วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ซ้าย-ขวา ขวา-ซ้าย คืออะไรแน่?

ซ้าย-ขวา ขวา-ซ้าย คืออะไรแน่? 

เมื่อคืนไปดูซิมโฟนีคอนเสิร์ตมา ยอดเยี่ยมมาก โดยเฉพาะครึ่งหลังที่บรรเลงบทประพันธ์ของโพรโคเฟียพ  พอดีตื่นเช้ามืดมาแล้วเกิดอยากเขียน แต่ที่ไทยคงหลับกันหมดแล้วใช่ไหม คือพอดีได้เห็นสื่อนึงขึันพาดหัวว่า "การเมืองอังกฤษซ้ายหัน การเมืองฝรั่งเศสขวาหัน" ก็เลนอยากแสดงความเห็นบางประการ 

การเมืองฝรั่งเศสนั้นขวาหันแน่ ด้วยเรื่องปัญหาผู้อพยพ แต่ที่บอกว่าการเมืองอังกฤษกำลัง "ซ้ายหัน" คงเป็นเพราะเห็นว่าพรรคเลเบอร์หรือพรรคแรงงานชนะเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์ 

แต่เท่าที่ตัวเองวิเคราะห์ อังกฤษน่าจะไม่ใด้กำลังนิยมซ้าย นายสตามเมอร์ นายกคนใหม่นี้นโยบายทั้งการเมืองและเศรษฐกิจก็ไม่ได้ซ้ายอะไรชัดเจน แต่เป็นเพียงเพราะคนอังกฤษส่วนใหญ่ไม่อยากให้นายซูแนก นายกคนปัจจุบันที่เป็นอังกฤษเชื้อสายอินเดีย เป็นนายกต่อเท่านั้นเอง 

พูดง่าย ๆ คือหมดความเชื่อมั่นในตัวนายกคนปัจจุบันมาก ๆ ไม่ชอบจนขอเอาคนใหม่ดีกว่า ไม่ได้เกี่ยวกับนโยบายอะไร 

ล่าสุดนี้อยากให้จับตาดูเลือกตั้งอิหร่าน ผลออกมาแล้วว่า ผู้สมัครที่มีนโยบายเป็นสายกลาง คืออยากให้อิหร่านเปิดกว้างทางเรื่องศาสนาและเศรษฐกิจเป็นฝ่ายชนะ ขณะที่ผู้สมัครคนอื่นเป็นสายขวาที่ยังเคร่งความเป็นรัฐอิสลามหมดเลย 

บางคนอาจสงสัยว่า การเป็นขวาเป็นซ้ายมันเป็นยังไง  ก็ขออธิบายแบบรวบรัดว่า ในแต่ละประเทศและแต่ละยุคไม่ได้เหมือนกันเสียทีเดียว แต่มันมีหลักพื้นฐานอยู่ว่า แนวขวาคือการเน้นอนุรักษ์ของเดิม ส่วนซ้ายคือการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ 

ที่นี้ของเดิมก็มักจะหมายถึงการเน้นความเป็นชาติหรือชาตินิยม วัฒนธรรมประเพณีเดิม ศาสนาเดิมหรือศาสนาประจำชาติ ปรัชญาแนวจิตนิยม  โครงสร้างสังคมแบบดั้งเดิม มีเจ้ามี

ส่วนซ้ายที่ว่าเน้นการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ก็จะเน้นการมีอิสระเสรี ความเสมอภาค การเปิดกว้าง ไม่ยึดเรื่องชาตินิยม ประเพณีนิยม แต่ยึดสากลนิยม สิทธิมนุษยชน ปัจเจกชนนิยม ปรัชญาแนววัตถุนิยมและประโยชน์นิยม โครงสังคมแบบดั้งเดิม 

ทีนี้ถ้าแนวการเมืองเป็นขวาหรือซ้ายมีต่อด้วยคำว่า "จัด" เป็นขวาจัดหรือซ้ายจัด ก็หมายความว่าเน้นทิศทางนั้นมากจนไม่มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์  และค่อนข้างใช้อำนาจบังคับและไม่ให้สิทธิเสรีภาพกับฝ่ายที่อุดมการณ์ไม่เหมือนกัน 

อย่างขวาจัดก็คือระบอบกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือเผด็จการทหารฟาสซิสม์ แบบซ้ายจัดก็คือระบอบคอมมิวนิสต์ หรือเลยไปก็คือไร้การปกครองแบบอนาคิสม์ 

ซึ่งถ้าไม่ "จัด" ก็จะเป็นพวก "กลาง" คือขวากลาง หรือซ้ายกลาง คือยึดแนวทางของตนแต่ก็ไม่ใช้อำนาจบังคับอีกฝ่าย ยังคงให้สิทธิเสรีภาพกับอีกฝ่ายสามารถแสดงความคิดเห็นได้เคลื่อนไหวได้ ลงสมัครเลือกตั้งเข้าสู่อำนาจได้ 

ถ้าถามว่าในโลกนี้ยังมีประเทศที่เป็นพวกขวาจัด-ซ้ายจัดอยู่ไหม ก็ต้องบอกว่ามี และไม่น้อย เพียงแต่มันเรียกยากขึ้นเพราะระบบระบอบมันซับซ้อนขึ้นและมีวิวัฒนาการจนต่างไปกว่าเมื่อก่อน 

ทุกวันนี้ประเทศคอมมิวนิสต์แบบจีนนั้นถือว่าขวาจัด ทั้ง ๆ ที่คอมมิวนิสต์แต่เดิมถือว่าเป็นซ้ายจัด เมียนมาร์เป็นฟาสซิสต์ก็เป็นขวาจัด รัสเซียแม้มีเลือกตั้งแต่ในทางปฏิบัติก็เป็นเผด็จการก็เป็นขวาจัด และประเทศที่เป็นรัฐศาสนาทั้งหลายก็เป็นขวาจัดทั้งนั้น 

ส่วนประเทศฝรั่งทั้งหลายทั้งอเมริกาและยุโรปก็เป็นขวากลาง-ซ้ายกลาง ต่างระดับกันไปตามแต่สถานการณ์ 

ถ้าหันมาดูประเทศเพื่อนบ้านรอบ ๆ ไทยเรานี่ถือว่าขวาจัดได้หมด  ยกเว้นฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และติมอร์   

ส่วนไทยทุกวันนี้ก็เป็น ขวากลางค่อนไปทางจัด ✿⁠^⁠‿⁠^⁠)  แต่เวลามีความขัดแย้งใหญ่ก็จะขยับไปเป็นขวาจัดบางช่วงก่อนจะปล่อยเป็นขวากลางใหม่ แต่ดูทรงแล้วอีกไม่นานคงได้กลายเป็น ...จัด อีกรอบ 

𑵱𑵳ᒏర౬ ഽరๅݎ᪒নਭலᣅଖᡇ

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ทำไมไทยถึงมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมได้เร็วกว่าประเทศอื่น? ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์

วันนี้ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับคนที่สนับสนุนกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่เพิ่งผ่านสภาวันนี้สักหน่อย   นับเป็นเรื่องน่าทึ่งแน่ๆ ที่ไทยผ่านกม.สมรสเท่าเทียมไก้เป็นชาติที่สามในเอเชีย และเป็นชาติแรกใของอาเซียน 
ว่าแต่เคยสงสัยไหมว่าทำไมไทยถึงผ่านเรื่องนี้ได้เร็วกว่าใคร หลายคนพยายามบอกว่านี่เป็น "ชัยชนะของประชาชน" แต่ผู้เขียนกลับไม่คิดว่าเป็นอย่างนั้น

ไทยเราผ่านกม.นี้เร็วกว่าประเทศอื่นๆ ที่ว่าเป็นประชาธิปไตยกว่าเรา เจริญก้าวหน้าทันสมัยทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยียิ่งกว่าเรา  ไม่ว่าจะญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลี ในเอเชียเราผ่านกม.นี้ตามหลังแค่ไต้หวันกับเนปาล  ส่วนอาเซียนเราเป็นที่หนึ่ง เราผ่านก่อนสิงคโปร์ซึ่งยังไม่มีวี่แววว่าจะมีกม.นี้ได้เร็ว ๆ นี้ 

ถามอีกครั้ง ทำไมไทยถึงผ่านได้เร็ว? 

เพื่อไม่ให้ข้อเขียนยืดยาวก็ขอเข้าประเด็นตรงๆ เลย  ผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นเพราะเหตุปัจจัย 3 ประการ

ประการแรก ซึ่งเป็นประการสำคัญที่สุด เพราะประชากรไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธผสมพราหม์ฮินดู  ซึ่งศาสนาพุทธเองแม้ว่าไม่ได้ให้ความเท่าเทียมกับ LGBTQ เท่ากับความเป็นชายแท้หรือหญิงแท้ แต่ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นบาปร้ายแรงที่ต้องต่อต้านอย่างจริงจัง  (อันนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ทั้งไต้หวันและเนปาลผ่านกม.นี้เช่นกัน) 

ยิ่งกรณีของศาสนาพราหมณ์ฮินดูแล้วยิ่งไม่มีการต่อต้าน LGBTQ และเทพบางองค์ถึงกับเป็นที่พักใจเชิงสัญลักษณ์ให้แก่ชาว LGBTQ ได้เป็นอย่างดีด้วยซ้ำ 

ประการที่สองที่ทำให้ไทยผ่านกม.นี้เร็วน่าจะเป็นเพราะ ไทยเรามีการยอมรับเรื่อง LGBTQ มานานมาก  และมีจำนวนมาก จนถึงขนาดเป็นธุรกิจใหญ่โตจนดังทั่วโลก  ทั้งโชว์คาบาเร่ต์ สื่อสายบันเทิง จนถึงหนังวาย คลีนิคแปลงเพศที่สุดก้าวหน้าและราคาสมเหตุสมผล ฯลฯ  จำนวนคนและขนาดของธุรกิจที่ใหญ่โตขนาดนี้ย่อมมีพลังผลักดันอันมหาศาลอย่างไม่ต้องสงสัย 

ประการที่สาม จากการที่ไทยพยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกอย่างเต็มที่ จึงย่อมต้องพยายามสร้างสิ่งดึงดูดคนทุกกลุ่มให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ มีกำลังซื้อมาก และเคยถูกมองข้าม ซึ่งนั่นก็รวมถึงต้องขจัดอุปสรรคด้านกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ให้เอื้อมากที่สุดด้วย กลุ่มนี้มีทั้ง LGBTQ และชาวมุสลิม

ประการสุดท้าย เพราะกฎหมายสมรสเท่าเทียม คือกระแสของประเทศโลกที่หนึ่ง ซึ่งถือกันว่าเป็นกระแสวัฒนธรรมหลักของโลก ซึ่งมีค่านิยมประชาธิปไตยและเคารพสิทธิมนุษยชน การที่ประเทศไทยซึ่งมักถูกมองว่าไม่เป็นประชาธิปไตยและอยู่ใต้รัฐบาลทหาร ผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม ย่อมสร้างภาพลักษณ์อันดีแก่ไทยในสายตานานาชาติอย่างไม่ต้องสงสัย 

ทั้งหมดนี้ทำให้ไทยผ่านเรื่องนี้ได้เร็วกว่าใคร นับว่าไม่ธรรมดาเลยทีเดียว 

𑵱𑵳ᒏర౬ ഽరๅݎ᪒নਭலᣅଖᡇ

(ปล.ขออภัยที่ไม่เขียนอะไรนาน ระยะนี้กลับมาเป็น "โรคเสพติดการไม่ใช้โซเชียลมีเดีย" อีกแล้ว)

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

เศรษฐกิจแบบพอ

ปีที่แล้วช่วงหลังโควิดมา ที่มหาลัยในนิวซีแลนด์จัดเรื่องเศรษฐกิจแบบพอหลายครั้ง หลายที่  และได้อ่านหนังสือของขบวนแนวคิดของฝรั่งเกี่ยวกับเรื่อง "เศรษฐกิจแบบพอ" หลายเล่ม จะเรียก พอเพียงหรือเพียงพอ หรือพอดี หรือจะเรียกอะไรก็แล้วแต่เถิด แนวคิดนี้แนวนี้มันเริ่มถูกพูดถึงมากช่วงใกล้ปีคศ. 2000 เป็นต้นมา พอเลยช่วงปี 2010 ก็ดังมาก มีหนังสือออกมาหลายเล่ม 


สาเหตุก็คือ นักเศรษฐศาสตร์ฝรั่งหลายคน ที่จบมหาลัยไอวีลีกกันทั้งนั้น เริ่มตระหนักว่า อ้ายเจ้าระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีหรือตลาดเสรีแบบที่โลกใช้ขับเคลื่อนตัวเองมานานนั้น มันเริ่มไม่ใช่คำตอบที่สมบูรณ์แบบที่เคยเชื่อกันมาตลอดอีกแล้ว 

เพราะยิ่งนานวันมันยิ่งสร้างปัญหาที่นำไปสู่วิกฤติมากขึ้นเรื่อย ๆ  โดนเฉพาะปัญหาหนี้สิน ปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำ และปัญหาสิ่งแวดล้อม 

จากช่วงต้นปีสองพันที่แนวคิดนี้เริ่มดัง จนมาถึงตอนถึงตอนนี้สองพันยี่สิบกว่า  คงไม่น่าจะมีใครถามอีกแล้วว่าปัญหาพวกนี้เกิดจริงไหม เพราะมันได้กลายเป็นวิกฤตใหญ่โตของทั่วโลก จนแม้แต่สหรัฐฯเองซึ่งเป็นเจ้าแห่งทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เศรษฐกิจทุนนิยมเสรีกลายเแ็นประเทศที่มีหนี้ล้นพ้นตัว หนี้มากที่สุดในโลก 

นี่ถ้าตลาดไม่ใหญ่ ไม่ได้พิมพ์แบงค์เอง ไม่ได้เป็นมหาอำนาจ ก็อาจล้มละลายไปแล้ว ค่าเงินดอลลาร์ทุกวันนี้อาจไม่เหลือค่า 

หนังสือแนว "เศรษฐกิจพอ" ที่ว่านี้จะพูดคล้าย ๆ กันหลักใหญ่ ๆ คือ ต้องมีเหตุผล รอบคอบ ไม่เกินตัว ยั่งยืน หรือดีในระยะยาว 

ถ้าพูดแบบภาคปฏิบัติก็คือ ต้องเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องคอยพึ่งใตรหรือเป็นภาระของใคร ยืมจมูกคนอื่นหายใจ ำม่ต้องกลัวใครกลั่นแกล้ง

สอง ไม่บริโภคมากเกินไปจนเอาเงินในอนาคตมาใช้ หรือไม่บริโภคจนเป็นหนี้นั่นแล  ถ้าเป็นหนี้ก็ให้มันเป็นเรื่องจำเป็นจริงๆ 

สาม เป็นเศรษฐกิจที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  ไม่ว่าจะเรื่องการสร้างภาวะโลกร้อน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น เรื่องน้ำ เรื่องมลพิษ ฯลฯ  แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

สี่ เป็นเศรษฐกิจที่แบ่งปัน ไม่ใช่คนรวยก็กินรวบ จนรวยล้นไม่รู้จบ ส่วนคนจนก็อับจนไม่มีทางสู้ หรือถึงกับไม่มีปัจจัยสี่  

สุดท้าย เจ้าเศรษฐกิจพอแบบที่ว่าต้องนำไปสู่ความยั่งยืนของสังคม  ซึ่งก็เลยทำให้เกิดคำใหม่ว่า sustainable economy หรือเศรษฐกิจแบบยั่งยืน

"เศรษฐกิจพอ" แบบที่ว่ามันไม่ได้หมายถึง ทุกคนต้องไปปลูกผักเลี้ยงไก่ไว้กินเองไม่ต้องซื้ออะไรอีกต่อไป  แต่มันหมายถึงระบบเศรษฐกิจที่ทำให้มีสิ่งจำเป็นเพียงพอสำหรับตัวเราแต่ละคน เพียงพอสำหรับทุกคนในสังคมและในโลก  เพียงพอสำหรับทุกคนในปัจจุบันและอนาคต 

เศรษฐกิจแบบปลูกผักเลี้ยงไก่กินเอง ไม่ต้องซื้ออะไรใครเลย มันมีอีกชื่อนึง เรียกว่า self-sufficiency economy หรือ "เศรษฐกิจพอในตัวเอง"  อันนี้ก็ถือว่าเป็นส่วนเสี้ยวหนึ่งของระบบเศรษฐกิจพอเช่นกัน แต่ใครจะไม่ทำแบบนี้ก็ได้ 

ระบบแบบนี้ถ้าเอาจริงมากก็จะไปถึงขั้นไม่ต้องใช้ไฟฟ้าน้ำประปาจากทางการเลย ทำเอาเองหมดทั้งไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ทำน้ำกรองเอง  เรียกว่า "off-grid self-sufficiency economy" คือ เศรษฐกิจพอในตัวเองแบบ "นอกระบบ" ไปเลย 

แต่จากที่ศึกษามา ถ้าพูดแบบยุติธรรม ก็ต้องบอกว่า กษัตริย์รัชกาลที่เก้าของไทย พูดเรื่องนี้ไว้ตอนราวช่วงปี 1997 และไม่ใช่แค่พูดเป็นหลักนามธรรมลอยๆ แต่พยายามเอาหลักการนามธรรมพวกนี้มาทำให้เป็นรูปธรรม คือหวังให้สามารถปฏิบัติได้จริและได้ผลจริง และปฏิบัติได้ไม่แค่บางบุคคล แต่เป็นระดับมวลชนและมหาชน ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปมักจะพูดเป็นหลักการนามธรรมมากกว่า เรื่องนี้ยังพูดได้อีกยาว 

ประเด็นที่คนถามกันมากก็คือ "เศรษฐกิจพอ" มันดีกว่าระบบอื่นไหม ระบบไหนดีที่สุด?  ก็ต้องบอกว่า 

ระบบที่มีอยู่ก็คือระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีหรือระบบตลาด แบบที่ใช้มานั่นแล ระบบต่อมาก็แบบคอมมิวนิสต์ซึ่งไม่มีใครใช้จริงในทางปฏิบัติ  ส่วนใหญ่ก็คือระบบผสมผสานกันทั้งนั้น ระบบที่ให้รัฐควบคุมมากหน่อย มีสวัสดิการรัฐใากหน่อยก็ระบบสังคมนิยม 

ระบบเศรษฐกิจแบบพอ มันเป็นระบบที่อยู่มาก่อนใคร อยู่มาแต่โบราณ แทรกอยู่กับระบบไหนก็ได้ มันอยู่ได้มาตลอด และจะอยู่ตลอดไป 

ਗ਼মᒏర౬ ഽరๅݎ᪒নਭலᣅᢅᡇ

ศาสนวิทยา ผู้ลี้ภัย ณ นิวซีแลนด์