤษฎีมาอธิบายศาสนาไม่ได้ นักมานุษยวิทยาศาสนาหลายคนย้อนกลับไปทบทวนตัวเองและวิจารณ์ตัวเองมากขึ้นเช่นเดียวกัน อาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันนี้ นักวิชาการทั้งหลายต่างมีความระมัดระวังมากขึ้นเมื่อศึกษาศาสนา นักวิชาการหันมาวิจารณ์คำศัพท์ต่างๆที่เคยใช้กันมา เช่น คำที่อธิบายเกี่ยวกับความเชื่อ วัฒนธรรม และพิธีกรรม ดังนั้นการพูดถึง “ความเชื่อ” ก็มิใชิ่ส่งที่จะพูดขึ้นมาได้ง่ายๆเพราะต้องคำนึงถึงบริบทประวัติศาสตร์ที่เกิดในสังคมตะวันตก
อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่ามานุษยวิทยาศาสนาไม่สามารถเป็นทฤษฎี หรือมิใช่เรื่องของการศึกษาหลักคำสอนของศาสนา แต่มานุษยวิทยาศาสนาพยายามจะขยายพรมแดนความคิดและใช้ศาสตร์ต่างๆมาอธิบาย มานุษยวิทยาศาสนาในปัจจุบันอาจมีลักษณะที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
---------
แปลและเรียบเรียงโดยนฤพนธ์ ด้วงวิเศษ จาก http://www.indiana.edu/~wanthro/religion.htm
ขอขอบคุณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร www.sac.or.th
- ให้ความสนใจเรื่อง “การปฏิบัติ” ทางศาสนา (practicalities คำของวิเลียม เจมส์) กล่าวคือการปฏิบัติทางศาสนาของคนธรรมดาสามัญ อาจต่างไปจากการปฏิบัติของสถาบันที่เป็นทางการ เพราะความเชื่อทางศาสนาของชาวบ้าน เช่น กลุ่มคนที่อาจหนังสือไม่ออก หรือมีความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ อาจไม่ใช่ความหมายของศาสนาในแบบตะวันตกซึ่งนับถือคริสต์ศาสนาเป็นหลัก มานุษยวิทยาศาสนพยายามที่จะศึกษาพฤติกรรมและการปฏิบัติทางศาสนาของชาวบ้าน เช่น การไหว้ผี การนับถือผู้วิเศษ การเข้าทรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับความเชื่อตามหลักศาสนาคริสต์
- มานุษยวิทยาศาสนามีระเบียบวิธีวิจัยและแนวคิดที่หลากหลาย เพราะวิชามานุษยวิทยามีรากฐานความคิดมาจากหลายทฤษฎี ตั้งแต่ความคิดแบบเดอร์ไคม์, เวเบอร์, มาร์กซิสต์, ฟรอยด์ ,โครงสร้างหน้าที่, หน้าที่นิยม จนถึงแนวคิดใหม่ๆในปัจจุบัน นักมานุษยวิทยาจึงใช้แนวคิดที่ต่างกันในการวิเคราะห์ศาสนา
- พยายามที่จะลบล้างอคติ ความลำเอียงในแบบตะวันตก และให้ความสำคัญกับการศึกษาทางชาติพันธุ์ ในแนวทางของอีแวนส์-พริทเชิร์ด, มาลีนอฟสกี้, ไทเลอร์ หรือแม้แต่เลวี่ สเตราส์ ในทศวรรษที่ 60 การศึกษาความหมายของศาสนาก็เริ่มเปลี่ยนไปโดยเชื่อว่าศาสนาเป็นสิ่งที่ไม่คงที่ ตัวอย่างเช่น การศึกษาของคลิฟฟอร์ด เกียร์ต อธิบายว่าศาสนาเป็นระบบสัญลักษณ์ ซึ่งผู้ปฏิบัติแต่ละคนจะให้คุณค่าแตกต่างกัน เมลฟอร์ด สปีโร ซึ่งพยายามตอบคำถามของเดอร์ไคม์ อธิบายว่าการปฏิบัติทางศาสนาเป็นการติดต่อกับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ทั้งการศึกษาของเกียร์ตและสปีโรถูกโต้แย้งอยู่ช่วงหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะเป็นการศึกษาที่เปิดมุมมองใหม่ก็ตาม
- มานุษยวิทยาศาสนาให้ความสำคัญกับพื้นที่ ซึ่งถูกมองข้ามไปจากการศึกษาของศาสนาวิทยา นักมานุษยวิทยาทางศาสนาหลายคนพยายามที่จะสร้างความรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับพื้นที่ที่ใช้ศึกษา เพื่อคัดคานกับการศึกษาที่ตื้นเขินของศาสนาวิทยา
---------
แปลและเรียบเรียงโดยนฤพนธ์ ด้วงวิเศษ จาก http://www.indiana.edu/~wanthro/religion.htm
ขอขอบคุณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร www.sac.or.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น